สนั่น ขจรประศาสน์: อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ (7 กันยายน พ.ศ.

2478 — 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556) เป็นอดีตนายทหารบกและอดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เสธ.หนั่น"

สนั่น ขจรประศาสน์
สนั่น ขจรประศาสน์: ประวัติ, ครอบครัว, การเมือง
สนั่น ใน พ.ศ. 2551
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าเสนาะ เทียนทอง
ถัดไปบัญญัติ บรรทัดฐาน
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าชวลิต ยงใจยุทธ
ถัดไปบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสิปปนนท์ เกตุทัต
ถัดไปไตรรงค์ สุวรรณคีรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าหาญ ลีลานนท์
ถัดไปชวน หลีกภัย
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
10 มกราคม พ.ศ. 2530 – 17 กันยายน พ.ศ. 2543
(13 ปี 250 วัน)
ก่อนหน้าวีระกานต์ มุสิกพงศ์
ถัดไปอนันต์ อนันตกูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กันยายน พ.ศ. 2478
อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ประเทศสยาม
เสียชีวิต15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 (77 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2511–2543)
มหาชน (2547–2550)
ชาติไทย (2550–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2552–2556)
คู่สมรสนางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สนั่น ขจรประศาสน์: ประวัติ, ครอบครัว, การเมือง ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศสนั่น ขจรประศาสน์: ประวัติ, ครอบครัว, การเมือง พลตรี

ประวัติ

พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นชาวจังหวัดพิจิตร เกิดวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนที่ 6 ของขุนขจรประศาสน์ (ทองอยู่ ขจรโลก) และนางบ๊วย มีพี่น้อง 7 คน[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]

ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2485 บิดาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล

เคยรับราชการเป็นทหารบกเหล่าทหารม้า มียศทางทหารสุดท้ายเป็นพันโท ก่อนจะถูกให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2520 เมื่อร่วมก่อการกบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งมี พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้าและมี พ.ท.สนั่นเป็นเลขาธิการคณะ พ.ท.สนั่นถูกจำคุกที่ เรือนจำลาดยาว จากข้อหากบฏ ทำให้ได้พบและสนิทสนมกับ พ.อ.มนูญ รูปขจร (ปัจจุบันคือ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร) ต่อมาในภายหลังเมื่อ พ.ท.สนั่น ได้เข้าทำงานการเมืองและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย พ.ท.สนั่นได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น "พลตรี" เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

ครอบครัว

พลตรีสนั่น สมรสกับฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ (นามสกุลเดิม วงศ์ใหญ่) มีบุตรธิดารวม 4 คน คนที่ 3 เป็นบุตรชายเข้าสู่วงการเมือง คือ ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขต 3 พรรคมหาชน ส่วนอีก 3 คนเป็นบุตรสาวทั้งหมด คือ บงกชรัตน์ ขจรประศาสน์, ปัทมารัตน์ ขจรประศาสน์ และวัฒนีพร ขจรประศาสน์

พลตรีสนั่น มีธุรกิจส่วนตัวคือ ฟาร์มนกกระจอกเทศชื่อ "ขจรฟาร์ม" ซึ่งเป็นฟาร์มนกกระจอกเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังทำไร่องุ่นดงเจริญ และผลิตไวน์ชื่อ "ชาโต เดอ ชาละวัน"

การเมือง

กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520

ในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ที่มีความพยายามโค่นล้มรัฐบาลชุดที่มีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี จาก พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ แต่ไม่สำเร็จ พล.ต.สนั่น ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น พันโท (พ.ท.) ได้เข้าร่วมกับฝ่ายกบฏด้วย

ภายหลัง เมื่อถูกจับ ถูกตัดสินจำคุกซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตร่วมกับผู้ก่อการคนอื่น ๆ แต่ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน

กรณีกลุ่มงูเห่าและพรรคประชากรไทย

ปลายปี พ.ศ. 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ถูกแรงกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เนื่องจากการลดค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในเวลานั้นพรรคร่วมรัฐบาล ที่ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคชาติไทย, พรรคประชากรไทย, พรรคกิจสังคม ตกลงร่วมกันที่จะสนับสนุน พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตนายกรัฐมนตรี ให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ทางพรรคฝ่ายค้านที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ และมีจำนวนส.ส.น้อยกว่าพรรคความหวังใหม่เพียง 2 เสียง ก็มีความพยายามที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลด้วยเช่นกัน

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ได้จัดแถลงข่าว ยืนยันการจัดตั้งรัฐบาล โดยมี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ชั้นล่างของทำเนียบรัฐบาล แต่ในเวลาเดียวกัน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็เปิดแถลงข่าว เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลด้วย โดยมีเสียงสนับสนุนจากพรรคกิจสังคมของ นายมนตรี พงษ์พานิช ที่ย้ายฟากมาจากพรรคร่วมรัฐบาลเดิมอย่างกะทันหัน และมีตัวแปรสำคัญคือ ส.ส. พรรคประชากรไทย จำนวน 12 คน นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม และ นายฉลอง เรี่ยวแรง ที่เข้าร่วมสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่หัวหน้าพรรคประชากรไทย คือ นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ทราบมาก่อนและยังสนับสนุนฝ่าย พล.อ.ชาติชาย ทำให้สถานการณ์พลิกกลับอย่างรวดเร็ว กลายเป็นเสียงทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์มีมากกว่า และทำให้นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ในที่สุด

หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ตนเป็นเหมือนชาวนาในนิทานอีสป เรื่อง "ชาวนากับงูเห่า" ที่เก็บงูเห่าที่กำลังจะตายจากความหนาวเย็น มาไว้ในอกเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่น แต่ต่อมางูเห่านั้นก็ฉกชาวนาตาย ซึ่งนายสมัครเปรียบเทียบกับ แกนนำของ ส.ส. ทั้ง 12 คน โดยเฉพาะ ส.ส.กลุ่มปากน้ำ ของนายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเดิมสังกัดพรรคชาติไทย แต่ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่มีพรรคใดรับเข้าสังกัด จนในที่สุดมาเข้าสังกัดพรรคประชากรไทย ที่นายสมัครเป็นหัวหน้าพรรค และต่อมามีการตัดสินใจทางการเมือง ที่ขัดต่อมติพรรคดังกล่าว ทำให้ต่อมาสื่อมวลชน เรียก ส.ส. 12 คนนี้ตามคำพูดของนายสมัครว่า "กลุ่มงูเห่า" อยู่เป็นเวลานาน

ต่อมามีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า ส.ส. พรรคประชากรไทยทั้ง 12 คน มีสิทธิตามกฎหมาย ที่จะตัดสินใจทางการเมืองโดยอิสระ เช่น การสนับสนุน นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติพรรค หรือความต้องการของหัวหน้าพรรคการเมืองที่ตนสังกัด การรวบรวมเสียง ส.ส. จนสามารถสนับสนุน นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ได้สำเร็จครั้งนี้ ทำให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะผู้มีเหลี่ยมคูทางการเมือง และเป็นกรณีศึกษาหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น พรรคความหวังใหม่ ได้เปิดเผยข้อมูลระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลตรีสนั่น ว่า พลตรีสนั่น แสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยระบุว่ามีการกู้ยืมเงินจำนวน 45 ล้านบาท จากบริษัท เอเอเอส ออโต้เซอร์วิส ทั้งที่ไม่มีการกู้ยืมจริง

ต่อมา นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพประชาชน ได้ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง จนคดีเข้าสู่ กระบวนการทางกฎหมาย และต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ว่า พล.ต.สนั่น มีความผิด ฐานจงใจแสดง บัญชทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 295 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

จากการถูกดำเนินคดีทางการเมืองดังกล่าว ทำให้ พล.ต.สนั่น ต้องลาออกจากตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นมายาวนานถึง 13 ปี โดยมี นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เข้ารักษาการตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นเวลาสั้น ๆ และต่อมา นายอนันต์ อนันตกูล ได้รับเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543

ก่อตั้งพรรคมหาชน

หลังการถูกตัดสิทธิทางการเมือง พล.ต.สนั่น ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในที่สุดได้ก่อตั้ง พรรคมหาชน ขึ้น โดยมี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 และต่อมา พล.ต.สนั่น ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อมา

ร่วมงานกับพรรคชาติไทย

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พล.ต.สนั่น พร้อมด้วย นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย

ต่อมาในการร่วมรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 พล.ต.สนั่นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ

ร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนา

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555 พล.ต.สนั่น ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมือง โดยขอยุติการทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส. แต่ยังคงพร้อมที่จะช่วยงานในส่วนของพรรค และงานการเมืองของประเทศต่อไป

การปรองดองทางการเมือง

ปัญหาสุขภาพ

พล.ต.สนั่น ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เกิดอาการหัวใจวายกะทันหัน จนครอบครัวต้องนำส่งโรงพยาบาลนนทเวช เมื่อกลางดึกของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 แพทย์ต้องปั๊มหัวใจให้ฟื้นชีพ แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงย้ายไปโรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 17.09 น. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จากภาวะแทรกซ้อนจากอาการถุงลมโป่งพอง มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

ยศกองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตร

  • นายกองใหญ่ กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน" โดยตำแหน่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สนั่น ขจรประศาสน์ ถัดไป
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สนั่น ขจรประศาสน์
โอฬาร ไชยประวัติ
สนั่น ขจรประศาสน์: ประวัติ, ครอบครัว, การเมือง  สนั่น ขจรประศาสน์: ประวัติ, ครอบครัว, การเมือง 
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
สนั่น ขจรประศาสน์: ประวัติ, ครอบครัว, การเมือง  ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
เฉลิม อยู่บำรุง
โกวิท วัฒนะ
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
ชุมพล ศิลปอาชา

Tags:

สนั่น ขจรประศาสน์ ประวัติสนั่น ขจรประศาสน์ ครอบครัวสนั่น ขจรประศาสน์ การเมืองสนั่น ขจรประศาสน์ ปัญหาสุขภาพสนั่น ขจรประศาสน์ ยศกองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตรสนั่น ขจรประศาสน์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สนั่น ขจรประศาสน์ อ้างอิงสนั่น ขจรประศาสน์ แหล่งข้อมูลอื่นสนั่น ขจรประศาสน์กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)พรรคชาติไทยพัฒนาพรรคประชาธิปัตย์พรรคมหาชนรายชื่อรองนายกรัฐมนตรีไทย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รหัสมอร์สสงครามเวียดนามจังหวัดชุมพรเอเรอดีวีซีสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพัชราภา ไชยเชื้อเกย์วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาต่าย อรทัยสายัณห์ สัญญารัตนวดี วงศ์ทองบยอน อู-ซ็อกหีวินทร์ เลียววาริณพล ตัณฑเสถียรบีบีซี เวิลด์นิวส์เผ่าภูมิ โรจนสกุลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จังหวัดของประเทศไทยพรรษา วอสเบียนเมลดา สุศรีจังหวัดสุราษฎร์ธานีเกศริน ชัยเฉลิมพลสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสราวุฒิ พุ่มทองประเทศตุรกีรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)นินจาคาถาโอ้โฮเฮะพรหมลิขิตจังหวัดขอนแก่นพิชัย ชุณหวชิรราศีเมษข้าราชการส่วนท้องถิ่นอินสตาแกรมทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีนิษฐา คูหาเปรมกิจพระมหากษัตริย์ไทยเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซินดี้ บิชอพเอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่ประเทศแคนาดาบาปเจ็ดประการประวิตร วงษ์สุวรรณณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ข่าวช่อง 7HDภาวะโลกร้อนลิซ่า (แร็ปเปอร์)ชานน สันตินธรกุลยูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)เซลล์ (ชีววิทยา)การ์ลัส ปุดจ์ดาโมนรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขบีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเปป กวาร์ดิโอลากรุงเทพมหานครและปริมณฑลกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐประยุทธ์ จันทร์โอชาประเทศออสเตรเลียมิลลิ (แร็ปเปอร์)จังหวัดสระแก้วจังหวัดกาญจนบุรีคือเรารักกันการ์ตูนฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์มังกี้ ดี. ลูฟี่ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญข้าราชการไทยอรรถกร ศิริลัทธยากรมาตาลดาพิชญ์นาฏ สาขากรรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชประเทศอินโดนีเซียมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเอลนีโญกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์🡆 More