ฉลอง เรี่ยวแรง

ฉลอง เรี่ยวแรง (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

2498) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต 6 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในสังกัดพรรคประชากรไทย ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และในปัจจุบันได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ฉลอง เรี่ยวแรง
ฉลอง เรี่ยวแรง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต 6
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (69 ปี)
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2566—ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชากรไทย (2539—2544)
ชาติพัฒนา (2544—2548)
ไทยรักไทย (2548—2550)
ประชาราช (2550—2554)
เพื่อไทย (2554—2561)
พลังประชารัฐ (2561—2566)
สร้างอนาคตไทย (2566)
คู่สมรสนางเจริญ ทองทวี (หย่า)

ประวัติ

นายฉลอง เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายศิริ และนางเฉลียว เรี่ยวแรง มีพี่น้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา ครุศาสตร์บัณฑิต จากสถาบันราชภัฏสวนดุสิต ในระดับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์ด้านพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สมรสและหย่ากับภรรยาคือนางเจริญ ทองทวี มีบุตร 2 คน คือนางจิรวรรณ เรี่ยวแรง สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และนางสาว ปารมี เรี่ยวแรง สมาชิกพรรคภูมิใจไทย

งานการเมือง

ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชากรไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงเลือกตั้งกับพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย จากพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาปี พ.ศ. 2548 ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง

ปี พ.ศ. 2550 ย้ายไปลงสมัครกับพรรคประชาราช และสอบตกอีกครั้ง ปัจจุบันในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 3

นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง เช่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์), ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นางอุไรวรรณ เทียนทอง)

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่ง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และลงรับสมัครในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 สังกัดภูมิใจไทย ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี แต่มิได้รับการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายฉลอง เรี่ยวแรง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย

สรุปในการเลือกตั้ง 7 ครั้งหลังสุด สอบผ่าน 3 ครั้ง (พ.ศ. 2539, 2548, 2554) และสอบตก 4 ครั้ง (พ.ศ. 2544, 2550, 2562, 2566)

ฉายา

นายฉลอง ได้รับฉายาว่า "หลอง งูเห่า" จากการที่ปลายปี พ.ศ. 2540 ได้เป็น 1 ใน 13 กลุ่มงูเห่า ที่ไม่ทำตามมติของพรรคประชากรไทย โดยหันไปสนับสนุนนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้แล้วได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "หลอง ซีดี" จากการที่เคยถูกตำรวจบุกค้นบ้านพักส่วนตัวที่จังหวัดนนทบุรี แต่ไม่พบของผิดกฎหมาย

ในเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปลายปี พ.ศ. 2554 นายฉลองได้แสดงอาการไม่พอใจเรื่องของบริจาคช่วยเหลือในเขตพื้นที่ของตน ที่คุมโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ว่าได้รับแจกไม่ทั่วถึงอีกด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ฉลอง เรี่ยวแรง ประวัติฉลอง เรี่ยวแรง งานการเมืองฉลอง เรี่ยวแรง ฉายาฉลอง เรี่ยวแรง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฉลอง เรี่ยวแรง อ้างอิงฉลอง เรี่ยวแรง แหล่งข้อมูลอื่นฉลอง เรี่ยวแรงพ.ศ. 2539พรรคประชากรไทยพรรคภูมิใจไทยพรรคเพื่อไทยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ฮ่องกงเพลงชาติไทยเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสล็อตแมชชีนสงครามโลกครั้งที่สองชวลิต ยงใจยุทธเรวัช กลิ่นเกษรเบบี้เมทัลสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกกองทัพบกไทยวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร4 KINGS อาชีวะ ยุค 90พฤษภาคมประวัติยูทูบนินจาคาถาโอ้โฮเฮะจังหวัดนครปฐมอนุทิน ชาญวีรกูลนฤมล พงษ์สุภาพเรือนทาสสุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์จังหวัดพระนครศรีอยุธยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรจังหวัดสุรินทร์ภรภัทร ศรีขจรเดชาแบตเตอรี่มินนี่ (นักร้อง)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีถนนพระรามที่ 2เปรม ติณสูลานนท์วัดพระศรีรัตนศาสดารามคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)ฟุตบอลทีมชาติไทยบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567เอสบีโอเบทเข็มอัปสร สิริสุขะชา อึน-อูสงครามโลกครั้งที่หนึ่งตราประจำพระองค์ในประเทศไทยเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)แอน อรดีมิตร ชัยบัญชากรณิศ เล้าสุบินประเสริฐครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!อุรัสยา เสปอร์บันด์ทวารวดีมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีราชมังคลากีฬาสถานรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กอแมนด้า ออบดัมประยุทธ์ จันทร์โอชาแปลก พิบูลสงครามนิโคลัส มิคเกลสันฟุตบอลทีมชาติสเปนพรรคก้าวไกลพลพล พลกองเส็งธีรเทพ วิโนทัยทัศน์พล วิวิธวรรธน์คิม โก-อึนนิชคุณ ขจรบริรักษ์ฟุตซอลทีมชาติไทยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์บรูโน มาส์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31ดาบพิฆาตอสูรกรรชัย กำเนิดพลอยลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์รายการสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ภาษาไทยภาคกลาง (ประเทศไทย)🡆 More