ประเทศยูเครน: ประเทศในยุโรปตะวันออก

ยูเครน (อังกฤษ: Ukraine; ยูเครน: Украї́на, อักษรโรมัน: Ukraïna, ออกเสียง:  ( ฟังเสียง)) เป็นประเทศหนึ่งในยุโรปตะวันออก เป็นประเทศที่มีเนื้อที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในยุโรปรองจากรัสเซียซึ่งยูเครนมีอาณาเขตติดต่อทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีอาณาเขตติดต่อกับเบลารุสทางทิศเหนือ ติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวาทางทิศใต้ และมีแนวชายฝั่งจรดทะเลอะซอฟและทะเลดำ ยูเครนมีเนื้อที่ 603,628 ตารางกิโลเมตร (233,062 ตารางไมล์) มีประชากรประมาณ 41.3 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในยุโรป เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคือเคียฟ (กือยิว) ภาษาราชการคือภาษายูเครน และประชากรส่วนมากสามารถสื่อสารภาษารัสเซียได้อย่างคล่องแคล่ว

ยูเครน

Украї́на (ยูเครน)
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง
  • ที่ตั้งของ ประเทศยูเครน  (เขียว)
  • และดินแดนที่เป็นกรณีพิพาท (เขียวอ่อน)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เคียฟ
49°N 32°E / 49°N 32°E / 49; 32
ภาษาราชการยูเครน
ภาษาที่ได้รับการรับรอง
ในระดับภูมิภาค
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2001)
  • 77.8% ยูเครน
  • 17.3% รัสเซีย
  • 4.9% อื่น ๆ / ไม่ระบุ
ศาสนา
(ค.ศ. 2018)
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย
• นายกรัฐมนตรี
แดนึส ชมือฮัล
• ประธานสภาสูงสุด
รุสลัน สแตฟันชุก
สภานิติบัญญัติสภาสูงสุดยูเครน
การสร้างชาติ
ค.ศ. 882
• อาณาจักรรูทีเนีย
ค.ศ. 1199
• รัฐผู้บัญชาการคอสแซ็ก
18 สิงหาคม ค.ศ. 1649
10 มิถุนายน ค.ศ. 1917
• การประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนยูเครน
22 มกราคม ค.ศ. 1918
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
• รัฐบัญญัติเอกภาพ
22 มกราคม ค.ศ. 1919
• การถอนตัวจากสหภาพโซเวียต
24 สิงหาคม ค.ศ. 1991
• การลงประชามติ
1 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
28 มิถุนายน ค.ศ. 1996
• การปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรี
18–23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014
พื้นที่
• รวม
603,628 ตารางกิโลเมตร (233,062 ตารางไมล์) (อันดับที่ 45)
7
ประชากร
• ตุลาคม ค.ศ. 2021 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 41,319,838
(ไม่รวมคาบสมุทรไครเมีย) (อันดับที่ 35)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2001
48,457,102
73.8 ต่อตารางกิโลเมตร (191.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 115)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 6.22 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 48)
เพิ่มขึ้น 15,124 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 108)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 2.04 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 56)
เพิ่มขึ้น 4,958 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 119)
จีนี (ค.ศ. 2019)Negative increase 26.6
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.779
สูง · อันดับที่ 74
สกุลเงินฮรึวญา (₴) (UAH)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+380
โดเมนบนสุด

ดินแดนที่เป็นประเทศยูเครนสมัยใหม่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ 32,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยกลาง พื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่งของวัฒนธรรมสลาฟตะวันออก โดยมีสหพันธ์เผ่าชนแห่งรุสเคียฟก่อตัวเป็นรากฐานของอัตลักษณ์ยูเครน หลังจากที่รุสเคียฟแตกออกเป็นหลายราชรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประกอบกับหายนะที่เกิดจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกล ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของดินแดนก็เสื่อมสลายและบริเวณนี้ก็ถูกแย่งชิง แบ่งแยก และปกครองโดยมหาอำนาจต่าง ๆ ซึ่งได้แก่เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย จักรวรรดิออสเตรีย–ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน และอาณาจักรซาร์รัสเซีย รัฐผู้บัญชาการคอสแซ็กของชาวยูเครนปรากฏขึ้นและเจริญรุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 แต่ในที่สุดดินแดนของรัฐนี้ก็ถูกแบ่งกันระหว่างโปแลนด์–ลิทัวเนียกับจักรวรรดิรัสเซีย ต่อมาเกิดขบวนการชาตินิยมยูเครนขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติรัสเซียและมีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนยูเครนเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1917 โดยได้รับการรับรองจากนานาชาติ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนตะวันตกของยูเครนได้รวมเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและทั้งประเทศก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ยูเครนได้รับเอกราชหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991

หลังจากที่ได้รับเอกราช ยูเครนประกาศตนเป็นรัฐที่เป็นกลาง โดยจัดตั้งความร่วมมือทางการทหารอย่างจำกัดกับรัสเซียและประเทศอื่น ๆ ในเครือรัฐเอกราช ในขณะเดียวกันก็สถาปนาความเป็นหุ้นส่วนกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือใน ค.ศ. 1994 ใน ค.ศ. 2013 หลังจากที่รัฐบาลของประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูกอวึช ตัดสินใจระงับความตกลงสมาคมระหว่างยูเครนกับสหภาพยุโรปและแสวงหาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัสเซีย คลื่นการเดินขบวนและการประท้วงที่รู้จักกันในชื่อยูโรไมดานก็เริ่มขึ้นและกินเวลานานหลายเดือนจนกระทั่งบานปลายเป็นการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีซึ่งนำไปสู่การโค่นอำนาจยานูกอวึชและการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เหตุการณ์เหล่านี้กลายเป็นภูมิหลังของการผนวกไครเมียเข้ากับรัสเซียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 และสงครามในดอนบัสในเดือนเมษายน ปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ยูเครนได้เริ่มใช้ข้อตกลงการค้าเสรีเชิงลึกและครอบคลุมกับสหภาพยุโรปมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2016

ยูเครนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ในอันดับที่ 77 เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรป โดยประสบปัญหาความยากจนและการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ในอัตราสูงมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์และกว้างขวาง ยูเครนจึงเป็นหนึ่งในผู้ส่งธัญพืชออกรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีกองทัพที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในยุโรปรองจากรัสเซียและฝรั่งเศส ยูเครนเป็นสาธารณรัฐเดี่ยวภายใต้ระบบกึ่งประธานาธิบดีโดยแบ่งแยกอำนาจออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ประเทศนี้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สภายุโรป องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การกวามเพื่อประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจ และสามเหลี่ยมลูบลิน และเป็นหนึ่งในรัฐผู้ก่อตั้งเครือรัฐเอกราชแม้ว่าจะไม่เคยเป็นสมาชิกขององค์การนี้ก็ตาม

ประวัติศาสตร์

ยุครุ่งเรืองแห่งเคียฟ

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาว Nomad โดยเฉพาะชาวไซเทีย เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูเครนในช่วงก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวเผ่าสลาฟได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของยูเครน อย่างไรก็ดี ชนชาติสำคัญที่มีบทบาทในการรวบรวมดินแดนบริเวณนี้ให้เป็นปึกแผ่นคือชาวรุส (Rus) ที่มาจากสแกนดิเนเวีย โดยต่อมาชาวรุสได้สถาปนาจักรวรรดิรุสเคียฟขึ้นในศตวรรษที่ 6 และปกครองชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ และต่อมาได้ขยายดินแดนออกไปรวบรวมเผ่าสลาฟและชนชาติต่าง ๆ จนเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ 11 แต่ในศตวรรษที่ 12 อาณาจักรนี้ได้เสื่อมสลายลง เนื่องจากสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ และการรุกรานจากชาวมองโกลในศตวรรษต่อมา หลังจากนั้น ดินแดนบางส่วนของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรต่าง ๆ เช่น ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิรัสเซีย

คริสต์ศตวรรษที่ 19 และคริสต์ศตวรรษที่ 20

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียและราชวงศ์ฮับสบวร์กเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1918 แต่ต่อมากระแสการปฏิวัติในรัสเซียได้ลุกลามมายังยูเครน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองและสงครามประกาศเอกราชขึ้น เกิดการก่อตั้งรัฐเอกราชยูเครนในช่วงระยะสั้น ๆ สมัยต่าง ๆ ดังนี้ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน, สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก และ รัฐยูเครน

สมัยระหว่างสงครามของสาธารณรัฐยูเครน

ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
ชายผู้ประสบทุพภิกขภัยบนถนนในคาร์กิว ใน ค.ศ. 1933 นโยบายนารวมและการริบพืชผลของประชากรโดยทางการสหภาพโซเวียตได้นำไปสู่ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในสาธารณรัฐยูเครน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ฮอลอดอมอร์

สงครามกลางเมืองรัสเซียได้ทำลายล้างจักรวรรดิรัสเซียทั้งหมดซึ่งรวมถึงภาคกลางและภาคตะวันออกของยูเครน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.5 ล้านคน และประชากรอีกหลายแสนคนต้องไร้ที่อยู่อาศัยในดินแดนของอดีตจักรวรรดิรัสเซีย สาธารณรัฐยูเครนยังต้องเผชิญกับทุพภิกขภัยในรัสเซียใน ค.ศ. 1921 (โดยส่วนใหญ่จะเกิดผลกระทบในภูมิภาควอลกา–ยูรัล) ในคริสต์ทศวรรษ 1920 มือกอลา สกรึปนึก ผู้นำคอมมิวนิสต์แห่งชาติ ได้ดำเนินนโยบายการทำให้เป็นยูเครนซึ่งสนับสนุนให้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมยูเครนและภาษายูเครน นโยบายการทำให้เป็นยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายโคเรนีซัตซียาซึ่งเป็นนโยบายที่ใช้ทั่วทั้งสหภาพโซเวียต ด้วยรูปแบบเศรษฐกิจที่ได้รับการวางแผนมาจากรัฐบาลกลาง สาธารณรัฐยูเครนจึงได้เข้าร่วมแผนการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ทำให้ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 4 เท่าในคริสต์ทศวรรษ 1930

ในช่วงต้นสมัยโซเวียต เกษตรกรยูเครนได้รับผลกระทบจากโครงการรวมที่นาสำหรับพืชผลทางการเกษตร นโยบายรวมที่นาเป็นส่วนหนึ่งของแผนห้าปีฉบับที่หนึ่งโดยมีกองกำลังประจำการและหน่วยตำรวจลับที่รู้จักกันในชื่อเชการ์เป็นผู้บังคับใช้ ผู้ที่ต่อต้านจะถูกจับกุมและถูกเนรเทศไปยังค่ายกูลักและค่ายแรงงาน เนื่องจากในบางครั้ง เกษตรกรนารวมจะไม่ได้รับอนุญาตให้รับเมล็ดพืชใด ๆ จนกว่าจะผลิตได้ถึงโควตาที่เป็นไปได้ยาก ประชากรหลายล้านคนจึงต้องอดอยากจนเสียชีวิตในทุพภิกขภัยที่รู้จักกันในชื่อ "ฮอลอดอมอร์" หรือ "ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่" ซึ่งบางประเทศได้รับรองว่าเป็นพันธุฆาตที่โจเซฟ สตาลิน และบุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ของสหภาพโซเวียตก่อขึ้น กลุ่มเดียวกันนี้ส่วนใหญ่ยังมีส่วนรับผิดชอบในปฏิบัติการสังหารหมู่ในช่วงสงครามกลางเมือง การรวมที่นา และการกวาดล้างใหญ่

สงครามโลกครั้งที่ 2

ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยูเครนให้การสนับสนุนกองทัพนาซีเยอรมันเพื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาได้หันไปต่อต้าน เนื่องจากกองทัพนาซีเยอรมันที่ปกครองอย่างกดขี่ และ ทารุณ โดยในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในยูเครนกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารหมู่ และ เคียฟ ถูกเผาทำลาย อย่างไรก็ดี หลังจากที่กองทัพนาซีบุกครองโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนที่เดิมอยู่ภายใต้โปแลนด์ได้ถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียต

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปี ค.ศ. 1986 และเมื่อประธานาธิบดีกอร์บาชอฟดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ได้ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่าง ๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง

การประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1990 ชาวยูเครนกว่า 300,000 คน ได้มาเรียงแถวเป็นโซ่มนุษย์เพื่ออิสรภาพของยูเครนระหว่างเคียฟและลวิว เพื่อรำลึกถึงการรวมตัวกันของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนและสาธารณรัฐยูเครนตะวันตกใน ค.ศ. 1919 ประชาชนออกมาที่ถนนและทางหลวงเรียงแถวเป็นโซ่มนุษย์ด้วยการจับมือกันเพื่อสนับสนุนความสามัคคี

วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 รัฐสภาชุดใหม่ได้รับรองคำประกาศอธิปไตยแห่งรัฐยูเครน คำประกาศนี้กำหนดหลักการของการกำหนดตนเอง ประชาธิปไตย ความเป็นอิสระ และความสำคัญของกฎหมายยูเครนที่เหนือกฎหมายของสหภาพโซเวียต ซึ่งหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น รัฐสภาของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียได้ประกาศใช้คำประกาศในลักษณะเดียวกันนี้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเผชิญหน้ากับทางการโซเวียต ในวันที่ 2-17 ตุลาคม ค.ศ. 1990 ได้เกิดเหตุการณ์การปฏิวัติที่หินแกรนิตในยูเครน วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินการคือเพื่อป้องกันการลงนามในสนธิสัญญาสหภาพใหม่ของสหภาพโซเวียต ความต้องการของนักเรียนพึงพอใจด้วยการลงนามในมติของแวร์คอว์นาราดา (รัฐสภายูเครน) ซึ่งรับประกันการดำเนินการของพวกเขา

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 มึความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตที่จะทำการก่อรัฐประหารเพื่อถอดมีฮาอิล กอร์บาชอฟให้ออกจากตำแหน่งและฟื้นฟูอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ หลังจากความพยายามก่อรัฐประหารที่ล้มเหลว วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 รัฐสภายูเครนได้รับรองรัฐบัญญัติประกาศอิสรภาพยูเครน

ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
แลออนิด เกราชุก ประธานาธิบดียูเครน (คนที่สองจากที่นั่งซ้าย) Stanislav Shushkevich ประธานสภาสูงสุดแห่งสาธารณรัฐเบลารุส (คนที่สามจากที่นั่งซ้าย) และ บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีรัสเซีย (คนที่สองจากที่นั่งขวา) ลงนามในข้อตกลงเบลาเวจา ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1991

การลงประชามติและการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า 92% แสดงการสนับสนุนรัฐบัญญัติประกาศอิสรภาพ และเลือกแลออนิด เกราชุก ประธานรัฐสภาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของยูเครน ในการประชุมที่เมืองเบรสต์ ประเทศเบลารุสเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ตามด้วยการประชุมที่อัลมา-อาตา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ผู้นำเบลารุส รัสเซีย และยูเครนได้ยุบสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการและก่อตั้งเครือรัฐเอกราช (CIS) และในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 สภาสาธารณรัฐแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตได้รับรองคำประกาศ "เกี่ยวกับการก่อตั้งเครือรัฐเอกราช" (รัสเซีย: В связи с созданием Содружества Независимых Государств) ซึ่งยุบสหภาพโซเวียตโดยนิตินัยและในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน รัฐสภายูเครนไม่ได้ให้สัตยาบันภาคยานุวัติ ซึ่งกล่าวคือ ยูเครนไม่เคยเป็นสมาชิกของเครือรัฐเอกราช

เดิมที่ยูเครนถูกมองว่ามีภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม ยูเครนประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในอดีตสหภาพโซเวียต ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ยูเครนสูญเสียจีดีพีถึง 60% ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ถึง ค.ศ. 1999 และมีอัตราเงินเฟ้อถึง 5 หลัก ความไม่พอใจกับสภาพเศรษฐกิจเช่นเดียวกับจำนวนอาชญากรรมและการทุจริตในยูเครนที่มากขึ้น ชาวยูเครนจึงประท้วงและนัดหยุดงาน

เศรษฐกิจยูเครนมีเสถียรภาพในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 มีการประกาศใช้สกุลเงินฮรึวญาซึ่งเป็นสกุลเงินใหม่ โดยถูกนำมาใช้ใน ค.ศ. 1996 หลัง ค.ศ. 2000 ยูเครนมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณเจ็ดเปอร์เซ็นต์ต่อปี รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครนได้รับการรับรองภายใต้การนำของแลออนิด กุชมา ประธานาธิบดีคนที่สองใน ค.ศ. 1996 ซึ่งเปลี่ยนยูเครนให้เป็นสาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดีและก่อตั้งระบบการเมืองที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม กุชมาถูกฝ่ายตรงข้ามวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการทุจริต การโกงเลือกตั้ง ซึ่งทำให้หมดกำลังใจในการพูด และการเพ่งความสนใจไปที่การใช้อำนาจที่มากเกินไปในตำแหน่งของเขา ยูเครนยังดำเนินการปลดอาวุธนิวเคลียร์อย่างเต็มรูปแบบ โดยสละคลังอาวุธนิวเคลียร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และรื้อถอนหรือถอดเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ทั้งหมดในอาณาเขตของตนเพื่อแลกกับการรับรองต่าง ๆ

การปฏิวัติส้ม

ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
ผู้ประท้วงที่จัตุรัสอิสรภาพในวันแรกของการปฏิวัติส้ม

ใน ค.ศ. 2004 วิกตอร์ ยานูกอวึช ซึ่งในขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งถูกควบคุมโดยส่วนใหญ่ตามคำตัดสินของศาลฎีกายูเครน ผลการเลือกตั้งทำให้เกิดเสียงไม่พอใจของประชาชนที่สนับสนุนวิกตอร์ ยุชแชนกอ ผู้สมัครฝ่ายค้านซึ่งคัดค้านผลการเลือกตั้ง ในช่วงหลายเดือนแห่งการปฏิวัติที่วุ่นวาย ผู้สมัครยุชแชนกอก็ป่วยหนัก และในเวลาไม่นาน กลุ่มแพทย์อิสระหลายกลุ่มพบว่าเขาได้รับพิษจากสารทีซีดีดีไดออกซิน ยุชแชนกอสงสัยอย่างยิ่งว่ารัสเซียมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางยาพิษของเขา ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดการปฏิวัติส้มที่สงบ และนำวิกตอร์ ยุชแชนกอ และยูลียา ตือมอแชนกอ ขึ้นสู่อำนาจ ในขณะที่วิกตอร์ ยานูกอวึช เป็นฝ่ายค้าน

ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
ยูลียา ตือมอแชนกอ (ขวา), อังเกลา แมร์เคิล และ มีเคอิล ซาคัชวีลี

นักเคลื่อนไหวของการปฏิวัติส้มได้รับทุนและการฝึกอบรมเกี่ยวกับยุทธวิธีขององค์กรทางการเมืองและการต่อต้านอย่างสันติโดยผู้สำรวจความคิดเห็นจากตะวันตกและที่ปรึกษามืออาชีพซึ่งได้รับทุนบางส่วนจากรัฐบาลตะวันตก[โปรดขยายความ] และหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ[ใคร?] แต่ได้รับเงินทุนส่วนใหญ่จากแหล่งในประเทศ ตามรายงานของ เดอะการ์เดียน ผู้บริจาคจากต่างประเทศมีได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ และ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ ร่วมกับสถาบันประชาธิปไตยแห่งชาติ, สถาบันรีพับลิกันอินเตอร์เนชันเนล, องค์การฟรีดอมเฮาส์ และมูลนิธิ Open Society Foundations ของจอร์จ โซรอส กองทุนแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้สนับสนุนความพยายามในการสร้างประชาธิปไตยในยูเครนตั้งแต่ ค.ศ. 1988 งานเขียนเกี่ยวกับการต่อสู้อย่างสันติโดยจีน ชาร์ป มีส่วนในการสร้างพื้นฐานเชิงกลยุทธ์ของการรณรงค์ของนักเรียน

ทางการรัสเซียให้การสนับสนุนผ่านที่ปรึกษาเช่นเกล็บ ปัฟลอฟสกี ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำให้ภาพลักษณ์ของยุชแชนกอมืดมนผ่านสื่อของรัฐ รวมถึงกดดันให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ขึ้นกับรัฐลงคะแนนเสียงให้ยานูกอวึชและเทคนิคการลงคะแนนเสียงเช่นการลงคะแนนเสียงแบบ "แคโรเซลโหวตอิงค์" หลายครั้งและการลงคะแนนเสียง "วิญญาณที่ตายแล้ว"

ยานูกอวึชกลับมาสู่อำนาจอีกครั้งใน ค.ศ. 2006 ในฐานะนายกรัฐมนตรีในกลุ่มพันธมิตรแห่งเอกภาพแห่งชาติ จนกระทั่งการเลือกตั้งอย่างฉับพลันในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ได้ทำให้ตือมอแชนกอเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเงินของยูเครนใน ค.ศ. 2008–09 เศรษฐกิจของยูเครนลดลง 15% ข้อพิพาทกับรัสเซียทำให้การจ่ายก๊าซทั้งหมดไปยังยูเครนหยุดชะงักไปชั่วคราวใน ค.ศ. 2006 และอีกครั้งใน ค.ศ. 2009 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนก๊าซในประเทศอื่น ๆ วิกตอร์ ยานูกอวึชได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2010 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 48

ยูโรไมดานและการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรี

ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
การเดินขบวนของฝ่ายสนับสนุนสหภาพยุโรปในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ในช่วงการประท้วงยูโรไมดาน

การประท้วงยูโรไมดาน (ยูเครน: Євромайдан ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 หลังจากที่ประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูกอวึช ตัดสินใจระงับความตกลงสมาคมระหว่างยูเครนกับสหภาพยุโรปและแสวงหาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัสเซีย ชาวยูเครนบางส่วนออกไปตามท้องถนนเพื่อแสดงการสนับสนุนสำหรับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับยุโรป

ในขณะเดียวกัน ทางตะวันออกของประเทศที่ประชากรพูดภาษารัสเซียเป็นส่วนใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ต่อต้านการประท้วง ยูโรไมดาน แทนที่จะสนับสนุนรัฐบาลยานูกอวึช เมื่อเวลาผ่านไป ยูโรไมดาน ได้อธิบายถึงกระแสของการประท้วงและความไม่สงบในยูเครน ขอบเขตของการพัฒนาที่รวมถึงการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูกอวึชและรัฐบาลของเขาลาออก

ความรุนแรงเพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2014 เมื่อรัฐบาลยอมรับกฎหมายต่อต้านการประท้วงฉบับใหม่ ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่มีความรุนแรงเข้ายึดอาคารในใจกลางกรุงเคียฟ รวมถึงอาคารกระทรวงยุติธรรม และการจลาจลทำให้มีผู้เสียชีวิต 98 ราย บาดเจ็บประมาณ 15,000 คน และสูญหายประมาณ 100 ราย ตั้งแต่วันที่ 18 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ และในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดียานูกอวึชได้ลงนามในข้อตกลงประนีประนอมกับผู้นำฝ่ายค้านที่สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อฟื้นฟูอำนาจบางอย่างให้รัฐสภาและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคม

อย่างไรก็ตาม สมาชิกรัฐสภายูเครนลงมติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ให้ถอดถอนประธานาธิบดีและกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ การขับไล่ยานูกอวึช ทำให้วลาดีมีร์ ปูติน เริ่มเตรียมการผนวกไครเมียในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 แปตรอ ปอรอแชนกอ ผู้ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนสหภาพยุโรป ชนะด้วยคะแนนเสียงมากกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้งรอบที่สอง ในระหว่างการเลือกตั้งของเขา ปอรอแชนกอประกาศว่าลำดับความสำคัญในทันทีของเขาคือการดำเนินการกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคตะวันออกของยูเครนและการแก้ไขความสัมพันธ์กับรัสเซีย

ปอรอแชนกอเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ตามที่โฆษกหญิงของเขา Irina Friz ประกาศก่อนหน้านี้ พิธีเข้ารับตำแหน่งจะเป็นพิธีที่ไม่สำคัญโดยและไม่มีการเฉลิมฉลองที่จัตุรัสอิสรภาพในกรุงเคียฟ (ศูนย์กลางของการประท้วง ยูโรไมดาน) สำหรับพิธี ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 มีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภา กลุ่ม "โซลิดาริตี" ของปอรอแชนกอ ได้ที่นั่งไป 132 ที่นั่งจากทั้งหมด 423 ที่นั่ง

การแทรกแซงของรัสเซียในลูฮันสก์และดอแนตสก์และการบุกครองไครเมีย

การบุกครองโดยรัสเซีย ค.ศ. 2022

ในฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. 2021 รัสเซียเริ่มระดมกองกำลังไปประจำการตามแนวชายแดนยูเครน-รัสเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 วลาดีมีร์ ปูติน ได้สั่งให้กองกำลังรัสเซียเคลื่อนเข้าไปยังสาธารณรัฐดอแนตสก์และลูฮันสก์ของยูเครนที่แยกตัวออกมาจากประเทศแม่ โดยเรียกกองกำลังเหล่านี้ว่า "กองกำลังรักษาสันติภาพ" ปูตินยังได้รับรองอย่างเป็นทางการว่า อดีตพื้นที่ของยูเครนเหล่านี้ได้กลายเป็นรัฐอธิปไตยและเป็นอิสระจากรัฐบาลยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ

มกราคม ค.ศ. 2023

ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะส่งเครื่องบินรบ F-16 ไปยังยูเครน แม้ว่าเจ้าหน้าที่ยูเครนจะเรียกร้องการสนับสนุนทางอากาศอีกครั้งก็ตามนักข่าวถามเมื่อวันจันทร์ว่าสหรัฐฯ จะจัดหาเครื่องบินให้หรือไม่ นายไบเดนตอบเพียงว่า "ไม่" ความคิดเห็นของเขามีขึ้นหนึ่งวันหลังจากผู้นำเยอรมนีสั่งห้ามส่งเครื่องบินขับไล่ ยูเครนได้กล่าวว่าต้องการเครื่องบินไอพ่นเพื่อควบคุมน่านฟ้าของตนในสงครามที่กำลังดำเนินอยู่กับรัสเซีย

F-16 Fighting Falcons ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่เชื่อถือได้มากที่สุดในโลก และถูกใช้โดยประเทศอื่นๆ เช่น เบลเยียมและปากีสถานสิ่งเหล่านี้จะเป็นการอัพเกรดที่สำคัญสำหรับเครื่องบินขับไล่ในยุคโซเวียตที่ยูเครนใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลิตขึ้นก่อนที่ประเทศจะประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม นายไบเดนปฏิเสธคำร้องขอของยูเครนหลายครั้งต่อเครื่องบินไอพ่นลำนี้ โดยเน้นไปที่การให้การสนับสนุนทางทหารในด้านอื่นๆ แทนสหรัฐฯ ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะจัดหารถถัง Abrams 31 คันให้กับ Kyiv โดยที่อังกฤษและเยอรมนีก็ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนในลักษณะเดียวกัน

Andrii Melnyk รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของยูเครนยินดีกับการประกาศดังกล่าว แต่ได้ขอให้พันธมิตรจัดตั้ง "กลุ่มพันธมิตรเครื่องบินขับไล่" ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighters, Tornados, Rafales ของฝรั่งเศส และ Gripen ของสวีเดนให้กับยูเครน

การเมืองการปกครอง

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยสภาสูงสุดเป็นผู้เสนอชื่อ และประธานาธิบดีเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาสูงสุด (Supreme Rada) มีสมาชิก 450 คน (เลือกตั้งโดยตรง 225 ที่นั่ง แบบสัดส่วน 225 ที่นั่ง) โดยมีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี

นโยบายต่างประเทศ

ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตกมาโดยตลอด ในช่วงแรกหลังการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต โดยตั้งเป้าที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาของทวีปยุโรปและแยกตัวออกจากกรอบความสัมพันธ์กับรัสเซียและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แต่ต่อมา ยูเครนได้ปรับทิศทางของนโยบายต่างประเทศให้สมดุลมากขึ้น โดยหันมาให้ความสำคัญกับรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ด้วย ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า นโยบายต่างประเทศของยูเครนอยู่บนพื้นฐานของการสร้างดุลยภาพระหว่างการบูรณาการกับตะวันตกและการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความผูกพันทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์การเมือง

ทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของยูเครนในปัจจุบัน การดำเนินนโยบายต่างประเทศของยูเครนภายใต้รัฐบาลของนาง Tymoshenko ยังคงมุ่งเน้นปัจจัยหลัก 3 ประการ เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ได้แก่

  1. พัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศเพื่อนบ้าน ประเทศมหาอำนาจ และประเทศหุ้นส่วนสำคัญทางยุทธศาสตร์
  2. การบูรณาการเข้าสู่สหภาพยุโรปและนาโต้
  3. ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี

ความสัมพันธ์กับรัสเซีย

ช่วงแรก ในช่วง 10 ปีแรก หลังการแยกตัวจากสหภาพโซเวียต ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตก หันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และประเทศตะวันตก และพยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียก็ไม่สามารถยอมรับการเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ของยูเครนได้ เนื่องจากยูเครนหรือ Little Russia ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียมาโดยตลอด พร้อมกันนี้ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวยูเครนกับชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ในยูเครนได้ปะทุขึ้นภายหลังจากที่ยูเครนประกาศเอกราชจากรัสเซีย ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับยูเครนหลายครั้ง เช่น การแย่งชิงคาบสมุทรไครเมีย และปัญหากรรมสิทธิกองเรือของรัสเซียในทะเลดำ เป็นต้น ทั้งนี้ ความพยายามลดการพึ่งพารัสเซียทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดได้แก่ การที่ยูเครนพยายามแสวงหาแหล่งน้ำมันและพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ นอกเหนือจากรัสเซีย เช่น อิหร่าน และดินแดนปกครองตนเองในรัสเซีย

ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซียได้กลับมาใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังจากที่ได้ห่างเหินเป็นเวลายาวนานในช่วงหลังการประกาศอิสรภาพ การปรับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งเริ่มจากการลงนามในความตกลงเพื่อหาข้อยุติสำหรับปัญหากองเรือทะเลดำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 ทั้งนี้ ความตกลงฯ ได้กำหนดให้รัสเซียได้สิทธิในการเช่าฐานทัพเรือยูเครนที่เมืองเซวาสโตโพล (Sevastopol) เพื่อเป็นที่ตั้งกองเรือของตนต่อไปอีก 20 ปี

ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ (Bilateral Commission) และรวมไปถึงการพิจารณาปัญหาความขัดแย้งในการปักปันเขตแดน การจัดทำแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ 10 ปี (ปี ค.ศ. 1998 - 2007) ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสองประเทศในเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจ แนวทางในการร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและแนวทางในการขยายปริมาณการค้าระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ กว่า 100 โครงการ เช่น ด้านการบิน การพลังงาน การสำรวจอวกาศ เป็นต้น ซึ่งแผนความร่วมมือดังกล่าว จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ เมื่อปี ค.ศ. 1997 ให้เพิ่มขึ้นอีกสองเท่าครึ่งในอีก 10 ปี ข้างหน้า นอกจากนั้น ยังมีความตกลงระหว่างรัฐบาลอีกหลายฉบับ เช่น ความร่วมมือด้านการสื่อสาร การศึกษาและการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมร่วม เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมทั้งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือและมิตรภาพ (Treaty of Friendship, Co-operation and Partnership) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1997 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรบนพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (strategic partnership) การเคารพซึ่งกันและกัน และในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นต่อไป และผู้นำทั้งสองเห็นพ้องที่จะให้จัดตั้งคณะทำงานร่วม anti - crisis group เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และยืนยันที่จะผลักดันรัฐบาลของแต่ละฝ่ายให้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2002 นายกรัฐมนตรี Mikhail Kasyanov ของรัสเซียและนายกรัฐมนตรี Anatoliy Kinakh ของยูเครนในขณะนั้น ได้ลงนามร่วมกันในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ นาย Alexei Miller ประธานกรรมการบริษัท Gazprom ของรัสเซียก็ได้ลงนามในเอกสารร่วมกับนาย Yury Buiko ประธานกรรมการบริษัท Nallogaz Ukrainy ของยูเครน เพื่อการจัดตั้งองค์กรร่วมทุนระหว่างประเทศ (international consortium) เพื่อพัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับระบบการขนส่งก๊าซในยูเครน โดยองค์กรดังกล่าวจะจัดตั้ง จดทะเบียน และดำเนินการภายใต้กฎหมายของยูเครน โดยสำนักงานจะตั้งอยู่ที่เคียฟ และในอนาคตรัสเซียและยูเครนจะเปิดโอกาสให้บริษัทต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรร่วมทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครนได้เคยลงนามในสัญญาร่วมกันเพื่อการขนส่งก๊าซจากรัสเซียผ่านท่อก๊าซของยูเครนถึงปีค.ศ. 2013 ไม่ต่ำกว่า 110 พันล้านคิวบิกเมตร และปัจจุบัน รัสเซียส่งก๊าซไปยังยุโรปโดยผ่านระบบท่อส่งก๊าซในยูเครนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของนาง Tymoshenko น่าจะลดความสำคัญในการร่วมมือกับรัสเซียลงกว่ารัฐบาลชุดที่แล้ว

ความขัดแย้งเรื่องราคาก๊าซธรรมชาติระหว่างยูเครนกับรัสเซีย

ก่อนหน้านี้ ยูเครนและรัสเซีย ได้เจรจาข้อขัดแย้งในกรณีที่รัสเซียระงับการจ่ายก๊าซธรรมชาติให้ยูเครน หลังจากที่ยูเครนไม่ยอมตามที่รัสเซียประกาศจะขึ้นราคาก๊าซ 4 เท่า จากเดิม 50 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เป็น 220 - 230 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ตามราคาตลาดยุโรป เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ยูเครน และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ซึ่งนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านท่อก๊าซในยูเครน ประสบกับปัญหาด้านพลังงาน ท่ามกลางภูมิอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบหลายปี ในเบื้องต้น ยูเครนและรัสเซียสามารถตกลงกันได้ในระดับหนึ่ง โดยยูเครนจะนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านบริษัท Rosukrenergo ซึ่งรัสเซีย ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง โดยบริษัท Rosukrenergo จะซื้อก๊าซจากรัสเซียในราคา 230 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร และขายก๊าซที่ตนซื้อจากเติร์กเมนิสถาน ซึ่งมีราคาถูกกว่าให้ยูเครนในราคา 95 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 5 ปี ทั้งนี้ สำหรับปี 2551 รัฐบาลยูเครนภายใต้การนำของนาย Viktor Yanukovych อดีต นรม. ได้ลงนามความตกลงกับรัสเซียที่จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในราคา 179.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งขึ้นจาก 130 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2550

ความขัดแย้งบริเวณช่องแคบเคียร์ช

ช่องแคบ Kerch ตั้งอยู่ระหว่างเกาะ Tuzla ของยูเครนและ Taman Peninsula ของรัสเซีย และเป็นช่องทางผ่านจากทะเล Azov เข้าสู่ทะเลดำ ซึ่งนับตั้งแต่การประกาศเอกราชของยูเครนจากสหภาพโซเวียต ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุการเจรจาปักปันเขตแดนในบริเวณนี้ แต่เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 รัสเซียได้เริ่มสร้างเขื่อนในบริเวณช่องแคบ Kerch เพื่อเชื่อมชายฝั่งบริเวณคาบสมุทร Taman ของรัสเซีย เข้ากับเกาะ Tuzla ของยูเครน โดยอ้างว่าเขื่อนดังกล่าวจะช่วยลดการพังทลายของพื้นที่ชายฝั่งของรัสเซีย แต่ยูเครนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยทางดินแดนของตน จึงได้ส่งกองทัพเข้าไปประจำการในเกาะ Tuzla และทำการซ้อมรบในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งรัฐสภายูเครนได้ลงมติว่า การกระทำของรัสเซียถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นมิตร ทำให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าที่ตึงเครียดระหว่างสองประเทศ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายได้พยายามเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในหลายระดับ โดยการเจรจาครั้งสำคัญมีขึ้นระหว่างประธานาธิบดี Kuchma ของยูเครน และประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่แหลมไครเมีย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกันบริเวณช่องแคบ Kerch และทะเล Azov และล่าสุดมีรายงานข่าวว่า การเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียรอบแรกว่าด้วยการปักปันเขตแดนทางทะเลบริเวณช่องแคบ Kerch และทะเล Azov จะจัดขึ้นที่กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ 29 - 30 มกราคม ค.ศ. 2004

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มเครือรัฐเอกราช

ยูเครนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโปแลนด์ และมีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) รองจากรัสเซีย รวมทั้งมีบทบาทนำในองค์กรในระดับอนุภูมิภาค เช่น กลุ่ม GUUAM (Georgia - Ukraine - Uzbekistan - Azerbaijan - Moldova) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ CIS ที่นิยมตะวันตกและสนับสนุนให้ CIS รวมตัวเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น กลุ่ม Organization for Black Sea Economic Cooperation และอยู่ในกลุ่มความร่วมมือ Common Economic Space (CES) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างรัสเซีย ยูเครน เบลารุส และคาซัคสถาน นอกจากนี้ ยูเครนยังมีแผนที่จะร่วมมือกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และมอลโดวา ในการสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจากริมฝั่งทะเลสาบแคสเปียนโดยไม่ผ่านดินแดนของรัสเซียเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจและอิทธิพลรัสเซียในภูมิภาคนี้ เนื่องจากปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ผูกขาดการขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนไปยังตลาดตะวันตกแต่เพียงผู้เดียว

ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก

สหภาพยุโรป

ยูเครนและสหภาพยุโรปได้จัดทำความตกลงภายใต้ Partnership and Cooperation Agreement ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2541 อย่างไรก็ตาม ความตกลงดังกล่าวมิได้ขยายไปถึงการจัดทำ Association Agreement ตามที่ยูเครนแสดงความประสงค์ โดยสหภาพยุโรปได้แต่ยอมรับถึงความประสงค์ของยูเครนที่จะยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่การเป็น Association ระหว่างกันเท่านั้น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเข้าร่วมเป็นสมาชิก EU ของยูเครนคือ การที่ยูเครนยังไม่ได้รับการยอมรับว่ามีเศรษฐกิจระบบตลาดและยังมีปัญหาในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอยู่มาก

รัฐบาลภายใต้การนำของนาง Tymoshenko น่าจะดำเนินนโยบายที่มุ่งกระชับความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปมากกว่ารัฐบาลชุดก่อน โดยเน้นการรวมตัวกับสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เพื่อทดแทน Parnership and Cooperation Agreement ซึ่งสิ้นอายุไปเมื่อปลายปี 2550 ทั้งนี้ คาดว่ายูเครนยังคงไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในรัฐบาลชุดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่ายูเครนยังจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ในปี 2551 ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการเจรจาทวิภาคีกับประเทศที่เกี่ยวข้องเมื่อปี 2550 ซึ่งน่าจะปูทางไปสู่การเข้าเป็นสมาชิก EU ได้ต่อไปในอนาคต

สหรัฐ

ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับสหรัฐดำเนินภายใต้โครงการความช่วยเหลือ Freedom for Russia and Emerging Eurasian Democracies and Open Markets Support Act ซึ่งผ่านการรับรองจากรัฐสภาสหรัฐเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 โดยมียอดเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในบรรดาประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ยูเครนได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากสหรัฐมากที่สุด โดยในปี ค.ศ. 2000 ยูเครนได้รับเงินช่วยเหลือ 168 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดรวม 216 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกำหนดที่จะให้ประเทศ CIS ทั้งหมด นอกจากนี้ ยูเครนยังได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐอีก จำนวน 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้โครงการ Western NIS Enterprise Fund ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือแก่วิสาหกิจเอกชนของยูเครน แต่ภายหลังที่มีข่าวเรื่องยูเครนขายอาวุธให้แก่อิรักแล้ว มีรายงานข่าวว่า ในปี ค.ศ. 2003 รัฐบาลสหรัฐได้ปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่รัฐบาลยูเครน และจะโอนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หน่วยงานหรือกลุ่มผู้รณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในยูเครนแทน อย่างไรก็ดี ยูเครนได้ส่งทหารจำนวน 1,600 นาย เข้าไปร่วมกับกองกำลังของพันธมิตรในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 ซึ่งคาดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ยูเครนได้เข้าเป็นสมาชิก NATO ได้ในอนาคต อนึ่ง ยูเครนเข้าร่วมใน OSCE ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นสมาชิกของ North Atlantic Cooperation Council และเป็นสมาชิก Partnership for Peace ในกรอบนาโต อย่างไรก็ดี นโยบายที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ของนาง Tymoshenko อาจถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านและประชาชนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน

ความสัมพันธ์กับไทย

  • การทูต

ความสัมพันธ์ทวิภาคีดำเนินไปอย่างราบรื่น มีกลไกที่พร้อมสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับหนึ่ง โดยไทยมอบหมายสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก มีเขตอาณาดูแลยูเครน ขณะที่ยูเครนจัดตั้งสถานเอกอัคราชทูตขึ้นที่ประเทศไทย มีความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission) ระหว่างไทยกับยูเครน ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าและอุตสหกรรมยูเครน เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทสายการบิน Aerosvit ของยูเครนได้เปิดเส้นทางการบินตรงระหว่างไทยกับยูเครนสัปดาห์ละ 3 เที่ยวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ใน พ.ศ. 2549 มีนักท่องเที่ยวยูเครนมาไทยถึง 15,000 คน ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปยูเครนประมาณ 50 คน

  • การเมือง

ไทยมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับยูเครนตั้งแต่ยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย และ สหภาพโซเวียตตามลำดับ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในช่วงปลาย พ.ศ. 2534 โดยสาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งเคยรวมเป็นสหภาพโซเวียต ได้แยกตัวออกเป็นอิสระ และประกาศตัวเป็นเอกราชรวม 12 ประเทศ ไทยได้ให้การรับรองเอกราชของประเทศเหล่านี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ต่อมาไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับยูเครน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยให้อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก และใน พ.ศ. 2550 ได้แต่งตั้งนายมิโคโล ราดุดสกี (Mykhajlo Radoutskyy) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำยูเครน ส่วนยูเครนได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยมีนายอีกอร์ ฮูเมนนี (Ihor Humennyi) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย และ มีนายปรีชา ถิรกิจพงศ์ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ยูเครนประจำประเทศไทย

การแบ่งเขตการปกครอง

ยูเครนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 แคว้น (о́бласть) 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (автоно́мна респу́бліка) และ 2 นครสถานะพิเศษ (мі́сто зі спеціа́льним ста́тусом) ได้แก่

เขตการปกครอง เมืองหลัก
แคว้น
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  กีรอวอฮรัด กรอปึวนึตสกึย
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  คแมลนึตสกึย คแมลนึตสกึย
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  คาร์กิว คาร์กิว
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  เคียฟ เคียฟ
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แคร์ซอน แคร์ซอน
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แชร์กาซือ แชร์กาซือ
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แชร์นิวต์ซี แชร์นิวต์ซี
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แชร์นีฮิว แชร์นีฮิว
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ซาการ์ปัจจา อุฌฮอรอด
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ซาปอริฌเฌีย ซาปอริฌเฌีย
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ซูมือ ซูมือ
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ฌือตอมือร์ ฌือตอมือร์
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ดนีปรอแปตร็อวสก์ ดนีปรอ
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ดอแนตสก์ ดอแนตสก์
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แตร์นอปิล แตร์นอปิล
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ปอลตาวา ปอลตาวา
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  มือกอลายิว มือกอลายิว
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ริวแน ริวแน
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ลวิว ลวิว
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ลูฮันสก์ ลูฮันสก์
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  วอลึญ ลุตสก์
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  วินนึตเซีย วินนึตเซีย
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ออแดซา ออแดซา
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  อีวานอ-ฟรันกิวสก์ อีวานอ-ฟรันกิวสก์
สาธารณรัฐปกครองตนเอง
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  ไครเมีย ซิมเฟโรปอล
นครสถานะพิเศษ
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  เคียฟ
ประเทศยูเครน: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  เซวัสโตปอล

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

    รัฐบาล

Tags:

ประเทศยูเครน ประวัติศาสตร์ประเทศยูเครน การเมืองการปกครองประเทศยูเครน การแบ่งเขตการปกครองประเทศยูเครน หมายเหตุประเทศยูเครน อ้างอิงประเทศยูเครน แหล่งข้อมูลอื่นประเทศยูเครนUk-Україна (2).ogaทะเลดำทะเลอะซอฟภาษายูเครนภาษารัสเซียภาษาราชการภาษาอังกฤษมอลโดวายุโรปตะวันออกรัสเซียรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่สโลวาเกียฮังการีเคียฟเบลารุสโปแลนด์โรมาเนียไฟล์:Uk-Україна (2).oga

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บาร์เซโลนาอิษยา ฮอสุวรรณชนิกานต์ ตังกบดีพัชราภา ไชยเชื้อหลวงปู่ทวดโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)สล็อตแมชชีนอนุทิน ชาญวีรกูลโชติกา วงศ์วิลาศญินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยจนกว่าจะได้รักกันรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีธี่หยดการรถไฟแห่งประเทศไทยอริศรา วงษ์ชาลีพีรวัส แสงโพธิรัตน์มหาเวทย์ผนึกมารจังหวัดชัยภูมิวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสีประจำวันในประเทศไทยพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกคนลึกไขปริศนาลับปตท.พระยศเจ้านายไทยคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์จังหวัดสงขลาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ธนาคารกสิกรไทยทุเรียนสโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตันมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์จังหวัดเพชรบุรีสกีบีดีทอยเล็ตระบบรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กบาท (สกุลเงิน)เจสัน สเตธัมดาบพิฆาตอสูรอิงฟ้า วราหะหนุมานชวลิต ยงใจยุทธช่อง 3 เอชดีวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540ประเทศซาอุดีอาระเบียจ้าว ลู่ซือสงครามเย็นเอกซ์เจแปนมิลลิ (แร็ปเปอร์)เธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินโทกูงาวะ อิเอยาซุพันทิป.คอมสุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรเปรียญธรรม 9 ประโยคมหาวิทยาลัยรามคำแหงสโมสรฟุตบอลอัลฮิลาลจังหวัดสุโขทัยเครือเจริญโภคภัณฑ์กกโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทจังหวัดนครศรีธรรมราชกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์วรนุช ภิรมย์ภักดีอีเอฟแอลแชมเปียนชิปนริลญา กุลมงคลเพชรต่อศักดิ์ สุขวิมลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์อดุลย์ แสงสิงแก้วกระทรวงในประเทศไทยรายชื่อตอนในโปเกมอนศีล 227🡆 More