ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) เป็นเอกสารระหว่างประเทศที่เชิดชูสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ทั้งปวง สมัชชาสหประชาชาติยอมรับตามข้อมติที่ 217 ในสมัยประชุมที่สาม วันที่ 10 ธันวาคม 1948 ณ ปาแลเดอชาโย ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
เอลีนอร์ โรสเวลต์ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนที่สมัชชาสหประชาชาติลงมติรับในสมัยประชุมที่ 183 จัดขึ้น ณ กรุงปารีส ในวันที่ 10 ธันวาคม 1948
สร้าง1948
ให้สัตยาบัน10 ธันวาคม ค.ศ. 1948
ที่ตั้งปาแลเดอชาโย
ผู้เขียนคณะกรรมการร่าง
วัตถุประสงค์สิทธิมนุษยชน

เอกสารนี้ถือเป็นข้อความรากฐานในประวัติศาสตร์สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ปฏิญญาฯ มีเนื้อหา 30 ข้อที่ลงรายละเอียด "สิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพมูลฐาน" ของปัจเจก และยืนยันลักษณะสากลของสิทธิเสรีภาพเหล่านี้ว่าเป็นสิทธิติดตัวมาแต่กำเนิด ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ และใช้กับมนุษย์ทุกคน UDHR ผูกมัดประชาชาติให้รับรองมนุษย์ทุกคนว่าเกิดมามีอิสระและมีศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ถิ่นพำนัก เพศ ชาติหรือชาติพันธุ์กำเนิด สีผิว ศาสนา ภาษาหรือสถานภาพอื่น นับเป็นแรงบันดาลใจโดยตรงแก่การกำเนิดของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

แม้ว่าตัวปฏิญญาฯ เองไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่เนื้อหาของปฏิญญาฯ ได้มีการอธิบายเพิ่มเติมและรวมเข้าอยู่ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ตราสารสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค และรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายของชาติต่าง ๆ ในเวลาต่อมา รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 รัฐได้ให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญาที่มีผลผูกพันอย่างน้อย 1 ใน 9 ฉบับซึ่งได้รับอิทธิพลจากปฏิญญาฯ และส่วนใหญ่ให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญาจำนวนนี้อย่างน้อย 4 ฉบับหรือกว่านั้น นักวิชาการกฎหมายบางคนให้เหตุผลว่าการใช้ปฏิญญาฯ ดังกล่าวเป็นเวลา 50 ปีขึ้นไปน่าจะถือได้ว่ามีผลผูกพันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศจารีตประเพณีแล้ว แม้ว่าศาลในบางประเทศยังคงจำกัดผลลัพธ์ทางกฎหมายอยู่ กระนั้น UDHR ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางกฎหมาย การเมืองและสังคมทั้งในระดับโลกและประเทศ และมีความสำคัญจากการแปล 524 สำนวน ซึ่งมากกว่าเอกสารใด ๆ ในประวัติศาสตร์

โครงสร้าง

โครงสร้างพื้นเดิมของปฏิญญาฯ ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียน ซึ่งมีอารัมภบทและหลักการทั่วไปในบทนำ โครงสร้างสุดท้ายมีรูปมาจากฉบับร่างที่สองที่เตรียมโดยนักนิติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส René Cassin ซึ่งทำงานต่อจากฉบับร่างแรกที่เตรียมโดยนักวิชาการกฎหมายชาวแคนาดา จอห์น ปีเตอส์ ฮัมฟรี

ปฏิญญาฯ มีเนื้อหาต่อไปนี้:

  • อารัมภบทระบุสาเหตุทางประวัติศาสตร์และสังคมซึ่งนำไปสู่ความจำเป็นของการร่างปฏิญญาฯ
  • ข้อ 1–2 กำหนดมโนทัศน์พื้นฐานของศักดิ์ศรี เสรีภาพและความเสมอภาค
  • ข้อ 3–5 กำหนดสิทธิปัจเจกอื่น เช่น สิทธิในการมีชีวิต และการห้ามมีทาสและการทรมาน
  • ข้อ 6–11 เล่าถึงความชอบด้วยกฎหมายมูลฐานของสิทธิมนุษยชนและการเยียวยาหากมีการละเมิดสิทธิเหล่านั้น
  • ข้อ 12–17 กำหนดสิทธิของปัจเจกต่อชุมชน รวมทั้งเสรีภาพในการเดินทาง (freedom of movement)
  • ข้อ 18–21 อนุมัติ "เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ" และเสรีภาพทางจิตวิญญาณ สาธารณะและการเมือง เช่น เสรีภาพทางความคิด ความเห็น ศาสนาและสำนึก คำและการรวมกลุ่มอย่างสันติของปัจเจก
  • ข้อ 22–27 อนุมัติสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของปัจเจก รวมทั้งบริการสาธารณสุข ย้ำถึงสิทธิอย่างกว้างขวางในมาตรฐานการครองชีพ กำหนดการอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมในกรณีร่างกายทรุดโทรมหรือทุพพลกายทางกาย และกล่าวถึงเป็นพิเศษแก่การดูแลแก่ผู้เป็นมารดาและบุตร
  • ข้อ 28–30 กำหนดวิธีการทั่วไปสำหรับใช้สิทธิเหล่านี้ ขอบเขตที่สิทธิของปัจเจกใช้ไม่ได้ หน้าที่ของปัจเจกต่อสังคม และการห้ามใช้สิทธิที่เป็นการฝ่าฝืนความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ

เชิงอรรถ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

This article uses material from the Wikipedia ไทย article ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โครงสร้างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เชิงอรรถปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อ้างอิงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดูเพิ่มปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แหล่งข้อมูลอื่นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปาแลเดอชาโยภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บาท (สกุลเงิน)ราศีเมษปานวาด เหมมณีมหาวิทยาลัยกรุงเทพสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ประวิตร วงษ์สุวรรณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นต่อคือเรารักกันสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้ประเทศฝรั่งเศสตะวัน วิหครัตน์เจนนีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีนกกะรางหัวขวานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สยศทหารและตำรวจไทยพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567จังหวัดนครสวรรค์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)สโมสรฟุตบอลวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์เศรษฐศาสตร์ฉัตรชัย เปล่งพานิชรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครสฤษดิ์ ธนะรัชต์จังหวัดมหาสารคามคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567แมวรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยละหมาดอินเทอร์เน็ตช้อปปี้คิม จี-ว็อน (นักแสดง)ประเทศสเปนฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียจังหวัดตรังพ.ศ. 2564ชวลิต ยงใจยุทธรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญไทยลีกคัพไค ฮาเวิทซ์สหรัถ สังคปรีชาFฟุตซอลโลกภัทร เอกแสงกุลลูซิเฟอร์เผ่าภูมิ โรจนสกุลพระเจ้าบุเรงนองอาลิง โฮลันตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวีรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)ราชินีแห่งน้ำตาอำเภอยูโรดวงอาทิตย์โดราเอมอนหน้าหลักต่อศักดิ์ สุขวิมลนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ประเทศอุซเบกิสถานวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารจังหวัดบึงกาฬเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพจังหวัดพะเยาสุทัตตา อุดมศิลป์อาทิตย์ กำลังเอกณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์ศาสนาอิสลามดราก้อนบอลคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวาย🡆 More