ประเทศตูนิเซีย: ประเทศแอฟริกาเหนือ

ตูนิเซีย (อังกฤษ: Tunisia; อาหรับ: تونس‎; เบอร์เบอร์: Tunest; ฝรั่งเศส: Tunisie) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (อังกฤษ: Tunisian Republic; อาหรับ: الجمهورية التونسية; ฝรั่งเศส: République tunisienne) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดประเทศแอลจีเรีย และทางใต้และตะวันตกจรดประเทศลิเบีย พื้นที่ร้อยละ 40 ของประเทศประกอบด้วยทะเลทรายสะฮารา ในขณะที่ส่วนที่เหลือประกอบด้วยพื้นที่ทำกินอันอุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตูนิเซียมีพื้นที่ 163,610 ตารางกิโลเมตร (63,170 ตารางไมล์) และมีประชากร 12.1 ล้านคน ตูนิเซียประกอบด้วยแนวชายฝั่งทอดยาวบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและยังเป็นที่ตั้งของแองเจลาเคป หรือแหลมเองเจลาถือเป็นจุดเหนือสุดของทวีปแอฟริกา มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือตูนิส ซึ่งสันนิษฐานว่าชื่อประเทศถูกตั้งชื่อตามชื่อเมืองตูนิส ตูนิเซียยังมีชื่อเสียงในด้านเมืองโบราณคาร์เธจซึ่งเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงเมืองอัลก็อยเราะวานที่มีสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ตูนิเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

สาธารณรัฐตูนิเซีย

الجمهورية التونسية (อาหรับ)
คำขวัญحرية، كرامة، عدالة، نظام
"เสรีภาพ, เกียรติ, ความยุติธรรม, และความเป็นระบบ"
ที่ตั้งของประเทศตูนิเซียในแอฟริกาเหนือ
ที่ตั้งของประเทศตูนิเซียในแอฟริกาเหนือ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ตูนิส
36°49′N 10°11′E / 36.817°N 10.183°E / 36.817; 10.183
ภาษาราชการอาหรับ
ภาษาพูด
  • อาหรับตูนิเซีย
  • เบอร์เบอร์
  • ฝรั่งเศส (การบริหาร การค้า และการศึกษา)
กลุ่มชาติพันธุ์
อาหรับ-เบอร์เบอร์ 98%, ยุโรป 1%, ยิวและอื่น ๆ 1%
ศาสนา
อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ)
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
ก็อยส์ ซะอีด
• นายกรัฐมนตรี
Ahmed Hachani
• ประธานสภา
รอชิด อัลเฆาะนูชี
สภานิติบัญญัติAssembly of the Representatives of the People
ก่อตั้ง
814 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• อาณาจักรแวนดัล
435
• อัฆลาบิด
800
909
• ราชวงศ์ซีรีด
972
• ราชวงศ์ฮัฟศิด
1207
• ราชวงศ์ฮุซัยนิด
15 กรกฎาคม ค.ศ. 1705
• เป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
20 มีนาคม ค.ศ. 1956
• ประกาศเป็นสาธารณรัฐ
25 กรกฎาคม ค.ศ. 1957
• รัฐประหาร
7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987
14 มกราคม ค.ศ. 2011
• ประกาศสาธารณรัฐที่ 2
10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014
พื้นที่
• รวม
163,610 ตารางกิโลเมตร (63,170 ตารางไมล์) (อันดับที่ 91)
5.04
ประชากร
• 2020 ประมาณ
11,708,370 (อันดับที่ 81)
71.65 ต่อตารางกิโลเมตร (185.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 110)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 159.707 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้น 13,417 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 44.192 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้น 3,713 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (2017)35.8
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.740
สูง · อันดับที่ 95
สกุลเงินดีนาร์ตูนิเซีย (TND)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+216
โดเมนบนสุด
  • .tn
  • .تونس

ในสมัยโบราณ ดินแดนของตูนิเซียเป็นที่อยู่อาศัยของชนเบอร์เบอร์ กลุ่มชาติพันธุ์โบราณที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงอียิปต์ และจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงแม่น้ำไนเจอร์ ก่อนที่ฟินิเชียจะเริ่มเดินทางมาถึงในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชโดยตั้งถิ่นฐานหลายแห่ง และมีคาร์เธจเป็นเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงเวลานั้น คาร์เธจกลายเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองด้านการค้าและมีสถานะเป็นคู่แข่งทางด้านการทหารกับสาธารณรัฐโรมันจนถึง 146 ปีก่อนคริสตกาล ความพ่ายแพ้ในสงครามส่งผลให้ดินแดนทั้งหมดถูกยึดครองโดยชาวโรมันเป็นระยะเวลากว่า 800 ปี ศาสนาคริสต์รวมถึงอารยธรรมตะวันตกเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คน และได้ทิ้งมรดกทางสถาปัตยกรรมเอาไว้ เช่น สนามกีฬาเอลเจม ในคริสตศตวรรษที่ 7 ชาวอาหรับมุสลิมได้ยึดครองดินแดนทั้งหมด (ประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 697 หลังจากเริ่มต้นในปี 647) และตั้งถิ่นฐานร่วมกับชนเผ่าท้องถิ่นจำนวนมาก ด้วนเหตุนี้เอง ศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมมุสลิมเริ่มเข้ามามามีบทบาทในท้องถิ่น และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอาหรับก็กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ต่อมาใน ค.ศ. 1546 จักรวรรดิออตโตมันขยายอำนาจและเข้ามายึดครองบริเวณนี้เป็นเวลา 300 ปีกระทั่งสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1881 ด้วยการยึดครองโดยฝรั่งเศส ก่อนที่จะได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1956 ในฐานะสาธารณรัฐตูนิเซียภายใต้การนำของฮาบิบ เบอร์กุยบา ผู้ซึ่งกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกในเวลาต่อมา

ตูนิเซียต้องเผชิญความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาภายในหลายด้านนำไปสู่การปฏิวัติใน ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นการโค่นล้มประธานาธิบดีซึ่งครองอำนาจมายาวนานกว่าสองทศวรรษอย่าง ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี และยังปลุกกระแสอาหรับสปริงไปทั่วภูมิภาค มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยระหว่าง ค.ศ. 2014–20 ตูนิเซียได้รับการจัดอันดับโดยอิงเกณฑ์ดัชนีประชาธิปไตยให้เป็นประเทศเดียวในโลกอาหรับที่มีฐานะเป็นรัฐประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์กอปรกับความขัดแย้งในประเทศที่ยังมีอยู่เนือง ๆ ในปัจจุบันนักวิชาการจึงถือว่าตูนิเซียมีระบบการเมืองแบบลูกผสม

ตูนิเซียเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีอันดับสูงสุดในดัชนีการพัฒนามนุษย์ โดยมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีป โดยอยู่ในอันดับที่ 129 ในด้านรายได้อัตราจีดีพี ภาษาราชการของประเทศคือภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ในขณะที่ภาษาอาหรับตูนิเซียเป็นภาษาพูดที่ใช้แพร่หลายที่สุด โดยภาษาฝรั่งเศสมีบทบาทในด้านการศึกษา และสถานที่สาธารณะในบางบริบททว่าไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับและมุสลิม โดยมีชาวคริสเตียนกระจายตัวอยู่บ้างในบางภูมิภาค ตูนิเซียได้รับการยอมรับจากนานาชาติและมีส่วนร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น สหประชาชาติ, องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส, สันนิบาตอาหรับ, องค์การความร่วมมืออิสลาม, สหภาพแอฟริกา, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, ศาลอาญาระหว่างประเทศ และ กลุ่ม 77 และยังมีความสัมพันธ์ทางการเมืองและการค้าที่ใกล้ชิดกับบางประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส และ อิตาลี เนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ตูนิเซียยังมีข้อตกลงสมาคมกับสหภาพยุโรป และได้รับสถานะเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐ

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศตูนิเซีย: ประเทศแอฟริกาเหนือ 
เขตการปกครองของตูนิเซีย

ประเทศตูนิเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตผู้ว่าการจำนวน 24 เขต ดังนี้

หมายเลข เขตผู้ว่าการ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ
1 อัรยานะฮ์ Ariana أريانة
2 บาญะฮ์ Béja باجة
3 บินอะรูส Ben Arous بن عروس
4 บันซัรต์ Bizerte بنزرت
5 กาบิส Gabès ڨابس
6 กัฟเศาะฮ์ Gafsa ڨفصة
7 ญันดูบะฮ์ Jendouba جندوبة
8 กอยร์วาน Kairouan قيروان
9 อัลกอศรีน Kasserine الڨصرين
10 กิบิลี Kebili ڨبلي
11 อัลกาฟ Kef الكاف
12 อัลมะดียะฮ์ Mahdia المهدية
13 มันนูบะฮ์ Manouba موبنة
14 เมดนีน Medenine مدنين
15 อัลมุนัสตีร Monastir المنستير
16 นาบิล Nabeul نابل
17 เศาะฟากิส Sfax صفاقس
18 ซีดิบูซีด Sidi Bouzid سيدي بوزيد
19 ซิลยานะฮ์ Siliana سليانة
20 ซูซะฮ์ Sousse سوسة
21 ตะฏอวีน Tataouine تطاوين
22 เตาซัร Tozeur توزر
23 ตูนิส Tunis تونس
24 ซัฆวาน Zaghouan زغوان

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

34°N 9°E / 34°N 9°E / 34; 9

Tags:

คาร์เธจตูนิสทะเลทรายสะฮาราทะเลเมดิเตอร์เรเนียนบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนประเทศลิเบียประเทศแอลจีเรียภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษภาษาอาหรับยูเนสโกอัลก็อยเราะวานแหล่งมรดกโลกแอฟริกา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

แบมแบมจักรพรรดิคังซีมหาวิทยาลัยกรุงเทพจังหวัดระยองบยอน อู-ซ็อกนิวจีนส์ภาวะโลกร้อนนิภาภรณ์ ฐิติธนการจังหวัดชุมพรรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)การ์ลัส ปุดจ์ดาโมนคันนะ ฮาชิโมโตะทวิตเตอร์4 KINGS อาชีวะ ยุค 90เบบีมอนสเตอร์พระศรีอริยเมตไตรยแอนยา เทย์เลอร์-จอยภาษาไทยนกกะรางหัวขวานประเทศอิสราเอลบิ๊กแอสอรรถกร ศิริลัทธยากรอนิเมะธนนท์ จำเริญจักรพงษ์ แสงมณีตะวัน วิหครัตน์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพจิรายุ ตั้งศรีสุขวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์มิเกล อาร์เตตาดวงอาทิตย์ไค ฮาเวิทซ์ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองวัดโสธรวรารามวรวิหารโลก (ดาวเคราะห์)สุพิศาล ภักดีนฤนาถฟุตซอลโลก 2021พรหมวิหาร 4อักษรลาวรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยพระพุทธชินราชจังหวัดสมุทรปราการธนาคารแห่งประเทศไทยการ์ตูนบุพเพสันนิวาสสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวแมวมิถุนายนกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ประเทศบังกลาเทศสมณศักดิ์รามาวดี นาคฉัตรีย์เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยพัชรวาท วงษ์สุวรรณลวรณ แสงสนิทกระทรวงในประเทศไทยคิม ซู-ฮย็อนไคลี เจนเนอร์จ๊ะ นงผณีศรีรัศมิ์ สุวะดีอัสซะลามุอะลัยกุมรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยวันมูหะมัดนอร์ มะทาประเทศไทยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีเจาะมิติพิชิตบัลลังก์รายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบหม่ำ จ๊กมกพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถชาลี ไตรรัตน์ช่อง 3 เอชดีพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใบแดงรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)🡆 More