จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกีออตโตมัน: دولت عليه عثمانيه Devlet-i ʿAlīye-i ʿOsmānīye แปลตรงตัว รัฐออตโตมันอันประเสริฐ; ตุรกีแบบปัจจุบัน: Osmanlı İmparatorluğu หรือ Osmanlı Devleti; ฝรั่งเศส: Empire ottoman) เป็นรัฐที่ควบคุมยุโรปตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 จักรวรรดินี้ก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอานาโตเลียในเมืองเซอกืต (ปัจจุบันคือจังหวัดบีเลจิค) โดยผู้นำเผ่าเตอร์โกแมนสุลต่านออสมันที่ 1 หลัง ค.ศ.

1354 พวกออตโตมันได้ข้ามไปยังฝั่งยุโรปและพิชิตคาบสมุทรบอลข่าน, เบย์ลิกออตโตมันจึงเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิข้ามทวีป พวกออตโตมันที่นำโดยสุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตพิชิตพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลใน ค.ศ. 1453 ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์สิ้นสุดลง จักรวรรดิออตโตมันเริ่มเสี่อมถอยอย่างช้า ๆ จนกระทั่งล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางแห่งจักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และราชอาณาจักรบัลแกเรียที่เป็นฝ่ายแพ้สงคราม

รัฐออตโตมันอันประเสริฐ

دولت عليه عثمانیه
Devlet-i ʿAlīye-i ʿOsmānīye
1299–1922
ธงชาติจักรวรรดิออตโตมัน
ธง
(ค.ศ. 1844–1922)
จักรวรรดิออตโตมัน
ตราแผ่นดิน
(1882–1922)
คำขวัญدولت ابد مدت
Devlet-i Ebed-müddet
("รัฐอันเป็นนิรันดร์")
จักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1566 ในช่วงที่สุลัยมานผู้เกรียงไกรสวรรคต
จักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1566 ในช่วงที่สุลัยมานผู้เกรียงไกรสวรรคต
จักรวรรดิออตโตมัน ณ จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1683
จักรวรรดิออตโตมัน ณ จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1683
เมืองหลวง
เมืองใหญ่สุดคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล)
ภาษาทั่วไป
  • ตุรกีออตโตมัน (ทางการ)
  • อาหรับ (ภาษาศักดิ์สิทธิ์; ในประชากรที่พูดภาษาอาหรับ)
  • กรีก (สุลต่านบางพระองค์และประชากรที่พูดภาษากรีก)
  • เปอร์เซีย (การทูต, กวี, ประวัติศาสตร์, วรรณกรรม, สอนในโรงเรียนรัฐ)
  • ชะกะไต (พระราชกฤษฎีกาในศตวรรษที่ 15)
  • ฝรั่งเศส (ภาษาต่างชาติของผู้มีการศึกษาในสมัยปลายตันซีมัต/จักรวรรดิตอนปลาย)
  • อื่น ๆ
ศาสนา
เดมะนิมชาวออตโตมัน
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(1299–1876; 1878–1908; 1920–1922)
และรัฐเคาะลีฟะฮ์ (1517–1924)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(1876–1878; 1908–1920)
สุลต่าน 
• ป. 1299–1323/4 (องค์แรก)
ออสมันที่ 1
• 1918–1922 (องค์สุดท้าย)
เมห์เหม็ดที่ 6
เคาะลีฟะฮ์ 
• 1517–1520 (องค์แรก)
เซลิมที่ 1
• 1922–1924 (องค์สุดท้าย)
อับดุลเมจิดที่ 2
มหาเสนาบดี 
• 1320–1331 (คนแรก)
อาลาเอดดีน พาชา
• 1920–1922 (คนสุดท้าย)
อาห์เม็ด เทวฟิก พาชา
สภานิติบัญญัติสมัชชาใหญ่
• สภาบนที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
สภาสำคัญ
• สภาล่างที่ได้รับการเลือกตั้ง
สภาต่ำ
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
1299 1299
1402–1413
1453
• รัฐธรรมนูญฉบับแรก
1876–1878
• รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2
1908–1920
• การรุกรานที่ประตูประเสริฐ (Sublime Porte)
23 มกราคม ค.ศ. 1913
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922
29 ตุลาคม 1923
• การยุบรัฐเคาะลีฟะฮ์
3 มีนาคม ค.ศ. 1924
พื้นที่
• รวม
[convert: %s]%s (N/A)
1451690,000 ตารางกิโลเมตร (270,000 ตารางไมล์)
15213,400,000 ตารางกิโลเมตร (1,300,000 ตารางไมล์)
16835,200,000 ตารางกิโลเมตร (2,000,000 ตารางไมล์)
18442,938,365 ตารางกิโลเมตร (1,134,509 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1912
24,000,000
จีดีพี (อำนาจซื้อ) N/A (ประมาณ)
• รวม
N/A
สกุลเงินอักเช, พารา, ซุลตานี, กูรุช, ลีรา
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิออตโตมัน รัฐสุลต่านรูม
จักรวรรดิออตโตมัน เบย์ลิกแห่งอานาโตเลีย
จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิออตโตมัน ราชอาณาจักรบอสเนีย
จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2
จักรวรรดิออตโตมัน รัฐเผด็จการเซอร์เบีย
จักรวรรดิออตโตมัน ราชอาณาจักรฮังการี
จักรวรรดิออตโตมัน ราชอาณาจักรโครเอเชีย
จักรวรรดิออตโตมัน สันนิบาต Lezhë
จักรวรรดิออตโตมัน รัฐสุลต่านมัมลูก
จักรวรรดิออตโตมัน อาณาจักรฮัฟศิด
จักรวรรดิออตโตมัน อักโกยุนลู
จักรวรรดิออตโตมัน คณะอัศวินบริบาลตริโปลี
จักรวรรดิออตโตมัน อาณาจักรตแลมแซน
จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิเตรบิซอนด์
จักรวรรดิออตโตมัน รัฐนคร Samtskhe
จักรวรรดิออตโตมัน รัฐเผด็จการโมเรีย
จักรวรรดิออตโตมัน เซตา
จักรวรรดิออตโตมัน รัฐนครเธโอโดโร
ประเทศตุรกี จักรวรรดิออตโตมัน
สาธารณรัฐเฮลเลนิก จักรวรรดิออตโตมัน
เขตอุปราชแห่งคอเคซัส จักรวรรดิออตโตมัน
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จักรวรรดิออตโตมัน
รัฐปฏิวัติเซอร์เบีย จักรวรรดิออตโตมัน
แอลเบเนีย จักรวรรดิออตโตมัน
ราชอาณาจักรโรมาเนีย จักรวรรดิออตโตมัน
ราชรัฐบัลแกเรีย จักรวรรดิออตโตมัน
รูเมเลียตะวันออก จักรวรรดิออตโตมัน
เอมิเรตอะซีร จักรวรรดิออตโตมัน
ราชอาณาจักรฮิญาซ จักรวรรดิออตโตมัน
OETA จักรวรรดิออตโตมัน
อิรักในอาณัติ จักรวรรดิออตโตมัน
แอลจีเรียของฝรั่งเศส จักรวรรดิออตโตมัน
ไซปรัสของบริติช จักรวรรดิออตโตมัน
ตูนีเซียของฝรั่งเศส จักรวรรดิออตโตมัน
ตริโปลิเตเนียของอิตาลี จักรวรรดิออตโตมัน
ไซราเนอิกาของอิตาลี จักรวรรดิออตโตมัน
รัฐชัยค์คูเวต จักรวรรดิออตโตมัน
ราชอาณาจักรเยเมน จักรวรรดิออตโตมัน
รัฐสุลต่านอียิปต์ จักรวรรดิออตโตมัน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของN/A

ภายในรัชสมัยสุลัยมานผู้เกรียงไกร จักรวรรดิออตโตมันอยู่ในช่วงสูงสุดในด้านอำนาจและความเจริญ เช่นเดียวกันกับระบบรัฐบาล สังคม และเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาสูงสุด ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 17 ตัวจักรวรรดิมี 32 จังหวัดและรัฐบริวารจำนวนมาก โดยบางส่วนในเวลาต่อมาถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน ในขณะอีกบางส่วนได้รับสถานะปกครองตนเองเป็นเวลาหลายศตวรรษ

หลังตั้งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) เป็นเมืองหลวงและควบคุมดินแดนรอบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน จักรวรรดิออตโตมันกลายเป็นศูนย์กลางด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตกของโลกเป็นเวลา 6 ศตวรรษ เมื่อถึงช่วงระยะเวลาการล่มสลายหลังสุลัยมานผู้เกรียงไกรสวรรคต นักประวัติศาสตร์ด้านวิชาการส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนมุมมองนี้แล้ว ตัวจักรวรรดิยังคงมีเศรษฐกิจ สังคม และการทหารที่ยืดหยุ่นและแข็งแกร่งตลอดศตวรรษที่ 17 และส่วนมากของศตวรรษที่ 18 อย่างไรก็ตาม ในช่วงสันติสุขตั้งแต่ ค.ศ. 1740 ถึง 1768 ระบบทหารออตโตมันตกเป็นรองของฝ่ายยุโรป ได้แก่ ฮาพส์บวร์คและรัสเซีย พวกออตโตมันประสบความพ่ายแพ่ทางทหารอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งทำให้เกิดการปฏิรูปและการทำให้ทันสมัยที่มีชื่อว่าตันซีมัต ดังนั้น ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐออตโตมันกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจและจัดระเบียบมาก แม้ว่าจะยังคงประสบกับการสูญเสียดินแดนมากกว่าเดิม โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้น

คณะกรรมการสหภาพและความก้าวหน้า (Committee of Union and Progress; CUP) อาจก่อตั้งสมัยรัฐธรรมนูญที่ 2 ผ่านการปฏิรูปยังเติร์กใน ค.ศ. 1908 ทำให้จักรวรรดิเปลี่ยนเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่ดำเนินการผ่านการแข่งขันเลือกตั้งหลายพรรค ไม่กี่ปีต่อมา พรรค CUP ได้โค่นรัฐบาลในรัฐประหาร ค.ศ. 1913 ทำให้เกิดการปกครองรัฐเดียว ฝ่าย CUP สร้างพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมันเพื่อหลุดพ้นจากความโดดเดี่ยวทางการทูต (diplomatic isolation) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียดินแดน และเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในฝ่ายมหาอำนาจกลาง ขณะที่จักรวรรดิสามารถควบคุมขัดแย้งส่วนใหญ่ได้ แต่ยังคงมีปัญหาภายใน โดยเฉพาะกบฏอาหรับในดินแดนของตนที่คาบสมุทรอาหรับ ในช่วงนั้น รัฐบาลออตโตมันได้ดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวอาร์มีเนีย ชาวอัสซีเรีย และชาวกรีก ความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิและการยึดครองดินแดนบางส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรจากผลตามหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้การแบ่งดินแดนและสูญเสียดินแดนในตะวันออกกลางที่แบ่งกันระหว่างสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส ความสำเร็จในสงครามประกาศอิสรภาพตุรกีที่นำโดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์คต่อฝ่ายพันธมิตรที่ครอบครองดินแดนทำให้เกิดสาธารณรัฐตุรกีที่ใจกลางอานาโตเลียกับการเลิกล้มพระมหากษัตริย์ออตโตมัน

ประวัติศาสตร์

ยุคเรืองอำนาจ (ค.ศ. 1299–1453)

ในช่วงที่เซลจุกเติร์กกำลังเสื่อมอำนาจ ชาวเติร์กเผ่าอื่น ๆ ซึ่งได้อพยพตามเซลจุกเติร์กเข้ามายังอนาโตเลียจึงได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราช ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของออสมาน เบย์ (Osman Bey) (“เบย์” ในภาษาตุรกีมีความหมายว่า ผู้นำ หรือ เจ้าเมือง) ผู้นำชาวเติร์กเผ่าคายี (Kayi) ซึ่งเป็นสายย่อยของเติร์กเผ่าโอกูซ (Oghuz) บิดาของออสมัน ชื่อ Ertugrul เป็นผู้นำเผ่าคายี ซึ่งเป็นเติร์กกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้าไปอยู่ในเปอร์เซีย ในกลางศตวรรษที่ 13 Ertugrul ได้พาเผ่าของตนอพยพเข้ามายังอนาโตเลีย เพื่อหลบหนีการโจมตีจากพวกมองโกล เมื่ออพยพเข้ามายังอนาโตเลียแล้ว Ertugrul เสียชีวิต ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง ขึ้นในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ออตโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออ-สมานลึ (Osmanli) ตามพระนามของสุลต่านออสมาน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์

จักรวรรดิออตโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูร์ซา เดิมชื่อเมืองโพรอุสซา (Proussa) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ออสมานได้ยกกำลังมาปิดล้อมเมืองนี้แต่ไม่สามารถยึดเมืองได้ หลังจากที่พยายามปิดล้อมเมืองอยู่นานเกือบ 10 ปี อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1869 (ค.ศ. 1326) ชาวเมืองโพรอุสซา ได้ยอมแพ้ต่อ ออร์ฮัน (Orhan) โอรสของออสมาน ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นผู้นำแทนบิดา การเข้ายึดครองเมืองดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อออตโตมัน ออตโตมันเติร์กซึ่งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้ลงหลักปักฐานที่เมืองนี้ พรัอมกับยุติการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน เมืองบูร์ซ่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก จนถึงปี พ.ศ. 1905 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน เมืองหลวงของออตโตมันก็ถูกย้ายไปเมืองเอดิร์เน (Edirne) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครคอนสแตนติโนเปิล

อาณาจักรออตโตมันตั้งประชิดติดกับอาณาจักรไบแซนไทน์ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ โดยมีดินแดนเหลืออยู่เพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและอาณาบริเวณโดยรอบเท่านั้น ซึ่งมีสภาพไม่ต่างอะไรไปจากนครเล็ก ๆ ที่ถูกล้อมรอบโดยอาณาจักรออตโตมัน ที่กำลังเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดีนครรัฐไบแซนไทน์ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ โดยอาศัยกำแพงเมืองสูงใหญ่เป็นปราการป้องกันตนเอง กำแพงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิธีโอดอซิอุสที่ 2 (Theodosius II) กำแพงแห่งนี้ได้ปกป้องคุ้มครองนครคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมและโจมตีของออตโตมันเติร์ก ซากของกำแพงในปัจจุบันจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นจนกระทั่งทุกวันนี้และได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก

ในปี พ.ศ. 1933 (ค.ศ. 1390) และ พ.ศ. 1934 สุลต่านไบยัดซึที่ 1 ทรงพยายามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตีเมืองได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422) สุลต่านมูราตที่ 2 ได้ทำการปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองเหลืออยู่เพียงประมาณ 50,000 คน จากเดิมที่เคยมีมากกว่า 500,000 คน

การผนวกดินแดน (ค.ศ. 1453–1566)

การปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในต้นฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) ภายหลังที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ประมาณ 50 วัน กองทหารออตโตมันก็สามารถทะลวงกำแพงเมืองอันสูงใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) และเข้ายึดกรุงได้ในที่สุด เป็นการปิดฉากอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งสามารถยืนหยัดอยู่รอดมาได้ยาวนานถึง 1,123 ปี มีจักรพรรดิปกครองรวมทั้งสิ้น 82 พระองค์จากหลายราชวงศ์ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของไบแซนไทน์ทรงสิ้นพระชนม์อย่างมีปริศนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในวันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก

ความสำเร็จในการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายเติร์ก ซึ่งได้อพยพเข้าสู่อนาโตเลีย ภายหลังที่สุลต่าน Alparslan ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรพรรดิโรมานุสที่ 6 (Romanus IV) แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ในสมรภูมิ ณ เมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt)

ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1701) ชัยชนะของสุลต่าน Alparslan ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อาณาจักรอนาโตเลีย ในขณะที่ชัยชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ในปี พ.ศ. 1996 ได้เปิดทางให้จักรวรรดิออตโตมันได้ก้าวไปสู่การเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา

ภายหลังที่สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 พระองค์ก็ทรงได้รับการขานพระนามว่า ฟาติ เมห์เมต (Fatih Mehmet) “ฟาติ” (Fatih) มีความหมายว่า “ผู้พิชิต” (the conqueror) สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิจากเมืองเอดิร์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่เป็น อิสลามบูล (Islambul) ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2466 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อิสตันบูล” (Istanbul) ในปัจจุบันในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี นับตั้งแต่ที่สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงสามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ อาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมในเวลาต่อมา จักรวรรดิออตโตมันได้ขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนถึง 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง (เอเชีย) แอฟริกาเหนือ และยุโรปบอลข่าน

การขยายอาณาเขต และ ปฏิรูป (ค.ศ. 1566–1827)

จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) – พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย

ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอาเรเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” สำหรับชาวตุรกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า “สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎหมาย” เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างทำสงครามที่ฮังการีในปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) สิริรวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตโตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน

สมัยใหม่ (ค.ศ. 1828–1908)

สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) – พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1932 – 1946) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 (ค.ศ. 1605) โปรดให้เปลี่ยนการสำเร็จโทษมาเป็นการกักบริเวณแทน การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลตานได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน

ความพ่ายแพ้ และ การล่มสลาย (ค.ศ. 1908–1922)

จักรวรรดิออตโตมัน 
การปฏิวัติยังเติร์กโดยบรรดาผู้นำมิลเลตออตโตมันใน ค.ศ. 1908

อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลายไป โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป

ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จเยือนจักรวรรดิออตโตมันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทรงวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้น โดยทรงวิเคราะห์ไว้ว่า แม้ว่าจักรวรรดิออตโตมันจะเสื่อมอำนาจ แต่ชาติตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของเติร์กทั้งหมด เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ

  1. หากขับไล่เติร์กออกจากดินแดนที่เติร์กปกครองอยู่ ชาติใดควรจะได้ครอบครองดินแดนเหล่านั้น หากชาติหนึ่งชาติใดได้ดินแดนเหล่านั้นไปย่อมจะทำให้ชาตินั้นมีอำนาจมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
  2. หากจะขับไล่เติร์กออกไปแล้วให้ดินแดนเหล่านั้นได้รับเอกราช ประเทศตะวันตก ซึ่งส่งกองทัพไปขับไล่เติร์กจะได้อะไรตอบแทน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว ออตโตมันจึงยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ว่าจะอ่อนแอลงกว่าในอดีตมาก

หมายเหตุ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

การสำรวจทั่วไป

  • The Cambridge History of Turkey online
    • Volume 1: Kate Fleet ed., "Byzantium to Turkey 1071–1453." Cambridge University Press, 2009.
    • Volume 2: Suraiya N. Faroqhi and Kate Fleet eds., "The Ottoman Empire as a World Power, 1453–1603." Cambridge University Press, 2012.
    • Volume 3: Suraiya N. Faroqhi ed., "The Later Ottoman Empire, 1603–1839." Cambridge University Pres, 2006.
    • Volume 4: Reşat Kasaba ed., "Turkey in the Modern World." Cambridge University Press, 2008.
  • Agoston, Gabor and Bruce Masters, eds. Encyclopedia of the Ottoman Empire (2008)
  • Faroqhi, Suraiya. The Ottoman Empire: A Short History (2009) 196pp
  • Finkel, Caroline (2005). Osman's Dream: The Story of the Ottoman Empire, 1300–1923. Basic Books. ISBN 978-0-465-02396-7.
  • Hathaway, Jane (2008). The Arab Lands under Ottoman Rule, 1516–1800. Pearson Education Ltd. ISBN 978-0-582-41899-8.
  • Howard, Douglas A. (2017). A History of the Ottoman Empire. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-72730-3.
  • Imber, Colin (2009). The Ottoman Empire, 1300–1650: The Structure of Power (2 ed.). New York: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-57451-9.
  • İnalcık, Halil; Donald Quataert, บ.ก. (1994). An Economic and Social History of the Ottoman Empire, 1300–1914. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-57456-3. Two volumes.
  • Kia, Mehrdad, ed. The Ottoman Empire: A Historical Encyclopedia (2 vol 2017)
  • Lord Kinross. The Ottoman centuries : the rise and fall of the Turkish empire (1979) online popular history espouses old "decline" thesis
  • McCarthy, Justin. The Ottoman Turks: An Introductory History to 1923. (1997) Questia.com เก็บถาวร 2012-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, online edition.
  • Mikaberidze, Alexander. Conflict and Conquest in the Islamic World: A Historical Encyclopedia (2 vol 2011)
  • Miller, William. The Ottoman Empire and its successors, 1801–1922 (2nd ed 1927) online, strong on foreign policy
  • Quataert, Donald. The Ottoman Empire, 1700–1922. 2005. ISBN 0-521-54782-2.
  • Şahin, Kaya. "The Ottoman Empire in the Long Sixteenth Century." Renaissance Quarterly (2017) 70#1: 220–234 online[ลิงก์เสีย]
  • Somel, Selcuk Aksin. Historical Dictionary of the Ottoman Empire (2003). pp. 399 excerpt
  • Stavrianos, L. S. The Balkans since 1453 (1968; new preface 1999) online
  • Tabak, Faruk. The Waning of the Mediterranean, 1550–1870: A Geohistorical Approach (2008)

ออตโตมันยุคแรก

  • Kafadar, Cemal (1995). Between Two Worlds: The Construction of the Ottoman State. U of California Press. ISBN 978-0-520-20600-7.
  • Lindner, Rudi P. (1983). Nomads and Ottomans in Medieval Anatolia. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-933070-12-7.
  • Lowry, Heath (2003). The Nature of the Early Ottoman State. Albany: SUNY Press. ISBN 978-0-7914-5636-1.

การทูตและทหาร

  • Ágoston, Gábor (2014). "Firearms and Military Adaptation: The Ottomans and the European Military Revolution, 1450–1800". Journal of World History. 25: 85–124. doi:10.1353/jwh.2014.0005. S2CID 143042353.
  • Aksan, Virginia (2007). Ottoman Wars, 1700–1860: An Empire Besieged. Pearson Education Limited. ISBN 978-0-582-30807-7.
  • Aksan, Virginia H. "Ottoman Military Matters." Journal of Early Modern History 6.1 (2002): 52–62, historiography; online[ลิงก์เสีย]
  • Aksan, Virginia H. "Mobilization of Warrior Populations in the Ottoman Context, 1750–1850." in Fighting for a Living: A Comparative Study of Military Labour: 1500–2000 ed. by Erik-Jan Zürcher (2014)online[ลิงก์เสีย].
  • Aksan, Virginia. "Breaking the spell of the Baron de Tott: Reframing the question of military reform in the Ottoman Empire, 1760–1830." International History Review 24.2 (2002): 253–277 online[ลิงก์เสีย].
  • Aksan, Virginia H. "The Ottoman military and state transformation in a globalizing world." Comparative Studies of South Asia, Africa and the Middle East 27.2 (2007): 259–272 online[ลิงก์เสีย].
  • Aksan, Virginia H. "Whatever happened to the Janissaries? Mobilization for the 1768–1774 Russo-Ottoman War." War in History 5.1 (1998): 23–36 online.
  • Albrecht-Carrié, René. A Diplomatic History of Europe Since the Congress of Vienna (1958), 736pp; a basic introduction, 1815–1955 online free to borrow
  • Çelik, Nihat. "Muslims, Non-Muslims and Foreign Relations: Ottoman Diplomacy." International Review of Turkish Studies 1.3 (2011): 8–30. online
  • Fahmy, Khaled. All the Pasha's Men: Mehmed Ali, His Army and the Making of Modern Egypt (Cambridge UP. 1997)
  • Hall, Richard C. ed. War in the Balkans: An Encyclopedic History from the Fall of the Ottoman Empire to the Breakup of Yugoslavia (2014)
  • Hurewitz, Jacob C. "Ottoman diplomacy and the European state system." Middle East Journal 15.2 (1961): 141–152. online
  • Merriman, Roger Bigelow. Suleiman the Magnificent, 1520–1566 (Harvard UP, 1944) online
  • Miller, William. The Ottoman Empire and its successors, 1801–1922 (2nd ed 1927) online, strong on foreign policy
  • Nicolle, David. Armies of the Ottoman Turks 1300–1774 (Osprey Publishing, 1983)
  • Palmer, Alan. The Decline and Fall of the Ottoman Empire (1994).
  • Rhoads, Murphey (1999). Ottoman Warfare, 1500–1700. Rutgers University Press. ISBN 978-1-85728-389-1.
  • Soucek, Svat (2015). Ottoman Maritime Wars, 1416–1700. Istanbul: The Isis Press. ISBN 978-975-428-554-3.
  • Uyar, Mesut; Erickson, Edward (2009). A Military History of the Ottomans: From Osman to Atatürk. ISBN 978-0-275-98876-0.

การศึกษาพิเศษ

  • Baram, Uzi and Lynda Carroll, editors. A Historical Archaeology of the Ottoman Empire: Breaking New Ground (Plenum/Kluwer Academic Press, 2000)
  • Barkey, Karen. Empire of Difference: The Ottomans in Comparative Perspective. (2008) 357pp Amazon.com, excerpt and text search
  • Davison, Roderic H. Reform in the Ottoman Empire, 1856–1876 (New York: Gordian Press, 1973)
  • Deringil, Selim. The well-protected domains: ideology and the legitimation of power in the Ottoman Empire, 1876–1909 (London: IB Tauris, 1998)
  • Findley, Carter V. Bureaucratic Reform in the Ottoman Empire: The Sublime Porte, 1789–1922 (Princeton University Press, 1980)
  • McMeekin, Sean. The Berlin-Baghdad Express: The Ottoman Empire and Germany's Bid for World Power (2010)
  • Mikhail, Alan. God's Shadow: Sultan Selim, His Ottoman Empire, and the Making of the Modern World (2020) excerpt on Selim I (1470–1529)
  • Pamuk, Sevket. A Monetary History of the Ottoman Empire (1999). pp. 276
  • Stone, Norman "Turkey in the Russian Mirror" pp. 86–100 from Russia War, Peace and Diplomacy edited by Mark & Ljubica Erickson, Weidenfeld & Nicolson: London, 2004 ISBN 0-297-84913-1.
  • Yaycioglu, Ali. Partners of the empire: The crisis of the Ottoman order in the age of revolutions (Stanford UP, 2016), covers 1760–1820 online review.

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

  • Aksan, Virginia H. "What's Up in Ottoman Studies?" Journal of the Ottoman and Turkish Studies Association 1.1–2 (2014): 3–21. online
  • Aksan, Virginia H. "Ottoman political writing, 1768–1808." International Journal of Middle East Studies 25.1 (1993): 53–69 online[ลิงก์เสีย].
  • Finkel, Caroline. "Ottoman history: whose history is it?." International Journal of Turkish Studies 14.1/2 (2008).
  • Gerber, Haim. "Ottoman Historiography: Challenges of the Twenty-First Century." Journal of the American Oriental Society, 138#2 (2018), p. 369+. online
  • Hartmann, Daniel Andreas. "Neo-Ottomanism: The Emergence and Utility of a New Narrative on Politics, Religion, Society, and History in Turkey" (PhD Dissertation, Central European University, 2013) online.
  • Eissenstat, Howard. "Children of Özal: The New Face of Turkish Studies" Journal of the Ottoman and Turkish Studies Association 1#1 (2014), pp. 23–35 DOI: 10.2979/jottturstuass.1.1-2.23 online
  • Kayalı, Hasan (December 2017). "The Ottoman Experience of World War I: Historiographical Problems and Trends". The Journal of Modern History (ภาษาอังกฤษ). 89 (4): 875–907. doi:10.1086/694391. ISSN 0022-2801. S2CID 148953435.
  • Lieven, Dominic. Empire: The Russian Empire and its rivals (Yale UP, 2002), comparisons with Russian, British, & Habsburg empires. excerpt
  • Mikhail, Alan; Philliou, Christine M. "The Ottoman Empire and the Imperial Turn," Comparative Studies in Society & History (2012) 54#4 pp. 721–45. Comparing the Ottomans to other empires opens new insights about the dynamics of imperial rule, periodisation, and political transformation
  • Olson, Robert, "Ottoman Empire" in Kelly Boyd, บ.ก. (1999). Encyclopedia of Historians and Historical Writing vol 2. Taylor & Francis. pp. 892–96. ISBN 978-1-884964-33-6.
  • Quataert, Donald. "Ottoman History Writing and Changing Attitudes towards the Notion of 'Decline.'" History Compass 1 (2003): 1–9.
  • Yaycıoğlu, Ali. "Ottoman Early Modern." Journal of the Ottoman and Turkish Studies Association 7.1 (2020): 70–73 online[ลิงก์เสีย].
  • Yılmaz, Yasir. "Nebulous Ottomans vs. Good Old Habsburgs: A Historiographical Comparison." Austrian History Yearbook 48 (2017): 173–190. Online[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

จักรวรรดิออตโตมัน ประวัติศาสตร์จักรวรรดิออตโตมัน หมายเหตุจักรวรรดิออตโตมัน อ้างอิงจักรวรรดิออตโตมัน อ่านเพิ่มจักรวรรดิออตโตมัน แหล่งข้อมูลอื่นจักรวรรดิออตโตมันการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลคาบสมุทรบอลข่านจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจักรวรรดิเยอรมันจักรวรรดิไบแซนไทน์จังหวัดบีเลจิคฝ่ายมหาอำนาจกลางภาษาตุรกีภาษาตุรกีออตโตมันภาษาฝรั่งเศสราชอาณาจักรบัลแกเรียสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสุลต่านออสมันที่ 1สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตอานาโตเลียเอเชียตะวันตกแอฟริกาเหนือ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองอีเอฟแอลแชมเปียนชิปกองทัพอากาศไทยไค ฮาเวิทซ์บี-2 สปีริทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจังหวัดชลบุรีเอซี มิลานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติบางกอกอารีนาดวงอาทิตย์สำราญ นวลมาจังหวัดสุราษฎร์ธานีกรมราชเลขานุการในพระองค์เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิกรมสรรพากรฟุตบอลโลกรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาประเทศปากีสถานข่าวช่อง 7HDบยอน อู-ซ็อกปตท.พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคสหรัถ สังคปรีชาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ประเทศบังกลาเทศรัสมุส ฮอยลุนด์ประเทศซาอุดีอาระเบียจังหวัดตากจังหวัดบึงกาฬราชกิจจานุเบกษาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติเครื่องคิดเลขช่อง 3 เอชดีฟุตซอลไทยลีกธัชทร ทรัพย์อนันต์ฟุตซอลโลก 2021พิชัย ชุณหวชิรพิชิตรัก พิทักษ์โลกธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรเว็บไซต์จังหวัดชุมพรก็อตซิลลาธี่หยดเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยเป็นต่อสาธุ (ละครโทรทัศน์)อาเลฆันโดร การ์นาโชปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว2สุทัตตา อุดมศิลป์เอกซ์เจแปนเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโรงพยาบาลในประเทศไทยเผ่า ศรียานนท์สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ดชนิกานต์ ตังกบดีศิริลักษณ์ คองอนาคามีรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากภาวะโลกร้อนจังหวัดสระแก้วปรีชญา พงษ์ธนานิกรพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตโทกูงาวะ อิเอยาซุหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกลานีญา🡆 More