รัฐประหาร

รัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état หรือ coup) เป็นความพยายามที่ผิดกฎหมายและเปิดเผยโดยกองทัพหรือชนชั้นสูงอื่น ๆ ในรัฐบาล เพื่อถอดถอนผู้นำที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ส่วนรัฐประหารตัวเองเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ขึ้นสู่อำนาจโดยวิธีทางกฎหมาย พยายามจะอยู่ในอำนาจด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย

รัฐประหาร
นายพล นโปเลียน โบนาปาร์ต ในช่วงรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ที่แซ็ง-กลู ภาพวาดโดยฟร็องซัว บูโช ใน ค.ศ. 1840

จากการประมาณการครั้งหนึ่ง มีการพยายามรัฐประหาร 457 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง 2553 ซึ่งครึ่งหนึ่งทำได้สำเร็จ ในจำนวนนี้มีครึ่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ ความพยายามรัฐประหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่ก็มีความพยายามรัฐประหารจำนวนมากที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงปกครองแบบอำนาจนิยมต่อไป

ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเกิดรัฐประหารและตัวกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการรัฐประหารมีอยู่หลายปัจจัย เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้น ความสำเร็จในการทำรัฐประหารจะได้รับการขับเคลื่อนด้วยความสามารถของผู้ทำรัฐประหารในการให้ชนชั้นสูงและสาธารณชนเชื่อว่าความพยายามรัฐประหารจะประสบความสำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนลดลง การรัฐประหารที่ล้มเหลวในระบอบอำนาจนิยมมีแนวโน้มที่จะทำให้อำนาจของผู้ปกครองเผด็จการเข้มแข็งขึ้น จำนวนรัฐประหารสะสมเป็นตัวทำนายการรัฐประหารในอนาคตได้อย่างชัดเจน ปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "กับดักรัฐประหาร" (coup trap)

ส่วน "มาตรการป้องกันรัฐประหาร" (coup-proofing) เป็นสิ่งที่ระบอบการปกครองสร้างโครงสร้างที่ทำให้กลุ่มเล็กใด ๆ ยึดอำนาจได้ยาก ยุทธศาสตร์ป้องกันการรัฐประหารเหล่านี้อาจรวมถึงการวางครอบครัว ชาติพันธุ์ และกลุ่มศาสนาในกองทัพตามเชิงยุทธศาสตร์ และการกระจายตัวหน่วยงานทางทหารและหน่วยความมั่นคง อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้ประสิทธิผลฝ่ายทหารลดลง เหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลเผด็จการมีแนวโน้มที่จะมีทหารที่ไร้ความสามารถก็คือ รัฐบาลเผด็จการกลัวว่าทหารจะก่อรัฐประหารหรือปล่อยให้เกิดการลุกฮือในประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองเผด็จการจึงมีแรงจูงใจที่จะวางผู้จงรักภักดีที่ไร้ความสามารถในตำแหน่งสำคัญของกองทัพ

ผลลัพธ์

การรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จเป็นหนึ่งในวิธีการเปลี่ยนระบอบการปกครองที่ขัดขวางการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ งานวิจัยใน พ.ศ. 2559 จัดผลลัพธ์ของรัฐประหารในระบอบเผด็จการที่เป็นไปได้ 4 รูปแบบ:

  • รัฐประหารล้มเหลว
  • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น เมื่อผู้นำถูกสับเปลี่ยนอำนาจอย่างผิดกฎหมาย โดยไม่เปลี่ยนสถานะกลุ่มที่มีอำนาจหรือกฎหมายในการปกครอง
  • แทนที่ผู้ดำรงตำแหน่งด้วยเผด็จการคนอื่น
  • การโค่นล้มเผด็จการที่ตามมาด้วยประชาธิปไตย (มีชื่อเรียกว่า "democratic coups")

รัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงใช้ระบอบอำนาจนิยมต่อไป การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามกลางเมืองทำให้สงครามมีระยะเวลาสั้นลง

ตัวทำนาย

บทวิจารณ์วรรณกรรมทางวิชาการใน พ.ศ. 2546 พบว่า ปัจจัยดังต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรัฐประหาร

  • ความไม่พอใจส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ความไม่พอใจของหน่วยงานทางทหาร
  • ความเป็นที่นิยมของกองทัพ
  • ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางเจตคติของกองทัพ
  • การตกต่ำทางเศรษฐกิจ
  • วิกฤตการเมืองท้องถิ่น
  • อิทธิพลจากรัฐประหารในภูมิภาค
  • ภัยคุกคามจากภายนอก
  • การเข้ามีส่วนร่วมในสงคราม
  • การสมรู้ร่วมคิดกับอำนาจทางการทหารจากต่างประเทศ
  • หลักยึดเหนี่ยวของกองทัพต่อความมั่นคงของรัฐ
  • วัฒนธรรมทางการเมืองของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • หน่วยงานที่ขาดการมีส่วนร่วมทางการบริหาร
  • ประวัติของการเป็นอาณานิคม
  • การพัฒนาเศรษฐกิจ
  • การส่งออกที่ไม่กระจายรูปแบบ
  • องค์ประกอบทางชนชั้นของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ขนาดของกองทัพ
  • ความเข้มแข็งของสังคมภาคพลเมือง
  • ความน่าไว้วางใจของระบบการปกครอง
  • ประวัติการเกิดรัฐประหารในรัฐ

บทวิจารณ์วรรณกรรมใน พ.ศ. 2559 มีการกล่าวถึงปัจจัยอื่นเพิ่มเข้ามา เช่น ความแตกย่อยเป็นกลุ่มของกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic factionalism), การสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ, ความขาดประสบการณ์ของผู้นำ, การเติบโตที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า, การสูงขึ้นของค่าครองชีพอย่างฉับพลัน และความยากจน

กับดักรัฐประหาร

ตัวทำนายที่สำคัญหนึ่งของการเกิดรัฐประหารในอนาคตคือจำนวนรัฐประหารสะสมในอดีต

ระบอบการปกครองและการแบ่งขั้ว

ระบบการปกครองแบบผสมมีแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหารมากกว่ารัฐเผด็จการหรือรัฐประชาธิปไตย

ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้มีแนวโน้มเกิดรัฐประหารเพิ่มขึ้น

รายชื่อผู้นำจากรัฐประหารในปัจจุบัน

ตารางด้านล่างแสดงรายชื่อประเทศและผู้นำที่เข้าสู่อำนาจจากรัฐประหาร และยังคงอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน

ตำแหน่ง ผู้นำจากรัฐประหาร ผู้นำที่ถูกปลด ประเทศ เหตุการณ์ วันที่
ประธานาธิบดี เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา รัฐประหาร  อิเควทอเรียลกินี รัฐประหารในประเทศอิเควทอเรียลกินี ค.ศ. 1979 3 สิงหาคม พ.ศ. 2522
ประธานาธิบดี โยเวรี มูเซเวนี ตีโต โอเคลโล รัฐประหาร  ยูกันดา สงครามบุช ยูกันดา 29 มกราคม พ.ศ. 2529
ประธานาธิบดี เอมอมาลี ราห์มอน ราห์มอน นาบีเยฟ รัฐประหาร  ทาจิกิสถาน สงครามกลางเมืองทาจิกิสถาน 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
ประธานาธิบดี เดอนี ซาซู-อึนแกโซ ปาสกัล ลิสซูบา รัฐประหาร  คองโก สงครามกลางเมืองสาธารณรัฐคองโก 25 ตุลาคม พ.ศ. 2540
ประธานาธิบดี อับดุลฟัตตาห์ อัสซีซี มุฮัมมัด มุรซี รัฐประหาร  อียิปต์ รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ประธานสภาการเมืองสูงสุด มะห์ดี อัลมาซัต อับดราบบูห์ มันซูร์ หะดี รัฐประหาร  เยเมน รัฐประหารในประเทศเยเมน ค.ศ. 2014–2015 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประธานาธิบดี เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา รอเบิร์ต มูกาบี รัฐประหาร  ซิมบับเว รัฐประหารในประเทศซิมบับเว ค.ศ. 2017 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประธานสภาเปลี่ยนผ่านอธิปไตย อับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮาน อุมัร อัลบะชีร รัฐประหาร  ซูดาน รัฐประหารในประเทศซูดาน ค.ศ. 2019 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ มี่นอองไลง์ อองซานซูจี รัฐประหาร  พม่า รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ประธานกรรมการแห่งชาติเพื่อความอยู่รอดของประชาชน อัสซิมี โกอิตา บาห์ เอ็นดาอู รัฐประหาร  มาลี รัฐประหารในประเทศมาลี ค.ศ. 2021 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ประธานาธิบดี ก็อยส์ ซะอีด ฮิเชม เมชิชิ รัฐประหาร  ตูนิเซีย วิกฤตการการเมืองตูนิเซีย ค.ศ. 2021 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ประธานคณะกรรมการปรองดองและพัฒนาแห่งชาติ มามาดี ดูมบูยา อาลฟา กงเด รัฐประหาร  กินี รัฐประหารในประเทศกินี พ.ศ. 2564 5 กันยายน พ.ศ. 2564
ประธานขบวนการรักชาติเพื่อการปกป้องและการฟื้นฟู อิบราฮิม ตราโอเร่ ปอล-อ็องรี ดามีบา รัฐประหาร  บูร์กินาฟาโซ รัฐประหารในประเทศบูร์กินาฟาโซ กันยายน ค.ศ. 2022 30 กันยายน พ.ศ. 2565
ประธานสภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน อาบดูราอามาน ชียานี มุฮัมมัด บาซูม รัฐประหาร  ไนเจอร์ รัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
หัวหน้าคณะกรรมาธิการเพื่อการเปลี่ยนผ่านและฟื้นฟูรัฐธรรมนูญ บรีซ โคลแตร์ ออลีกี เงมา อาลี บองโก ออนดิมบา รัฐประหาร  กาบอง รัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2566 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

This article uses material from the Wikipedia ไทย article รัฐประหาร, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

รัฐประหาร ผลลัพธ์รัฐประหาร ตัวทำนายรัฐประหาร รายชื่อผู้นำจากในปัจจุบันรัฐประหาร ดูเพิ่มรัฐประหาร อ้างอิงรัฐประหาร บรรณานุกรมรัฐประหาร แหล่งข้อมูลอื่นรัฐประหารภาษาฝรั่งเศสรัฐประหารตัวเองหัวหน้ารัฐบาล

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันวิดีโอสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชเศรษฐศาสตร์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษารัฐฉานมณี สิริวรสารประเทศปากีสถานชาวมอญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถพรรคก้าวไกลเจริญ สิริวัฒนภักดีตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิมฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์พระเจ้านันทบุเรงดวงใจเทวพรหมจังหวัดสุราษฎร์ธานีภาพอาถรรพณ์เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีประเทศมัลดีฟส์ลำไย ไหทองคำเมลดา สุศรีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์พระมหากษัตริย์ไทยศาสนาอิสลาม4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชประวัติศาสตร์จีนสุจาริณี วิวัชรวงศ์จังหวัดบุรีรัมย์สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครสถานีกลางบางซื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรเพลงเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาลาลิกาสหภาพโซเวียตพระพรหมจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จังหวัดชุมพรหญิงรักร่วมเพศจิรายุ ตั้งศรีสุขวันชนะ สวัสดีบรรดาศักดิ์อังกฤษวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารสกีบีดีทอยเล็ตจังหวัดฉะเชิงเทรากรมการปกครองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งพระพุทธเจ้ายูฟ่าแชมเปียนส์ลีกพัชราภา ไชยเชื้อธนวรรธน์ วรรธนะภูติอินเทอร์เน็ตกูเกิลสฤษดิ์ ธนะรัชต์อาณาจักรสุโขทัยประเทศบังกลาเทศการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดฟุตบอลทีมชาติไทยสุรยุทธ์ จุลานนท์ประเทศกาตาร์ไทใหญ่มิเกล อาร์เตตาเซเว่น อีเลฟเว่นจังหวัดภูเก็ตชาบี อาลอนโซวัดโสธรวรารามวรวิหารสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดหีIฟุตซอลโลก 2016บยอน อู-ซ็อกพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอะพอลโล 13🡆 More