ชาร์เลอมาญ

พระเจ้าชาร์เลอมาญ (อังกฤษ: Charlemagne; ภาษาฝรั่งเศส: ) หรือ มหาราชชาร์ล นามในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (เยอรมัน: Karl der Große; ละติน: Carolus Magnus; 2 สิงหาคม ค.ศ.

748 – 28 มกราคม ค.ศ. 814) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ ค.ศ. 768 จนถึงวันสวรรคต เป็นผู้ทำให้ราชอาณาจักรแฟรงก์รวมเป็นหนึ่งเดียวและเรืองอำนาจ กองทัพของชาวแฟรงก์ได้ช่วยคุ้มครองพระสันตปาปาและกรุงโรมจากการรุกรานของประเทศลอมบาร์เดีย ทำให้ศาสนจักรโรมันคาทอลิกกลายเป็นผู้สนับสนุนราชวงศ์การอแล็งเฌียง พระองค์เข้ารับพิธีราชาภิเษกจากสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ในกรุงโรมให้เป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน เนื่องจากมีจักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ แห่งราชวงศ์อิซอเรียน เป็นจักรพรรดินีแห่งโรมัน และเป็นสตรีคนแรกที่ปกครองจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่คอนสแตนติโนเปิล โดยที่พระสันตปาปาไม่ยอมรับนาง ชาร์เลอมาญจึงเป็นจักรพรรดิองค์แรก ในนาม "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" ถือเป็นจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุโรปในสมัยกลาง

ชาร์เลอมาญ
จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน
ชาร์เลอมาญ
ชาร์เลอมาญที่มีตราเหยี่ยวดำและตราดอกลิลลีเหนือพระเศียร (ภาพโดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์)
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิการอแล็งเฌียง
ครองราชย์25 ธันวาคม 800 – 28 มกราคม 814
ราชาภิเษก25 ธันวาคม 800
มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม กรุงโรม
ถัดไปหลุยส์ผู้ศรัทธา
พระมหากษัตริย์แห่งชาวลอมบาร์ด
ครองราชย์10 กรกฎาคม 774 – 28 มกราคม 814
ราชาภิเษก10 กรกฎาคม 774
ก่อนหน้าDesiderius
ถัดไปพระเจ้าเบอร์นาร์ด
พระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์
ครองราชย์9 ตุลาคม 768 – 28 มกราคม 814
ราชาภิเษก9 ตุลาคม 768
นัวอียง
ก่อนหน้าพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย
ถัดไปหลุยส์ผู้ศรัทธา
พระราชสมภพ2 เมษายน ค.ศ. 747
อาเคิน หรือ ลีแยฌ (แอร์สตาล)
สวรรคต28 มกราคม ค.ศ. 814 (66 พรรษา)
อาเคิน ราชอาณาจักรแฟรงก์
ฝังพระศพอาสนวิหารอาเคิน
พระราชบุตร
ราชวงศ์การอแล็งเฌียง
พระราชบิดาพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย
พระราชมารดาเบรทราดแห่งล็อง
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธยชาร์เลอมาญ

ชาร์เลอมาญได้รับการขนานพระนามว่าเป็น "พระบิดาแห่งยุโรป" จากการที่ทรงรวมรวมดินแดนยุโรปตะวันตกเป็นปึกแผ่นครั้งแรกนับตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน ชาร์เลอมาญทรงเป็นผู้ริเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งเป็นยุคแห่งความเจริญทางวัฒนธรรมและปัญญาของศาสนจักรตะวันตก จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ในกาลต่อมาต่างอ้างว่าอาณาจักรของพวกเขาเป็นอาณาจักรที่สืบทอดมาจากจักรวรรดิของชาร์เลอมาญ แม้บทเพลงแห่งโรลองด์ (ฝรั่งเศส: La Chanson de Roland) วรรณกรรมภาษาฝรั่งเศสที่เก่าแก่ที่สุด ก็แต่งขึ้นโดยอ้างถึงสงครามขับไล่อาณาจักรมุสลิมของกองทัพของพระองค์

ชาร์เลอมาญเสด็จสวรรคตในค.ศ. 814 หลังจากเป็นจักรพรรดิได้ 13 ปี พระศพถูกฝังไว้ที่อาสนวิหารอาเคิน นครหลวงในขณะนั้น ทรงอภิเษกสมรสอย่างน้อยสี่ครั้งและมีพระโอรสตามกฎหมายอยู่สามองค์

พระประวัติ

ชาร์เลอมาญ 
ชาร์เลอมาญรับการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปาให้เป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน

ชาร์เลอมาญเป็นพระโอรสของพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยแห่งราชวงศ์การอแล็งเฌียง ทรงร่วมตามเสด็จในกองทัพของพระบิดาในการสู้รบในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งทำให้ราชอาณาจักรแฟรงก์แผ่ไพศาลไปอย่างกว้างไกล

ชาร์เลอมาญขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ใน ค.ศ. 768 หลังจากนั้นทรงประกอบพระกรณียกิจตามธรรมเนียมผู้นำนักรบของชาวแฟรงก์ด้วยการขยายอำนาจของอาณาจักร เริ่มด้วยการผูกมิตรกับชาวลอมบาร์ดทางตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการอภิเษกกับธิดากษัตริย์แห่งชาวลอมบาร์ด ซึ่งจะทำให้พระองค์มีสิทธิเหนืออาณาเขตของพวกลอมบาร์ดด้วย แต่ต่อมาก็เกิดความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับพวกลอมบาร์ด พระมเหสีถูกขับออกจากราชอาณาจักรแฟรงก์ พวกลอมบาร์ดยังพยายามยึดกรุงโรมและควบคุมพระสันตะปาปา ชาร์เลอมาญจึงส่งกองทัพไปช่วยพระสันตะปาปาและมีชัยชนะเหนือพวกลอมบาร์ด ราชอาณาจักรแฟรงก์จึงทำหน้าที่คุ้มครองศาสนจักรที่กรุงโรมนับแต่นั้น และพระสันตะปาปาก็ให้การรับรองชาร์เลอมาญในฐานะ "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ในพิธีราชาภิเษกโดย สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ที่มหาวิหารนักบุญเปโตรในกรุงโรม ในปี ค.ศ. 800 ซึ่งหมายถึงการยอมรับว่าชาร์เลอมาญมีฐานะเทียบเท่าจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันในสมัยโบราณและเป็นประมุขเหนือดินแดนอิตาลี ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญยังทรงขยายดินแดนไปทางตะวันตกเฉียงใต้และสเปนต่อเนื่องจากสมัยพระบิดาและยึดครองเยอรมันใต้ (รัฐบาวาเรียในปัจจุบัน)

การปกครอง

จักรพรรดิชาร์เลอมาญทรงเริ่มสร้างความมั่นคงและทำให้อาณาจักรแฟรงก์กลายเป็นอาณาจักรที่เป็นเอกภาพมากขึ้นกว่ายุคก่อน ทรงตั้งราชสำนักที่เมืองแอกซ์ลาชาแปล เริ่มการสร้างพระราชวังและอาสนวิหารอาเคิน ที่เมืองอาเคิน ในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน เป็นสัญลักษณ์ของการอุปถัมภ์ของอาณาจักรและศาสนจักรนับแต่นั้น โบสถ์วิหารได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากกรุงโรม เรียกกันว่าสถาปัตยกรรมแบบโรมาแนสก์ (Romanesque) ชาร์เลอมาญทรงส่งเสริมการศึกษาด้วยการสร้างโรงเรียนหลวง นำพระจากวาติกันมาสอนวิทยาการต่าง ๆ ทำให้ฝรั่งเศสเริ่มก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการศึกษาและอารยธรรมของยุโรปในเวลาต่อมา ชาร์เลอมาญทรงพยายามขยายพระราชอำนาจของราชสำนักไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาณาจักรผ่านการส่งข้าหลวง และการเก็บภาษี แต่เมื่อทรงสวรรคต ราชสำนักก็ไม่อาจควบคุมพื้นที่ส่วนต่าง ๆได้อย่างเต็มที่นัก กลายเป็นปัญหาสำคัญต่อการสร้างอาณาจักรที่เป็นเอกภาพในสมัยกลางหลังสวรรคต อาณาจักรของพระองค์แบ่งแยกให้แก่พระโอรส 3 พระองค์ บางส่วนอยู่ในดินแดนเยอรมนีปัจจุบัน

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. Ansegisel
 
 
 
 
 
 
 
8. แปแป็งแห่งแอร์สตัล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. Begga
 
 
 
 
 
 
 
4. ชาร์ล มาร์แตล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9. Alpaida
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10. ? Lambert, Count of Hesbaye
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. โอทรุยด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. ? Chrotlind
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. ชาร์เลอมาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. ชารีแบร์แห่งเลออน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. Bertrada of Prüm
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. แบร์ทาร์ดแห่งเลออน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

หมายเหตุ

อ้างอิง

This article uses material from the Wikipedia ไทย article ชาร์เลอมาญ, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

ชาร์เลอมาญ พระประวัติชาร์เลอมาญ การปกครองชาร์เลอมาญ พงศาวลีชาร์เลอมาญ หมายเหตุชาร์เลอมาญ อ้างอิงชาร์เลอมาญกรุงโรมคอนสแตนติโนเปิลจักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิไบแซนไทน์พระสันตปาปาภาษาละตินภาษาอังกฤษภาษาเยอรมันราชวงศ์การอแล็งเฌียงราชอาณาจักรแฟรงก์ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ดสมัยกลาง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เพลงนายกรัฐมนตรีไทยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ติ๊กต็อกรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลเซราฟิมมรรคมีองค์แปดปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)อาณาจักรล้านนายูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)ปานปรีย์ พหิทธานุกรพระเจ้านันทบุเรงทวี ไกรคุปต์มิถุนายนรายการรหัสไปรษณีย์ไทยข่าวช่อง 7HDอนาคามีอีเอฟแอลแชมเปียนชิปชลิตา ส่วนเสน่ห์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเคลียร์สุชาติ ภิญโญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์พรรษา วอสเบียนมิตร ชัยบัญชาเรวัช กลิ่นเกษรภาคตะวันออก (ประเทศไทย)พระยศเจ้านายไทยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์รัฐฉานหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญก็อตซิลลาสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สมาคมกีฬาโรมาข้าราชการไทยอาเลฆันโดร การ์นาโชมหาวิทยาลัยศรีปทุมบรรดาศักดิ์อังกฤษประวัติศาสตร์ไทยแบมแบม26 เมษายนนิพัทธ์ ทองเล็กภาคเหนือ (ประเทศไทย)ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)จีเอ็มเอ็มทีวีวันชนะ สวัสดีสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันวินทร์ เลียววาริณโลก (ดาวเคราะห์)เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)อนิเมะนพเก้า เดชาพัฒนคุณลานีญาจังหวัดชัยภูมิพิศวาสฆาตเกมส์จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีดอลลาร์สหรัฐพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ฟุตซอลโลก 2012สราลี ประสิทธิ์ดำรงราณี แคมเปนชาวมอญ4 KINGS อาชีวะ ยุค 90จังหวัดนครปฐมสหรัฐประเทศสวิตเซอร์แลนด์กกภาษาในประเทศไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกาจบัณฑิต ใจดี🡆 More