กูลัก

กูลัก (รัสเซีย: ГУЛаг; อังกฤษ: Gulag, คำย่อของ สำนักบริหารหลักค่ายแรงงาน) เป็นหน่วยงานราชการเพื่อการกำกับดูแลระบบค่ายแรงงานสหภาพโซเวียต ถูกจัดตั้งโดย วลาดีมีร์ เลนิน และถึงจุดสูงสุดในช่วงการปกครองของ โจเซฟ สตาลิน ระหว่างทศวรรษที่ 1930 ถึงต้นทศวรรษที่ 1950 ผู้พูดภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า gulag ในการกล่าวถึงค่ายบังคับแรงงานสหภาพโซเวียต รวมถึงค่ายที่มีอยู่ในยุคก่อนสตาลิน ในค่ายมีนักโทษหลากหลาย ตั้งแต่อาชญากรผู้น้อยไปจนถึงนักโทษการเมือง จำนวนมากถูกตัดสินโดยกระบวนการง่ายๆของตรอยกาของพลาธิการกิจการภายในประชาชน หรือเครื่องมืออื่นๆของการลงโทษนอกระบบกฎหมาย กูลักได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการปราบปรามทางการเมืองของสหภาพโซเวียต

กูลัก
แผนที่ค่ายเรือนจำกูลักระหว่าง ค.ศ. 1923 และ 1961 โดยอาศัยข้อมูลจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนเมโมเรียล

นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Nicolas Werth เขียนใน The Black Book of Communism กล่าวว่า อัตราการเสียชีวิตต่อปีในค่ายกักกันทั้งหมด แตกต่างกัน คือ 5% (ค.ศ.1933) และ 20% (ค.ศ.1942–1943) ในขณะที่ลดลงอย่างมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ประมาณ 1 ถึง 3% ต่อปี เมื่อต้นทศวรรษที่ 1950) ความเห็นพ้องในหมู่นักวิชาการที่ใช้ข้อมูลจากหอเก็บเอกสารของทางการ ตั้งแต่ ค.ศ.1930–1953 ประมาณ 1.5 ถึง 1.7 ล้านคนเสียชีวิต อะเลคซันดร์ โซลเซนิตซิน ผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมและผู้รอดชีวิตจากการถูกจองจำ 8 ปีในกูลัก มีชื่อเสียงในระดับสากลด้วยการตีพิมพ์ The Gulag Archipelago ค.ศ.1973 ผู้เขียนเปรียบค่ายกระจายตัวเหมือน "ลูกโซ่ของหมู่เกาะ" ในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์เขาอธิบายว่า กูลักเป็นระบบที่ผู้คนทำงานจนตาย อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์บางคนตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลทั้งหลายดังกล่าว และแทนที่จะพึ่งพาแหล่งวรรณกรรมอย่างหนัก มีนักวิจัยเอกสารที่พบว่า "ไม่มีแผนทำลายล้าง" ต่อประชากรของกูลัก ไม่มีคำสั่งอย่างเป็นทางการที่จะฆ่าพวกเขา และนักโทษถูกปล่อยตัวเป็นจำนวนมากมาย เกินกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต

ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1940 มีค่ายอำนวยการ (เรียกง่ายๆว่า “ค่าย”) 53 แห่ง นิคมแรงงาน 423 แห่ง เหมืองและเมืองอุตสาหกรรรม ทางตอนเหนือและตะวันออกของรัสเซียและคาซัคสถาน เช่น Karaganda, Norilsk, Vorkuta และ Magadan ที่ค่ายทั้งหลายจะถูกก่อสร้างโดยนักโทษ และดำเนินงานโดยอดีตนักโทษ

ประวัติโดยย่อ

บันทึก

อ้างอิง

Tags:

การลงโทษนอกระบบกฎหมายภาษารัสเซียภาษาอังกฤษวลาดีมีร์ เลนินสหภาพโซเวียตโจเซฟ สตาลิน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชาพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์เครื่องคิดเลขภาษาในประเทศไทยวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาลานีญาองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยองศาเซลเซียสสุทิน คลังแสงวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024ฟุตซอลราศีเมษวันชนะ สวัสดีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถวิดีโอจังหวัดสมุทรสาครเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีบอดี้สแลมคิม จี-ว็อน (นักแสดง)อวตาร (ภาพยนตร์)ธนาคารทหารไทยธนชาตคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์โดราเอมอนเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนกองทัพภาคที่ 1ฟุตบอลโลกแฮร์รี แมไกวร์ไฮบ์คอร์ปอเรชันพิศวาสฆาตเกมส์ดวงใจเทวพรหมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรจังหวัดสระบุรีพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรประเทศไทยบรรดาศักดิ์ไทยคำอุปสรรคเอสไอมหาเวทย์ผนึกมารคลิปวิดีโอพิชญ์นาฏ สาขากรบุพเพสันนิวาสจีรนันท์ มะโนแจ่มภาษาอังกฤษสงครามโลกครั้งที่สองชาเคอลีน มึ้นช์ร่างทรง (ภาพยนตร์)เคลียร์เซเรียอา ฤดูกาล 2023–24ประเทศคาซัคสถานมาตาลดาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองนริลญา กุลมงคลเพชรอริยบุคคลกบฏเจ้าอนุวงศ์อุณหภูมิปรีชญา พงษ์ธนานิกรลวรณ แสงสนิทกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐเหี้ยทวี ไกรคุปต์ดาร์วิน นุญเญซนามสกุลพระราชทานเครยอนชินจังรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครจังหวัดมหาสารคามอัสซะลามุอะลัยกุมวันแอนแซกราณี แคมเปนหนึ่งในร้อยรางวัลนาฏราชความเสียวสุดยอดทางเพศวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์🡆 More