ภาพยนตร์ ร่างทรง

ร่างทรง (อังกฤษ: The Medium, เกาหลี: 랑종) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวระทึกขวัญ–สยองขวัญ ร่วมทุนผลิตโดยจีดีเอช จากประเทศไทย และ โชว์บอกซ์ จากประเทศเกาหลีใต้ กำกับโดย บรรจง ปิสัญธนะกูล และอำนวยการสร้างโดย นา ฮง-จิน เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพูช็อน ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.

2564 ต่อมาเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สำหรับประเทศไทย มีกำหนดเข้าฉายอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564[ต้องการอ้างอิง]

ร่างทรง
ภาพยนตร์ ร่างทรง
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับบรรจง ปิสัญธนะกูล
เขียนบท
เนื้อเรื่อง
  • ชเว ชา-ฮวอน
  • นา ฮง-จิน
อำนวยการสร้างนา ฮง-จิน
บรรจง ปิสัญธนะกูล
นักแสดงนำ
กำกับภาพนฤพล โชคคณาพิทักษ์
ตัดต่อธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค
ดนตรีประกอบชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
บริษัทผู้สร้าง
จีดีเอช
โชว์บอกซ์ คอร์ปอเรชัน
นอร์ธเทิร์น ครอส
จอกว้าง ฟิล์ม
ผู้จัดจำหน่ายจีดีเอช (ไทย)
โชว์บอกซ์ (เกาหลีใต้)
วันฉาย14 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 (2021-07-14)(เกาหลีใต้)
28 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (2021-10-28)(ไทย)
ความยาว130 นาที
ประเทศไทย
เกาหลีใต้
ภาษาภาษาไทย
ภาษาอีสาน
ทำเงิน250 ล้านบาท (เกาหลีใต้)
54.1 ล้านบาท (กรุงเทพ ปริมณฑล และเชียงใหม่)
112.19 ล้านบาท (ทั่วประเทศไทย)

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best of Bucheon) ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพูช็อน ครั้งที่ 25 ด้วยมติเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการ พร้อมทั้งเป็นภาพยนตร์ทำเงินลำดับที่ 15 ของบอกซ์ออฟฟิศเกาหลีใต้ประจำปี พ.ศ. 2564 ด้วยยอดรายได้ 7.35 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดผู้ชม 831,126 คน นอกจากนี้สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติได้เสนอชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตัวแทนจากประเทศไทย เข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้ถูกรับเลือกให้เข้าชิง

ภาคต่อของภาพยนตร์ “MINK” (มิ้ง) กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

เนื้อเรื่อง

เรื่องราวการถ่ายทำสารคดีติดตามชีวิตครอบครัวที่สืบเชื้อสายร่างทรง "ย่าบาหยัน" มาหลายชั่วอายุคน ซึ่งเชื่อกันว่าจะเลือกแต่ร่างของผู้หญิงเพื่อสืบทอดทายาท โดยมี ป้านิ่ม (สวนีย์ อุทุมมา) เป็นผู้สืบทอดสายเลือดร่างทรงคนปัจจุบัน ระหว่างการถ่ายทำกำลังดำเนินอยู่นั้น ทุกคนเริ่มพบอาการแปลกประหลาดหลายอย่างเกิดขึ้นกับ มิ้ง (นริลญา กุลมงคลเพชร) หลานสาวคนเดียวของตระกูล ทุกคนจึงคาดกันว่ามิ้งน่าจะถูกรับเลือกให้เป็นทายาทร่างทรงคนต่อไป แต่เมื่อเวลาผ่านไปมิ้งกลับมีอาการน่ากลัวขึ้นเรื่อย ๆ จนสมาชิกในครอบครัวเริ่มสงสัยกันว่าจริง ๆ แล้วสิ่งที่เข้ามาอยู่ในร่างของมิ้งอาจจะไม่ใช่ย่าบาหยันอย่างที่ทุกคนคิด

นางน้อย (ศิราณี ญาณกิตติกานต์) แม่ของมิ้ง เป็นคนเดียวในครอบครัวที่ไม่เชื่อว่ามิ้งจะถูกผีร้ายเข้าสิง จึงเร่งให้มีการทำพิธีกรรมรับขันธ์ให้มิ้งเป็นร่างทรงคนต่อไป แต่ป้านิ่มไม่ยอมทำพิธีกรรมให้เพราะเชื่อว่าที่อยู่ในร่างมิ้งไม่ใช่ย่าบาหยัน แต่นางน้อยไม่ยอมจึงนำมิ้งไปทำพิธีกรรมกับหมอผีอื่นตามลำพัง ป้านิ่มตามไปทำลายพิธีกรรมนั้นลงจนมิ้งเกิดอาการคลั่งและเตลิดเปิดเปิงไป เมื่อเป็นเช่นนั้นป้านิ่มจึงถามกับ ลุงมานิต (ยะสะกะ ไชยสร) ว่ามิ้งเคยผิดผีกับ แม็กซ์ พี่ชายของตัวเองหรือไม่ แม้ลุงมานิตไม่ยอมตอบ แต่หลังจากวันนั้นกิจการทุก ๆ อย่างของตระกูลยะสันเทียะ เริ่มพังทลายลงทีละน้อย เมื่อเหตุการณ์ทุกอย่างเริ่มเลวร้ายลง ความลับอันดำมืดของตระกูลก็เริ่มผุดขึ้นมาทีละน้อย สมัยก่อนตระกูลยะสันเทียะเคยรับจ้างฆ่าคนไม่เว้นวัน แม้เลิกราไปนานจนถึงยุคปัจจุบัน คนในตระกูลก็ยังประกอบอาชีพฆ่าสัตว์ ฆ่าหมา ฆ่าวัว ฆ่าควาย เพื่อเอามาชำแหละเนื้อขาย ซึ่งผิดกันกับตระกูลฝ่ายหญิงที่ทำอาชีพร่างทรง ถือศีล ประพฤติตนตามหลักศาสนา ด้วยความลับนี้จึงทำให้ป้านิ่มเชื่อมั่นว่า สิ่งที่อยู่ในร่างมิ้ง ต้องเป็นหนึ่งในเจ้ากรรมนายเวรพวกนี้แน่ จึงเร่งพยายามอัญเชิญย่าบาหยันให้มาทำพิธีไล่ผีและขอขมาเจ้ากรรมนายเวรให้ปลดปล่อยครอบครัวไป แต่ทุกอย่างก็สายเมื่ออยู่ดี ๆ ป้านิ่มก็เสียชีวิตลงจนทำให้ทุกคนเริ่มหมดหวัง

นางน้อยเป็นคนเดียวที่ไม่ยอมแพ้ เธอจึงจัดการหาหมอผีทำพิธีคุณไสย์ ไล่วิญญาณร้ายออกไปจากร่างมิ้ง นางน้อยใช้วิธีใดก็ไม่เป็นผล แต่ทุก ๆ ครั้งที่เธอทำพิธีกรรม ความลับที่ซ่อนเอาไว้ก็เริ่มผุดออกมาว่า จริง ๆ แล้ว นางน้อยคือคนที่ย่าบาหยันเลือกให้เป็นร่างทรงคนต่อไป แต่นางน้อยกลับปฏิเสธด้วยการใส่ยันต์ลงในรองเท้ารวมถึงเปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์ ทำให้ย่าบาหยันไม่เลือกเธอแต่ไปเลือกป้านิ่มแทน เมื่อเป็นเช่นนั้นนางน้อยจึงกลับไปหาย่าบาหยันที่เคยปฏิเสธไป เธอจัดพิธีกรรมรับขันธ์เพื่อรับเอาย่าบาหยันเข้ามา พร้อม ๆ กับผนึกวิญญาณร้ายไปพร้อมกันทีเดียว แต่แล้วผีร้ายกลับบังตา แป้ง (อรุณี วัฒฐานะ) ให้เข้าใจผิดว่าลูกของเธอหายไป เธอจึงพังยันต์เข้าไปหามิ้งเพื่อไปเอาลูกคืน แต่สิ่งที่ปรากฏตรงหน้าคือมิ้งที่ทำลายยันต์ได้สำเร็จ มิ้งจึงลงมือฆ่าทุกคนที่อยู่ที่นั่น ก่อนบุกไปทำลายพิธีกรรมและฆ่าทุกคนที่ลานพิธีกรรมอย่างเลือดเย็น

นางน้อยที่รับเอาย่าบาหยันเข้ามาสำเร็จ จึงทำพิธีกรรมไล่ผีร้ายออกไปจากมิ้งตามลำพัง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือมิ้งหลอกล่อให้นางน้อยตายใจ ก่อนใช้มีดแทงคอนางน้อยให้ล้มลงและเผาร่างนางน้อยทั้งเป็น พริบตาที่เพลิงลุกไหม้ กล้องที่ล้มลงไปก็จับภาพได้พอดีว่ามีตุ๊กตาสาปแช่งคนตระกูลยะสันเทียะวางอยู่ใกล้ ๆ และภาพก็ตัดลง

ทีมงานนำบันทึกสัมภาษณ์ป้านิ่มครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิตมาเปิด ภาพที่ปรากฏคือป้านิ่มทำพิธีไหว้ย่าบาหยันตามปกติ แต่เมื่อไหว้เสร็จป้ากลับโยนถาดทิ้งแบบไม่พอใจ ทีมงานจึงถามป้าว่าทำไมทำเช่นนั้น ป้านิ่มจึงสารภาพว่า ตัวเธอเองยังไม่รู้เลยว่าย่าบาหยันเข้าร่างจริงหรือไม่ ก่อนหนีไปร้องไห้ตามลำพังเพียงคนเดียว

นักแสดง

  • นริลญา กุลมงคลเพชร รับบท มิ้ง
  • สวนีย์ อุทุมมา รับบท นิ่ม (น้าของมิ้ง)
  • ศิราณี ญาณกิตติกานต์ รับบท น้อย (แม่ของมิ้ง)
  • ยะสะกะ ไชยสร รับบท มานิต (ลุงของมิ้ง)
  • บุญส่ง นาคภู่ รับบท สันติ (เพื่อนของนิ่ม)
  • อรุณี วัฒฐานะ รับบท แป้ง (ภรรยาของมานิต)
  • ธนัชพร บุญแสง รับบท ลิซ่า (เพื่อนมิ้ง)
  • ภัคพล ศรีรองเมือง รับบท โปรดิวเซอร์
  • อัครเดช รัตนะวงค์ รับบท ป้อง (ลูกของแป้ง)
  • ชัชวัฒน์ แสนเวียน รับบท ตากล้อง 1
  • ยศวัศ สิทธิวงค์ รับบท ตากล้อง 2
  • อานนท์ โล่ศิริปัญญา รับบท ตากล้อง 3
  • กลางชล เชื้อขำ รับบท ตากล้อง 4
  • ปูน มิตรภักดี รับบท แม็ค (พี่ชายของมิ้ง)
  • ประพฤติธรรม คุ้มชาติ รับบท วิโรจน์ (พ่อของมิ้ง)
  • เม็ด สุขบัว รับบท ยายตาบอด

งานสร้าง และการประชาสัมพันธ์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีสถานที่ถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเลย แถบภาคอีสานของประเทศไทย

ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดตัวครั้งแรกในงานแถลงข่าว GDH Xtraordinary 2021 Line-up เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเปิดตัวว่าเป็นภาพยนตร์ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและเกาหลีใต้ โดยมีโปรดิวเซอร์คือ นา ฮง-จิน จากค่ายโชว์บอกซ์ ก่อนจะประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และมีแผนเข้าฉายในเกาหลีใต้ช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยได้เปิดเผยตัวอย่างแรก และอธิบายเนื้อเรื่องว่าเกี่ยวข้องกับคนทรง และความเชื่อของชาวไทยถิ่นอีสาน

ด้วยเนื้อหาของภาพยนตร์บางส่วนที่มีฉากไม่เหมาะสมอย่างการนำสุนัขมาชำแหละ หรือนำสุนัขลงไปต้มในน้ำเดือดทั้งเป็น ผู้สร้างภาพยนตร์ยังได้มีการขึ้นคำชี้แจงไว้ในช่วงท้ายของภาพยนตร์ว่าทั้งหมดเป็นเพียงเทคนิคการถ่ายทำ และไม่มีสัตว์ใด ๆ ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้

การออกฉาย และรายได้

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการซื้อขายในตลาดภาพยนตร์ยุโรป ผ่านทาง Finecut ลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ตกเป็นของ The Jokers สำหรับการเข้าฉายในฝรั่งเศส และ Koch Films สำหรับการเข้าฉายในประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน และในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์สยองขวัญชื่อดังอย่าง Shudder และ เน็ตฟลิกซ์ ได้รับสิทธิ์สตรีมภาพยนตร์เรื่องนี้ในสหรัฐ เริ่มออกฉายสตรีมครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ในแถบเอเชีย ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกหลายบริษัทซื้อไปเข้าฉายในหลายประเทศ เช่น Edko Films ในมาเก๊า กับฮ่องกง, MovieCloud ใน ไต้หวัน, Synca Creations ในญี่ปุ่น, Encore Films ในมาเลเซีย กับอินโดนีเซีย, Golden Village ในสิงคโปร์, M Pictures ในลาว กับกัมพูชา และ Lumix Media ในเวียดนาม พร้อมทั้งกวาดเสียงวิจารณ์และรายได้ในหลายประเทศ เช่น เป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงสุดในรอบ 8 ปีที่สิงคโปร์, เป็นภาพยนตร์เรท R ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดแห่งปีที่ไต้หวัน และเป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาลในอินโดนีเซีย แซงหน้าภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง

ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแห่งพูช็อน ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ต่อมาเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ด้วยจำนวนโรงสูงถึง 1403 โรง เปิดตัววันแรกขึ้นอันดับหนึ่งบอกซ์ออฟฟิศเกาหลีใต้ ด้วยยอดผู้ชม 129,917 คน แซงหน้าภาพยนตร์จากมาร์เวลสตูดิโอส์อย่างแบล็ค วิโดว์ ไปได้ในวันเดียวกัน หลังจากเข้าฉายได้ 4 วัน กลายเป็นภาพยนตร์สยองขวัญที่ทำรายได้สูงสุดในเกาหลีใต้ ด้วยรายได้ราว 2.67 ล้านเหรียญสหรัฐ และมียอดผู้ชมสะสมอยู่ที่ 403,019 คน รายได้รวมตลอดการฉายในเกาหลีใต้อยู่ที่ 7.32 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 250 ล้านบาท) และมียอดผู้ชมรวมทั้งสิ้น 831,126 คน

ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่สามารถเข้าฉายในไทยพร้อมกับเกาหลีใต้ได้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19[ต้องการอ้างอิง] ภายหลังจีดีเอชได้ประกาศกำหนดเข้าฉายอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยมีงานแถลงข่าวและเปิดให้ชมภาพยนตร์ในรอบสื่อ ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สามารถทำรายได้เปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ไปได้ 3.68 ล้านบาท (รายได้ทั่วประเทศ 8.69 ล้านบาท) กลายเป็นภาพยนตร์ไทยรายได้เปิดตัววันแรกสูงเป็นลำดับที่สอง ประจำปี พ.ศ. 2564 (ลำดับที่ 1 เป็นของ 4 KINGS อาชีวะ ยุค 90 ทำรายได้ 3.85 ล้านบาท) ภายหลังเข้าฉายได้ 4 วัน ทำรายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ รวม 19.2 ล้านบาท (รายได้ทั่วประเทศ 40.02 ล้านบาท)

สิ้นสุดวันหยุดสุดสัปดาห์ที่สอง หลังจากการเข้าฉายในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ทำรายได้รวม 38.59 ล้านบาท (รายได้ทั่วประเทศ 81.58 ล้านบาท) สิ้นสุดวันหยุดสุดสัปดาห์ที่สาม ทำรายได้รวมในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 47.94 ล้านบาท (รายได้ทั่วประเทศ 101.09 ล้านบาท) กลายเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกของปี พ.ศ. 2564 ที่ทำรายได้ทั่วประเทศทะลุ 100 ล้านบาท สิ้นสุดโปรแกรมการฉาย หลังเข้าฉายไปได้ 6 สัปดาห์ ทำรายได้รวมในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 54.1 ล้านบาท (รายได้ทั่วประเทศ 112.19 ล้านบาท)

รางวัล

ปี ผู้มอบรางวัล สาขาที่เข้าชิง ผู้ได้รับเสนอชื่อ ผล
2564 เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพูช็อน ครั้งที่ 25 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ร่างทรง ชนะ
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมานิแอติก 2021 ชนะ
เทศกาลภาพยนตร์สยองขวัญและแฟนตาซีซาน
เซบาสเตียน ครั้งที่ 32
ชนะ
เทศกาลภาพยนตร์สยองขวัญนานาชาติมอลินส์ 2021 กำกับภาพยอดเยี่ยม นฤพล โชคคณาพิทักษ์ ชนะ
2565 Fever Awards ครั้งที่ 5 ภาพยนตร์ฟีเวอร์แห่งปี ร่างทรง ชนะ
นักแสดงนำหญิงสาขาภาพยนตร์ฟีเวอร์ นริลญา กุลมงคลเพชร ชนะ
Thailand Zocial Awards 2022 Best Entertainment on Social Media สาขาภาพยนตร์ไทย ร่างทรง ชนะ
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18 ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ชนะ
ผู้กำกับยอดเยี่ยม บรรจง ปิสัญธนะกุล เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นริลญา กุลมงคลเพชร ชนะ
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม บุญส่ง นาคภู่ เสนอชื่อเข้าชิง
ยะสะกะ ไชยสร เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สวนีย์ อุทุมมา ชนะ
ศิราณี ญาณกิตติกานต์ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บรรจง ปิสัญธนะกูล, ฉันทวิชช์ ธนะเสวี, ศิววุฒิ เสวตานนท์ ชนะ
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 30 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ร่างทรง เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บรรจง ปิสัญธนะกุล เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นริลญา กุลมงคลเพชร ชนะ
สวนีย์ อุทุมมา เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ศิราณี ญาณกิตติกานต์ เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม บุญส่ง นาคภู่ เสนอชื่อเข้าชิง
ยะสะกะ ไชยสร เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ร่างทรง ชนะ
กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ชนะ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 30 ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นริลญา กุลมงคลเพชร ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สวนีย์ อุทุมมา ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บรรจง ปิสัญธนะกูล ชนะ
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม บุญส่ง นาคภู่, ยะสะกะ ไชยสร เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฉันทวิชช์ ธนะเสวี, ศิววุฒิ เสวตานนท์, บรรจง ปิสัญธนะกูล ชนะ
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม นฤพล โชคคณาพิทักษ์ ชนะ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ร่างทรง ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม อรรคเดช แก้วโคตร ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ ชนะ
ออกแบบเครื่องแต่งกาย ชญานุช เสวกวัฒนา ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม ธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค เสนอชื่อเข้าชิง
เทคนิคการสร้างภาพพิเศษ บริษัท กันตนา แอนนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด ชนะ
บันทึกเสียงและผสมเสียง นฤเบศ เปี่ยมใย ชนะ
เทคนิคพิเศษการแต่งหน้า พิเชษฐ วงศ์จันทร์สม ชนะ

ภาคต่อ

จากความสำเร็จของภาพยนตร์ นาฮงจิน ผู้อำนวยการสร้าง ได้ประกาศข่าวให้เหล่าแฟน ๆ ในงาน SHOWBOX: Fun for Tomorrow ประกาศสร้างหนัง “ภาคต่อ” โดยจะใช้ชื่อเรื่องว่า “MINK” (มิ้ง)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภาพยนตร์ ร่างทรง เนื้อเรื่องภาพยนตร์ ร่างทรง นักแสดงภาพยนตร์ ร่างทรง งานสร้าง และการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ ร่างทรง การออกฉาย และรายได้ภาพยนตร์ ร่างทรง รางวัลภาพยนตร์ ร่างทรง ภาคต่อภาพยนตร์ ร่างทรง อ้างอิงภาพยนตร์ ร่างทรง แหล่งข้อมูลอื่นภาพยนตร์ ร่างทรงจีดีเอชบรรจง ปิสัญธนะกูลประเทศเกาหลีใต้ประเทศไทยภาพยนตร์สยองขวัญภาพยนตร์ไทยภาษาอังกฤษภาษาเกาหลีวิกิพีเดีย:ต้องการอ้างอิง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เจษฎ์ โทณะวณิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิชคุณ ขจรบริรักษ์ประเทศตุรกีอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งธนินท์ เจียรวนนท์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาธนนท์ จำเริญจริยา แอนโฟเน่ณเดชน์ คูกิมิยะกองบัญชาการตำรวจนครบาลก็อดซิลล่า ปะทะ คองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาวิทยาลัยรามคำแหงประวัติศาสตร์จีนความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยหัวใจไม่มีปลอมทองใส ทับถนนนาฬิกาหกชั่วโมงกวนอิมรายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดฟุตบอลทีมชาติสเปนรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสุโขทัยจุดทิศหลักฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรปราชินีแห่งน้ำตาจังหวัดสมุทรสาครสุภาพร มะลิซ้อนรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีสเตอร์ประเทศไทยราณี แคมเปนสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีประเทศฟิลิปปินส์ภรภัทร ศรีขจรเดชาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปน้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์เอกซ์เจแปนวัดพระศรีรัตนศาสดารามจักรภพ เพ็ญแขรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31อาณาจักรธนบุรีแคพิบาราสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)กระทรวงในประเทศไทยภาษาไทยการบินไทยอันดับของขนาด (มวล)รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย27 มีนาคมแจ็กสัน หวังรายการสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์พ.ศ. 2566รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญสุลักษณ์ ศิวรักษ์ทวีปยุโรปสามก๊กอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฟุตซอลทีมชาติไทยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจ้าว ลี่อิ่งกติกาฟุตบอลสีประจำวันในประเทศไทยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง🡆 More