จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ม.ป.ช.

2518) ชื่อเล่น หนิม เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ติดต่อกัน 5 สมัย และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
จุลพันธ์ ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 241 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
กฤษฎา จีนะวิจารณะ
เผ่าภูมิ โรจนสกุล (ตั้งแต่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการพิชัย ชุณหวชิร
ก่อนหน้าสันติ พร้อมพัฒน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(19 ปี 83 วัน)
ก่อนหน้ายงยุทธ สุวภาพ
เขตเลือกตั้งเขต 9 (2548–2549)
เขต 3 (2550–2554)
เขต 6 (2554–2566)
เขต 5 (2566–ปัจจุบัน)
คะแนนเสียง38,015 (37.86%)
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
จิราพร สินธุไพร
ชูศักดิ์ ศิรินิล
เผ่าภูมิ โรจนสกุล
โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 เมษายน พ.ศ. 2518 (49 ปี)
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ชาติพัฒนา (2539–2541)
ไทยรักไทย (2541–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)
คู่สมรสวิสาระดี เตชะธีราวัฒน์
บุตร1
บุพการี
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพนักการเมือง
ลายมือชื่อจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
ชื่อเล่นหนิม

ประวัติ

จุลพันธ์เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2518 เป็นบุตรชายของ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับนางเพ็ชรี (เตชะไพบูลย์) อมรวิวัฒน์

จุลพันธ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ (MBA.) จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐ

ชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานการเมือง

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาเป็นครั้งแรก ในนามพรรคไทยรักไทย โดยสามารถเอาชนะยงยุทธ สุวภาพ จากพรรคประชาธิปัตย์ (ส.ส.คนเดียวของประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่)

ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 เขาได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 2562 จุลพันธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 และเขาได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายผลงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปีต่อมาเขาลงสมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ทั้งนี้ เขาเป็นหนึ่งในสอง ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้ (อีกคนคือ ศรีโสภา โกฏคำลือ)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

ก่อนหน้า จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ถัดไป
สันติ พร้อมพัฒน์ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์  จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ 
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์  อยู่ในวาระ

Tags:

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ประวัติจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ งานการเมืองจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ อ้างอิงจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63นักการเมืองพรรคเพื่อไทยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของไทยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเศรษฐา ทวีสินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475ประเทศเยอรมนีรายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทยลาลิกา ฤดูกาล 2018–19ศุภณัฏฐ์ เหมือนตาตัวเลขโรมันสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566จนกว่าจะได้รักกันเว็บไซต์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกกรงกรรมบอลทิมอร์กติกาฟุตบอลโรงเรียนชลประทานวิทยาศิรพันธ์ วัฒนจินดานิชคุณ ขจรบริรักษ์รัฐแมริแลนด์เงินตราวัดพระศรีรัตนศาสดารามรายชื่อตอนในเป็นต่อปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)โทกูงาวะ อิเอยาซุเกาะกูดราชวงศ์ชิงฟุตบอลโลกบุพเพสันนิวาสดวงใจเทวพรหมบูมเมอแรง (ประเทศไทย)พิธา ลิ้มเจริญรัตน์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารียิ่งลักษณ์ ชินวัตรจังหวัดชุมพรธฤษณุ สรนันท์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีศิริลักษณ์ คองปรีดี พนมยงค์สหภาพโซเวียตกูเกิลอี คัง-อินบรูซ วิลลิสพระโคตมพุทธเจ้านาฬิกาหกชั่วโมงไทยลีกประเทศออสเตรียพิชชาภา พันธุมจินดาสมองประเทศเกาหลีเดนิส เจลีลชา คัปปุนผักกาดหัวเจริญ สิริวัฒนภักดีศรุต วิจิตรานนท์อีสเตอร์เห็ดขี้ควายโปเตโต้ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบแบ่งกลุ่มสุรสีห์ ผาธรรมดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ประเทศลาวปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ธนวรรธน์ วรรธนะภูติเกริกพล มัสยวาณิชบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567ราชวงศ์จักรีโลโมโซนิกพระศรีอริยเมตไตรยสุพิศาล ภักดีนฤนาถจังหวัดสุโขทัยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมหัพภาคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสภาษาเกาหลีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวดาบพิฆาตอสูร🡆 More