สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา (สเปน: Isabel I de Castilla; 22 เมษายน พ.ศ.

1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากชาวมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน (สเปน: España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรกัสติยา ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก

อิซาเบลที่ 1
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา
พระบรมสาทิสลักษณ์ เมื่อ ค.ศ.1490
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออน
ครองราชย์11 ธันวาคม 1474 – 26 พฤศจิกายน 1504
(29 ปี 351 วัน)
ราชาภิเษก13 ธันวาคม 1474
ก่อนหน้าเอนริเกที่ 4
ถัดไปฆัวนา และ เฟลิเปที่ 1
ผู้ร่วมในราชสมบัติเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน
สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน
บาเลนเซีย, มายอร์กา, ซาร์ดิเนีย
เคาน์เตสแห่งบาร์เซโลนา
ระหว่าง20 มกราคม 1479 – 26 พฤศจิกายน 1504
สมเด็จพระราชินีแห่งซิซิลี
สมเด็จพระราชินีแห่งเนเปิลส์
ระหว่าง
  • 19 ตุลาคม 1469 - 26 พฤศจิกายน 1504 (ซิซิลี)
  • 31 มีนาคม 1504 – 26 พฤศจิกายน 1504 (เนเปิลส์)
พระราชสมภพ22 เมษายน ค.ศ. 1451
มาดริกัลเดลัสอัลตัสตอร์เรส สเปน
สวรรคต26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 (53 พรรษา)
เมดินาเดลกัมโป สเปน
คู่อภิเษกพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน
พระราชบุตรอิซาเบลแห่งอัสตูเรียส สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียส
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา
มาเรียแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
กาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ
ราชวงศ์ราชวงศ์ตรัสตามารา
พระราชบิดาพระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีอิซาเบล
ลายพระอภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา

ช่วงต้นของชีวิต

พระนางอิซาเบลเสด็จพระราชสมภพที่เมืองมาดริกัลเดลัสอัลตัสตอร์เรส ประเทศสเปน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 1994 หลังจากนั้น 3 ปี พระอนุชา คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสได้ประสูติตามมา เมื่อพระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา พระบิดา เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1997 พระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา พระเชษฐาต่างพระมารดา ได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ได้เนรเทศพระนางและพระอนุชาไปที่เมืองเซโกเบียและเนรเทศพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลไปที่เมืองอาเรบาโล การสมรสครั้งแรกของพระเจ้าเอนริเก (สมรสกับสมเด็จพระราชินีบรานซ์แห่งนาวาร์) ไม่ค่อยราบรื่น จากนั้นได้สมรสกับสมเด็จพระราชินีฌูอานาแห่งโปรตุเกส พระเจ้าเอนริเกถูกกล่าวหาว่าทรงเป็นผู้รักร่วมเพศ พระนางฌูอานาได้ให้กำเนิดพระธิดาคือเจ้าหญิงฆัวนาแห่งกัสติยา เมื่อพระนางอิซาเบลมีพระชนมายุได้ 10 พรรษา พระนางและพระอนุชาได้ถูกเรียกตัวมาที่พระราชสำนักเพื่อให้อยู่ใต้การคุมพระองค์เข้มงวดขึ้น เหล่าขุนนางได้เรียกร้องให้พระเจ้าเอนริเกตั้งเจ้าชายอัลฟอนโซเป็นรัชทายาท พระองค์ก็ทรงยินยอมโดยให้เจ้าชายสมรสกับบุตรีของพระองค์ แต่ไม่กี่วันพระองค์ก็เปลี่ยนพระทัย

เหล่าขุนนางภายใต้เจ้าชายอัลฟอนโซได้เรียกร้องให้เจ้าชายทวงพระราชบัลลังก์คืน และได้สู้รบกับพระเจ้าเอนริเกในยุทธการที่โอลเมโด พ.ศ. 2010 ผลการสู้รบเสมอกัน 1 ปีให้หลังเจ้าชายอัลฟอนโซได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยพระชันษา 14 ชันษา และเจ้าหญิงอิซาเบลก็ได้กลายเป็นความหวังสุดท้ายของเหล่าขุนนางฝ่ายเจ้าชายอัลฟอนโซ แต่พระนางปฏิเสธที่จะบัญชาการ ในที่สุดพระเจ้าเอนริเกที่ 4 ยินยอมให้เจ้าหญิงอิซาเบลเป็นทายาทครองราชบัลลังก์อย่างแท้จริง และหลังจากนั้นเจ้าหญิงฆัวนาจึงเป็นต้นตระกูลของพระราชบิดาต่อมา ใน พ.ศ. 2018 เจ้าหญิงฆัวนาได้สมรสกับพระปิตุลาของพระนางเองซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกส แต่การสมรสนี้ในภายหลังถูกสมเด็จพระสันตะปาปาห้ามเพราะเป็นการสมรสกันในเครือญาติ พระเจ้าเอนริเกยินยอมให้เจ้าหญิงอิซาเบลเลือกคู่สมรสของพระนางเอง พระนางได้เลือกเจ้าชายเฟร์นันโดรัชทายาทในราชบัลลังก์แห่งอารากอน พระนางทรงประทับใจในรูปโฉมของเจ้าชาย และเจ้าชายก็ทรงประทับใจพระนางเช่นกัน ทั้งสองพระองค์ได้อภิเษกสมรสกันในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2012 ที่เมืองบายาโดลิด

เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2035

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
พระนางอิซาเบล พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 และเจ้าหญิงฆัวนา พระราชธิดา ในปีพ.ศ. 2025
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
พระนางอิซาเบลกับพระเจ้าเฟร์นันโดกำลังออกขุนนาง

ปี พ.ศ. 2035 เป็นปีที่สำคัญปีหนึ่งของพระนางอิซาเบล คือ เหตุการณ์การทวงดินแดนคืนแห่งกรานาดาซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการพิชิตดินแดนคืน (reconquest) การอุปถัมภ์คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเพื่อเสาะแสวงหาดินแดนใหม่ และการขับไล่ชาวยิวและมัวร์ออกจากสเปน

กรานาดา

ราชอาณาจักรกรานาดาของชาวมุสลิมแห่งราชวงศ์นาสริดได้สามรถป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งได้จากปฏิบัติการรีคอนเควสตาของสเปน อย่างไรก็ตามก็ได้สานมิตรไมตรีกับพระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 ทั้ง 2 พระองค์ได้ใช้เวลา 10 ปีจนสามารถครองกรานาดาได้ในปี พ.ศ. 2035

เมื่อชาวสเปนได้จับสุลต่านบออับดิลสุลต่านแห่งกรานาดาและได้ปล่อยเขาเป็นอิสระจากการไถ่ตัวและให้สุลต่านปกครองกรานาดาต่อไป กษัตริย์สเปนได้เกณฑ์ทหารจากหลายประเทศทั่งยุโรปและปรับปรุงวิทยการอันล้าหลังและสร้างปืนใหญ่ การพัฒนาการเหล่านี้ทำให้สเปนประสบความสำเร็จในการรวมประเทศ ในพ.ศ. 2028ได้มีการล้อมโจมตีเมืองลอนดา เมืองนี้ก็ยอมแพ้จากการโจมตีการโจมตีโดยการใช้ระเบิดหรือปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงเป็นวงกว้าง และปีต่อมาเมืองโลจาก็ถูกยึดและเป็นอีกครั้งที่สุลต่านบออับดิลถูกจับกุมและได้รับการปล่อยตัว และปีต่อมาในการล่มสลายแห่งมาลากาทำให้อาณาจักรมุสลิมนาสริด ตะวันตกได้พ่ายแพ้ต่อสเปน ในปีพ.ศ. 2032 อาณาจักรมุสลิมนาสริด ตะวันออกก็ได้ยอมจำนนหลังจากการล่มสลายแห่งบาซา การล้อมโจมตีกรานาดาได้เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ของปีพ.ศ. 2034 เมื่อค่ายของทหารสเปนถูกทำลายจากอุบัติเหตุไฟไหม้ ค่ายก็ได้สร้างใหม่ในหินเป็นรูปทรงไม้กางเขนสีขาวชื่อว่า ซานตา เฟ (i.e. 'Holy Faith') และเมื่อจบปีนี้สุลต่านบออับดิลก็ยอมจำนน ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2035 พระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดได้เข้าเมืองกรานาดาเพื่อรับกุญแจเมือง มัสยิดต่าง ๆ ได้ถูกดัดแปลงเป็นโบสถ์ สนธิสัญญาแห่งกรานาดาได้กล่าวว่าหลังจากปีนั้นจะให้ความมั่นใจแก่ศาสนาของมุสลิม แต่ศาสนาอิสลามจะไม่คงอยู่ในสเปน

โคลัมบัส

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
ภาพแกะสลักพระนางอิซาเบลในตอนสวดแก่พระบิดาและพระมารดาที่ถูกฝังในคาร์ทูจา เดอ มิราฟอร์ที่เมืองเบอร์โก

พระนางอิซาเบลได้ปฏิเสธคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเกี่ยวกับการล่องเรือไปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดนการเดินทางไปทางตะวันตก แต่หลังจากนั้นพระนางก็ยินยอม วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2035 คณะสำรวจของโคลัมบัสได้ออกเดินทาง และถึงทวีปอเมริกาในวันที่ 12 ตุลาคม เขาได้กลับมาพร้อมสิ่งที่เขาพบมามอบแก่กษัตริย์ซึ่งเป็นของพื้นเมืองและทองคำ ทำให้ช่วงนี้เป็นยุคทองของสเปนในการสำรวจและแสวงหาอาณานิคม ในปีพ.ศ. 2037 ได้มีการทำสนธิสัญญาตอร์เดซิยัสร่ามกับพระเจ้าฌูเอาที่ 2 แห่งโปรตุเกสในการแบ่งดินแดนร่วมกันในอาณานิคมนอกยุโรป

พระนางสามารถป้องกันการโจมตีจากชนพื้นเมืองอเมริกา ในปีพ.ศ. 2046 พระนางได้จัดตั้งตำแหน่งข้าหลวงแห่งอินเดียนซี่งต่อมาเป็นสภาสูงแห่งอินดี

การขับไล่ชาวยิวและชาวมุสลิม

เมื่อศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแพร่หลายในสเปน และโตมัส เด ตอร์เกมาดา นักบวชคณะดอมินิกันสมาชิกชั้นสูงคนแรกของคณะ กษัตริย์คาทอลิกจึงได้ทำให้คาทอลิกเป็นเอกภาพ พระนางอิซาเบลจึงต่อต้านความเป็นอยู่ของชาวยิวที่ร่ำรวยจนเกินชาวคาทอลิก โตมัส เด ตอร์เกมาดาได้ทำการโน้มน้าวพระเจ้าเฟร์นันโดให้คล้อยตามด้วย ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2035 พระราชกฤษฎีกาอาลัมบราได้สั่งให้ขับไล่ชาวยิวจำนวน 200,000 คนออกจากสเปน ส่วนคนที่เหลืออยู่บังคับให้เปลี่ยนศาสนา ส่วนชาวมุสลิมในกรานาดาต้องการเสรีภาพในการนับถือศาสนาและได้ก่อกบฏ ชาวยิวคนหนึ่งผู้ซึ่งไม่ต้องถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาคือ ลุยส์ เด ซันตังเฆล ผู้ซึ่งเป็นข้าหลวงการคลังของพระราชาและพระราชินีและเขาเป็นผู้ช่วยในการสำรวจโลกใหม่

บั้นปลายชีวิต

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
เอกสารในเมืองกรานาดาที่มีลายพระหัตถ์ของพระนางอิซาเบล
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
ภาพพระนางอิซาเบลในช่วงบั้นปลาย

พระนางอิซาเบลและพระสวามีทรงได้รับถวายพระสมัญญา พระมหากษัตริย์คาทอลิก จากสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ให้เป็นคาทอลิกในทางโลกแต่พระนางไม่ยอมรับ ในตลอดการครองราชสมบัติของพระองค์ทำให้สเปนเจริญและเป็นอาณานิคมทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเฟื่องฟู หลังจากการปฏิวัติใน พ.ศ. 2042 สนธิสัญญาแห่งกรานาดาถูกเลิกใช้ ชาวมุสลิมต้องทำการล้างบาปแบบศาสนาคริสต์หรือไม่ก็ถูกขับไล่ออกจากประเทศ ฟรันซิสโก ฆิเมเนซ เด ซิสเนโรส อาร์ชบิชอปแห่งโตเลโดได้ทำการคืนศาสนาคริสต์กลับสู่สเปนและการเป็นผู้มีอิทธิพลมากในสเปน

พระนางและพระสวามีได้สร้างอาณาจักรและสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น ๆ ด้วยการนำโอรสและธิดาไปสมรสกับบุตรของเจ้าแคว้นอื่นโดยเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรียก่อตั้งสายราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เจ้าหญิงอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสและเจ้าหญิงฆัวนา อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา แต่ความคิดของพระนางอิซาเบลล้มเหลวเพราะเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสได้สิ้นพระชนม์หลังการอภิเษกไม่นาน สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสได้สวรรคตหลังให้กำเนิดโอรส และพระโอรสก็สิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 2 ชันษา เจ้าหญิงฆัวนาก็มีปัญหาในการอภิเษกสมรส และพระธิดา เจ้าหญิงกาตาลินาแห่งอารากอนได้กลายเป็นพระมเหสีองค์ที่ 1 ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระนางได้ให้กำเนิดพระธิดาคือ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ พระนางอิซาเบลเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2047 ที่เมดินาเดลกัมโป ก่อนที่พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยากับพระเจ้าเฟร์นันโดเป็นศัตรูกัน

พระนางอิซาเบลได้ถูกฝังพระศพที่เมืองกรานาดาในกาปิยาเรอัล ที่สร้างขึ้งโดยพระนัดดาคือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระศพอยู่คู่กับพระศพของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระสวามี พระศพของพระนางฆัวนาพระธิดาและพระเจ้าเฟลิเป พระสวามีของพระนางฆัวนา และพระนัดดาซึ่งเป็นบุตรของสมเด็จพระราชินีอิซาเบล พระธิดาคือ เจ้าชายมิเกล

พระราชินีนาถอิซาเบลกับการปกครองสมัยใหม่และการศาสนา

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
ภาพ Madonna of the Catholic Monarchs โดยเฟร์นันโด กาเยโก

ชาวคาทอลิกบางคนจากต่างประเทศได้ประกาศให้พระนางอิซาเบลเป็นนักบุญ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระนางอิซาเบลได้ทำการปกป้องศาสนาคริสต์ให้คงอยู่ คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้ยกย่องพระนางเป็น ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า (Servant of God)

พระนางอิซาเบลได้มีการปรากฏชื่อครั้งแรกบนเหรียญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหรียญแห่งการระลึกถึงการครบรอบ 400 ปีการเดินทางของโคลัมบัสครั้งแรก และในปีเดียวกันพระนางได้เป็นสตรีคนแรกที่ได้ขึ้นบนแสตมป์ของอเมริกาซึ่งอยู่ในชุด Columbian Issue ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองแด่โคลัมบัสเช่นกัน ภาพพระนางได้ปรากฏในสเปนที่ 15-cent Columbian บนมูลค่า 1 $ และในภาพเต็มซึ่งด้านข้างคือโคลัมบัสและบนมูลค่าอื่น ๆ อีกมากมาย

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
รูปปั้นพระนางอิซาเบลที่เมืองกรานาดา
  • เรื่อง Queen's Cross แต่งในศตวรรษที่ 20 โดยนักเขียนชาวอเมริกัน ลอร์เลนซ์ สคูโนเวอร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระราชินีนาถอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดในช่วงกระทำการรีคอนเควสตาและช่วงทายาทสืบราชวงศ์
  • เรื่อง Fuente Ovejuna ของโลป เดอ เวกา เกี่ยวกับพระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดในการการต่อต้านระบบฟิวดัลของกลุ่มขุนนาง
  • เรื่อง Royal Diaries เป็นเรื่องที่รวบรวมประวัติของสตรีสูงศักดิ์และมีชื่อเสียงทั่วโลกซึ่งรวมทั้ง Isabel, Jewel of Castilla, Spain, 1466 โดยคาโลลีน เมเยอร์ประวัติของพระราชินีนาถอิซาเบล
  • เรื่อง Crown of Aloes เกี่ยวกับการชวนให้ระลึกถึงประวัติศาสตร์ในอดีต
  • เรื่อง Pastwatch: The Redemption of Christopher Columbus โดย ออสัน สกอต การ์ดเกี่ยวกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟอร๋ดินานด์
  • เรื่องสั้น Christopher Columbus and Queen Isabella of Spain Consummate Their Relationship โดย ซัลแมน รัชดี
  • ในภาพยนตร์ ลอลา ฟลอเรสแสดงเป็นพระนางอิซาเบลในเรื่อง Juana la Loca, de vez en cuando แสดงโดย ซิกจวนนีย์ เวฟเวอร์ในเรื่องConquest of Paradise ของ ริดลีย์ สก็อตต์ แสดงโดยราเชล วาร์ดในเรื่อง Christopher Columbus: The Discovery แสดงโดย ราเชล เวล์สในเรื่อง The Fountain
  • ในมินิซีรีส์ โดย เฟย์ ดูนาเวย์แสดงเป็นพระนางอิซาเบลในมินิซีรีส์เรื่อง Christopher Columbus
  • ในเกมส์คอมพิวเตอร์ ปรากฏในเกมส์ Civilization IVโดยเป็นผู้นำของจักรวรรดิสเปน
  • ในเกมส์ Age of Empires IIIโดยเป็นผู้นำของจักรวรรดิสเปน
  • ในเกมส์เชิงกลยุทธ์อิงประวัติศาสตร์ Europa Universalis IV พระนางเป็นผู้ปกครองราชบัลลังก์กัสติยา ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1474 เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชบัลลังก์อารากอน ในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1479 และเป็นผู้ปกครองร่วมของรัฐร่วมประมุข ระหว่างคาสติลและอารากอน ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1479

บรรพบุรุษ

พระนางอิซาเบลทรงเป็นลูกหลานของพระเจ้าเอนริเกที่ 2 แห่งกัสติยา พระราชโอรสในพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11 แห่งกัสติยา กับนางเอเลนอร์แห่งกัสแมน พระสนม สมเด็จพระราชินีแคทเทอรีนแห่งแลงคัสเตอร์ พระอัยยิกาฝ่ายพระบิดาของพระนางเป็นพระนัดดาของพระเจ้าปีเตอร์แห่งกัสติยากับพระสนม นางมาเรีย เดอ พาดิลลา พระอัยยิกาผ่ายพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งบรากังซาเป็นพระธิดาในดยุคอัลฟอนโซแห่งบรากังซาผูซึ่งพระมารดาคือ นางอินเนส เปเรส เอสเทเวสเป็นพระสนมในพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส

พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบล
อิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา พระราชบิดา:
จอห์นที่ 2 แห่งกัสติยา
พระอัยกาฝ่ายพระราชบิดา:
เฮนรีที่ 3 แห่งกัสติยา
พระปัยกาฝ่ายพระราชบิดา:
จอห์นที่ 1 แห่งกัสติยา
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา:
เอเลนอร์แห่งอารากอน
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา:
แคทเทอรีนแห่งแลงคัสเตอร์
พระปัยกาฝ่ายพระราชบิดา:
ดุ๊กจอห์นแห่งแลงคัสเตอร์
พระปัยยิกาฝ่ายพระบิดา:
ดัสเซสคอนสแตนต์แห่งแลงคาสเตอร์
พระราชมารดา:
อีซาแบลแห่งโปรตุเกส
พระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา:
ลอร์ดฌูเอาแห่งรือเก็งกุช
พระปัยกาฝ่ายพระราชมารดา:
ฌูเอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา:
ฟิลิปปาแห่งแลงคัสเตอร์
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา:
อีซาแบลแห่งบรากังซา
พระปัยกาฝ่ายพระราชมารดา:
ดุ๊กอาฟงซูแห่งบรากังซา
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา:
เบอาตริช ปือไรรา อัลวิง

ภาพ

อ้างอิง

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ถัดไป
พระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
พระมหากษัตริย์กัสติยาและเลออน
(ราชวงศ์ตรัสตามารา)
ร่วมราชบัลลังก์กับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2

(พ.ศ. 2017พ.ศ. 2047)
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาร่วมกับเจ้าชายเฟลิเปรูปงาม
สมเด็จพระราชินีฆัวนา เอนริเกซ สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
สมเด็จพระราชินีแห่งซิชิลี
(พ.ศ. 2012พ.ศ. 2047)
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  สมเด็จพระราชินีเจอร์แมนแห่งฟออิกซ์
ว่าง สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน, มาจอร์กา และบาเลนเซีย และเคาน์เตสแห่งบาร์เซโลนา
(พ.ศ. 2022พ.ศ. 2047)
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  ว่าง
สมเด็จพระราชินีแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
สมเด็จพระราชินีแห่งเนเปิลส์
(พ.ศ. 2047)
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  ว่าง
เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งกัสติยา สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา 
เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส
(พ.ศ. 2011พ.ศ. 2017)
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา  อิซาเบล เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส

Tags:

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ช่วงต้นของชีวิตสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2035สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา บั้นปลายชีวิตสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา พระราชินีนาถอิซาเบลกับการปกครองสมัยใหม่และการศาสนาสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ในวัฒนธรรมสมัยนิยมสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา บรรพบุรุษสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ภาพสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา อ้างอิงสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา22 เมษายน26 พฤศจิกายนกรานาดาคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิสเปนทวีปอเมริกาพ.ศ. 1994พ.ศ. 2047พ.ศ. 2055พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนภาษาสเปนมัวร์ยุโรปราชบัลลังก์กัสติยาราชวงศ์ตรัสตามาราราชอาณาจักรกัสติยาราชอาณาจักรนาวาร์ราชอาณาจักรอารากอนศาสนาคริสต์สเปนโรมันคาทอลิก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสโมสรฟุตบอลดีนาโมมอสโกภาษาในประเทศไทยยู-พรินซ์ซีรีส์ปฏิจจสมุปบาทคัคกิ่งรักส์ คิคคิคสะระณังเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ลานีญาการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนสหภาพโซเวียตเปรม ติณสูลานนท์บรรดาศักดิ์ไทยเอฟเอคัพสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์เคลลี่ ธนะพัฒน์พฤษภาคมช้อปปี้แอนโทเนีย โพซิ้วสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรโฟร์อีฟนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ตี๋ เหรินเจี๋ยก็อดซิลล่า ปะทะ คอง17 เมษายนพรหมวิหาร 4สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงสามก๊กพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถพาทิศ พิสิฐกุลรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยประเทศเกาหลีเหนือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ. 2567จังหวัดสมุทรสาครจังหวัดนครปฐมประวัติศาสตร์ไทยมาเก๊าจังหวัดของประเทศไทยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1งูกะปะหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยธนนท์ จำเริญลี เซียนลุงเครยอนชินจังAละหมาดเผ่าเพชร เจริญสุขคือเรารักกันเนื้อคู่อยากรู้ว่าใครกูเกิลรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทคริสเตียโน โรนัลโดจักรราศีFace Off แฝดคนละฝาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกวิทยาศาสตร์การแพทย์พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์มอรมอนจังหวัดเชียงรายโรดรีกู กอยส์เข็มทิศอสมทจังหวัดราชบุรีรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกผ่าพิภพไททันรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สท้าวสุรนารีดูไบเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพเกฟิน เดอ เบรยเนอกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานสถิตย์พงษ์ สุขวิมล🡆 More