ชวลิต ยงใจยุทธ: อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ม.ป.ช.

๔ (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475) เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 22 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผู้บัญชาการทหารบก และรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคความหวังใหม่คนแรก และเป็น ส.ส.หลายสมัย

ชวลิต ยงใจยุทธ
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน
พล.อ.ชวลิต ใน ปี 2561
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 22
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(0 ปี 349 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รอง
ก่อนหน้าบรรหาร ศิลปอาชา
ถัดไปชวน หลีกภัย
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533
(0 ปี 83 วัน)
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
(0 ปี 103 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(4 ปี 23 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 13 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2533
(0 ปี 72 วัน)
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(0 ปี 345 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(1 ปี 228 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537
(2 ปี 73 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าเภา สารสิน
ถัดไปสนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 7 มกราคม พ.ศ. 2537
(0 ปี 106 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปไพฑูรย์ แก้วทอง
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 32 วัน)
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าประมาณ อดิเรกสาร
ถัดไปประมาณ อดิเรกสาร
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 30 เมษายน พ.ศ. 2543
(2 ปี 155 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าชวน หลีกภัย
ถัดไปชวน หลีกภัย
รักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2533
(2 ปี 181 วัน)
ก่อนหน้าพลเรือเอก สุภา คชเสนี
ถัดไปพลเอก สุนทร คงสมพงษ์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2533
(3 ปี 308 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
ถัดไปพลเอก สุจินดา คราประยูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
จังหวัดนนทบุรี ประเทศสยาม
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2533–2545, 2554–2558)
ไทยรักไทย (2545–2548)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2552–2554)
คู่สมรส
บุตร
  • กฤศพล
  • อรพิณ
  • ศรีสุภางค์
บุพการี
  • ชั้น ยงใจยุทธ (บิดา)
  • สุรีย์ศรี ยงใจยุทธ (มารดา)
ลายมือชื่อชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน ไทย
สังกัดกองทัพไทย
ประจำการพ.ศ. 2503–2533
ยศชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน พลเอก
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน พลเรือเอก
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน พลอากาศเอก
บังคับบัญชากองบัญชาการทหารสูงสุด (รักษาการ)
กองทัพบก
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม

ประวัติ

พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของร.อ. ชั้น ยงใจยุทธ และนางสุรีย์ศรี (นามเดิม: ละมุน) ยงใจยุทธ มีพี่สาวต่างบิดาชื่อ สุมน สมสาร และน้องชายต่างมารดาชื่อธรรมนูญ ยงใจยุทธ ในวัยเด็ก พลเอก ชวลิต มีชื่อเล่นเดิมว่า “ตึ๋ง” หรือ “หนู” แต่ต่อมาเพื่อน ๆ นายทหารมักเรียกว่า “จิ๋ว” เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้น จึงไปสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2496 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2507

ชวลิตสมรสครั้งแรกกับวิภา ยงใจยุทธ ครั้งที่ 2 กับพิมพ์นิภา มนตรีอาภรณ์ (นามเดิม: ประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์) สมรสครั้งที่ 3 กับคุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (ลิมปภมร) และสมรสครั้งที่สี่กับอรทัย ยงใจยุทธ ชวลิตมีบุตร 3 คนกับภรรยาคนแรก คือ

  1. นายกฤศพล ยงใจยุทธ
  2. นางอรพิณ นพวงศ์ (ถึงแก่กรรม)
  3. พ.ต.ต.หญิง ศรีสุภางค์ โสมกุล

ชวลิตเป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดชทางพระมารดา โดยหม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา มีศักดิ์เป็นป้าแท้ ๆ ของเขา

การทำงาน

ราชการทหารช่วงสงครามเย็น

ภายหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงในพ.ศ. 2518 ด้วยชัยชนะของฝ่ายเวียดนามเหนือ และกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังออกจากภูมิภาคอินโดจีน ทำให้กองทัพเวียดนามเริ่มรุกรานประเทศกัมพูชา จนเกิดเป็นสงครามกัมพูชา–เวียดนามขึ้นและทำให้รัฐบาลเขมรแดงซึ่งมีจีนคอมมิวนิสต์หนุนหลังอยู่หมดอำนาจลง แต่กองกำลังของเขมรแดงนี้ได้ถอยร่นมาอยู่บริเวณภาคตะวันตกของกัมพูชา นอกจากนี้กองทัพเวียดนามยังมีการประกาศว่ามีศักยภาพที่จะยึดกรุงเทพได้ภายใน 2 ชั่วโมง ทำให้ไทยต้องตรึงกำลังทหารตลอดชายแดนไทย-กัมพูชา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 กองทัพเวียดนามส่งทหารเข้าโจมตีกองกำลังเขมรแดงจนลึกเข้ามาถึงในอาณาเขตของไทย ทำให้เกิดการปะทะกับทหารไทยเป็นระยะ ๆ ประกอบกับกองทัพสหรัฐได้ถอนกำลังจากประเทศไทยไปแล้ว ทำให้รัฐบาลไทยมีความวิตกกังวลในเรื่องการรับมือเวียดนามเป็นอันมาก

ในระหว่างนั้นรัฐบาลไทยได้ส่งคณะนายทหารจำนวนสามนายปฏิบัติราชการลับ ซึ่งประกอบด้วย

  1. พล.ท. ผิน เกสร
  2. พ.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
  3. พ.อ. พัฒน์ อัคนิบุตร

เดินทางไปเจรจาความกับเติ้ง เสี่ยวผิง ที่ประเทศจีน โดยจีนได้ตกลงที่จะเลิกให้ที่พักพิงกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และยังได้สนับสนุนยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่งให้แก่กองทัพไทยและตัดสินใจก่อสงครามกับเวียดนาม โดยพ.อ. ชวลิต ยงใจยุทธได้รับเกียรติจากกองทัพจีนให้ยิงปืนใหญ่นัดแรกจากกว่างซีเข้าสู่ดินแดนเวียดนาม ทำให้เวียดนามต้องถอนกำลังจากกัมพูชาเพื่อไปต้านการรุกรานจากจีน

งานการเมือง

พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเข้าสู่การเมือง ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 พล.อ. ชวลิต เป็นหนึ่งในผู้ที่ปราศรัยขับไล่ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง เป็นคนแรกด้วย การเมืองหลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในภาคอีสาน

ต่อมาเมื่อพรรคความหวังใหม่ชนะในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 พล.อ.ชวลิต ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคจึงขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาได้ลาออกเนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และ พล.อ. ชวลิต ก็รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร สมัยแรกด้วย

หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 พล.อ. ชวลิต พยายามจะเป็นผู้เสนอตัวไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้ที่ขับไล่ทักษิณ และกลุ่มผู้ที่สนับสนุนทักษิณ ให้ "สมานฉันท์" กันโดยเรียกบทบาทตัวเองว่า"โซ่ข้อกลาง" รวมทั้งมีการข่าวว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน แต่แล้วตำแหน่งนี้ในที่สุดก็ตกเป็นของสมัคร สุนทรเวช

ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ. ชวลิตได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เจรจากับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเฉพาะ แต่หลังจากรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา พล.อ. ชวลิตก็ขอลาออกทันที

ในกลางปี พ.ศ. 2552 หลังจากถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูลความผิดในกรณีเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แล้วนั้น พลเอกชวลิตก็ได้สมัครเข้าสู่พรรคเพื่อไทย โดยให้เหตุผลว่าต้องการเข้ามาเพื่อสมานฉันท์ โดยไม่ต้องการเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร และหลังจากนั้นทางพรรคเพื่อไทยก็ได้มีมติให้เขาดำรงตำแหน่งประธานพรรค

ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 พล.อ. ชวลิต ขึ้นเวทีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ โดยประกาศตอนหนึ่งว่า ว่า นายวีระ นายแน่มาก และไม่เคยเห็นมหาชนที่ประกอบภารกิจที่ศักดิ์สิทธิ์ของแผ่นดิน และทำสำเร็จแล้ววันนี้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะทำอะไรอย่าไปสนใจ

ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 พล.อ. ชวลิต และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ออกแถลงการณ์ขอร้องให้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงหยุดวิกฤตการเมือง

ต่อมาในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554 ท่ามกลางข่าวลือที่มีมาช่วงระยะหนึ่ง พล.อ. ชวลิต ก็ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ คนใกล้ชิดของ พล.อ. ชวลิต อ้างว่า ไม่พอใจที่มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนที่เข้าทำกิจกรรมร่วมกับทางแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และมีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนหน้านั้นไม่นาน

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขากล่าวให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระวังเกิดการรัฐประหารซ้ำ ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขากล่าวตอนนึงว่า การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ทำให้เศรษฐกิจดีหรือไม่นั้นต้องไปถามประชาชนว่ากินอิ่ม นอนหลับหรือไม่ ถ้าหากประชาชนยังไม่มีกินก็ต้องไปแก้ปัญหาตรงนี้ ซึ่งนับเป็นปัญหาของทุกรัฐบาล ในขณะที่คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ แสดงความเห็นว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเคารพ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครพนม สังกัด พรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครพนม สังกัด พรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคความหวังใหม่พรรคไทยรักไทย

งานการศาสนา

สนับสนุนให้มีการผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นการเฉพาะ การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยที่จัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เป็นสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. 2540 สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ของคณะสงฆ์ไทย (ฝ่ายธรรมยุตินิกาย) และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ของคณะสงฆ์ไทย (ฝ่ายมหานิกาย) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทยทั้งสองแห่ง มีพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เน้นจัดการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและศาสตร์แขนงอื่น ๆ

งานการศึกษา

วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540

รัฐบาลของพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐบาลที่มีส่วนรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่ทำให้ประเทศไทยล้มละลาย และลุกลามไปทั่วโลกและส่งผลต่อสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เนื่องจากดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวลดลงถึง 554.26 จุด ไปปิดที่ 7161.15. จุด คิดเป็นร้อยละ 7.18 ด้วยการทำเงินคงคลังทั้งหมดของประเทศเข้าไปอุ้มค่าเงินบาท ซึ่งถูกปล่อยขายในขณะนั้น ธุรกิจของเหล่าแกนหลักของรัฐบาลชุดนี้ ยังถูกตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ได้รับผลกระทบต่อวิกฤตการณ์แต่อย่างใด ในขณะที่ธุรกิจของบุคคลโดยทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง กับคนในรัฐบาลนั้น ได้รับผลกระทบถึงขั้นล้มละลายเป็นจำนวนมาก จนมีการประท้วงโดยประชาชนส่งผลทำให้พลเอกชวลิตต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

ยศกองอาสารักษาดินแดน

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ชวลิต ยงใจยุทธ ถัดไป
บรรหาร ศิลปอาชา ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน 
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม.52)
(25 พฤศจิกายน 2539 – 9 พฤศจิกายน 2540)
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ชวน หลีกภัย
ประมาณ อดิเรกสาร ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน 
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย
(15 พฤษภาคม 2535 – 16 มิถุนายน 2535)
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ประมาณ อดิเรกสาร
ชวน หลีกภัย ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย
(26 พฤศจิกายน 2540 – 2 มิถุนายน 2541)
(2 กันยายน 2541 – 27 เมษายน 2542)
(12 พฤษภาคม 2542 – 30 เมษายน 2543))
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ชวน หลีกภัย
พลเรือเอก สุภา คชเสนี ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน 
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(รักษาราชการ)

(1 ตุลาคม 2530 – 31 มีนาคม 2533)
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน 
ผู้บัญชาการทหารบก
(27 พฤษภาคม 2529 – 28 มีนาคม 2533)
ชวลิต ยงใจยุทธ: ประวัติ, การทำงาน, ยศกองอาสารักษาดินแดน  พลเอก สุจินดา คราประยูร

Tags:

ชวลิต ยงใจยุทธ ประวัติชวลิต ยงใจยุทธ การทำงานชวลิต ยงใจยุทธ ยศกองอาสารักษาดินแดนชวลิต ยงใจยุทธ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชวลิต ยงใจยุทธ ลำดับสาแหรกชวลิต ยงใจยุทธ อ้างอิงชวลิต ยงใจยุทธ แหล่งข้อมูลอื่นชวลิต ยงใจยุทธกองทัพบกไทยทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษนักการเมืองนายกรัฐมนตรีไทยพรรคความหวังใหม่รายชื่อผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทยรายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยรายชื่อรองนายกรัฐมนตรีไทยรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยวุฒิสภาไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเหรียญรัตนาภรณ์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พิจักขณา วงศารัตนศิลป์สีประจำวันในประเทศไทยสังโยชน์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วสถานีกลางบางซื่อมหาวิทยาลัยมหิดลเดมี มัวร์จังหวัดฉะเชิงเทราปภาวดี ชาญสมอนพิชชาภา พันธุมจินดาคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์วีระ สุสังกรกาญจน์ศิรพันธ์ วัฒนจินดาประเทศเปรูรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีมาตาลดาแจร์ดัน ชาชีรีจังหวัดปทุมธานีทัศน์พล วิวิธวรรธน์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)อันดับของขนาด (มวล)นนท์ อัลภาชน์ประวัติศาสตร์ไทยรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครสงครามเวียดนามงูสามเหลี่ยมประเทศรัสเซียพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศเช็กเกียหมาล่าจังหวัดบึงกาฬปริญ สุภารัตน์ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2018–19อุปสงค์และอุปทานจักรทิพย์ ชัยจินดางูเขียวพระอินทร์ลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทวิตเตอร์กองทัพบกไทยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าปฏิวัติ คำไหมน้ำอสุจิจีเมลสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเกรซ มหาดำรงค์กุลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ข้าราชการไทยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ธีรเดช เมธาวรายุทธหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีบัลลังก์ลูกทุ่งธิษะณา ชุณหะวัณโรงเรียนนายร้อยตำรวจรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันมีนาคมประเทศจอร์เจียประเทศอินโดนีเซียประเทศอิสราเอลประเทศสเปนชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนผีกะธนวรรธน์ วรรธนะภูติรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยนางนากปานวาด เหมมณีเอสบีโอเบทเทย์เลอร์ สวิฟต์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สบาท (สกุลเงิน)🡆 More