ราชมังคลากีฬาสถาน

ราชมังคลากีฬาสถาน (อังกฤษ: Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเป็นสนามกลางหรือสนามหลัก (Main Stadium) ของศูนย์กีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ.

2531">พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 สนามได้รับการออกแบบโดย รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ

ราชมังคลากีฬาสถาน
ราชมังคลากีฬาสถาน
ภาพถ่ายภายในราชมังคลากีฬาสถาน ในกรกฎาคม พ.ศ. 2550
ที่ตั้งศูนย์กีฬาหัวหมาก แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ขนส่งมวลชนราชมังคลากีฬาสถาน สถานี กกท. (กำลังก่อสร้าง)
เจ้าของการกีฬาแห่งประเทศไทย
ความจุ51,552 ที่นั่ง (หลังปรับปรุง)​
65,000 ที่นั่ง (เป็นม้านั่งและติดตั้งเก้าอี้บางส่วน ในช่วงการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปี 2541)
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ก่อสร้างพ.ศ. 2531–2541
เปิดใช้สนามพ.ศ. 2541
ปรับปรุงพ.ศ. 2565
สถาปนิกรังสรรค์ ต่อสุวรรณ
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติไทย (พ.ศ. 2541–ปัจจุบัน)
เอเชียนเกมส์ 1998
กีฬาแห่งชาติ 2543
ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004
กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007
เอเชียนคัพ 2007
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2559
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 นัดชิงชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2560
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018
ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับจัดการแสดงดนตรี (คอนเสิร์ต) กลางแจ้ง มีศักยภาพรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน และอัฒจันทร์ 51,522 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้พับทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2512 คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบด้วยกับโครงการจัดสร้างสนามกีฬาที่หัวหมาก ขนาดความจุ 1 แสนคน ด้วยงบประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ตามที่องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.; ปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท.) นำเสนอมา แต่ยังไม่มีการก่อสร้าง เนื่องจากไม่มีงบประมาณ

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่าการ กกท.คนแรก เสนอของบประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสนามกีฬากลาง ขนาดความจุ 80,000 ที่นั่ง ภายในศูนย์กีฬาหัวหมาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติร่วมกับสนามศุภชลาศัย ซึ่งได้รับความเห็นชอบ โดยมอบหมายให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ออกแบบ และทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิวัฒน์ก่อสร้าง พร้อมทั้งจัดจ้าง บริษัท สยามซีเท็ค จำกัด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2531 จนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 รวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2,443 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 630 ล้านบาท

ต่อมาในระยะที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าให้ความร่วมมือตกแต่งรายละเอียด ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม และระบบไฟส่องสว่าง ระบบเสียงเพิ่มเติม การติดตั้งเก้าอี้บนอัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา พร้อมราวกันตก โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ช้างม่อยเฟอร์นิเจอร์ เป็นผู้รับจ้าง รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 550 ล้านบาท แต่ใช้วงเงินไปประมาณ 367 ล้านบาท ตามนโยบายลดค่าใช้จ่ายของนายสุขวิช รังสิตพล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13

และระยะที่ 3 ในช่วงก่อนเปิดการแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประมาณ 1 เดือน คือ การจัดทำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก และตัวอักษรแสดงชื่อสนามเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อติดตั้งบนกำแพงส่วนนอกอัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง การตกแต่งบริเวณส่วนที่ประทับ และส่วนที่นั่งประธาน รวมทั้งการทาสีภายในบางส่วน ตลอดถึงงานสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นเงิน 8 ล้านบาท โดยรวมงบทั้ง 3 ระยะ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,188 ล้านบาท

หลังจากแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เสร็จสิ้นแล้ว มีการปรับปรุงต่อเติม ที่ทำการสมาคมกีฬา, ห้องประชุม และสำนักงานฝ่ายต่างๆ ของ กกท.โดยรอบใต้ถุนอัฒจันทร์ ทำให้ยอดงบประมาณการก่อสร้างสนามแห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 1,255,569,337 บาท ซึ่งในปัจจุบัน ใช้รองรับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมถึงการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และนัดกระชับมิตรของฟุตบอลทีมชาติไทย หรือสโมสรฟุตบอลของไทย กับฟุตบอลทีมต่างชาติ หรือสโมสรฟุตบอลจากต่างประเทศเช่น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, ลีดส์ยูไนเต็ด, เรอัลมาดริด, บาร์เซโลนา และเชลซี เป็นต้น

เหตุการณ์สำคัญ

กีฬา

การแข่งขันฟุตบอลระดับทีมชาติ

วันที่ ทีม 1 ผล ทีม 2 รายการ
9 พฤศจิกายน 2561 ราชมังคลากีฬาสถาน  ติมอร์-เลสเต 0–7 ราชมังคลากีฬาสถาน  ไทย ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018
17 พฤศจิกายน 2561 ราชมังคลากีฬาสถาน  ไทย 4–2 ราชมังคลากีฬาสถาน  อินโดนีเซีย
25 พฤศจิกายน 2561 ราชมังคลากีฬาสถาน  ไทย 3–0 ราชมังคลากีฬาสถาน  สิงคโปร์
5 ธันวาคม 2561 ราชมังคลากีฬาสถาน  ไทย 2–2 ราชมังคลากีฬาสถาน  มาเลเซีย
16 พฤศจิกายน 2566 ราชมังคลากีฬาสถาน  ไทย 1–2 ราชมังคลากีฬาสถาน  จีน ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2
26 มีนาคม 2567 ราชมังคลากีฬาสถาน  ไทย 0–3 ราชมังคลากีฬาสถาน  เกาหลีใต้
11 มิถุนายน 2567 ราชมังคลากีฬาสถาน  ไทย ราชมังคลากีฬาสถาน  สิงคโปร์

คอนเสิร์ต

[AREA 52] in BANGKOK

  • 22-23 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – NCT DREAM WORLD TOUR THE DREAM SHOW 3

คอนเสิร์ตที่ยกเลิกการแสดง

  • 15–16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 – GOT7 2020 WORLD TOUR ‘KEEP SPINNING’ IN BANGKOK ในวันที่ 15–16 ก.พ. 2563 (เนื่องด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้จัดและต้นสังกัดได้ประกาศยกเลิกการแสดง)
  • พ.ศ. 2566 – จัสทิส เวิลด์ ทัวร์ โดย จัสติน บีเบอร์ (เดิมกำหนดจัดในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 แต่ได้เลื่อนการแสดงออกไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพของบีเบอร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผู้จัดได้มีการแจ้งยกเลิกการแสดง)

กิจกรรมทางการเมือง

การเดินทาง

รถไฟฟ้า

บริเวณถนนรามคำแหง มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม โดยมีกำหนดเปิดใน พ.ศ. 2570 ซึ่งมีสถานีใกล้เคียงกับราชมังคลากีฬาสถาน 2 สถานี ดังนี้

บริการ สถานี สาย
ราชมังคลากีฬาสถาน  รถไฟฟ้ามหานคร สถานีกกท.      สายสีส้ม
สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

รถโดยสารประจำทาง

สาย จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
22 เซ็นทรัลพระราม 3 แฮปปี้แลนด์
36ก สวนสยาม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
60 สวนสยาม ปากคลองตลาด
69 (2-13) ตลาดท่าอิฐ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
69E (2-18E) ตลาดท่าอิฐ แยกลำสาลี
71 รถธรรมดา สวนสยาม (รถ ขสมก.)

ตลาดปัฐวิกรณ์ (รถมินิบัส)

วัดธาตุทอง
71 (1-39) รถปรับอากาศ สวนสยาม ตลาดคลองเตย
92 รถธรรมดา พัฒนาการ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
92 (1-41) รถปรับอากาศ​ เคหะร่มเกล้า แฮปปี้แลนด์
93 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง ท่าน้ำสี่พระยา
113 ตลาดมีนบุรี สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
115 สวนสยาม สีลม
122 แฮปปี้แลนด์ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
137 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรัชดาภิเษก
168 อู่สวนสยาม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
173 (4-27E) เคหะธนบุรี แฮปปี้แลนด์
182 มหาวิทยาลัยรามคำแหง สวนจตุจักร
3-21 (207) มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก
501 ตลาดมีนบุรี สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
545 ท่าน้ำนนทบุรี พัฒนาการ
1-50 เคหะร่มเกล้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
3-32 สำโรง สวนสยาม

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′19″N 100°37′20″E / 13.75541°N 100.62213°E / 13.75541; 100.62213

Tags:

ราชมังคลากีฬาสถาน ประวัติราชมังคลากีฬาสถาน เหตุการณ์สำคัญราชมังคลากีฬาสถาน การเดินทางราชมังคลากีฬาสถาน ระเบียงภาพราชมังคลากีฬาสถาน ดูเพิ่มราชมังคลากีฬาสถาน อ้างอิงราชมังคลากีฬาสถาน แหล่งข้อมูลอื่นราชมังคลากีฬาสถานกรุงเทพมหานครการกีฬาแห่งประเทศไทยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สุดในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531ภาษาอังกฤษรังสรรค์ ต่อสุวรรณศูนย์กีฬาหัวหมากเอเชียนเกมส์ 1998

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

แจ็กสัน หวังศาสนาฮินดูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจังหวัดพะเยารายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ประเทศอิหร่านสกูบี้-ดูศุกลวัฒน์ คณารศณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดยโสธรมาตาลดาป๊อกเด้งเปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)ซิลลี่ ฟูลส์จังหวัดสมุทรปราการอาทิตยา ตรีบุดารักษ์โชติกา วงศ์วิลาศลานีญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียศิริลักษณ์ คองจังหวัดศรีสะเกษสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดกาก้าหน้าไพ่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ซีเนดีน ซีดานไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถานีกลางบางซื่อเผ่าภูมิ โรจนสกุลสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกลวรณ แสงสนิทธี่หยดภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกวนอิมสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกองอาสารักษาดินแดนหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญสโมสรฟุตบอลวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์เพลิงพรางเทียนรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ราณี แคมเปนวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลข้อมูลจังหวัดมหาสารคามเผ่า ศรียานนท์Gรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครจังหวัดตรังหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)อนิเมะพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024บยอน อู-ซ็อกธัญญ์ ธนากรดวงอาทิตย์จรินทร์พร จุนเกียรติอูราวะ เรดไดมอนส์นพเก้า เดชาพัฒนคุณประเทศอิตาลีประเทศอังกฤษการโฆษณากรภัทร์ เกิดพันธุ์มาริโอ้ เมาเร่อประเทศปากีสถานแอทลาสกองทัพบกไทยราชินีแห่งน้ำตาจังหวัดอุบลราชธานีสุจาริณี วิวัชรวงศ์🡆 More