กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย (อังกฤษ: Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (Supreme Command Headquarters) มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 127 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

กองบัญชาการกองทัพไทย
กองบัญชาการกองทัพไทย
เครื่องหมายราชการกองบัญชาการกองทัพไทย
ประจำการพ.ศ. 2500; 67 ปีที่แล้ว (2500)
ประเทศกองบัญชาการกองทัพไทย ไทย
กองบัญชาการเลขที่ 127 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
คำขวัญเทิดราชัน ทันสมัย พัฒนา
เว็บไซต์www.rtarf.mi.th
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี
ผบ. สำคัญรายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ผู้บังคับบัญชาปัจจุบัน ประกอบด้วย

  • พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พลเอก อนุสรรค์ คุ้มอักษร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พลเอก โดมศักดิ์ คำใสแสง รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พลอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พลเอก ธิติชัย เทียนทอง เสนาธิการทหาร

ประวัติ

กองบัญชาการกองทัพไทย 
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ กองบัญชาการกองทัพไทย

ก่อนหน้านี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2483 เนื่องในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และในปีถัดมา จากการที่ไทยเข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อทำหน้าที่ด้านบัญชาการรบในแต่ละคราว จัดเป็นกองบัญชาการเฉพาะกิจ โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นสงครามแต่ละคราวแล้ว ทางราชการจึงได้ยุบกองบัญชาการทหารสูงสุดลง

ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้ง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีกรมเสนาธิการกลาโหม กระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่เป็นส่วนบัญชาการของผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ต่อมา ใน พ.ศ. 2503 ทางราชการได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นการถาวร เพื่อทำหน้าที่ในการเตรียมกำลังรบและป้องกันประเทศ จึงได้มีการแปรสภาพกรมเสนาธิการกลาโหมเป็นกองบัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้งปรับปรุงและเพิ่มหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2503

ในระยะเริ่มแรก กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนาธิการ ฝ่ายกิจการพิเศษ ฝ่ายยุทธบริการ และฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนบังคับบัญชา ส่วนเสนาธิการร่วม ส่วนปฏิบัติการ ส่วนกิจการพิเศษ และส่วนการศึกษา

ใน พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมใหม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งตามมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้แปรสภาพเป็นกองบัญชาการกองทัพไทย โดยเป็นส่วนราชการในกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทย ในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ

การจัดส่วนราชการ

กองบัญชาการกองทัพไทยจัดผังการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

ส่วนบังคับบัญชา ส่วนเสนาธิการร่วม
  • สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    • สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย
    • สำนักเลขานุการ กองบัญชาการกองทัพไทย
    • สำนักงานจเรทหาร
    • สำนักงานตรวจสอบภายในทหาร
    • สำนักงานพระธรรมนูญทหาร
    • สำนักสวัสดิการทหาร
    • สำนักยุทธโยธาทหาร
    • ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง
    • ศูนย์ไซเบอร์ทหาร
  • กองทัพบกไทย
  • กองทัพเรือไทย
  • กองทัพอากาศไทย
  • กรมกำลังพลทหาร
  • กรมข่าวทหาร
  • กรมยุทธการทหาร
  • กรมส่งกำลังบำรุงทหาร
  • กรมกิจการพลเรือนทหาร
  • กรมการสื่อสารทหาร
    • ศูนย์การโทรคมนาคมทหาร
    • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทหาร
    • สำนักแผนและอำนวยการสื่อสาร
    • กองฝึกอบรมกรมการสื่อสารทหาร
  • สำนักงานปลัดบัญชีทหาร
ส่วนกิจการพิเศษ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนการศึกษา
  • กรมสารบรรณทหาร
  • กรมการเงินทหาร
  • กรมแผนที่ทหาร
  • กรมยุทธบริการทหาร
    • สำนักงานแพทย์ทหาร
  • กรมกิจการชายแดนทหาร

ดูเพิ่ม

การทหารในประเทศไทย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°53′11″N 100°33′54″E / 13.8864°N 100.565°E / 13.8864; 100.565

Tags:

กองบัญชาการกองทัพไทย ประวัติกองบัญชาการกองทัพไทย การจัดส่วนราชการกองบัญชาการกองทัพไทย ดูเพิ่มกองบัญชาการกองทัพไทย อ้างอิงกองบัญชาการกองทัพไทย แหล่งข้อมูลอื่นกองบัญชาการกองทัพไทยกระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)กองทัพไทยกองบัญชาการทหารสูงสุดภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเปป กวาร์ดิโอลาเพลงฮัน กา-อินรถถัง จิตรเมืองนนท์ปรียาดา สิทธาไชยพวงเพ็ชร ชุนละเอียดกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์เจาะมิติพิชิตบัลลังก์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศเกาหลีเหนือวิทยุเสียงอเมริกาปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ซินดี้ บิชอพรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรดาร์วิน นุญเญซเลือดมังกรนิชคุณ ขจรบริรักษ์กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ดวงอาทิตย์ไค ฮาเวิทซ์ไทโอยูเรียแฮร์รี แมไกวร์ป๊อกเด้งบรูนู ฟือร์นังดึชดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ฟุตซอลโลกวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024จังหวัดเลยจังหวัดสระแก้วจังหวัดอุบลราชธานีจำนวนเฉพาะสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดประเทศปากีสถานสำราญ นวลมากรมราชเลขานุการในพระองค์ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)กำแพงเมืองจีนเข็มอัปสร สิริสุขะสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์นักเรียนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งประเทศมัลดีฟส์จุดทิศหลักบาท (สกุลเงิน)จังหวัดบุรีรัมย์เผ่า ศรียานนท์วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาจังหวัดกาญจนบุรีดูไบมิลลิ (แร็ปเปอร์)ศิริลักษณ์ คองกกโรงพยาบาลในประเทศไทยประเทศติมอร์-เลสเตธนาคารกรุงไทยยงวรี อนิลบลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศอิตาลีกองอาสารักษาดินแดนสหภาพโซเวียตรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีรายชื่อตัวละครในวันพีซทิโมธี ชาลาเมต์จังหวัดนครพนม26 เมษายนอาเลฆันโดร การ์นาโชรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)🡆 More