การกวาดล้างใหญ่

การกวาดล้างใหญ่ (อังกฤษ: Great Purge) ความน่าสะพรึงกลัวครั้งใหญ่ (Great Terror) หรือ ปี 37 (Year of 37) เป็นการกดขี่ทางการเมืองในสหภาพโซเวียตช่วง ค.ศ.

1936–1938 โดยเป็นการกดขี่อย่างใหญ่หลวงต่อชาวนาที่ร่ำรวยซึ่งเรียกว่าคูลัค การกวาดล้างทางชาติพันธุ์ต่อชนกลุ่มน้อย การกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์และข้าราชการ การกวาดล้างกลุ่มผู้นำกองทัพแดง การเฝ้าระวังโดยตำรวจเป็นวงกว้าง การสงสัยบุคคลว่าก่อวินาศกรรม การต่อต้านการปฏิวัติ การจำคุก และการประหารโดยพลการ เฉพาะการกดขี่แบบสตาลินที่ดำเนินในช่วง ค.ศ. 1937―1938 นั้น นักประวัติศาสตร์ประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 950,000 คนไปจนถึง 1.2 ล้านคน

การกวาดล้างใหญ่
เป็นส่วนหนึ่งของการกวาดล้างพรรคบอลเชวิค
การกวาดล้างใหญ่
ผู้คนในวินนิตเซียกำลังค้นหาศพญาติที่ตกเป็นเหยื่อในการสังหารหมู่ที่วินนิตเซีย ค.ศ. 1943
สถานที่สหภาพโซเวียต
วันที่ค.ศ. 1936–1938
เป้าหมายศัตรูทางการเมือง, ลัทธิทรอตสกี, ผู้นำกองทัพแดง, คูลัค, ชนกลุ่มน้อย, ผู้นำและผู้ประท้วงทางศาสนา
ประเภท
ตาย950,000 ถึง 1.2 ล้านคน
(สูงสุดโดยประมาณทับซ้อนกับผู้ที่เสียชีวิตในระบบกูลักอย่างน้อย 136,520 คน)
ผู้ก่อเหตุโจเซฟ สตาลิน, พลาธิการกิจการภายในของประชาชน (เกนริค ยาโกดา, นีโคไล เยจอฟ, ลัฟเรนตีย์ เบรียา, อีวาน เซรอฟ และคนอื่น ๆ), วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ, อันเดรย์ วืยชินสกี, ลาซาร์ คากาโนวิช, คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ, โรเบิร์ต เอเค และคนอื่น ๆ
เหตุจูงใจการกำจัดศัตรูทางการเมือง, การรวมอำนาจ, ความกลัวต่อการปฏิวัติซ้อน, ความกลัวต่อการแทรกซึมในพรรค

ลักษณะหลัก ๆ ของการกวาดล้างใหญ่นี้ คือ การกวาดล้างชนชั้นคูลัคที่เรียกปฏิบัติการคูลัค และการกำหนดเป้าหมายเป็นชนกลุ่มน้อยในชาติ โดย 9 ใน 10 ของคำพิพากษาประหารชีวิต และ 3 ใน 4 ของคำพิพากษาให้จองจำไว้ในค่ายแรงงานเกณฑ์แบบกูลัก เป็นผลมาจากปฏิบัติการทั้งสองนี้

ในโลกตะวันตก คำว่า "ความน่าสะพรึงกลัวครั้งใหญ่" เป็นที่นิยมขึ้นเพราะหนังสือชื่อนั้นของโรเบิร์ต คอนเควสต์ ออกเผยแพร่ใน ค.ศ. 1968 ชื่อหนังสือดังกล่าวอิงมาจากชื่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสที่เรียกสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

บทนำ

เหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งเป็นการที่โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต เบียดเบียนผู้คนที่ตนมองว่าเป็นผู้ต่อต้านการปฏิวัติและเป็นศัตรูของประชาชนนั้น เรียกอย่างเป็นทางการว่า การกดขี่ นักประวัติศาสตร์อภิปรายกันว่า สาเหตุของการกดขี่มีหลายประการ เป็นต้นว่า โรคจิตหวาดระแวงของสตาลินเอง หรือความต้องการของสตาลินที่จะกำจัดผู้เห็นต่างออกไปจากพรรคคอมมิวนิสต์หรือที่จะควบรวมอำนาจ การกดขี่นี้เริ่มขึ้นในกองทัพแดง และวิธีกดขี่ที่พัฒนาขึ้นในกองทัพนั้นก็เริ่มนำมาประยุกต์ใช้อย่างรวดเร็วแก่การกดขี่ในที่อื่น การกดขี่ส่วนที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนทั่วไปนั้น คือ การกดขี่กลุ่มผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงข้าราชการและผู้นำกองทัพซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ แต่การกดขี่ดังกล่าวยังกระทบต่อภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคมด้วย เป็นตนว่า ปัญญาชน ชนชั้นรากหญ้าที่มีฐานะหรือปล่อยกู้ซึ่งเรียกคูลัค และผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ

ปฏิบัติการที่พลาธิการกิจการภายในของประชาชนดำเนินการนั้น ส่งผลต่อชนกลุ่มน้อยที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นประชาคม "แนวที่ห้า" องค์การทหารโปแลนด์ออกคำอธิบายอย่างเป็นทางการว่า การกดขี่ดังกล่าวเป็นไปเพื่อขจัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดวินาศกรรมและจารกรรมจากต่างชาติ แม้ว่าภายหลังผู้ถูกกดขี่จะรวมถึงพลเมืองโปแลนด์ทั่ว ๆ ไปเองก็ตาม

ตามสุนทรพจน์ของ นิกิตา ครุสชอฟ ชื่อ "ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมัน" เมื่อ ค.ศ. 1956 และตามคำอธิบายของโรเบิร์ต คอนเควสต์ นักประวัติศาสตร์ ข้อกล่าวหาจำนวนมากที่ใช้ในการกดขี่ โดยเฉพาะที่ฟ้องในการพิจารณาคดีมอสโควนั้น มาจากการบังคับให้รับสารภาพ ซึ่งมักได้โดยการทรมาน และโดยการตีความมาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายอาญาโซเวียตรัสเซีย (ซึ่งว่าด้วยความผิดฐานต่อต้านการปฏิวัติ) อย่างหละหลวม นอกจากนี้ ยังมักนำกระบวนพิจารณาแบบรวบรัดของคณะตุลาการที่เรียกทรอยคามาใช้แทนขั้นตอนที่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายโซเวียตขณะนั้น

ผู้เคราะห์ร้ายหลายหมื่นคนถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางการเมืองหลายรูปแบบ เช่น จารกรรม การสร้างความเสียหาย วินาศกรรม การปลุกปั่นให้ต่อต้านโซเวียต และการสมคบกันเพื่อตระเตรียมการลุกฮือหรือรัฐประหาร ในไม่ช้าผู้เคราะห์ร้ายมักถูกประหารด้วยการยิงเสียให้ตายหรือส่งไปจองจำไว้ในค่ายแรงงานเกณฑ์แบบกูลัก หลายคนตายลงในค่ายแรงงานเกณฑ์เพราะความอดอยาก โรค การเสี่ยงชีวิต และการถูกใช้แรงงานเกินควร นอกจากนี้ มีการทดลองใช้วิธีการอื่น ๆ มากำจัดผู้เคราะห์ร้าย เช่น ในมอสโคว มีการใช้รถก๊าซฆ่าผู้เคราะห์ร้ายขณะขนส่งเขาเหล่านั้นไปยังลานประหารที่เรียกแนวยิงบูโทโว

การกวาดล้างใหญ่นี้เริ่มขึ้นในช่วงที่ Genrikh Yagoda เป็นหัวหน้าพลาธิการกิจการภายในฯ แต่รุนแรงถึงขีดสุดในช่วงกันยายน ค.ศ. 1936 ถึงสิงหาคม ค.ศ. 1938 ที่นีโคไล เยจอฟ เป็นหัวหน้าพลาธิการฯ การกวาดล้างดำเนินไปตามคำสั่งที่เรียกว่าแนวปฏิบัติทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วได้แก่คำสั่งโดยตรงของคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีสตาลินเป็นประธาน

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

ภาพยนตร์

  • Pultz, David, dir. 1997. Eternal Memory: Voices from the Great Terror [81:00, documentary film]. Narrated by Meryl Streep. USA.

แหล่งข้อมูลอื่น


This article uses material from the Wikipedia ไทย article การกวาดล้างใหญ่, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

การกวาดล้างใหญ่ บทนำการกวาดล้างใหญ่ อ้างอิงการกวาดล้างใหญ่ อ่านเพิ่มการกวาดล้างใหญ่ แหล่งข้อมูลอื่นการกวาดล้างใหญ่กองทัพแดงภาษาอังกฤษลัทธิสตาลิน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ไพ่แคงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอารยา เอ ฮาร์เก็ตฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นร่างทรง (ภาพยนตร์)จิรวัฒน์ สอนวิเชียร69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ชนิกานต์ ตังกบดีรายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบนิภาภรณ์ ฐิติธนการพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถพงษ์สิทธิ์ คำภีร์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเขตพื้นที่การศึกษามหาวิทยาลัยบูรพาคาราบาวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวราชกิจจานุเบกษามาตาลดาราชินีแห่งน้ำตาไททานิค (ภาพยนตร์)ไทยลีกพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณประเทศอังกฤษพระเจ้าบุเรงนองภาคกลาง (ประเทศไทย)พ่อขุนรามคำแหงมหาราชรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารบาปเจ็ดประการสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจังหวัดนครศรีธรรมราชเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีกวนอิมไพรวัลย์ วรรณบุตรมรรคมีองค์แปดกองทัพภาคที่ 1จังหวัดประจวบคีรีขันธ์น้ำอสุจิตระกูลเจียรวนนท์มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ดาบพิฆาตอสูรอัสซะลามุอะลัยกุมมิถุนายนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปราโมทย์ ปาทานธัญญ์ ธนากรเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกกูเกิล แผนที่โทกูงาวะ อิเอยาซุกันต์ กันตถาวรเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีรอยรักรอยบาปพระคเณศวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชภูมิภาคของประเทศไทยทศศีลสุภาพบุรุษชาวดินจังหวัดขอนแก่นฟุตซอลโลกกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาจิราพร สินธุไพรบริษัทยงวรี อนิลบลรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองฮันเตอร์ x ฮันเตอร์สราลี ประสิทธิ์ดำรงจังหวัดบุรีรัมย์วัดไร่ขิงอีสซึ่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ช้อปปี้🡆 More