สตีเฟน ฮอว์กิง: นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์

สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (อังกฤษ: Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ.

1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียน ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง)

สตีเฟน ฮอว์กิง
200p 1980
เกิด8 มกราคม ค.ศ. 1942(1942-01-08)
ออกซฟอร์ด, อังกฤษ
เสียชีวิต14 มีนาคม ค.ศ. 2018(2018-03-14) (76 ปี)
เคมบริดจ์, อังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรส
  • Jane Hawking
  • (m. 1965–1991, หย่า)
  • Elaine Mason
    (m. 1995–2006, หย่า)
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกDennis Sciama
อาจารย์ที่ปรึกษาอื่น ๆRobert Berman
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
  • Bruce Allen
  • Raphael Bousso
  • Fay Dowker
  • Malcolm Perry
  • Bernard Carr
  • Gary Gibbons
  • Harvey Reall
  • Don Page
  • Tim Prestidge
  • Raymond Laflamme
  • Julian Luttrell
ได้รับอิทธิพลจาก
ลายมือชื่อ
สตีเฟน ฮอว์กิง: ประวัติ, การทำงาน, ชีวิตส่วนตัว

ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์

สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2018 อายุ 76 ปี

ประวัติ

สตีเฟน ฮอว์กิงเกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่เมืองออกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ ในวัยเด็กเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์แอลแบน จากนั้นเข้าศึกษาต่อสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และรับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ต่อมาเขาได้ก่อตั้งและรับหน้าเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทฤษฎีทางจักรวาลวิทยา (Centre for Theoretical Cosmology) แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จวบจนสิ้นอายุขัย

ในต้นทศวรรษที่ 1960 (ประมาณ พ.ศ. 2503-2508) สตีเฟน ฮอว์กิงก็มีอาการที่เรียกว่า amyotrophic lateral sclerosis (ALS) อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons) นั่นคือ เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของ กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป

การทำงาน

ฮอว์กิงเริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไป และเน้นที่ฟิสิกส์ของหลุมดำ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ขณะที่กำลังทำงานวิจัยสำหรับดุษฎีนิพนธ์เพื่อทำดุษฎีบัณฑิต ฮอว์กิงได้อ่านรายงานของนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชื่อ โรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) ซึ่งเพนโรสเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเป็นศูนย์ และมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ อันเป็นสภาพที่นักฟิสิกส์เรียกว่า ซิงกูลาริตี้ (singularity) ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือหลุมดำ ซึ่งไม่ว่าแสงหรือวัตถุใด ๆ ก็หนีออกมาไม่ได้

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2513 ฮอว์กิงและเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า บิ๊กแบง และจะสิ้นสุดลงที่ หลุมดำ (black hole)

ฮอว์กิงเสนอว่า หลุมดำไม่ควรจะเป็นหลุมดำเสียทีเดียว แต่ควรจะแผ่รังสีอะไรออกมาบ้าง โดยเริ่มที่วัตถุจำนวนมหาศาลนับพันล้านตัน แต่มีความหนาแน่นสูง คือกินเนื้อที่ขนาดเท่าโปรตอน เขาเรียกวัตถุเหล่านี้ว่าหลุมดำจิ๋ว (mini black hole) ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงและมวลมหาศาล แต่สุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไป การค้นพบนี้ถือเป็นงานชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของฮอว์กิง

เมื่อ ปี พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2520 และเมื่อในปี พ.ศ. 2522 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics - เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2206 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) บุคคลที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์ไอแซก นิวตัน คนทั่วไปจึงเปรียบเทียบสตีเฟน ฮอว์กิง กับนิวตันและไอนสไตน์)

สตีเฟน ฮอว์กิงคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่นักฟิสิกส์จะพัฒนาทฤษฎีที่จะรวมเอาแรงทั้ง 4 ของธรรมชาติเข้าด้วยกัน นั่นคือ แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม อันจะนำไปสู่ ทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ที่เคยกล่าวกันมา ส่วนเรื่องการขยายตัวของเอกภพนั้น ฮอว์กิงคิดว่า เอกภพขยายตัวออกไปโดยมีความเร่ง

ชีวิตส่วนตัว

สตีเฟน ฮอว์กิงแต่งงานครั้งแรกกับเจน ไวลด์ ภายหลังได้หย่าร้าง และแต่งงานใหม่กับพยาบาล ชื่อ เอเลน เมสัน สตีเฟน ฮอว์กิงต้องนั่งรถไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้ ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา แต่ก็ยังสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร

การเสียชีวิต

ฮอว์กิงเสียชีวิตเมื่อตอนเช้าวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่บ้านของเขาในเมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ สาเหตุการเสียชีวิตยังนั้นไม่เป็นที่เปิดเผย โดยทางครอบครัวได้ออกมาแสดงความเศร้าเสียใจ และกล่าวแต่เพียงว่าเขาเสียชีวิตอย่างสงบ

ผลงาน

  • Plan of The Blume "Road to Smart City" (1965)
  • A Large Scale Structure of Space-Time ร่วมกันเขียนกับ G.F.R. Ellis (1973)
  • Superspace and Supergravity (1981)
  • The Very Early Universe (1983)
  • A Brief History of Time : from the Big Bang to Black Holes (1988)
  • Black Holes and Baby Universe and Other Essays (1994)
  • The Universe In A Nutshell (2001)
  • The Grand Design ร่วมกันเขียนกับ Leonard Mlodinow (2010) ซึ่งเยอะมากๆ

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Boslough, John (1985). Stephen Hawking's Universe. New York: Avon Books. ISBN 0-380-70763-2. A layman's guide to Stephen Hawking
  • Ferguson, Kitty (1991). Stephen Hawking: Quest For A Theory of Everything. Franklin Watts. ISBN 0-553-29895-X
  • Hawking, S. W. & Ellis, G. F. R. (1973). The Large Scale Structure of Space-Time. Cambridge University Press. ISBN 0-521-09906-4.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Highly influential in the field.
  • Hawking, S. W. & Israel, W. (1979). General relativity: an Einstein centenary survey. New York: Cambridge University Press. ISBN 0-521-22285-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) A much cited centennial survey.
  • Misner, Charles; Thorne, Kip S. & Wheeler, John Archibald (1995). Stephen Hawking A Biography. San Francisco: Greenwood Press. ISBN 978-0313323928.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Morris, Errol (1991). A Brief History of Time (Documentary). Triton Pictures.
  • Pickover, Clifford, Archimedes to Hawking: Laws of Science and the Great Minds Behind Them, Oxford University Press, 2008, ISBN 978-0-19-533611-5

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

สตีเฟน ฮอว์กิง ประวัติสตีเฟน ฮอว์กิง การทำงานสตีเฟน ฮอว์กิง ชีวิตส่วนตัวสตีเฟน ฮอว์กิง การเสียชีวิตสตีเฟน ฮอว์กิง ผลงานสตีเฟน ฮอว์กิง อ้างอิงสตีเฟน ฮอว์กิง หนังสืออ่านเพิ่มสตีเฟน ฮอว์กิง แหล่งข้อมูลอื่นสตีเฟน ฮอว์กิงจักรวาลวิทยาทฤษฎีบททฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปฟิสิกส์ทฤษฎีภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ศาสตราจารย์หลุมดำ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยตะวัน วิหครัตน์นาฬิกาหกชั่วโมงคริสเตียโน โรนัลโดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทยรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากเอลนีโญมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แจ็กสัน หวังรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาวันมูหะมัดนอร์ มะทามุฮัมมัดเด็กหอประเทศเยอรมนีรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันมหาวิทยาลัยกรุงเทพอริศรา วงษ์ชาลีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลจังหวัดอุตรดิตถ์ศาสนาเชนเพิ่มพูน ชิดชอบไอแซก นิวตันจังหวัดชลบุรีแมวโปเตโต้หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์อดุลย์ แสงสิงแก้วประเทศตุรกีชวินทร์วุฒิ ก้องธรนินทร์ปรีดี พนมยงค์ประเทศอิหร่านกองอาสารักษาดินแดนการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาภัทร เอกแสงกุลสุภาพบุรุษชาวดินชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันสโมสรฟุตบอลฌีรงแด็งเดอบอร์โดเอราวัณ การ์นิเยร์รายการรหัสไปรษณีย์ไทยเจสัน สเตธัมแบล็กอายด์พิลซึงสโมสรฟุตบอลอัลฮิลาลยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์โรงพยาบาลในประเทศไทยประวัติศาสตร์ไทยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญองศาเซลเซียสวอลเลย์บอลรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยโชเซ มูรีนโยลาลิกาพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์เบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)ไทใหญ่ณัฐธิชา นามวงษ์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีนิภาภรณ์ ฐิติธนการนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญจังหวัดสมุทรสาครกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)พระมหากษัตริย์ไทยรัตนวดี วงศ์ทองภูภูมิ พงศ์ภาณุภาคลูซิเฟอร์สังโยชน์พรีเมียร์ลีกประเทศกัมพูชาดวงอาทิตย์วิทยุเสียงอเมริกาสถิตย์พงษ์ สุขวิมล🡆 More