บาร์เซโลนา

บาร์เซโลนา (สเปน: Barcelona) หรือ บาร์ซาโลนา (กาตาลา: Barcelona) เป็นเมืองหลักของแคว้นกาตาลุญญา และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองทั้งในด้านขนาดและประชากรของประเทศสเปน มีประชากรในตัวเมือง 1,620,943 คน แต่ถ้านับปริมณฑลโดยรอบอาจมากกว่า 4 ล้านคน ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของคาบสมุทรไอบีเรีย ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษา คือ ภาษากาตาลาและภาษาสเปน

บาร์เซโลนา

Barcelona
เทศบาลนคร
ศูนย์กลางเขตเศรษฐกิจ, ซากราดาฟามิลิอา, กัมนอว์, ปราสาทสามมังกร, ปาลาอูนาซีโอนัล, โรงแรมดับเบิลยู บาร์เซโลนา และ ชายหาด
ศูนย์กลางเขตเศรษฐกิจ, ซากราดาฟามิลิอา, กัมนอว์, ปราสาทสามมังกร, ปาลาอูนาซีโอนัล, โรงแรมดับเบิลยู บาร์เซโลนา และ ชายหาด
ธงของบาร์เซโลนา
ธง
ตราราชการของบาร์เซโลนา
ตราอาร์ม
สมญา: 
Ciutat Comtal (กาตาลา) / Ciudad Condal (สเปน)
"นครแห่งท่านเคานต์"

ตัวย่อ:
Barna, BCN
บาร์เซโลนาตั้งอยู่ในสเปน
บาร์เซโลนา
บาร์เซโลนา
ที่ตั้งของบาร์เซโลนาในประเทศสเปน
พิกัด: 41°23′N 2°11′E / 41.383°N 2.183°E / 41.383; 2.183
ประเทศธงของประเทศสเปน สเปน
แคว้นปกครองตนเองบาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา
จังหวัดบาร์เซโลนา
คอร์มากาบาร์เซโลนา
การปกครอง
 • ประเภทสภาเมือง
 • องค์กรAjuntament de Barcelona
 • นายกเทศมนตรีAda Colau Ballano (Barcelona en Comú)
พื้นที่
 • เมือง101.4 ตร.กม. (39.2 ตร.ไมล์)
ความสูง (ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล)12 เมตร (39 ฟุต)
ประชากร
 (2018)
 • เมือง1,620,343 คน
 • อันดับ2
 • ความหนาแน่น16,000 คน/ตร.กม. (41,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง4,840,000 คน
 • รวมปริมณฑล5,474,482 คน
เขตเวลาUTC+01:00 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+02:00 (CEST)
รหัสไปรษณีย์080xx
เลขโทรศัพท์ขึ้นต้น+34 93
ภาษาทางการกาตาลาและสเปน
เว็บไซต์www.bcn.cat/en/

บาร์เซโลนาเป็นเมืองท่าสำคัญ และเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นอาณานิคมของโรมันมาก่อน เคยถูกยึดครองโดยชาติต่าง ๆ หลายครั้ง รวมทั้งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2183 บาร์เซโลนาเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยามราตรีที่รื่นเริงสนุกสนาน บาร์เซโลนามีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่สำคัญมากมาย อาคารแบบนวศิลป์ที่ดูแปลกประหลาดออกแบบโดยสถาปนิกชาวสเปนชื่ออันตอนี เกาดี นับเป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญเมื่อปี พ.ศ. 2535 บาร์เซโลนาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 22 และเมื่อ พ.ศ. 2431 เคยเป็นที่จัดงานแสดงสินค้าโลก (World's Fair)

บาร์เซโลนาเป็นเมืองชั้นนำที่มีนักท่องเที่ยว, เศรษฐกิจ, งานแสดงสินค้า และวัฒนธรรมที่ดีที่สุดเมืองหนึ่งของโลก โดยมีชื่อเสียงทั้งด้านการค้า, การศึกษา, สื่อความบันเทิง, แฟชัน, วิทยาศาสตร์ และศิลปะ จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นศูนย์การทางการค้าและวัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในคาบสมุทรไอบีเรีย และเป็นอันดับที่ 24 ของโลก (ตามหลังซือริช, ก่อนแฟรงก์เฟิร์ต) ในปี พ.ศ. 2551 บาร์เซโลนาเคยติด 10 อันดับที่เศรษฐกิจดีที่สุดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในสหภาพยุโรป และเป็นอันดับที่ 35 ของโลก ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากถึง 177 พันล้านยูโร ในปี พ.ศ. 2555 บาร์เซโลนามีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นเมืองที่มีอัตราการจ้างงานมากที่สุดในประเทศสเปน ณ เวลานั้น

ในปี พ.ศ. 2552 บาร์เซโลนาได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 3 เมืองที่ประสบความสำเร็จด้านชื่อเสียงของเมือง ในปีเดียวกัน บาร์เซโลนาได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 4 เมืองที่ดีที่สุดสำหรับการทำธุรกิจและเป็นเมืองที่เติบโตรวดเร็วที่สุดถึง 17% ต่อปี และเมืองได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน 3 ปีถัดมา ต่อมาในปี พ.ศ.​2554 บาร์เซโลนาเป็นเมืองชั้นนำที่มีการประยุกต์ใช้แนวคิดสมาร์ตซิตี ในทวีปยุโรป บาร์เซโลนาเป็นศูนย์รวมการขนส่งสาธารณะ ด้วยท่าเรือบาร์เซโลนา ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือขนส่งและท่าเรือสำหรับผู้โดยสารที่มีการใช้งานมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป ท่าอากาศยานบาร์เซโลนาเอลปรัต ที่รองรับผู้โดยสาร 50 ล้านคนต่อปี, ทางหลวงพิเศษ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเชื่อมต่อจากประเทศฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป

ชื่อ

ชื่อเมือง "บาร์เซโลนา" มาจากคำว่า "บาร์เคโน" (Barkeno) ภาษาพื้นเมืองไอบีเรียนโบราณ ซึ่งพิสูจน์มาจากเหรียญโบราณ โดยด้านขวาของเหรียญเขียนว่า บาร์เซโลนา  ซึ่งเป็นอักษรไอบีเรีย Βαρκινών และ Barkinṓn ในภาษากรีกโบราณ และ Barcino, Barcilonum และ Barcenona. ในภาษาละติน

บางแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าได้สันนิษฐานว่าเมืองมีชื่อตาม ฮามิลคาร์ บาร์คา ผู้ว่าการเมืองคาร์เธจ ซึ่งคาดว่าได้ก่อตั้งเมืองขึ้นในยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช แต่ไม่มีหลักฐานว่าเชื้อสายชาวบาร์เซโลนาจะมาจากคาร์เธจ และไม่มีหลักฐานว่าชื่อ "Barcino" มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับครอบครัวบาร์ซิดของฮามิลคาร์ โดยระหว่างสมัยกลาง เมืองนี้ได้รู้จักกันในชื่อ Barchinona, Barçalona, Barchelonaa และ Barchenona

ทางสากล ชื่อของบาร์เซโลนาถูกย่อว่า "บาร์ซา" (Barça) นั้นเป็นการย่อแบบผิดหลัก อย่างไรก็ดี ชื่อนี้มาจากสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ที่ใช้ชื่อย่อนี้ โดยชื่อย่อที่นิยมกันในท้องถิ่นคือ "บาร์นา" (Barna)

การย่อชื่อเมืองที่เห็นได้ทั่วไปคือ "BCN" ซึ่งมาจากรหัสท่าอากาศยาน IATA ของท่าอากาศยานบาร์เซโลนาเอลปรัต

ประวัติ

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานของจุดกำเนิดการตั้งถิ่นฐานของบาร์เซโลนายังไม่ชัดเจนในปัจจุบัน แต่มีการค้นพบซากปรักหักพัง เช่น สุสานและอาคารยุคโบราณ ที่สามารถบ่งบอกอายุว่าเกิดขึ้นในยุค 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช การค้นพบเมืองบาร์เซโลนามี 2 หลักฐานที่แตกต่างกัน หลักฐานแรกคือการเป็นเมืองที่เป็นตำนานของเฮอร์คิวลีส และอีกหลักฐานคือมีประวัติศาสตร์กับ ฮามิลคาร์ บาร์คา ผู้ว่าการเมืองคาร์เธจ ที่ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อเมือง "บาร์ซิโน" (Barcino) ในช่วง 3 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าหลักฐานหรือประวัติศาสตร์ไหนเป็นเรื่องจริง

ยุคโรมัน

ในจักรวรรดิโรมัน ช่วง 15 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้ตั้งเมืองให้เป็น "แคสทรา" (ค่ายทหารโรมัน) มีศูนย์กลางอยู่ที่ "มอนส์ตาเบร์" เนินเขาเล็ก ๆ ใกล้กับศาลาว่าการเมือง ภายใต้จักรวรรดิโรมัน เมืองนี้ได้เป็นอาณานิคมของตระกูล "ฟาเวนทีอา" (Faventia) หรือชื่อเต็ม โคโลเนีย ฟาเวนทีอา ออกุสตา เปีย บาร์ซิโน หรือ โคโลเนีย จูลีอา ออกุสตา ฟาเวนทีอา พาเทร์นา บาร์ซิโน ปอมโปนีอุส เมลา นักภูมิศาสตร์ยุคโรมัน ได้กล่าวถึงบาร์เซโลนาว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ ข้างเคียง "ตาร์ราโก" (หรือ ตาร์ราโกนา ในปัจจุบัน) แต่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นเมืองใหญ่ที่เติบโตและสวยงาม รวมถึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในปัจจุบัน บาร์เซโลนาผลิตเหรียญขึ้นมาใช้เอง จากการอยู่รอดในช่วงยุคของจักรพรรดิกัลบา

บาร์เซโลนา 
รูปปั้น มาเรเดเดอูเดลาเมร์เซ บน บาซิลิกาเดลาเมร์เซ

ร่องรอยจากยุคโรมันได้ปรากฏให้เห็นในชั้นใต้ดินของปลาซาเดลเรย์ ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองบาร์เซโลนา แสดงให้เห็นถึงรูปแบบตารางยุคโรมันที่ปรากฏในปัจจุบัน รวมไปถึงสถาปัตยกรรมกอทิก ในพิพิธภัณฑ์ ส่วนชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมโรมันสามารถเห็นได้จากกำแพงของมหาวิหาร "ลาเซอู" ที่คาดว่าถูกค้นพบในปี ค.ศ. 343

ยุคกลาง

เมืองได้ถูกยึดโดยชาววิซิกอท ในต้นศตวรรษที่ 5 เป็นเมืองหลวงของฮิสเปเนีย อยู่หลายปี ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของอาหรับ ในต้นศตวรรษที่ 8 ก่อนที่จะถูกตีโดยชาร์เลอมาญ บุตรของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา ในปี ค.ศ. 801 ก่อตั้งเป็นภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียชายแดนที่ถูกควบคุมโดยเคานต์แห่งบาร์เซโลนา

เคานต์แห่งบาร์เซโลนา มีความเป็นอิสระในการบริหารบ้านเมืองในดินแดงของตนเองรวมถึงแคว้นกาตาลุญญา แม้ว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 985 จะถูกโจมตีโดยทหารของชาวอัลมันซอร์ ทำให้ประชาชนในเมืองถูกฆ่าและเป็นทาส ต่อมาในปี ค.ศ. 1137 ราชอาณาจักรอารากอน และ เคานต์แห่งบาร์เซโลนา ได้ควบรวมราชวงศ์ ซึ่งกันและกัน ด้วยการแต่งงานระหว่างราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา กับ เปโตรนิยาแห่งอารากอน จนอาณาจักรตกเป็นของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 แห่งอารากอน บุตรชายของทั้งสองซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1162 ดินแดนแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "ราชบัลลังก์อารากอน" ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จำนวนมาก ตั้งแต่ทิศตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับดินแดนห่างไกลเนเปิลส์และซิซิลี และยังขยายดินแดนไปถึงดัชชีเอเธนส์ ในศตวรรษที่ 13 การควบรวมระหว่างราชบัลลังก์อารากอน และ ราชบัลลังก์กัสติยา ทำให้บาร์เซโลนามีความสำคัญลดลง อีกทั้งธนาคารบาร์เซโลนา ธนาคารรัฐที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป ก่อตั้งขึ้นโดยแมยิสเตร็ดของเมืองในยุคนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1401

บาร์เซโลนา 
บาร์เซโลนาในปี ค.ศ. 1563

ภายใต้การปกครองของสเปน

การสมรสระหว่างพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน กับ สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ในปี ค.ศ. 1469 ทำให้เชื่อมสัมพันธ์ทั้งสองราชวงศ์เข้าด้วยกัน จนทำให้ มาดริด กลายเป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการปกครองในช่วงการล่าอาณานิคมของอเมริกา และลดความสำคัญของการเงินลงจากการค้าขายผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บาร์เซโลนาจึงเป็นศูนย์กลางของดินแดนกาตาลัน ในยุคนั้นมีสงครามแรปเพอส์ (ค.ศ. 1640–1652) กับพระเจ้าเฟลิเปที่ 4 แห่งสเปน และกาฬโรคครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1650–1654 ทำให้ประชากรของเมืองลดลงถึงครึ่งหนึ่ง

บาร์เซโลนา 
ปราสาทมอนต์จูอิก จุดใต้สุดจากการคำนวณเส้นเมอริเดียน

ในศตวรรษที่ 18 ป้อมปราการได้ถูกสร้างขึ้นที่ภูเขามอนต์จูอิก สำหรับการสอดส่องไปยังทะเล ต่อมาในปี ค.ศ. 1794 ป้อมปราการได้ถูกใช้โดยปิแยร์ เมอแช็ง นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในการสำรวจและสังเกตการณ์ไปยังเดิงแกร์ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการวัดโดยใช้หน่วยเมตร แท่งวัดแบบเมตรผลิตจากแพลตินัม ถูกเสนอต่อสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1799 บาร์เซโลนาเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในสงครามคาบสมุทร แต่หลังจากสงครามสิ้นสุดลง เมืองพัฒนาอุตสาหกรรมไปในทางที่ดีขึ้น อิลเดฟอนส์ เซร์ดา นักผังเมือง ได้ออกแบบอิซัมเปลขนาดใหญ่สำหรับเมืองในยุค 1850 ซึ่งเป็นยุคที่กำแพงเมืองเก่าจากยุคกลางได้เริ่มถูกทำลายลง

สงครามกลางเมืองสเปนและยุคฟรังโก

บาร์เซโลนา 
บาร์เซโลนา เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสเปน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.​ 1937 จนถึง เดือนมกราคม คศ. 1939 ระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน ในขณะนั้น ทั้งบาร์เซโลนาและมาดริดอยู่ภายใต้กฎหมายของสาธารณรัฐ ในภาพ มานูเอล อาซาญญา และ ฆวน เนกริน อยู่ที่ชานเมืองของบาร์เซโลนา

ระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน เมืองและกาตาโลเนียเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง องค์กรและรัฐวิสาหกิจถูกรวมกันโดย เซเอเนเต และ อูเฆเต เมื่ออำนาจของรัฐบาลสาธารณรัฐลดลง และเมืองหลายเมืองถูกควบคุมภายใต้กลุ่มอนาธิปไตย โดยกลุ่มอนาธิปไตยได้สูญเสียความควบคุมจากฝ่ายคอมมิวนิสต์และทหารของรัฐบาล มีการต่อสู้กันกลางเมือง ต่อมาหลังจากเมืองล่มสลายในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1939 ได้มีการอพยพประชาชนไปยังชายแดนฝรั่งเศส ความต้านทางของบาร์เซโลนาต่อการรัฐประหาร ฟรันซิสโก ฟรังโก มีผลกระทบยาวนานหลังจากความพ่ายแพ้ของรัฐบาลสาธารณรัฐ ความเป็นเอกภาพของแคว้นกาตาลุญญา ได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น การใช้ภาษากาตาลาในที่สาธารณะเป็นสิ่งต้องห้าม บาร์เซโลนากลายเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของสเปน มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก แม้เมืองจะถูกทำลายระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน แต่มีการอพยพจากประชาชนที่ยากจนจำนวนมากจากส่วนอื่นของสเปน จากทั้งแคว้นอันดาลูซิอา, มูร์เซีย และแคว้นกาลิเซีย ทำให้แปรสภาพกลับมาเป็นเมืองใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

ปลายศตวรรษที่ 20

ในปี ค.ศ. 1992 บาร์เซโลนาได้เป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูร้อน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ผ่านมาให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งผลักดันให้กลายเป็นเจ้าภาพจัดงานที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ในการเตรียมการเป็นเจ้าภาพ โรงงานอุตสาหกรรมริมทะเลถูกทำลายลง และได้มีการสร้างทะเลขึ้นเป็นระยะทางรวม 2 ไมล์ อีกทั้งยังมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับรถยนต์อีก 17% มีการจัดการของเสียที่เพิ่มมากขึ้นอีก 27% และเพิ่มพื้นที่สีเขียวและทะเลอีก 78% ระหว่าง ค.ศ. 1990 จนถึง ค.ศ. 2004 มียอดจองโรงแรมภายในเมืองเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี ค.ศ. 2012 บาร์เซโลนาเป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่ยอดนิยมอันดับที่ 12 ของโลก และอันดับที่ 5 ของทวีปยุโรป

ยุคปัจจุบัน

หลังจากฟรังโกเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งมีแรงกดดันในการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้นของบาร์เซโลนา ในการออกจากระบบที่ฟรังโกสร้างขึ้นมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี การประท้วงโดยกลุ่มม็อบขนาดใหญ่ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1977 ซึ่งมีผู้คนนับล้านบนถนนในเมืองบาร์เซโลนาในการเรียกร้องเอกราชของกาตาลันคืนกลับมา

การพัฒนาของบาร์เซโลนาทำให้ได้รับโอกาสจาก 2 งานใหญ่ในปี ค.ศ. 1986 ทั้งการเข้าร่วมสหภาพยุโรปของสเปน และได้รับคัดเลือกให้จัดงานโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 การพัฒนาผังเมืองถูกจัดสรรอย่างรวดเร็ว และมีการเพิ่มขึ้นของประชากรและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทำให้ประชากรลดลงอย่างเล็กน้อย (ร้อยละ 16.6) ซึ่งในช่วงสองทศวรรษปลายศตวรรษที่ 20 มีครอบครัวย้ายออกไปยังชานเมืองมากขึ้น แต่แนวโน้มได้กลับแปรผันอีกครั้งในปี ค.ศ. 2001 หลังจากการอพยพของชาวลาตินอเมริกา และโมร็อกโก

ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ได้เกิดเหตุรถตู้พุ่งชนผู้สัญจรบนทางเท้าในย่านท่องเที่ยวลารัมบลา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คนและบาดเจ็บอย่างน้อย 100 คน และยังมีการก่อเหตุในช่วงเวลาเดียวกันในกาตาลุญญา มาเรียโน ราฆอย นายกรัฐมนตรีสเปน ได้เรียกเหตุการณ์ในบาร์เซโลนาว่าเป็นการก่อการร้ายญิฮาด โดยสำนักข่าวมักกล่าวโดยอ้อมว่าผู้อ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้คือกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของบาร์เซโลนามีรากฐานมายาวนานกว่า 2000 ปี หลังจากการมาของประชาธิปไตย ภาษากาตาลา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกกดขี่อย่างหนักในช่วงสเปนภายใต้การนำของฟรังโก ได้ถูกส่งเสริมขึ้นอีกครั้ง ทั้งโดยการฟื้นฟูผลงานจากในอดีต และโดยการกระตุ้นให้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ บาร์เซโลนา ถูกกำหนดให้เป็นเมืองระดับโลก โดยกลุ่มและเครือข่ายการศึกษาเมืองโลกาภิวัตน์และโลก นอกจากนี้ยังได้เป็น เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ในฐานะเมืองแห่งวรรณกรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015

ภูมิศาสตร์

ภาพมุมกว้างของบาร์เซโลนา

ที่ตั้ง

บาร์เซโลนา 
บาร์เซโลนาจากมุมสูง

บาร์เซโลนา ตั้งอยู่บนทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บนที่ราบกว้าง 5 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ระหว่างภูเขาที่เรียกว่า "คอลเซโรลา" (Collserola) ระหว่างแม่น้ำเบซอซกับแม่น้ำโยเบรกัต ที่ราบนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 170 ตารางกิโลเมตร โดย 110 ตารางกิโลเมตรเป็นเขตเมืองทั้งหมด และมีพื้นที่ยาว 120 กิโลเมตร ติดกับเทือกเขาพิรินีตอนใต้ เป็นพรมแดนระหว่างแคว้นกาตาลุญญา กับ ประเทศฝรั่งเศส

ตีบีดาบู ยอดเขาสูง 512 เมตร มีทิวทัศน์ที่สามารถเห็นเมืองได้ทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของตอร์เรเดคอลเซโรลา อาคารเสาสัญญาณโทรคมนาคม ที่สามารถมองเห็นได้จากทั่วทั้งเมือง บาร์เซโลนาเต็มเป็นด้วยเนินเขาเล็ก ๆ ที่มีผู้คนสร้างที่อยู่อาศัยมากมาย โดยจะตั้งชื่อย่านที่อยู่อาศัยตามเนินเขา เช่น การ์เมล (Carmel), ปุตเกต (Putget) และ รอบีรา (Rovira) ความสูงของมอนต์จูอิก (173 เมตร) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเห็นทิวทัศน์ของทะเล และเป็นที่ตั้งของปราสาทมอนจูอิก ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17–18 โดยปัจจุบันป้อมปราการได้เป็นพิพิธภัณฑ์ และมอนต์จูอิกเป็นพื้นสำหรับนันทนาการ เปรียบเสมือนกับเป็นสวนสาธารณะของเมือง

เมืองมีอาณาเขตติดต่อกับซันตากูโลมาดากรามาแน็ต และ ซันอาดรีอาเดเบซอซ ทางทิศเหนือ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออก, เอลปรัตเดยอเบรกัต และ ลุสปิตาแล็ตดายูบรากัต ทางทิศใต้ และ ซันเฟลีอูเดยอเบรกัต, ซันจัสเดสเบร์น, เอสปลาอูกูเอสเดยอเบรกัต, ซันกูกัตเดลบาเญซ และ มอนกาดาอีเรย์ซัก ทางทิศตะวันตก โดยพื้นที่เทศบาลรวมไปถึงดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยก 2 แห่งจนถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ภูมิอากาศ

จากการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน บาร์เซโลนามีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีฤดูหนาวเบาบางและฤดูร้อนที่มีอากาศร้อน ส่วนฤดูที่มีฝนตกมากที่สุดคือฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยจะมีฤดูแล้งในช่วงฤดูร้อน เช่นเดียวกันกับมีฝนหิมะที่น้อยกว่าภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนทั่วไป ซึ่งจะพบได้ในเขตเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกเฉฉียงเหนือ (เช่น มาร์แซย์) และคล้ายกันกับภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เช่น มิลาน) ที่จะมีปริมาณน้ำฝนที่มากในฤดูร้อน

อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 21.2 °C (70.2 °F) ในตอนกลางวัน และ 15.1 °C (59.2 °F) ในตอนกลางคืน ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของริมฝั่งทะเลอยู่ที่ 20 °C (68 °F) เดือนที่มีอากาศหนาวที่สุดคือเดือนมกราคม ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 12 ถึง 18 °C (54 ถึง 64 °F) ในตอนกลางวัน และ 6 ถึง 12 °C (43 ถึง 54 °F) ในตอนกลางคืน และอุณหภูมิเฉลี่ยริมฝั่งทะเลอยู่ที่ 13 °C (55 °F). ในเดือนที่อากาศอุ่นที่สุดคือเดือนสิงหาคม ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 ถึง 31 °C (81 ถึง 88 °F) ในตแอนกลางวัน และ 23 °C (73 °F) ในตอนกลางคืน ส่วนอุณหภูมิริมฝั่งทะเลอยู่ที่ 26 °C (79 °F). ในทั่วไปแล้ว ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อนจะมี 6 เดือน (พฤษภาคม ถึง ตุลาคม) ซึ่งในช่วงเมษายน ถึง พฤศจิกายน เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู ในบางครั้งจะมีอุณหภูมิสูงเกิน 20 °C (68 °F) และมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18–19 °C (64–66 °F) ในตอนกลางวัน และ 11–13 °C (52–55 °F) ในตอนกลางคืน อุณหภูมิที่แปรเปลี่ยนฉับพลันนั้นหาได้ยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน เป็นเพราะอยู่ใกล้ทะเลที่มีน้ำอุ่น การเกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งจึงหาได้ยากมากในเมืองบาร์เซโลนา มีเพียง 1 วันใน 30 ปีล่าสุดที่ได้มีการบันทึกว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งที่ −1 °C (30 °F)

บาร์เซโลนามีฝนตกเฉลี่ย 78 วันต่อปี (≥ 1 มิลลิเมตร) และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 72% ส่วนมากฝนจะตกในช่วงปลายฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน–ตุลาคม) และมีโอกาสฝนตกต่ำที่สุดในช่วงกลางฤดูร้อน (มิถุนายน–สิงหาคม) และฤดูหนาวจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม บาร์เซโลนาได้รับแสงแดด 2,524 ชั่วโมงต่อปี จาก 138 ชั่วโมงในเดือนธันวาคม (เฉลี่ย 4.5 ชั่วโมงต่อวัน) และ 310 ชั่วโมงในเดือนกรกฎาคม (เฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน)


ข้อมูลภูมิอากาศของบาร์เซโลนา (ค.ศ. 1987–ค.ศ. 2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 14.8
(58.6)
15.6
(60.1)
17.4
(63.3)
19.1
(66.4)
22.5
(72.5)
26.1
(79)
28.6
(83.5)
29.0
(84.2)
26.0
(78.8)
22.5
(72.5)
17.9
(64.2)
15.1
(59.2)
21.2
(70.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 11.8
(53.2)
12.4
(54.3)
14.2
(57.6)
15.8
(60.4)
19.3
(66.7)
22.9
(73.2)
25.7
(78.3)
26.1
(79)
23.0
(73.4)
19.5
(67.1)
14.9
(58.8)
12.3
(54.1)
18.2
(64.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 8.8
(47.8)
9.3
(48.7)
10.9
(51.6)
12.5
(54.5)
16.1
(61)
19.8
(67.6)
22.7
(72.9)
23.1
(73.6)
20.0
(68)
16.5
(61.7)
11.9
(53.4)
9.5
(49.1)
15.1
(59.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 43.7
(1.72)
31.4
(1.236)
33.0
(1.299)
47.7
(1.878)
47.4
(1.866)
32.5
(1.28)
25.1
(0.988)
40.8
(1.606)
81.9
(3.224)
96.5
(3.799)
45.1
(1.776)
46.8
(1.843)
571.9
(22.516)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 7.0 5.0 6.2 7.9 7.5 5.5 3.1 5.8 8.0 9.0 6.6 7.0 78.6
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 149 163 200 220 244 262 310 282 219 180 146 138 2,524
แหล่งที่มา: ฌานาราลิตัตดากาตาลุญญา – อาเจนซีอาเอสตาตัลเดเมเตโอโรโลจีอา (ชั่วโมงของแสงแดด)

อ้างอิง

    บรรณานุกรม
  • "Barcelona". Gran Enciclopèdia Catalana. Barcelona: Ed. Enciclopèdia Catalana S.A. (อังกฤษ)
  • Busquets, Joan. Barcelona: The Urban Evolution of a Compact City (Harvard UP, 2006) 468 pp. (อังกฤษ)
  • McDonogh, G. W. (2011). "Review Essay: Barcelona: Forms, Images, and Conflicts: Joan Busquets (2005)". Journal of Urban History. 37 (1): 117–123. doi:10.1177/0096144210384250. (อังกฤษ)
  • Marshall, Tim, ed. Transforming Barcelona (Routledge, 2004), 267 pp. (อังกฤษ)
  • Ramon Resina, Joan. Barcelona's Vocation of Modernity: Rise and Decline of an Urban Image (Stanford UP, 2008). 272 pp. (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

บาร์เซโลนา ชื่อบาร์เซโลนา ประวัติบาร์เซโลนา วัฒนธรรมบาร์เซโลนา ภูมิศาสตร์บาร์เซโลนา อ้างอิงบาร์เซโลนา แหล่งข้อมูลอื่นบาร์เซโลนาคาบสมุทรไอบีเรียทะเลเมดิเตอร์เรเนียนประเทศสเปนภาษากาตาลาภาษาสเปนแคว้นกาตาลุญญา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ภาสวิชญ์ บูรณนัติลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่รอยรักรอยบาปอาลิง โฮลันรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีซีเนดีน ซีดานแคพิบาราวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารดาวิกา โฮร์เน่ธี่หยด 2ดอลลาร์สหรัฐจังหวัดหนองคายศรีรัศมิ์ สุวะดีฉัตรชัย เปล่งพานิชรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ปตท.สำราญ นวลมาจังหวัดนนทบุรีประเทศญี่ปุ่นอินดอร์ สเตเดียม หัวหมากมหาเวทย์ผนึกมารหน้าไพ่กองทัพเรือไทยประเทศอังกฤษปานวาด เหมมณีราศีเมษ4 KINGS อาชีวะ ยุค 90จุดทิศหลักสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสยุทธการที่เซกิงาฮาระสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีสุรยุทธ์ จุลานนท์ฟุตซอลโลก 2016กฤษดา วงษ์แก้วมหาวิทยาลัยมหาสารคามสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาควิธวัฒน์ สิงห์ลำพองดราก้อนบอลประวัติศาสตร์ณราวิชญ์ เลิศรัตน์โกสุมภ์วรินทร ปัญหกาญจน์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยพัชราภา ไชยเชื้อกพล ทองพลับรายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยจังหวัดลำปางโชติกา วงศ์วิลาศจังหวัดฉะเชิงเทราโลก (ดาวเคราะห์)ไพ่แคงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สุภาพบุรุษชาวดินเผ่า ศรียานนท์ทวี ไกรคุปต์รายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารบิลลี ไอลิชรายชื่อตัวละครในวันพีซไททานิค (ภาพยนตร์)เอราวัณ การ์นิเยร์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถอิษยา ฮอสุวรรณหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยปริญ สุภารัตน์เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นประชาธิปไตยจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์จ๊ะ นงผณีรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่คือเรารักกัน🡆 More