อนาธิปไตย

อนาธิปไตย (อังกฤษ: Anarchy) คือสังคมที่ไม่มีรัฐบาล หรืออาจใช้หมายถึงสังคมหรือคนกลุ่มหนึ่งที่ปฏิเสธการจัดลำดับชั้น (hierarchy) โดยสิ้นเชิง

ในทางปฏิบัติ อนาธิปไตยอาจหมายถึงการลดทอนหรือยกเลิกรัฐบาลและสถาบันในรูปแบบดั้งเดิม และอาจหมายถึงชาติหรือดินแดนที่มีคนอาศัยอยู่ที่ใดก็ตามที่ไม่มีระบบการปกครองหรืออำนาจส่วนกลาง ผู้ที่สนับสนุนอนาธิปไตยโดยหลักประกอบด้วยนักอนาธิปัตย์ซึ่งเสนอให้แทนที่รัฐบาลด้วยสถาบันแบบสมัครใจ โดยทั่วไป สถาบันหรือสมาคมเสรีเหล่านี้ใช้ตัวแบบตามแบบอย่างธรรมชาติ เพราะมันสามารถเป็นตัวแทนของแนวคิดเช่นชุมชนกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ (autarky) การพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependence) หรือปัจเจกนิยมได้ แม้ว่าอนาธิปไตยมักถูกใช้ในเชิงลบเป็นไวพจน์ของภาวะยุ่งเหยิงหรือการล่มสลายของสังคมหรืออโนมี แต่นักอนาธิปัตย์ใช้คำว่าอนาธิปไตยในความหมายที่ต่างออกไป โดยหมายถึงสังคมซึ่งไม่มีลำดับชั้น

ศัพทมูลวิทยา

Anarchy มาจากคำภาษาละติน anarchia ซึ่งมาจากคำภาษากรีก anarchos ("ไร้ผู้ปกครอง") ประกอบด้วย an- (“ไม่” หรือ “ไร้”) + archos ("ผู้ปกครอง") มีความหมายตรงตัวว่า "ไร้ผู้ปกครอง" ในภาษาอังกฤษ มีการใช้คำว่า Anarchy เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1539 โดยหมายถึง "การปราศจากรัฐบาล"

ภาพรวม

มานุษยวิทยา

อนาธิปไตย 
คนเก็บของป่าล่าสัตว์นับว่าอาศัยอยู่ในสังคมแบบอนาธิปไตย

แม้ว่าลักษณะของสังคมที่เป็นที่รู้จักส่วนใหญ่จะมีลำดับชั้นหรือรัฐ แต่นักมานุษยวิทยาได้ศึกษาสังคมไร้รัฐที่เสมอภาคหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์เร่ร่อน และสังคมกสิกรรมพืชสวนส่วนใหญ่ อาทิชาวเซอไม (Semai people) และชาวเปียโรอา (Piaroa) สังคมเหล่านี้หลายแห่งนับว่าเป็นแบบอนาธิปไตยได้ในแง่ที่พวกเขาปฏิเสธแนวคิดเรื่องอำนาจทางการเมืองแบบรวมศูนย์อย่างชัดเจน

ปีเตอร์ ลีสัน (Peter Leeson) ได้พิจารณาสถาบันบังคับใช้กฎหมายเอกชน (private law enforcement) ที่โจรสลัดยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชนเผ่าก่อนอ่านออกเขียนได้ และแก๊งในเรือนจำรัฐแคลิฟอร์เนียพัฒนาขึ้นมาในสถานการณ์แบบอนาธิปไตย กลุ่มชนเหล่านี้ปรับใช้หลากหลายวิธีการในการบังคับใช้กฎหมายเอกชนเพื่อสนองความจำเป็นเฉพาะตัวของแต่ละกลุ่มและความเฉพาะตัวของสถานการณ์แบบอนาธิปไตยที่พวกเขาพบ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

อนาธิปไตยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ "การไม่มีอำนาจใดที่อยู่เหนือรัฐประชาชาติ หรือที่สามารถตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างกันและบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศได้"

ปรัชญาการเมือง

ลัทธิอนาธิปไตย

ในฐานะปรัชญาการเมือง ลัทธิอนาธิปไตยสนับสนุนให้มีสังคมที่ปกครองตนเอง (Self-governance) ผ่านสถาบันแบบสมัครใจ ซึ่งมักบรรยายว่าเป็นสังคมไร้รัฐ แต่นักเขียนบางรายให้นิยามที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นว่าหมายถึงสถาบันซึ่งตั้งอยู่บนฐานของสมาคมเสรีซึ่งไม่มีลำดับชั้น ลัทธิอนาธิปไตยมองว่ารัฐเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ไม่จำเป็น และอันตราย และถึงแม้ว่ามีแก่นหลักเป็นการต่อต้านรัฐ แต่เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นแต่ยังไม่เพียงพอ ลัทธิอนาธิปไตยยังหมายถึงการต่อต้านอำนาจหรือองค์กรแบบลำดับชั้น (hierarchical organisation) ภายในมนุษยสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะระบบรัฐ

อิมมานูเอล คานต์

นักปรัชญาชาวเยอรมันอิมมานูเอล คานต์ กล่าวถึงอนาธิปไตยในงานของเขา Anthropology from a Pragmatic Point of View ว่าประกอบขึ้นจาก "กฎหมายและเสรีภาพโดยไร้ซึ่งอำนาจ" ในมุมมองของคานต์ อนาธิปไตยยังไม่เรียกว่าเป็นประชารัฐที่แท้จริงได้ เพราะกฎหมายเป็นเพียง "คำแนะนำกลวงเปล่า" เมื่อไม่มีอำนาจที่ทำให้กฎหมายมีประสิทธิผล ในการที่รัฐเช่นนี้จะดำรงอยู่ได้ อำนาจจะต้องมีและกฎหมายกับเสรีภาพจะต้องคงไว้ คานต์เรียกรัฐดังกล่าวว่าสาธารณรัฐ คานต์ระบุรัฐบาลไว้สี่ชนิด:

  1. กฎหมายและเสรีภาพโดยไร้ซึ่งอำนาจ (อนาธิปไตย)
  2. กฎหมายและอำนาจโดยไร้ซึ่งเสรีภาพ (ระบบใช้อำนาจเด็ดขาด)
  3. อำนาจโดยไร้ซึ่งเสรีภาพและกฎหมาย (สังคมไร้อารยะ)
  4. อำนาจอันพร้อมด้วยเสรีภาพและกฎหมาย (สาธารณรัฐ)

ตัวอย่างของอนาธิปไตยรัฐล่มสลาย

สงครามกลางเมืองอังกฤษ (ค.ศ. 1642–1651)

อนาธิปไตย 
ยุโรปแผ่นดินใหญ่ประสบกับเหตุการณ์ใกล้เคียงอนาธิปไตยในสงครามสามสิบปี (1618–1648).

อนาธิปไตยเป็นหนึ่งในประเด็นที่ถกในการอภิปรายพัตนีย์ (Putney Debates) ใน ค.ศ. 1647:

โทมัส เรนส์บะระ (Thomas Rainsborough): "เราจะกล่าวตรง ๆ กับท่านกว่าเดิมอีกหน่อย เราหวังว่าพวกเราทั้งหมดจะจริงใจและทำตัวซื่อสัตย์กันทุกคน ถ้าเราไม่เชื่อใจท่านเราคงไม่ใช้คำพูดที่แรงอย่างนั้น เราเชื่อว่าเป็นเพราะความไม่เชื่อใจ และหลายสิ่งมักคิดไปว่าสะท้อนเจตนาซึ่งไม่เคยเป็นเช่นนั้น ในส่วนของเรา เราคิดว่าท่านลืมบางสิ่งในคำพูดของเราไป และท่านไม่ได้เพียงแต่เชื่อไปเองว่าคนบางคนเชื่อว่ารัฐบาลไม่มีวันถูกต้อง แต่ท่านยังรังเกียจคนทุกคนที่เชื่อดังนั้น และท่าน แค่เพราะคน ๆ หนึ่งกล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีปากมีเสียงตามสิทธิธรรมชาติ ดังนั้นเหตุผลเดียวกันนี้จึงทำลายทรัพย์สินทั้งสิ้น นี่เป็นการลืมกฎของพระเจ้า ว่ามีทรัพย์สิน กฎของพระเจ้ากล่าวไว้ ไม่เช่นนั้นพระเจ้าทรงบัญญัติกฎนั้นทำไมเล่า ว่าห้ามลักขโมย เราเป็นคนจน เราจึงจำถูกกดขี่ หากเราไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในราชอาณาจักร เราจำต้องทนทุกข์จากกฎหมายทั้งปวงของมันแม้ดีหรือเลว ไม่เพียงเท่านั้น สุภาพบุรุษท่านหนึ่งอาศัยในถิ่นหนึ่งและมีที่ดินสามสี่แปลงเช่นบางท่าน (มีเพียงพระเจ้าทรงทราบว่าพวกเขาได้มาอย่างไร) และเมื่อเรียกประชุมรัฐสภา เขาจำต้องเป็นบุรุษรัฐสภา และเขาอาจพบเห็นคนจนบางคน พวกเขาอาศัยใกล้เขา เขาสามารถกดขี่พวกเขาได้ เราเคยทราบถึงการบุรุกให้แน่ใจว่าเขาไล่พวกคนจนออกจากบ้าน และเราอยากรู้ว่าอำนาจของพวกคนรวยจะไม่ทำเช่นนี้หรือเปล่า และดังนั้นเก็บพวกเขาไว้ภายใต้ทรราชอันสุดจะคิดได้ในโลกนี้ และดังนั้นเราคิดว่าเรื่องนั้นเราตอบครบแล้ว พระเจ้าทรงกำหนดสิ่งนั้นคือกรรมสิทธิ์ตามกฎข้อนี้ของพระองค์ว่าห้ามลักขโมย และในส่วนของเรา เราต่อต้านความคิดใดเช่นนั้น และ ในส่วนของท่าน เราหวังว่าท่านจะไม่ทำให้ทั้งโลกเชื่อว่าเราสนับสนุนอนาธิปไตย"

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์: "เราไม่รู้สิ่งใดเว้นแต่สิ่งนี้ ว่าผู้ที่ยอมมากที่สุดมีปัญญามากที่สุด แต่ความจริง ท่าน นี่ไม่ถูกต้องอย่างที่ควรเป็น ไม่มีใครกล่าวว่าท่านนิยมอนาธิปไตย แต่ว่าผลที่ตามมาจากกฎนี้โน้มเข้าหาอนาธิปไตย ต้องลงเอยด้วยอนาธิปไตย เพราะขอบเขตหรือขีดจำกัดจะไปอยู่ที่ใดหากท่านนำขีดจำกัดออก ว่าผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรนอกจากส่วนได้ส่วนเสียในการหายใจควรมีปากมีเสียงในการเลือกตั้งหรือ ดังนั้น เรามั่นใจในสิ่งนี้ เราไม่ควรใจร้อนด้วยกัน"

เมื่อผู้คนเริ่มตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองอังกฤษ อนาธิปไตยมีนิยามที่คมชัดยิ่งขึ้น แม้ว่าจะมาจากมุมมองทางการเมืองที่แตกต่างกัน:

  • 1651 – โทมัส ฮอบส์ (Leviathan) อธิบายว่าสภาพธรรมชาติของมนุษยชาติคือสงครามของทุกคนกับทุกคน (Bellum omnium contra omnes) ที่มนุษย์ดำรงชีวิตเยี่ยงเดรัจฉาน: "สำหรับอนารยชนในหลายถิ่นของอเมริกา เว้นแต่อภิบาลของครอบครัวขนาดย่อมซึ่งมีข้อตกลงขึ้นกับตัณหาธรรมชาติ ไร้ซึ่งรัฐบาลโดยสิ้นเชิง และตราบวันนี้มีชีวิตจริตเดรัจฉาน" ฮ็อบส์มองว่ามีเหตุสามประการของความขัดแย้งในสภาพธรรมชาติ กล่าวคือการแข่งขัน ความประหม่า และความทะนงตัว: "ประการแรกทำให้มนุษย์รุกรานเพื่อผลได้ ประการที่สองเพื่อนิรภัย และประการที่สามเพื่อเกียรติ" กฎธรรมชาติข้อแรกคือ "มนุษย์ทุกคนย่อมแสวงหาสันติ ตราบเท่าที่เขามีความหวังจะได้มันมา และเมื่อเขาไม่สามารถหามันมาได้ เขาย่อมแสวงและใช้ความอนุเคราะห์และความได้เปรียบของสงคราม" ในสภาพธรรมชาติ "มนุษย์ทุกคนถือสิทธิในทุกสิ่ง แม้แต่ในร่างกายของคนอื่น" แต่ในการได้มาซึ่งความได้เปรียบของสันติ กฎข้อที่สองคือ "มนุษย์จะยอม เมื่อคนอื่นจะทำเช่นกัน ... วางสิทธิในทุกสิ่งลง แล้วพอใจกับเสรีภาพต่อคนอื่นพอกับที่เขาจะยอมให้คนอื่นมีต่อตัวเขา" นี่คือจุดเริ่มต้นของสัญญาและกติกา การนำไปปฏิบัติคือกฎธรรมชาติข้อที่สาม ดังนั้น อยุติธรรมคือความล้มเหลวในการทำตามกติกา และสิ่งอื่นใดล้วนยุติธรรม
  • 1656 – เจมส์ แฮร์ริงตัน (James Harrington (author)) (The Commonwealth of Oceana) ใช้อนาธิปไตยเพื่อหมายถึงสภาวะเมื่อประชาชนใช้อำนาจวางรัฏฐะเหนือฐานเศรษฐกิจที่ประกอบขึ้นจากการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนใหญ่โดยคนหนึ่งคน (สมบูรณาญาสิทธิราชย์) หรือโดยคนกลุ่มน้อย (ราชาธิปไตยผสม) เขามองว่ามันแตกต่างจากสาธารณรัฐ ซึ่งหมายถึงสภาวะเมื่อประชากรส่วนใหญ่ร่วมกันถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินและวิธีการปกครอง โดยมองว่าอนาธิปไตยเป็นสถานการณ์ชั่วคราวที่เกิดขึ้นเมื่อรูปแบบการปกครองกับรูปแบบความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินไม่สมดุลกัน

การปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789–1799)

นักเขียนความเรียงชาวสกอตในสมัยวิกตอเรีย ทอมัส คาร์ไลล์ เขียนไว้ในงานเขียนประวัติศาสตร์ของเขา The French Revolution ว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นสงครามต่อต้านอภิชนาธิปไตยและอนาธิปไตย:

ในขณะเดียวกัน เราจะชังอนาธิปไตยเหมือนความตาย ซึ่งคือสิ่งที่มันเป็น และสิ่งที่เลวกว่าอนาธิปไตยย่อมต้องชังยิ่งกว่า สันติเพียงอย่างเดียวให้ผลดีแล้วแน่นอนไหม อนาธิปไตยคือการทำลายล้าง การเผาไหม้ เช่นของการหลอกลวงและสิ่งที่มิอาจทนได้ แต่ทิ้งไว้ข้างหลังเพียงความว่างเปล่า และจงทราบสิ่งนี้ด้วยว่าอะไรที่เกิดขึ้นจากโลกของพวกไม่ฉลาดไม่ใช่สิ่งใดนอกเสียจากความไม่ฉลาด คุณจะจัดเรียงมัน ร่างธรรมนูญมันขึ้นมา หรือกลั่นกรองมันผ่านหีบเลือกตั้ง มันก็เป็นและจะยังคงเป็นเพียงความไม่ฉลาด ตกเป็นเหยื่อตัวใหม่ของการต้มตุ๋นแบบใหม่และสิ่งที่สกปรก หลังจากนั้นดีกว่าตอนเริ่มต้นเพียงน้อยนิด ใครกันที่สามารถหาสิ่งที่ฉลาดจากคนที่ไม่ฉลาดได้หรือ ไม่มีสักคน และดังนั้นเมื่อความว่างเปล่าและการยกเลิกโดยทั่วไปมาถึงฝรั่งเศส อนาธิปไตยจะทำสิ่งใดได้อีกหรือ มันต้องมีระเบียบ ไม่ว่าจะอยู่ใต้คบดาบของทหาร มันต้องมีสันติ ของขวัญจากสวรรค์จะได้ไม่เสียของ ความฉลาดใดที่มันนำมาให้เราจะออกดอกออกผลเมื่อถึงฤดูของมัน! ยังไม่เป็นที่ทราบดีว่าผู้ที่ปราบปรามพวกซ็องกูว์ล็อตโดนปราบปรามเองได้อย่างไร และสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ของการกบฏถูกปัดเป่าไปด้วยดินปืน ณ ที่นี้คือจุดจบของห้วงประวัติศาสตร์หนึ่งที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์ นามว่า การปฏิวัติฝรั่งเศส

ใน ค.ศ. 1789 นีกอลา แบร์กัส (Nicolas Bergasse) แสดงความคิดเห็นต่ออนาธิปไตยแก่สมัชชาแห่งชาติ:

ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าขออนุญาตแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ต้องสงสัยว่าข้าพเจ้าจะไม่ถูกกล่าวหาว่าไม่รักเสรีภาพ แต่ข้าพเจ้ารู้ว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนไม่ได้นำไปสู่เสรีภาพทั้งหมด แต่ข้าพเจ้ารู้ว่าอนาธิปไตยอันใหญ่หลวงจะทำให้เกิดความเหนื่อยหน่ายเป็นที่สุดในไม่ช้า และเผด็จการนั้น ซึ่งเป็นความสงบชนิดหนึ่ง เป็นผลลัพธ์อันจำเป็นของของอนาธิปไตยอันใหญ่หลวงแทบทุกครั้ง การยุติความไร้ระเบียบที่เราคอยบ่นถึงจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่ท่านคิด และหากทางเดียวที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้คือการคืนภารกิจบางส่วนให้กับกำลังสาธารณะ การปล่อยให้มันอยู่นิ่งนานไปกว่านี้จึงจะเป็นความไม่คงเส้นคงวาโดยแท้

คริส บอชเชอ (Chris Bossche) กล่าวถึงบทบาทของอนาธิปไตยในการปฏิวัติฝรั่งเศส:

ในการปฏิวัติฝรั่งเศส เรื่องราวว่าอนาธิปไตยจะเพิ่มขึ้น บ่อนทำลายเรื่องราวที่กล่าวว่านักปฏิวัติกำลังสร้างระเบียบสังคมใหม่ขึ้นมาด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญ

ประเทศจาเมกา (ค.ศ. 1720)

ใน ค.ศ. 1720 เซอร์นิโคลัส ลอวส์ (Nicholas Lawes) ผู้ว่าการจาเมกา เขียนถึงจอห์น รอบินสัน (John Robinson (bishop of London)) บิชอปแห่งลอนดอนว่า:

ในส่วนของชาวอังกฤษที่มาเป็นช่างที่นี่ อายุน้อยมากแล้วตอนนี้ได้ถือครองที่ดินผืนงามใน Sugar Plantations and Indigo & co. แน่นอนว่าพวกเขาไม่รู้ดีกว่าหลักใดที่เขาได้เรียนที่ประเทศ กล่าวสั้น ๆ เรียบ ๆ ท่านจะพบว่าพวกเขาไม่มีหลักของศาสนจักรกับรัฐเลย แต่เป็นอนาธิปไตยทั้งสิ้น

ในจดหมายร้องทุกข์ฉบับนี้ ลอวส์กล่าวว่า "บุรุษที่มีทรัพย์สินเดี๋ยวนี้เป็นเหมือนต้นละหุ่ง (Kikayon) ของโยนาห์" และอธิบายถึงรากเหง้าที่ต่ำต้อยของ "ชาวครีโอล" (Creole peoples) ว่าส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษาและเยาะเย้ยกฎของศาสนจักรและรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขากล่าวถึงการที่พวกเขาปฏิเสธไม่ทำตามกฎหมาย Deficiency Act ซึ่งบังคับให้เจ้าของทาสต้องจัดหาคนผิวขาว (White people) จากอังกฤษหนึ่งคนต่อชาวแอฟริกันที่ตกเป็นทาส 40 คน ซึ่งมุ่งหวังเพื่อทำให้สามารถขยายอาณาเขตที่ดินของตัวเองได้และยับยั้งการอพยพจากอังกฤษและไอร์แลนด์เพิ่มเติม ลอวส์กล่าวถึงรัฐบาลว่าเป็น "คล้ายอนาธิปไตย แต่ใกล้เคียงอภิชนาธิปไตยไม่ว่ารูปแบบใดมากที่สุด" และเสริมว่า "จำเป็นหรือที่ราษฎรของกษัตริย์ที่มีความสามารถริเริ่มอาณานิคมเหมือนบรรพบุรุษของเขา ซึ่งเช่นกัน ถูกกีดกันเสรีภาพในการตั้งอาณานิคมบนเกาะอันประเสริฐนี้ตลอดไป แล้วกษัตริย์และชาติที่บ้านเกิดก็ถูกกีดกันจากความอุดมสมบูรณ์ล้น เพื่อสร้างองค์ชายสุภาพบุรุษไฟแรงไม่กี่คน?"

ประเทศแอลเบเนีย (ค.ศ. 1997)

ใน ค.ศ. 1997 ประเทศแอลเบเนียตกอยู่ในสภาวะอนาธิปไตย หลัก ๆ เป็นเพราะการสูญเสียเงินตราจำนวนมากจากการล่มสลายของธุรกิจแบบพีระมิด และจากการล่มสลายทางสังคมครั้งนี้ อาชญากรติดอาวุธสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรีโดยแทบจะไม่ต้องรับโทษ แต่ละเมืองโดยเฉพาะในภาคใต้มักมีแก๊งอยู่สามถึงสี่กลุ่ม โดยที่ตำรวจไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการจัดการกับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแก๊งพวกนี้

ประเทศโซมาเลีย (ค.ศ. 1991–2006)

อนาธิปไตย 
แผนที่โซมาเลียที่แสดงพื้นที่หลัก ๆ ที่ประกาศตนเป็นรัฐและอยู่ใต้การควบคุมของแต่ละฝ่ายใน ค.ศ. 2006

แม้ว่าระบบตุลาการทางการของประเทศโซมาเลียส่วนใหญ่ถูกทำลายลงเมื่อระบอบของไซอัด บาร์รี ล่มสลาย แต่ก็ค่อย ๆ ถูกสร้างขึ้นใหม่และบริหารจัดการโดยรัฐบาลของภูมิภาคค่าง ๆ อาทิพุนต์แลนด์และโซมาลีแลนด์ ในกรณีของรัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติและในภายหลังเป็นรัฐบาลกลางเปลี่ยนผ่าน โครงสร้างตุลาการชั่วคราวใหม่ถูกสร้างขึ้นผ่านการประชุมระดับนานาชาติหลายหน ถึงแม้ว่าทั้งสองจะมีโครงสร้างทางการเมืองที่แตกต่างแต่มีโครงสร้างทางกฎหมายที่คล้ายกัน ส่วนใหญ่มีอยู่มาก่อนในระบบตุลาการของรัฐโซมาลีที่แล้ว กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีความคล้ายกันที่กฎบัตร (charter) ซึ่งยืนยันความสูงสุดของชะรีอะฮ์หรือกฎหมายศาสนา แม้ว่าในทางปฏิบัติมีการใช้ชะรีอะฮ์ในประเด็นเกี่ยวกับการสมรส การหย่าร้าง มรดก และแพ่งเท่านั้น กฎบัตรนี้รับประกันอิสรภาพของอำนาจตุลาการซึ่งได้รับความคุ้มครองจากคณะกรรมการตุลาการ ระบบตุลาการสามชั้นอันประกอบด้วยศาลสูงสุด ศาลชั้นอุทธรณ์ (Appellate court) และศาลชั้นต้น (ที่แบ่งเขตอำนาจศาลตามเขตหรือภูมิภาค หรืออาจมีศาลหนึ่งแห่งต่อภูมิภาค) และกฎหมายของรัฐบาลพลเรือนที่มีผลบังคับใช้ก่อนการรัฐประหารโดยทหารเพื่อเอาบาร์รีขึ้นสู่อำนาจยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกระทั่งมีการแก้ไขกฎหมาย

นักเศรษฐศาสตร์อเล็กซ์ แทบาร์รอก (Alex Tabarrok) กล่าวว่าโซมาเลียในยุคที่ไม่มีรัฐเป็น "บททดสอบพิเศษของทฤษฎีอนาธิปไตย" และในบางแง่มุมใกล้เคียงกับที่ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตย-ทุนนิยม (Anarcho-capitalism) เช่นเดวิด ดี. ฟรีดแมน (David D. Friedman) และเมอร์เรย์ รอทบาร์ด (Murray Rothbard) สนับสนุน อย่างไรก็ตาม ทั้งนักอนาธิปัตย์และผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตยทุนนิยมบางคนเช่นวอลเตอร์ บล็อก (Walter Block) กล่าวว่าโซมาเลียในตอนนั้นไม่ได้เป็นสังคมอนาธิปไตย

ดูเพิ่ม

  • คตินิยมสิทธิสตรีแบบอนาธิปไตย (Anarchist feminism)
  • อโนมี (Anomie)
  • สังคมนิยมแบบอิสรนิยม
  • เค้าโครงลัทธิอนาธิปไตย (Outline of anarchism)
  • ช่องว่างแห่งอำนาจ (Power vacuum)

อ้างอิง

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

อนาธิปไตย ศัพทมูลวิทยาอนาธิปไตย ภาพรวมอนาธิปไตย ตัวอย่างของรัฐล่มสลายอนาธิปไตย ดูเพิ่มอนาธิปไตย อ้างอิงอนาธิปไตย แหล่งข้อมูลอื่นอนาธิปไตยภาษาอังกฤษรัฐบาลสังคม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24เขตการปกครองของประเทศพม่างูทะเลอลัน สมิธรัฐฉานจูด เบลลิงงัมจังหวัดสมุทรปราการรัฐแคลิฟอร์เนียคุณปู่คุณย่า ย้อนกลับวัยใสแต่หัวใจยังคงเดิมมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทจักรพรรดิเฉียนหลงจักรราศีท้องที่ตำรวจรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินโรงเรียนเตรียมทหารนันทิกานต์ สิงหาพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567กองทัพบกไทยพระบรมมหาราชวังท่าอากาศยานดอนเมืองสังฆาทิเสสหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเลเซราฟิมจังหวัดน่านคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์วัดไร่ขิงวอลเลย์บอลจีดีเอชแอน อรดีจุดทิศหลักปิยวดี มาลีนนท์รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยเรียงตามการสถาปนาธีรศักดิ์ เผยพิมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญารัฐของสหรัฐซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ปรสิต (หนังสือการ์ตูน)สโมสรฟุตบอลดีนาโมมอสโกดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กูเกิล แปลภาษานิโคลัส มิคเกลสันราชสกุลจักรพงษ์จังหวัดสุพรรณบุรีอชิรญา นิติพนมาวิน ทวีผลสุรสีห์ ผาธรรมประเทศสวิตเซอร์แลนด์หลวงปู่ทวดวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารสุทัตตา อุดมศิลป์อุณหภูมิจำลอง ศรีเมืองชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองเอกซ์เจแปนโลตัส (ห้างสรรพสินค้า)วัชรเรศร วิวัชรวงศ์มหาวิทยาลัยมหิดลรายชื่อตอนในเป็นต่อการอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิกกิ่งดาว ดารณีจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้พิกซี่ (วงดนตรี)ธี่หยด 2รายชื่อธนาคารในประเทศไทยเศรษฐา ทวีสินพรรคก้าวไกลสุภาพร มะลิซ้อนกองอาสารักษาดินแดนอัสซะลามุอะลัยกุมโหน่ง ชะชะช่าไอยู🡆 More