ถนอม กิตติขจร: อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

จอมพล ถนอม กิตติขจร ป.จ.

ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๓ ภ.ป.ร. ๑ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ฉายาว่าหนึ่งใน "สามทรราช" เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันเดียวกัน และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก

ถนอม กิตติขจร
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองประภาส จารุเสถียร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พจน์ สารสิน
ก่อนหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปสัญญา ธรรมศักดิ์
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองประภาส จารุเสถียร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
สุกิจ นิมมานเหมินทร์
ก่อนหน้าพจน์ สารสิน
ถัดไปสฤษดิ์ ธนะรัชต์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อนหน้าสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ถัดไปประภาส จารุเสถียร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ตนเอง
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปทวี จุลละทรัพย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ถัดไปจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 30 กันยายน พ.ศ. 2516
ก่อนหน้าจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507
ก่อนหน้าจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปจอมพล ประภาส จารุเสถียร
นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
ก่อนหน้าก่อตั้งมหาวิทยาลัย
ถัดไปสุกิจ นิมมานเหมินท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ถนอม

11 สิงหาคม พ.ศ. 2454
เมืองตาก ประเทศสยาม
เสียชีวิต16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (92 ปี)
โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติสังคม (2500)
สหประชาไทย (2511)
คู่สมรสจงกล ถนัดรบ (สมรส 2473)
บุตร
  • นงนาถ
  • ณรงค์
  • นงนุช
  • ยุทธพงศ์
  • ทรงสุดา
  • ทรงสมร
บุพการี
  • ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) (บิดา)
  • นางโสภิตบรรณลักษณ์ (ลิ้นจี่ กิตติขจร) (มารดา)
ญาติสง่า กิตติขจร (น้องชาย)
ลายมือชื่อถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ ไทย
สังกัดถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2472–2516
ยศถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ จอมพล
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ จอมพลเรือ
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ จอมพลอากาศ
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ผ่านศึก

จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ ได้ชื่อว่าเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในประวัติศาสตร์ไทยภายหลังตายด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี 309 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ณ บ้านหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางโสภิตบรรณลักษณ์ (ลิ้นจี่) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน ได้แก่

จอมพล ถนอม กิตติขจร มีแซ่ในภาษาจีนว่า ฝู (จีน: 符; พินอิน: fú) เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก, โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ

จอมพล ถนอม ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2504 จอมพล ถนอม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2503 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506

ครอบครัว

จอมพล ถนอม กิตติขจร สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ) บุตรีของ พ.ต. หลวง จบกระบวนยุทธ์ (แช่ม ถนัดรบ) และคุณหญิงเครือวัลย์ จบกระบวนยุทธ์ ท่านผู้หญิงจงกลเป็นอดีตประธานกรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอดีตประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทั้งสองคนมีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่

  1. นางนงนาถ เพ็ญชาติ (พ.ศ. 2474 – ปัจจุบัน) สมรสกับ นายชำนาญ เพ็ญชาติ มีบุตรธิดา 3 คน
  2. พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร (พ.ศ. 2476 – ปัจจุบัน) สมรสกับ นางสุภาพร (จารุเสถียร) กิตติขจร มีบุตรธิดา 4 คน
  3. คุณหญิงนงนุช จิรพงศ์ (พ.ศ. 2480 – ปัจจุบัน) สมรสกับ พล.อ. เอื้อม จิรพงศ์ มีบุตรธิดา 4 คน
  4. พล.อ.อ. ยุทธพงศ์ กิตติขจร (พ.ศ. 2482 – ปัจจุบัน) อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ สมรสกับ นางทิพยา (ภมรมนตรี) กิตติขจร มีบุตรธิดา 3 คน
  5. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี (พ.ศ. 2486 – ปัจจุบัน) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 สมรสกับ ร.ท. ดร. สุวิทย์ ยอดมณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีบุตร 3 คน นายสุวงศ์ ยอดมณี ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน
  6. คุณหญิงทรงสมร คชเสนี (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน) สมรสกับ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี มีบุตรธิดา 5 คน

นอกจากนี้ยังรับหลานอีก 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวของท่านผู้หญิงจงกลมาเลี้ยงดู ได้แก่

  1. พล.ต.ต. นเรศ คุณวัฒน์ สมรสกับ นางอรสา (วิจิตรานุช) คุณวัฒน์ มีบุตร 2 คน
  2. น.ส.นรา คุณวัฒน์

การรับราชการ

ถนอมรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผบ.หมวด ในกรมทหารราบที่ 8 กองพันทหารราบที่ 1 (ร.8 พัน.1) จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อรัฐประหารซึ่งผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยไม่โดนลงโทษแต่อย่างใด

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ในขณะที่มียศเป็น "พันโท" และดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 (พล.ร.1) รองแม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และเป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มาโดยลำดับจนกระทั่งวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พล.อ. ถนอม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สืบต่อจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ตาย

ต่อมาในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2507 พล.อ. ถนอม ได้รับพระราชทานยศ จอมพล, จอมพลเรือและจอมพลอากาศ

และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 จอมพล ถนอมได้สละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้กับพล.อ. ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรักษาราชการรองผู้บัญชาการทหารบก โดยเหลือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของพจน์ สารสิน สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้จอมพล ถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่หลังบริหารประเทศแค่ 9 เดือนเศษ เขาก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อจอมพล สฤษดิ์เสียชีวิต จอมพล ถนอมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพลเผด็จการทหารคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรี มีการสร้างทางหลวงสายต่างๆ ทั่วประเทศหลายสาย โดยได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสหรัฐในช่วงสงครามเย็นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ และสร้างเขื่อน เช่น เขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนอุบลรัตน์

ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วยในฐานะพันธมิตรของสหรัฐหรือฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย โดยหลัก ๆ มี สหรัฐ, เกาหลีใต้, ไทย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ เพื่อไปสนับสนุนเวียดนามใต้ให้เป็นประชาธิปไตย และเป็นการต่อต้านคอมมิวนิสต์

ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ 
ทหารบกในปี 2511 ถูกส่งไปเวียดนามใต้ ในสงครามเวียดนาม

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย จอมพล ถนอม ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 รอ.) สร้างความไม่พอใจและกระแสต่อต้านในสังคมระยะหนึ่ง ถึงกับมีการอภิปรายในสภาและกังวลกันว่าอาจเป็นชนวนเหตุให้เกิดเหตุร้ายซ้ำอีก ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม จอมพลถนอมจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว

บทบาททางการเมือง

หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในปี พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 ถนอม กิตติขจรได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองผลประโยชน์และความทะเยอทะยานของตนเอง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจเถื่อน ได้แก่ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เขียนจดหมายในนามนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึง ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง (หมายถึงจอมพล ถนอม นั่นเอง)

จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายต่อความทะเยอทะยานที่ปราศจากความชอบธรรมในหลักการประชาธิปไตย

จอมพล ถนอม พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพล ถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพล ถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก

จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกรัฐมนตรีในระยะเวลาสั้นๆ หลังการรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ใน พ.ศ. 2501 สมัยที่ 2 - 4 หลังจากจอมพล สฤษดิ์ถึง แก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพล ถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร

ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ 
จอมพล ถนอม และลินดอน บี. จอห์นสัน

บทบาทหลังออกนอกประเทศ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม เดินทางกลับประเทศในฐานะสามเณร เนื่องจากสมัคร สุนทรเวชแจ้งว่าราชสำนักอนุญาต: 234  และได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจ้าอาวาสวัดซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงของรัชกาลที่ 9 เป็นผู้อุปสมบทให้: 248  รัชกาลที่ 9 และพระราชินีนาถเสด็จฯ เยี่ยมพระถนอมที่วัดด้วย: 151 

ยศทหาร

  • พ.ศ. 2473 : นายร้อยตรี
  • พ.ศ. 2478 : นายร้อยโท
  • พ.ศ. 2481 : นายร้อยเอก
  • พ.ศ. 2486 : พันตรี
  • พ.ศ. 2487 : พันโท
  • พ.ศ. 2491 : พันเอก
  • พ.ศ. 2494 : พลตรี
  • พ.ศ. 2498 : พลโท
  • พ.ศ. 2501 : พลเอก
  • พ.ศ. 2505 : นายกองใหญ่
  • พ.ศ. 2507 : จอมพล, จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ถนอม กิตติขจร ถัดไป
พจน์ สารสิน ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ 
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 1

(1 มกราคม พ.ศ. 2501 — 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501)
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ 
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 2

(9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 — 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  สัญญา ธรรมศักดิ์
ศาสตราจารย์ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(8 มกราคม พ.ศ. 2503 — 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 1
(พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2503)
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 2
(พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2512)
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  สมัยที่ 3
สมัยที่ 2 ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 3
(พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514)
ถนอม กิตติขจร: ประวัติ, ครอบครัว, การรับราชการ  พลเอกบุญเรือน บัวจรูญ
(สมัยที่ 1)


Tags:

ถนอม กิตติขจร ประวัติถนอม กิตติขจร ครอบครัวถนอม กิตติขจร การรับราชการถนอม กิตติขจร บทบาททางการเมืองถนอม กิตติขจร บทบาทหลังออกนอกประเทศถนอม กิตติขจร ยศทหารถนอม กิตติขจร เครื่องราชอิสริยาภรณ์ถนอม กิตติขจร ลำดับสาแหรกถนอม กิตติขจร อ้างอิงถนอม กิตติขจร แหล่งข้อมูลอื่นถนอม กิตติขจรณรงค์ กิตติขจรทหารนักการเมืองนายกรัฐมนตรีไทยปฐมจุลจอมเกล้าประภาส จารุเสถียรผู้บัญชาการทหารบกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยรายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเหตุการณ์ 14 ตุลาเหตุการณ์ 6 ตุลาเหรียญรัตนาภรณ์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พรหมโลกสามก๊กแมวกาก้าอินเทอร์เน็ตสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระโชกุนข้าราชการไทยประเทศมาเลเซียอริศรา วงษ์ชาลีเอลนีโญผู้หญิง 5 บาปไลแคน (บอยแบนด์)18สล็อตแมชชีนจุลจักร จักรพงษ์ประเทศสิงคโปร์2012 วันสิ้นโลกวอน (สกุลเงินเกาหลีใต้)จรินทร์พร จุนเกียรติจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)จีเอ็มเอ็มทีวีพิชัย ชุณหวชิรอีเอฟแอลคัพรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยสุรยุทธ์ จุลานนท์เครื่องคิดเลขสโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตันไอคอนสยามฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดีโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ภูมิภาคของประเทศไทยพีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพรหญิงรักร่วมเพศอมีนา พินิจสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ศุภชัย สุวรรณอ่อนจังหวัดนครราชสีมาโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคคณะรัฐมนตรีไทยสุภัคชญา ชาวคูเวียงพรรคประชาธิปัตย์แพน เรืองนนท์ธนภพ ลีรัตนขจรกองบัญชาการตำรวจนครบาลพันทิป.คอมจังหวัดกระบี่ชาวมอญศิริกัญญา ตันสกุลสโมสรฟุตบอลบาเลนเซียพฤษภาคมเชิญยิ้มอรสา อิศรางกูร ณ อยุธยาชวลิต ยงใจยุทธอาลิง โฮลันดวงใจเทวพรหมเบบีมอนสเตอร์พวงเพ็ชร ชุนละเอียดเต่าปูลูนาโปลีเรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืนภาวะโลกร้อนบยอน อู-ซ็อกรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่การโฆษณาเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทยทางรถไฟสายใต้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้าการแทรกแซงทางเศรษฐกิจแพทองธาร ชินวัตรจามาล มูซีอาลาเศรษฐา ทวีสินยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก🡆 More