ถุงยางอนามัย

ถุงยางอนามัย (อังกฤษ: condom) เป็นอุปกรณ์ประเภทสิ่งกีดขวางที่ใช้ระหว่างร่วมเพศเพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์หรือการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีทั้งสำหรับเพศหญิงและเพศชาย เมื่อใช้อย่างถูกต้องทุกครั้งที่ร่วมเพศ ผู้หญิงที่คู่นอนใช้ถุงยางอนามัยชายมีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 2% ต่อปี โดยมีอัตราการตั้งครรภ์เมื่อใช้แบบทั่วไปอยู่ที่ 18% ต่อปี การใช้ถุงยางอนามัยลดโอกาสการติดโรคหนองในแท้, โรคหนองในเทียม, เชื้อทริโคโมแนส, เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, โรคเอดส์ และซิฟิลิส

ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยชายขณะยังไม่ได้ใช้
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดสิ่งกีดขวาง
เริ่มใช้ครั้งแรกสมัยโบราณ
ยาง: ค.ศ. 1855
ยางพารา: คริสต์ทศวรรษ 1920
โพลียูรีเทน: ค.ศ. 1994
Polyisoprene: 2008
อัตราการตั้งครรภ์ (ปีแรก, ยางพารา)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง2%
เมื่อใช้แบบทั่วไป18%
การใช้
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้สารหล่อลื่นประเภทน้ำมันทำลายถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ป้องกัน
ข้อดีไม่ต้องพบแพทย์

ถุงยางอนามัยชายควรใส่ขณะองคชาตแข็งตัวก่อนการร่วมเพศ โดยใช้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเข้าไปในร่างกายของคู่นอน ถุงยางอนามัยชายมักทำจากยางพารา หรืออาจทำจากโพลียูรีเทนหรือลำไส้แกะ ถุงยางอนามัยชายมีข้อดีตรงที่ใช้ง่าย พกพาสะดวก และมีผลข้างเคียงน้อย สำหรับผู้แพ้ยางพารา ควรใช้แบบที่ผลิตจากโพลียูเทนหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นแทน ถุงยางอนามัยสตรีมักทำจากโพลียูรีเทนและไม่สามารถใช้ซ้ำได้

การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถูกใช้มาอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1564 ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางมีตั้งแต่ ค.ศ. 1855 ตามมาด้วยที่ทำจากยางพาราในคริสต์ทศวรรษ 1920 ถุงยางอนามัยถูกจัดอยู่ในยาหลักขององค์การอนามัยโลกซึ่งรวมยาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยและเป็นที่ต้องการในระบบสุขภาพ ทั่วโลกน้อยกว่า 10% ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิด อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในประเทศพัฒนาแล้วสูงกว่าที่อื่น ในสหราชอาณาจักร ถุงยางอนามัยเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสอง (22%) และเป็นที่นิยมอันดับสามในสหรัฐอเมริกา (15%) ถุงยางอนามัยจำนวนประมาณ 6 ถึง 9 พันล้านชิ้นถูกขายในแต่ละปี

การใช้ทางการแพทย์

การคุมกำเนิด

เช่นเดียวกับวิธีคุมกำเนิดส่วนใหญ่ ประสิทธิผลของถุงยางอนามัยนั้นประเมินได้สองแบบ ประสิทธิผลจากการใช้อย่างถูกต้อง (perfect use) หรือ ประสิทธิผลของวิธี คำนวณจากคนที่ใช้ถุงยางอยามัยอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ส่วนประสิทธิผลการใช้ทั่วไป (typical use) หรือ การใช้งานจริง (Actual use) คำนวณจากผู้ใช้ถุงยางทุกคน รวมไปถึงผู้ที่ใช้อย่างผิดวิธี หรือผู้ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอยามัยในการร่วมเพศทุกครั้ง โดยทั่วไป อัตรามักมาจากการใช้ในปีแรก

อัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มผู้ใช้ถุงยางอนามัยอยู่ระหว่าง 10 ถึง 18% ต่อปี ขึ้นอยู่กับประชากรที่ศึกษา ส่วนอัตราการตั้งครรภ์เมื่อใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องอยู่ที่ 2 % ต่อปี ถุงยางอนามัยอาจใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ (เช่น การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ) เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection; STI) โดยมีประสิทธิผลในการลดโอกาสติดเชื้อทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แม้การป้องกันจะไม่สมบูรณ์แบบ ถุงยางอนามัยมีประสิทธิผลในการลดการแพร่สิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิด โรคเอดส์ เริมบริเวณอวัยวะเพศ มะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ ซิฟิลิส คลามายเดีย โรคหนองในแท้ และโรคอื่น ๆ

ถุงยางอนามัย 
ถุงยางอนามัย 
แบบจำลองถุงยางอนามัยยักษ์บน Obelisk of Buenos Aires ประเทศอาร์เจนตินา ส่วนหนึ่งของการรณรงค์วันเอดส์โลก ค.ศ. 2005

ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่นที่ได้ผลดีกว่า เช่น ห่วงอนามัย เมื่อต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อ้างอิงจากรายงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) หรือ NIH เมื่อปี พ.ศ. 2543 การใช้ถุงยางอนามัยประเภทยางพาราลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อประมาณ 85% เมื่อเทียบกับการไม่ป้องกัน โดยผู้ใช้ถุงยางอนามัยมีโอกาสติดเชื้ออยู่ที่ 0.9 ต่อ 100 ปีคน ลดลงจาก 6.7 ต่อ 100 ปีคน การวิเคราะห์โดย University of Texas Medical Branch และ องค์การอนามัยโลก ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2550 แสดงผลใกล้เคียงกัน และพบว่าความเสี่ยงลดลง 80–95%

รายงานของ NIH ในปี พ.ศ. 2543 สรุปว่าการใช้ถุงยางอนามัยลดความเสี่ยงของการติดโรคหนองในแท้ในผู้ชาย งานวิจัยปี พ.ศ.​ 2549 รายงานว่าการใช้ถุงยางอย่างถูกต้องลดการแพร่เชื้อของฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV) สู่ผู้หญิงประมาณ 70% อีกงานวิจัยในปีเดียวกันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอสามารถลดโอกาสติดเชื้อไวรัสเริมทั้งในชายและหญิง

แม้ถุงยางอนามัยจะมีประสิทธิภาพในการจำกัดพื้นที่สัมผัส แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อของโรคบางชนิดได้ บางครั้งถุงยางอาจไม่สามารถปกปิดพื้นที่ติดเชื้อทั้งหมดได้ ทำให้โรคเช่น HPV และ เริมบริเวณอวัยวะเพศ สามารถแพร่เชื้อได้ผ่านการสัมผัส อย่างไรก็ตามปัญหาหลักที่ลดประสิทธิผลของการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ การใช้ที่ไม่สม่ำเสมอ

ถุงยางอนามัยอาจส่งผลดีในการรักษาการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูก การสัมผัสกับฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV) ดูเหมือนจะเพิ่มโอกาสการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดมะเร็ง แม้ในหมู่ผู้มีเชื้อ HPV ในร่างกาย การใช้ถุงยางอนามัยช่วยลดการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น นอกจากนี้ นักวิจัยในสหราชอาณาจักรยังเสนอว่าฮอร์โมนในน้ำอสุจิสามารถทำให้มะเร็งปากมดลูกมีอาการแย่ลง ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์สามารถป้องกันการสัมผัสกับฮอร์โมน

เหตุของการผิดพลาด

ถุงยางอนามัยอาจหลุดออกจากอวัยวะเพศชายหลังการหลั่งน้ำอสุจิ, ฉีกขาดระหว่างใส่อย่างผิดวิธีหรือระหว่างการฉีกออกจากซอง, หรือขาดหรือหลุดเหนื่องจากการสลายตัวของยางพารา (มักเป็นเพราะถุงยางอนามัยหมดอายุ, เก็บอย่างผิดวิธี, หรือโดนน้ำมัน) อัตราการฉีกขาดอยู่ระหว่าง 0.4% ถึง 2.3% ส่วนอัตราการหลุดอยู่ระหว่าง 0.6% ถึง 1.3% น้ำอสุจิยังถูกตรวจเจอในผู้หญิง 1–3% หลังมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยแม้จะไม่มีการฉีกขาดของถุงยางอนามัยก็ตาม

"การซ้อนถุง" คือ การสวมถุงยางอนามัยสองถุงซ้อนกัน มีความเชื่อว่าพฤติกรรมนี้มักทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเนื่องจากการเสียดสีของยางกับยาง งานวิจัยไม่ได้สนับสนุนความเชื่อนี้ โดยงานวิจัยจำนวนไม่มากที่ศึกษาเรื่องนี้พบว่าการใช้ถุงยางหลายอันซ้อนกันลดโอกาสการฉีกขาดของถุงยางอนามัย

ความผิดพลาดแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อการสัมผัสกับน้ำอสุจิในปริมาณต่างกัน หากการผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างการใส่ ถุงยางที่มีความเสียหายสามารถถูกเปลี่ยนออกก่อนจะเริ่มมีเพศสัมพันธุ์ ทำให้การผิดพลาดแบบนี้มักไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ใช้ งานวิจัยงานหนึ่งพบว่าการฉีกขาดของถุงยางอนามัยส่งผลให้มีการสัมผัสกับน้ำอสุจิปริมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการร่วมเพศโดยไม่ป้องกัน ส่วนการลื่นหลุดของถุงยางอนามัยทำให้สัมผัสกับน้ำอสุจิประมาณหนึ่งส่วนห้าของการร่วมเพศแบบไม่ป้องกัน

ถุงยางอนามัยธรรมดามักจะใช้ได้กับองคชาตเกือบทุกแบบ โดยอาจให้ความสบายหรือมีความเสี่ยงที่จะหลุดไม่เท่ากัน ผู้ผลิตถุงยางอนามัยหลายรายวางขายขนาดใหญ่หรือเล็กพิเศษ ผู้ผลิตบางรายยังขายถุงยางอนามัยขนาดตามสั่ง โดยอ้างว่าเชื่อถือได้มากกว่า ทำให้รู้สึกดีกว่า และใส่สบายกว่า บางงานวิจัยพบว่าองคชาตขนาดใหญ่กว่าและถุงยางอนามัยขนาดเล็กกว่ามีความสัมพันธ์กับโอกาสการรั่วของถุงยางที่เพิ่มขึ้นและอัตราการลื่นหลุดที่ลดลง ทว่าการทดลองอื่นยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

คนที่ตั้งใจใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิด อาจตั้งครรภ์หลังร่วมเพศโดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อถุงยางหมด, ขณะกำลังเดินทางและไม่ได้พกถุงยาง, หรือแค่เพียงไม่ชอบความรู้สึกและตัดสินใจที่จะ "เสี่ยง" พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเหตุผลหลักของการล้มเหลวเมื่อใช้อย่างทั่วไป (เมื่อเทียบกับอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้อย่างถูกต้อง)

อีกความเป็นไปได้หนึ่งที่ทำให้ถุงยางอนามัยล้มเหลวคือการกลั่นแกล้ง โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อคนใดคนหนึ่งอยากมีลูกในขณะที่คู่ไม่อยากมี ผู้ขายบริการทางเพศจากไนจีเรียบางคนรายงานว่าลูกค้ากลั่นแกล้งโดยการทำลายถุงยางอนามัยหลังถูกบังคับให้ใช้ถุงยางอนามัย เชื่อว่าการใช้เข็มเจาะที่ปลายถุงยางอนามัยเป็นการลดประสิทธิผลของถุงยางอนามัยลงอย่างมาก: 306–307  เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว

ประวัติศาสตร์

พุทธศักราช2494

เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมโบราณหรือไม่ ในอาณาจักรอียิปต์ กรีกและโรมันโบราณ การป้องกันการตั้งครรภ์เป็นภาระหน้าที่ของเพศหญิง และวิธีการคุมกำเนิดที่มีเอกสารยืนยันก็คืออุปกรณ์ที่ใช้กับสตรี ในเอเชียช่วงก่อนศตวรรษที่ 15 มีการบันทึกถึงการใช้ถุงยางอนามัยชนิดสวมครอบเฉพาะส่วนหัวขององคชาต ถุงยางอนามัยในฐานะที่ใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิดเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ในประเทศจีน ถุงยางอนามัยผลิตจากไหม กระดาษ หรือลำไส้ลูกแกะ ส่วนในญี่ปุ่นจะผลิตจากกระดองเต่า

การรณรงค์เรื่องถุงยางอนามัยในปัจจุบัน

เครื่องวัดขนาดอวัยวะเพศชายเพื่อนำผลวัดไปเลือกใช้ถุงยางอนามัยให้เหมาะสมกับขนาด

ปัจจุบันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ร่วมกันรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยอย่างมากและได้ทำการออกแบบเครื่องมือวัดขนาดอวัยวะเพศชาย เพื่อประโยชน์ในการที่ชายไทยจะได้วัดขนาดอวัยวะเพศของตนเองและเลือกซื้อถุงยางอนามัยได้ตรงขนาดกับอวัยวะเพศของตัวเอง อีกทั้งยังได้จัดทำโพลสำรวจเกี่ยวกับขนาดอวัยวะเพศของชายไทยด้วย เนื่องจากพบว่ามีชายไทยหลายกลุ่มอายุที่ไม่มีถุงยางอนามัยขนาดที่พอเหมาะกับอวัยวะเพศใช้งานกัน การทำโพลสำรวจในครั้งนี้จะนำพาไปถึงอนาคตที่จะผลิตถุงยางอนามัยขนาดต่างๆให้เหมาะสมกับขนาดของผู้ใช้อย่างทั่วถึง

ถุงยางอนามัยในรูปแบบอื่น

อ้างอิง

Tags:

ถุงยางอนามัย การใช้ทางการแพทย์ถุงยางอนามัย ประวัติศาสตร์ถุงยางอนามัย การรณรงค์เรื่องในปัจจุบันถุงยางอนามัย ในรูปแบบอื่นถุงยางอนามัย อ้างอิงถุงยางอนามัยการตั้งครรภ์การร่วมเพศซิฟิลิสตับอักเสบ บีถุงยางอนามัยสตรีภาษาอังกฤษหนองในแท้เอดส์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ยศทหารและตำรวจไทยรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตกรุงเทพมหานครจักรราศีพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์มี่นอองไลง์เบชิกทัชฌิมนัสติกคูลือบือประวิตร วงษ์สุวรรณรายการรหัสไปรษณีย์ไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์อลิชา หิรัญพฤกษ์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรจังหวัดเชียงรายจังหวัดนนทบุรีกติกาฟุตบอลประยุทธ์ จันทร์โอชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทยพรหมโลกเบิ้ล ปทุมราช อาร์สยามอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนจังหวัดอุทัยธานีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศฟุตบอลโลกบุนเดิสลีกาหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลข่าวช่อง 7HDดราก้อนบอล23 เมษายนเมลดา สุศรีจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้แวมไพร์ ทไวไลท์ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญหลวงปู่ทวดสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)นิชคุณ ขจรบริรักษ์รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยจังหวัดอำนาจเจริญสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโลมารายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31มาริโอ้ เมาเร่อพินอินชาวมอญกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาภาษาในประเทศไทยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแมวจังหวัดนครศรีธรรมราชพระพุทธเจ้าจักรพรรดิเฉียนหลงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารHพระเจ้าบุเรงนองภาคภูมิ ร่มไทรทองกองอาสารักษาดินแดนแอน ทองประสมมหาวิทยาลัยนเรศวรจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาราณี แคมเปนอาณาจักรสุโขทัยโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์วัดไร่ขิงกวนอิมกรรชัย กำเนิดพลอยประเทศออสเตรเลียเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนบูเช็กเทียนปิยวดี มาลีนนท์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกแบล็กอายด์พิลซึง🡆 More