สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (เกิด 3 กรกฎาคม พ.ศ.

2484) ที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี เขต1 และอดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และอดีตแกนนำกลุ่ม 16

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: ประวัติ, ประวัติการทำงาน, เครื่องราชอิสริยาภรณ์
สมพงษ์ ใน พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าสิปปนนท์ เกตุทัต
ถัดไปสิปปนนท์ เกตุทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าไพฑูรย์ แก้วทอง
ถัดไปพิศาล มูลศาสตรสาทร
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ถัดไปวุฒิ สุโกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ถัดไปสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสาโรจน์ ชวนะวิรัช
ถัดไปกษิต ภิรมย์
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 26 กันยายน พ.ศ. 2563
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถัดไปตนเอง
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าตนเอง
ถัดไปชลน่าน ศรีแก้ว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าวิโรจน์ เปาอินทร์
ถัดไปชลน่าน ศรีแก้ว
เลขาธิการพรรคเอกภาพ
ดำรงตำแหน่ง
12 เมษายน พ.ศ. 2532 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2532
ก่อนหน้าปิยะณัฐ วัชราภรณ์
(พรรครวมไทย)
ถัดไปเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 (82 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติประชาธิปไตย (2525 - 2531)
เอกภาพ (2531 - 2535)
สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535 - 2543)
ไทยรักไทย (2543 - 2550)
พลังประชาชน (2550 - 2551)
เพื่อธรรม (2561)
เพื่อไทย (2556 - 2561, 2561 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางเพ็ชรี อมรวิวัฒน์

ประวัติ

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เป็นน้องชายของพลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ สมพงษ์สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ จบปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ ที่ Curry College, Milton, Massachusetts, U.S. และจบปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและการปกครอง จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี จึงทำให้ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่ง และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนคนอื่นอีก 36 คน

อีกด้านหนึ่งสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ วราเทพ รัตนากร สรอรรถ กลิ่นประทุม ประจวบ ไชยสาส์น นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ในขณะที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย เขาได้ขึ้นเวทีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ความเป็นธรรมในสังคมไม่มีเลย ซึ่งหลายคนบอกว่าประเทศนี้เมืองนี้มี 2 มาตรฐาน แต่ตนอยากบอกว่า มันไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐาน แต่มันไม่มีมาตรฐานใดๆ ทั้งสิ้น

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 12 แต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 นายสมพงษ์ ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อธรรม และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค กระทั่งในเดือนพฤศจิกายน เขาจึงได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคดังกล่าว เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 โดยเขาลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม พรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้ง

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ผลปรากฏว่า ชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ด้วยคะแนนเสียง 258 เสียง เอาชนะ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ที่ได้รับคะแนนเสียง 235 เสียง มีผู้งดออกเสียง 1 เสียง และในการแถลงนโยบายของรัฐบาลเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พรรคฝ่ายค้านซึ่งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือพรรคเพื่อไทย สมพงษ์ในฐานะหัวหน้าพรรค จึงได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และพ้นจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 เนื่องจากเขาลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 2

ประวัติการทำงาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ถัดไป
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: ประวัติ, ประวัติการทำงาน, เครื่องราชอิสริยาภรณ์  สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: ประวัติ, ประวัติการทำงาน, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 26 กันยายน พ.ศ. 2563)
(6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564)
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: ประวัติ, ประวัติการทำงาน, เครื่องราชอิสริยาภรณ์  ชลน่าน ศรีแก้ว
วิโรจน์ เปาอินทร์
(รักษาการ)
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: ประวัติ, ประวัติการทำงาน, เครื่องราชอิสริยาภรณ์  สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: ประวัติ, ประวัติการทำงาน, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564)
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์: ประวัติ, ประวัติการทำงาน, เครื่องราชอิสริยาภรณ์  ชลน่าน ศรีแก้ว

Tags:

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ประวัติสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ประวัติการทำงานสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อ้างอิงสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ แหล่งข้อมูลอื่นสมพงษ์ อมรวิวัฒน์กระทรวงกลุ่ม 16พรรคพลังประชาชนพรรคสามัคคีธรรมพรรคเพื่อธรรมพรรคเพื่อไทยรองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีรายชื่อผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระไตรปิฎกสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดปริญ สุภารัตน์จังหวัดหนองคายจังหวัดของประเทศไทยศาสนาฮินดูสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ดประชาธิปไตยรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยราณี แคมเปนทวิตเตอร์สมณะโพธิรักษ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอมีนา พินิจภาสวิชญ์ บูรณนัติ4 KINGS 2พรหมวิหาร 4นักเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รัฐฉาน24 เมษายน69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้นกกะรางหัวขวานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)ธี่หยด 2โรนัลโดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใบแดงการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมหัพภาคเมืองพัทยาประเทศไต้หวันประเทศปากีสถาน25 เมษายนการโฆษณาโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาชนิกานต์ ตังกบดีแปลก พิบูลสงครามสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)กรมราชเลขานุการในพระองค์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันปฏิจจสมุปบาทการรถไฟแห่งประเทศไทยเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีจังหวัดชุมพรอัสซะลามุอะลัยกุมกูเกิล แปลภาษาบรรดาศักดิ์ไทยพชร จิราธิวัฒน์กระทรวงในประเทศไทยภูธฤทธิ์ พรหมบันดาลสกีบีดีทอยเล็ตเมตาณัฐฐชาช์ บุญประชมมุฮัมมัดยุทธการที่เซกิงาฮาระจักรราศีกองทัพบกไทยทวีปเอเชียสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสภาพอาถรรพณ์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ทีสปอร์ต 7จีเอ็มเอ็มทีวีอลิชา หิรัญพฤกษ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยศรีรัศมิ์ สุวะดีกัญญาวีร์ สองเมืองหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์🡆 More