ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ.

2534 หรือเรียกรัฐประหารเดือนสิงหาคม (รัสเซีย: Августовский путч, อักษรโรมัน: Avgustovsky putch) เป็นความพยายามรัฐประหารโดยสมาชิกรัฐบาลของสหภาพโซเวียตกลุ่มหนึ่งเพื่อควบคุมประเทศจากประธานาธิบดีมีฮาอิล กอร์บาชอฟของสหภาพโซเวียต ผู้นำรัฐประหารเป็นสมาชิกที่ยึดมั่นของพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตซึ่งคัดค้านโครงการปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และสนธิสัญญาสหภาพใหม่ที่เขาเจรจาซึ่งกระจายอำนาจการปกครองของรัฐบาลกลางให้แก่สาธารณรัฐต่าง ๆ รัฐประหารถูกคัดค้าน ส่วนใหญ่ในกรุงมอสโก โดยการรณรงค์การขัดขืนของพลเมืองที่สั้นแต่สัมฤทธิ์ผล แม้รัฐประหารล้มในเวลาเพียงสองวันและกอร์บาชอฟคืนสู่รัฐบาล แต่เหตุการณ์นี้ทำลายเสถียรภาพของสหภาพโซเวียตและถูกพิจารณาอย่างกว้างขวางว่า ช่วยเสริมทั้งการสิ้นสุดของพรรคคอมมิวนสิต์สหภาพโซเวียตและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534
ส่วนหนึ่งของ การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
  • สถานที่ที่ผู้เชิญหน้ากับคณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐสามคนเสียชีวิตระหว่างรัฐประหาร
  • ประธานาธิบดีเยลต์ซินโบกธงชาติที่มีการลงมติรับใหม่
  • เครื่องกีดขวางถนนบนถนนสโมเลนสกายา
  • เครื่องกีดขวางของฝ่ายนิยมเยลต์ซินใกล้กับทำเทียบขาวมอสโก
  • รถถังของคณะรัฐประหารบนสะพานโบลชอย มอสก์โวเรตสกีใกล้จตุรัสแดง
วันที่19–22 สิงหาคม 2534
สถานที่
ผล

คณะรัฐประหารยอมจำนน

คู่สงคราม

สหภาพโซเวียต คณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ


สาธารณรัฐที่สนับสนุน:
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 เบียโลรัสเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ทรานส์นีสเตรีย
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ทาจิกิสถาน
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 เติร์กเมนิสถาน
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ยูเครน


ขบวนการอินเตอร์ฟรอนต์


การสนับสนุนนอกประเทศ:

รัสเซีย โซเวียตรัสเซีย


สาธารณรัฐที่สนับสนุน:
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 เอสโตเนีย
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ลัตเวีย
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ลิทัวเนีย
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 อาร์มีเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย จอร์เจีย
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 มอลเดเวีย
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 อุซเบกิสถาน
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 เคอร์กิเซีย
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 คาซัคสถาน


ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534รัสเซีย นักชาตินิยม
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 นักกษัตริย์นิยม
Flag of the UNA-UNSO UNA–UNSO
เบลารุส แนวร่วมประชาชนเบลารุส


การสนับสนุนนอกประเทศ:
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 บริเตนใหญ่
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 สหรัฐ
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 แคนาดา
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 อิตาลี
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 เยอรมนี
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 กรีซ
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ฝรั่งเศส
สหภาพยุโรป EEC
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต เกนนาดี ยานาเยฟ
สหภาพโซเวียต ดมีตรี ยาซอฟ
รัสเซีย บอริส เยลต์ซิน
ความสูญเสีย
ฆ่าตัวตาย 3 คน พลเรือน 3 คนเสียชีวิตในวันที่ 21 สิงหาคม

เบื้องหลัง

นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1985 กอร์บาชอฟได้เริ่มดำเนินโครงการปฏิรูปที่มีความทะเยอทะยานซึ่งรวมอยู่ในแนวคิดสองประการของเปเรสตรอยคาและกลัสนอสต์ หรือการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ/การเมืองและการเปิดกว้าง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการต่อต้านและความสงสัยในส่วนของ Nomenklatura ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคสายแข็ง การปฏิรูปยังปลดปล่อยกองกำลังและการเคลื่อนไหวที่กอร์บาชอฟไม่คาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปั่นป่วนของกลุ่มชาตินิยมในส่วนของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวรัสเซียของสหภาพโซเวียตที่เพิ่มขึ้น และมีความกลัวว่าสาธารณรัฐสหภาพบางส่วนหรือทั้งหมดอาจแยกตัวออกจากกัน ใน ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตประสบวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง การขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องอุปโภคบริโภคอื่น ๆ เป็นที่แพร่หลาย, ผู้คนต้องต่อแถวยาวเพื่อซื้อของที่จำเป็น สต็อกเชื้อเพลิงต่ำกว่าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ที่จำเป็นสำหรับฤดูหนาวที่ใกล้จะมาถึง และอัตราเงินเฟ้อก็เกิน 300 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยโรงงานต่าง ๆ ขาดเงินสดที่จำเป็นในการจ่ายเงินเดือน ใน ค.ศ. 1990 เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และอาร์มีเนีย ได้ประกาศการฟื้นฟูเอกราชจากสหภาพโซเวียต ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1991 มีความพยายามในการนำลิทัวเนียคืนสู่สหภาพโซเวียตโดยใช้กำลังเกิดขึ้น ประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ความพยายามที่คล้ายคลึงกันนี้ได้รับการออกแบบโดยกองกำลังสนับสนุนโซเวียตในท้องถิ่นเพื่อโค่นล้มทางการลัตเวีย และยังมีความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ติดอาวุธอย่างต่อเนื่องในนากอร์โน-คาราบัคและเซาท์ออสซีเชีย

รัสเซียประกาศอำนาจอธิปไตยในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1990 และหลังจากนั้นก็จำกัดการบังคับใช้กฎหมายของสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ควบคุมการเงินและเศรษฐกิจในดินแดนของรัสเซีย สภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียใช้กฎหมายที่ขัดแย้งกับกฎหมายของสหภาพโซเวียต (ที่เรียกว่าสงครามกฎหมาย)

ในการลงประชามติทั่วทั้งสหภาพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งรัฐบอลติก อาร์เมเนีย จอร์เจีย และมอลเดเวีย คว่ำบาตรการลงประชามติ ประชากรส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐอื่น ๆ แสดงความประสงค์ที่จะรักษาสหภาพโซเวียตที่ได้รับการต่ออายุใหม่ โดยมีคะแนนเสียงเห็นด้วย 77.85 เปอร์เซ็นต์ หลังจากการเจรจา สาธารณรัฐ 8 ใน 9 แห่ง (ยกเว้นยูเครน) ได้อนุมัติสนธิสัญญาสหภาพใหม่โดยมีเงื่อนไขบางประการ สนธิสัญญากำหนดให้สหภาพโซเวียตเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐอิสระที่เรียกว่าสหภาพสาธารณรัฐอธิปไตยโซเวียต โดยมีประธานาธิบดี นโยบายต่างประเทศ และการทหารร่วมกัน โดยรัสเซีย คาซัคสถาน และอุซเบกิสถานจะลงนามในสนธิสัญญาที่กรุงมอสโก โดยกำหนดการลงนามคือวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991

ลำดับเหตุการณ์

สมาชิกคณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ (GKChP) จำนวนแปดคน (ต่อมาเรียก "แก๊งแปด") ประชุมกันประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีเกนเนดี ยานาเยฟ รองประธานาธิบดีโซเวียต เป็นหัวหน้า เขาผ่านกฤษฎีกาแต่งตั้งตนเองเป็นรักษาการประธานาธิบดีเนื่องจากประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ "ป่วย"

19 สิงหาคม

เอกสารทั้งหมดของ GKChP มีการแพร่สัญญาณทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของรัฐ มีการนำหน่วยยานเกราะของกองพลตามันสกายาและกองพลคันตามีรอฟสกายาเข้าสู่กรุงมอสโก ร่วมกับทหารส่งทางอากาศ ผู้แทนประชาชนของโซเวียตรัสเซียถูกเคจีบีควบคุมตัวจำนวนสี่คน ผู้สมคบคิดพิจารณาควบคุมตัวประธานาธิบดีรัสเซียเยลต์ซินด้วยแต่ไม่ได้ลงมือด้วยเหตุใดไม่ทราบ การไม่จับกุมเยลต์ซินจะทำให้แผนรัฐประหารล้มเหลวในเวลาต่อมา

เยลต์ซินเดินทางถึงทำเนียบขาว อาคารรัฐสภาของรัสเซีย ในเวลา 9.00 น. ออกแถลงการณ์ร่วมประณามคณะรัฐประหาร มีการเรียกร้องให้กองทัพไม่เข้าร่วม และให้ประชาชนนัดหยุดงานทั่วไปเพื่อให้กอร์บาชอฟสื่อสารกับประชาชน มีการเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวในรูปใบปลิวในกรุงมอสโก

ในเวลาบ่าย พลเมืองกรุงมอสโกเริ่มชุมนุมกันรอบทำเนียบขาวแล้วตั้งสิ่งกีดขวางไว้โดยรอบ เกนเนดีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงมอสโกในเวลา 16.00 น. ขณะเดียวกัน พันตรีเอฟโกคิมอฟ เสนาธิการกองพันรถถังของกองพลตามันสกายาที่เฝ้าทำเนียบขาวอยู่ ประกาศภักดีต่อผู้นำโซเวียตรัสเซีย เยลต์ซินปีนรถถังแล้วกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งออกข่าวในสื่อของรัฐด้วย

20 สิงหาคม

เวลาเที่ยง พลเอกคาลินิน ผู้นำมณฑลทหารมอสโก ซึ่งเกนเนดีแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารกรุงมอสโก ประกาศเคอร์ฟิวในเมืองหลวงตั้งแต่เวลา 23.00 น. ถึง 5.00 น. มีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม เป็นสัญญาณว่ากำลังจะมีการโจมตีทำเนียบขาว ฝ่ายป้องกันทำเนียบขาวเตรียมการ ทั้งที่ไม่มีอาวุธ รถถังของเอฟโดคิมอฟถูกนำออกจากทำเนียบขาวในเวลาเย็น

ในเวลาบ่าย คณะรัฐประหารตัดสินใจโจมตีทำเนียบขาว แต่ผู้บังคับบัญชาภาคสนามพยายามโน้มน้าวว่าปฏิบัติการนี้จะมีการนองเลือดและควรยกเลิก

สภาสูงสุดของเอสโตเนียตัดสินใจในเวลา 23.03 น. ประกาศเอกราชเป็นครั้งแรกในรอบ 41 ปี

21 สิงหาคม

ในเวลา 1.00 น. มีพลเรือนเสียชีวิต 3 คนในเหตุปะทะระหว่างสองฝ่ายไม่ใกล้จากทำเนียบขาวมากนัก ทหารไม่เคลื่อนเข้าทำเนียบขาวตามแผนและมีการสั่งถอนทหารออกจากกรุงมอสโก

เมื่อคณะรัฐประหารเข้าพบกอร์บาชอฟ กอร์บาชอฟประกาศให้คำสั่งของ GKChP เป็นโมฆะและปลดทั้งหมดออกจากตำแหน่ง อัยการสูงสุดเริ่มต้นสอบสวนรัฐประหาร

ในช่วงเดียวกัน สภาสูงสุดของลัตเวียประกาศเอกราช

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 เบื้องหลังความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ลำดับเหตุการณ์ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 อ้างอิงความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 แหล่งข้อมูลอื่นความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534การล่มสลายของสหภาพโซเวียตพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตภาษารัสเซียมีฮาอิล กอร์บาชอฟสหภาพโซเวียต

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ยศทหารและตำรวจไทยพิชิตรัก พิทักษ์โลกอินเทอร์เน็ตประเทศออสเตรเลียธนภพ ลีรัตนขจรคอมพิวเตอร์สุชาติ ภิญโญสำนักพระราชวังชลน่าน ศรีแก้วแฮร์รี่ พอตเตอร์มิตร ชัยบัญชามหาวิทยาลัยนเรศวรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติอาณาจักรสุโขทัยรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครประเทศอุซเบกิสถานโหราศาสตร์ไทยคาร์บอนไดออกไซด์ฟุตซอลโลก 2021บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567แจ๊ส ชวนชื่นวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดทักษอร ภักดิ์สุขเจริญแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)นิพัทธ์ ทองเล็กสโมสรฟุตบอลเชลซีสาธุ (ละครโทรทัศน์)ธนวรรธน์ วรรธนะภูติปีเตอร์ เดนแมนรัมมี่มหาวิทยาลัยมหาสารคามรายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกประเทศบังกลาเทศจังหวัดตรังคินน์พอร์ชตระกูลเจียรวนนท์ณัฐภัสสร สิมะเสถียรโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)อิงฟ้า วราหะบรูนู ฟือร์นังดึชประเทศแคนาดาจนกว่าจะได้รักกันเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลารายการรหัสไปรษณีย์ไทยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์อุรัสยา เสปอร์บันด์สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567คันนะ ฮาชิโมโตะศุภวุฒิ เถื่อนกลางโทกูงาวะ อิเอยาซุเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาพงษ์สิทธิ์ คำภีร์สีประจำวันในประเทศไทยการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนดวงจันทร์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สสมเด็จพระนเรศวรมหาราชงูเขียวพระอินทร์ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024เธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรงมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกัญญาวีร์ สองเมืองมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024จังหวัดพิจิตรคณะรัฐมนตรีไทยจังหวัดชุมพรรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองบอดี้สแลม🡆 More