มณี สิริวรสาร

คุณหญิงมณี สิริวรสาร หรือเดิมคือ หม่อมมณี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา มีชื่อแต่แรกเกิดว่า มณี บุนนาค หรือ มณี เซเนียร์ บุนนาค (อักษรโรมัน: Mani Xenier Bunnag; เกิด: 22 กันยายน พ.ศ.

2458 — ถึงแก่อนิจกรรม: 27 กันยายน พ.ศ. 2542) อาจารย์และนักสังคมสงเคราะห์ชาวไทย อดีตพระสุณิสาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ด้วยท่านเคยสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


มณี สิริวรสาร

มณี สิริวรสาร
เกิดมณี เซเนียร์ บุนนาค
22 กันยายน พ.ศ. 2458
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต27 กันยายน พ.ศ. 2542 (84 ปี)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพอาจารย์, นักสังคมสงเคราะห์
คู่สมรส
บุตร
  • หม่อมราชวงศ์เดชนศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
  • หม่อมราชวงศ์ทิม ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
  • หม่อมราชวงศ์อรมณี ภาณุพันธุ์
บิดามารดาพระยาราชานุประพันธ์ (เปีย บุนนาค)
คุณหญิงดอรีส วินดั้ม ราชานุประพันธ์

และเธอเป็นผู้เขียนหนังสือ ชีวิตเหมือนฝัน ซึ่งเป็นหนังสือที่บรรยายเหตุการณ์ช่วงปลายพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ค่อนข้างละเอียด

ประวัติ

ชีวิตตอนต้นและการศึกษา

คุณหญิงมณีมีชื่อแต่แรกเกิดว่ามณี เซเนียร์ บุนนาค เกิดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นธิดาของอำมาตย์ตรี พระยาราชานุประพันธ์ (เปีย บุนนาค) ราชทูตไทยประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เกิดแต่ภรรยาชื่อ ดอรีส วินดั้ม สตรีชาวอังกฤษ (ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของคุณหญิงมณี ระบุนามมารดาว่า ดอริส เกรซ เฟลโต้ พาวเวอร์ ราชานุประพันธ์) คุณหญิงมณีเป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) มีพี่ชายร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียว คือ อุทัย ภานุวงศ์ และมีพี่ชายและพี่สาวต่างมารดา 10 คน

พ.ศ. 2460 เมื่อพระยาราชานุประพันธ์ (เปีย บุนนาค) พาครอบครัวกลับประเทศไทย ได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านที่ได้รับพระราชทานที่ถนนสี่พระยา ซอยแพรกบ้านใน หลังวัดมหาพฤฒาราม (วัดตะเคียน)

หลังจากบิดาถึงแก่อนิจกรรมได้เข้าเรียนต่อเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนเซนต์แมรีส์ เอส.พี.จี. ซึ่งเป็นโรงเรียนมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ มีอาจารย์ใหญ่เป็นชาวอังกฤษ เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว ได้สอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียง 2 ปี พ.ศ. 2478 สอบชิงทุนของ ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) ในแผนกอักษรศาสตร์ ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ และสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

สมรสครั้งแรก

มณีพบรักกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต หรือนามที่ทรงแนะนำตัวแก่มณีว่า "เจรี่" ที่ศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักรเหมือนกัน ความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงนำไปสู่การหมั้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2481 และมีพิธีเสกสมรสจัดขึ้นที่สถานทูตไทยในกรุงลอนดอน โดยมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ด้วยเหตุนี้มณีจึงได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดหลังจากร่ำเรียนมาได้สองปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเซ็นเช็กจ่ายเงินค่าทุนการศึกษาของหม่อมมณีแก่รัฐบาลไทย เพราะหม่อมมณียังไม่ใช้ทุนคืน

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตและหม่อมมณี มีพระโอรสด้วยกัน 2 คน ซึ่งผู้สืบสันดานได้รับพระราชทานนามสกุล ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์ ณ อยุธยา คือ

  1. หม่อมราชวงศ์เดชนศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ (เกิด กลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2482) สมรสกับสมคิด ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม มีทองแสน) มีบุตร 1 คน คือ
    1. หม่อมหลวงศักดิเดชน์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
  2. หม่อมราชวงศ์ทิม ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ (ชื่อเดิม หม่อมราชวงศ์ทินศักดิ์; เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2485) สมรสครั้งที่สองกับศิริกาญจน์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศรีกาญจนา) มีบุตร 2 คน และบุตรบุญธรรม 1 คน คือ
    1. ศีกัญญา ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ (บุตรบุญธรรมซึ่งเกิดจากศิริกาญจน์กับอดีตสามี)
    2. หม่อมหลวงศรุศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
    3. หม่อมหลวงเพ็ทรา ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ (ชื่อเดิม หม่อมหลวงศิริณี)

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ทำงานกับบริษัท A.T.A. ทำหน้าที่ขับเครื่องบิน และเป็นเสรีไทยในประเทศอังกฤษอีกด้วย จนทำให้พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตสิ้นพระชนม์เนื่องจากทรงขับเครื่องบิน และเครื่องตกที่ประเทศสก๊อตแลนด์ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติหน้าที่

สมรสครั้งที่สอง

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระภัสดาคนแรก ปีถัดมาหม่อมมณีได้เข้าเสกสมรสครั้งที่สองกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐาร่วมครรโภทรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต มีพระธิดาเพียงคนเดียว คือ

  1. หม่อมราชวงศ์อรมณี นิเวศน์มรินทร์ หรือ คุณหญิงออร่า (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486) สมรสครั้งแรกกับ พันตำรวจโท จุมพล นิลวัฒนานนท์ และครั้งที่สองกับวัฒนา นิเวศน์มรินทร์ มีบุตรจากการสมรสครั้งแรกสองคน และครั้งที่สองหนึ่งคน

และในปี พ.ศ. 2490 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ได้พาครอบครัวกลับประเทศไทย เมื่อหม่อมมณีกลับมาอยู่ประเทศไทย ได้ไปทำงานในตำแหน่งอาจารย์พิเศษสอนภาษาอังกฤษที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามคำเชิญชวนของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตรซึ่งเป็นอาจารย์หัวหน้าภาควิชาในขณะนั้น หลังจากหย่ากับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์แล้ว จึงลาออกจากอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มาสร้างบ้านหลังใหม่อยู่ที่ถนนเพลินจิต รับงานแปลบทความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษให้กับสำนักงานข่าวสารอเมริกัน

สมรสครั้งที่สามและบั้นปลาย

ต่อมาหม่อมมณีได้กลับไปพักที่ประเทศอังกฤษเพื่อเยี่ยมมารดาและบุตรที่ศึกษาอยู่ที่นั่น ได้ทำงานในตำแหน่งหัวหน้าแผนกส่งวิทยุกระจายเสียงภาคภาษาไทยให้สถานีวิทยุบีบีซีอยู่ประมาณ 1 ปี จึงกลับเมืองไทย พ.ศ. 2503 ได้เข้าพิธีสมรสใหม่กับพลตรี นายแพทย์ ปชา สิริวรสาร และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันถึง 23 ปี มีบุตรบุญธรรมด้วยกันสองคนคือ ภาณุพล และภาณินี สิริวรสาร ซึ่งเป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์อรมณีที่เกิดกับสามีคนแรก จนนายแพทย์ ปชาถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 2526

คุณหญิงมณีถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 84 ปี

ชีวิตส่วนตัว

คุณหญิงมณีเมื่อครั้งเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เคยมีใจโอนอ่อนที่จะเข้ารีตไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่ถูกพระยาราชานุประพันธ์ผู้บิดาทัดทานอย่างแข็งขันและบังคับให้ลาออกจากโรงเรียนเดิมเสีย หลังการมรณกรรมของบิดา คุณหญิงมณีได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเซนต์แมรีส์ เอส.พี.จี. คุณหญิงมณีได้ตัดสินใจเข้ารีตนิกายโปรเตสแตนต์ ตามที่ครูผู้สอนให้คำแนะนำให้กอปรกับความศรัทธาในพระเยซูของเธอ แต่ต่อมาภายหลังคุณหญิงมณีเห็นว่าความคิดเดิมของตนนั้นงมงาย จึงเปลี่ยนกลับมานับถือศาสนาพุทธตามเดิม และปฏิบัติตนตามคำสอนทางพุทธศาสนาเรื่อยมา

งานสาธารณประโยชน์

คุณหญิงมณีและพลตรีนายแพทย์ ปชา สิริวรสารได้บริจาคทรัพย์สร้างตึกผู้ป่วยด้วย โรคหู คอ จมูก เป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องผ่าตัดทันสมัย มอบให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชื่อตึกว่า "ตึกศักดิเดชน์" ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดตึกนี้ เมื่อ พ.ศ. 2514 ต่อมาได้บริจาคทรัพย์ส่วนหนึ่งร่วมสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่จังหวัดจันทบุรี และมอบเงินให้แก่กรมแพทย์ทหารบก จำนวน 1 ล้านบาทเป็นทุนจัดตั้งมูลนิธิ "ศักดิเดชน์" เพื่อจัดหาเครื่องมือแพทย์และใช้ในการดูแลบำรุงรักษาอาคารด้วย จัดตั้งมูลนิธิถวายไว้ที่วัดราชบพิธ เพื่อใช้ดอกผลเป็นปัจจัย 4 ถวายพระสงฆ์โดยสมทบทุนทุกปี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้คุณหญิงมณียังได้ช่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์ตามสมาคมสตรีต่าง ๆ และเป็นกรรมการอยู่หลายสมาคม ทั้งยังช่วยหาเงินปลูกสร้างอาคารให้กับมูลนิธิสตรีอุดมศึกษาจนเป็นผลสำเร็จและยังใช้เป็นอาคารที่ทำงานของมูลนิธิฯ และสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Tags:

มณี สิริวรสาร ประวัติมณี สิริวรสาร ชีวิตส่วนตัวมณี สิริวรสาร งานสาธารณประโยชน์มณี สิริวรสาร เครื่องราชอิสริยาภรณ์มณี สิริวรสาร อ้างอิงมณี สิริวรสารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตอักษรละติน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

นิโคลัส มิคเกลสันทาสสุดแกร่งแห่งหน่วยป้องกันอสูรมหาวิทยาลัยขอนแก่นโช กยู-ซ็อง4 KINGS อาชีวะ ยุค 90บิ๊กแอสนักเตะแข้งสายฟ้านริลญา กุลมงคลเพชรโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีเดมี มัวร์การ์ลัส ปุดจ์ดาโมนFace Off แฝดคนละฝาจริยา แอนโฟเน่ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์คุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายจุดทิศหลักทวิตเตอร์เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยกูเกิล แปลภาษาบอดี้สแลมฮันเตอร์ x ฮันเตอร์กองอาสารักษาดินแดนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์จรินทร์พร จุนเกียรติเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสถาบันพระบรมราชชนกต่าย อรทัยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษากฤษดา สุโกศล แคลปป์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติบรูโน มาส์ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษโรงเรียนสตรีวิทยาฮ่องกงพระพุทธชินราชประเทศสวีเดนพจมาน ณ ป้อมเพชรปานวาด เหมมณีประเทศเช็กเกียการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)ภาษาเขมรสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมาซาตาดะ อิชิอิจังหวัดหนองบัวลำภูสถานีกลางบางซื่อหอแต๋วแตกเจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ธนินท์ เจียรวนนท์หีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)นิษฐา คูหาเปรมกิจเซี่ยงไฮ้ปีนักษัตรจังหวัดกาญจนบุรีสล็อตแมชชีนนกกะรางหัวขวานจีเอ็มเอ็มทีวีรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDพระพรหมดราก้อนบอลธีรเทพ วิโนทัยสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สโมสรฟุตบอลโอเดนเซโดราเอมอนควยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดพิษณุโลกพระโคตมพุทธเจ้าพิชชาภา พันธุมจินดาสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)ประเทศอิสราเอลวินัย ไกรบุตรรายชื่อสัตว์ธีรศิลป์ แดงดาสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง🡆 More