ประเทศเบลารุส: ประเทศในยุโรปตะวันออก

53°N 27°E / 53°N 27°E / 53; 27

สาธารณรัฐเบลารุส

Рэспу́бліка Белару́сь (เบลารุส)
Респу́блика Белару́сь (รัสเซีย)
ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง
ที่ตั้งของ ประเทศเบลารุส  (เขียว)

ในยุโรป  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มินสค์
53°55′N 27°33′E / 53.917°N 27.550°E / 53.917; 27.550
ภาษาราชการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019)
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)
เดมะนิมชาวเบลารุส
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีภายใต้ระบอบเผด็จการ
• ประธานาธิบดี
อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา
• นายกรัฐมนตรี
รามัน ฮาลอว์แชนกา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาสาธารณรัฐ
สภาผู้แทนราษฎร
ก่อตั้ง
• ดัชชีปาลอตสก์
ค.ศ. 987
• ราชรัฐตูรอฟ
คริสต์ศตวรรษที่ 10
ค.ศ. 1236
9 มีนาคม ค.ศ. 1918
• เป็นเอกราชจากรัสเซีย
25 มีนาคม ค.ศ. 1918
• ประกาศเป็นรัฐเอกราช
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
25 สิงหาคม ค.ศ. 1991
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
15 มีนาคม ค.ศ. 1994
• การแก้ไขครั้งสุดท้าย
17 ตุลาคม ค.ศ. 2004
พื้นที่
• รวม
207,595 ตารางกิโลเมตร (80,153 ตารางไมล์) (อันดับที่ 84)
1.4% (2.830 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.093 ตารางไมล์)a
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
9,349,645 (อันดับที่ 96)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2019
ลดลงเป็นกลาง 9,413,446
45.8 ต่อตารางกิโลเมตร (118.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 142)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 185.889 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 69)
ลดลง 19,758 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 66)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 57.708 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 75)
ลดลง 6,133 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 84)
จีนี (ค.ศ. 2019)Negative increase 25.3
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.823
สูงมาก · อันดับที่ 53
สกุลเงินรูเบิลเบลารุส (BYN)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามอสโก)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+375
โดเมนบนสุด
เว็บไซต์
belarus.by
  1. ^ "FAO's Information System on Water and Agriculture". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.

เบลารุส (อังกฤษ: Belarus; เบลารุส: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɛlaˈrusʲ]; รัสเซีย: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɪlɐˈrusʲ]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (อังกฤษ: Republic of Belarus; เบลารุส: Рэспу́бліка Белару́сь; รัสเซีย: Респу́блика Белару́сь) ในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบียโลรัสเซีย (อังกฤษ: Byelorussia; รัสเซีย: Белору́ссия) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสค์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ แบรสต์ ฆโรดนา โฆเมียล และวีเชปสก์ พื้นที่มากกว่า 40% ของขนาดประเทศ 207,600 ตารางกิโลเมตร (80,200 ตารางไมล์) เป็นป่าไม้ ภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศคืออุตสาหกรรมบริการและการผลิต จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดินแดนที่กลายมาเป็นประเทศเบลารุสในปัจจุบันเคยถูกรัฐต่าง ๆ ในหลาย ๆ ยุคยึดครอง ซึ่งรวมถึงราชรัฐโปลอตสค์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 14), แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย, เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย และจักรวรรดิรัสเซีย

ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1917 เบลารุสประกาศเอกราชในฐานะสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส แต่สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียได้เข้ายึดครอง สาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซียได้กลายเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1922 และเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ดินแดนของเบลารุสเกือบครึ่งหนึ่งถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์หลังจากสงครามโปแลนด์–โซเวียตใน ค.ศ. 1919–1921 พรมแดนส่วนใหญ่ของเบลารุสมีลักษณะอย่างปัจจุบันตั้งแต่ ค.ศ. 1939 เมื่อดินแดนบางส่วนของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ถูกผนวกเข้ากับเบลารุสอีกครั้งหลังจากการรุกรานโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต และได้ข้อสรุปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการต่าง ๆ ทางทหารทำให้เบลารุสเสียหายอย่างรุนแรง โดยสูญเสียประชากรราวหนึ่งในสามและทรัพยากรทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่ง สาธารณรัฐได้รับการพัฒนาขื้นใหม่อีกครั้งหลังสงคราม ใน ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐเบียโลรัสเซียกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติพร้อมกับสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐยูเครน

รัฐสภาสาธารณรัฐเบลารุสประกาศอำนาจอธิปไตยของเบลารุสเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 และในระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เบลารุสได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1991 อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 นักข่าวตะวันตกบางคนได้ขนานนามเบลารุสว่าเป็น "เผด็จการสุดท้ายของยุโรป" เนื่องมาจากรูปแบบรัฐบาลซึ่งลูกาแชนกาได้นิยามเองว่าเป็นอำนาจนิยม ลูกาแชนกายังคงใช้นโยบายหลายประการจากยุคโซเวียต เช่น กรรมสิทธิ์ของรัฐในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ การเลือกตั้งภายใต้กฎของลูกาแชนกาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ยุติธรรม และตามรายงานของประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ การต่อต้านทางการเมืองได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง เบลารุสเป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต คะแนนดัชนีประชาธิปไตยของเบลารุสนั้นต่ำที่สุดในยุโรป เบลารุสถูกระบุว่า "ไม่เสรี" โดยองค์การฟรีดอมเฮาส์ ถูกระบุว่า "ถูกกดขี่" ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเสรีภาพสื่อในยุโรป ในดัชนีเสรีภาพสื่อประจำ ค.ศ. 2013–2014 ซึ่งองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเป็นผู้เผยแพร่โดยจัดเบลารุสอยู่ในอันดับที่ 157 จาก 180 ประเทศทั่วโลก

ใน ค.ศ. 2000 เบลารุสและรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยก่อตั้งรัฐสหภาพรัสเซียและเบลารุส กว่าร้อยละ 70 ของประชากรเบลารุสจำนวน 9.49 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมือง ประชากรมากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวเบลารุส ชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ได้แก่ ชาวรัสเซีย, โปแลนด์ และยูเครน นับตั้งแต่การลงประชามติใน ค.ศ. 1995 ประเทศเบลารุสมีภาษาราชการสองภาษาคือภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย รัฐธรรมนูญของเบลารุสไม่ได้ประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่ศาสนาหลักของประเทศคือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนาที่แพร่หลายมากเป็นอันดับสองของเบลารุสคือนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งมีผู้นับถือจำนวนน้อยกว่ามาก ถึงกระนั้นเบลารุสก็เฉลิมฉลองวันคริสต์มาสและอีสเตอร์ของทั้งออร์ทอดอกซ์และคาทอลิกในฐานะวันหยุดประจำชาติ เบลารุสเป็นสมาชิกของสหประชาชาตินับตั้งแต่ก่อตั้ง, เครือรัฐเอกราช, องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน, สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เบลารุสไม่ได้แสดงความปรารถนาที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับองค์การ และในทำนองเดียวกันเบลารุสมีส่วนร่วมในโครงการสองโครงการของสหภาพยุโรป คือ หุ้นส่วนตะวันออกและการริเริ่มที่บากู

ประวัติศาสตร์

ประเทศเบลารุสเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของชาวสลาฟในอดีต เกิดเป็นราชอาณาจักร ภายหลังสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟ ต่อมาถูกลิทัวเนียยึดครอง เมื่อประกาศเอกราชได้ไม่นานก็ถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอีก ประเทศเบลารุส ได้รับเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปีพ.ศ. 2534 เป็นหนึ่งในสิบสองประเทศของเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Indepentdent State)

การเมืองการปกครอง

การเมืองเบลารุสนั้นคล้ายคลึงกับประเทศรัสเซีย เพราะเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียและได้รับอิทธิพลจากรัสเซียมาก่อน

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศเบลารุสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 แคว้น (voblast) ซึ่งตั้งชื่อแคว้นตามเมืองที่เป็นศูนย์กลางการบริหารของแคว้นนั้น ๆ แคว้นต่าง ๆ จะแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นเขต (raion) ส่วนกรุงมินสค์ซึ่งอยู่ในพื้นที่แคว้นมินสค์ มีสถานะพิเศษไม่ขึ้นกับแคว้นใด ๆ การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นแคว้นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโซเวียต

แคว้นของเบลารุส
ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
แผนที่แสดงเขตการปกครองของประเทศเบลารุส
หมายเลข (บนแผนที่) ธงประจำแคว้น ชื่อแคว้น ชื่อภาษาเบลารุส เมืองศูนย์กลางการบริหาร ชื่อภาษาเบลารุส
1 ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  มินสค์ (เมืองหลวงของเบลารุส) Мінск -
2 ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แคว้นแบรสต์ Брэсцкая вобласць แบรสต์ Брэст
3 ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แคว้นโฆเมียล Гомельская вобласць โฆเมียล Гомель
4 ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แคว้นฆโรดนา Гродзенская вобласць ฆโรดนา Гродна
5 ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แคว้นมาฆีโลว์ Магілёўская вобласць มาฆีโลว์ Магілёў
6 ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แคว้นมินสค์ Мінская вобласць มินสค์ Мінск
7 ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง  แคว้นวีเชปสก์ Віцебская вобласць วีเชปสก์ Віцебск

โครงสร้างพื้นฐาน

โทรคมนาคม

บริษัทโทรคมนาคมของรัฐเบลเทเลคอม (รัสเซีย: Белтелеком) ซึ่งผูกขาดธุรกิจ ได้รับสิทธิ์แต่เพียงรายเดียวในการเชื่อมต่อโครงข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนอกประเทศเบลารุส เบลเทเลคอมเป็นเจ้าของช่องสัญญาณหลักทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แก่ Lattelecom, TEO LT, Tata Communications (ในอดีตคือ Teleglobe), Synterra, Rostelecom, Transtelekom และ MTS เบลเทเลคอมยังเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ได้รับอนุญาตในการให้บริการ VoIP เชิงพาณิชย์ในเบลารุส

ประชากร

ศาสนา

แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเบลารุส กล่าวว่า ในประเทศมีประชากร 58.9% ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (ตรวจสอบเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2011) ภายใน 58.9% นั้น โดยมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ซึ่งในทั่วทั้งประเทศ มีประชากร 82% ที่นับถือ คริสต์ศาสนาคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ส่วนผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก โดยมากอาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศ บางเขตแดนมีผู้คนนับถือคริสต์ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนท์ (ซึ่งเป็นคริสตจักรที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขตแดนเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสวีเดน) ในประเทศ มีชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ คริสต์ศาสนาคริสตจักรกรีกคาทอลิก ศาสนายูดาห์ อิสลาม และ ลัทธินอกศาสนาใหม่ (Neopaganism) มีประชากรจำนวนมากที่ได้เปลี่ยนแปลงศาสนาของตนในช่วงเวลาที่ประเทศเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยประชากรโดยมากได้เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์แบบกรีกคาทอลิกเป็นคาทอลิกแบบรัสเซีย

ภาษา

เบลารุสมีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน โดยทั้งสองจัดอยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิก มีไวยากรณ์ ระบบเสียง และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ประชากรโดยมากใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักและใช้เป็นภาษาแรกโดยมีผู้พูดประมาณ 6,670,000 คน ส่วนภาษาเบลารุส มีผู้พูดประมาณ 2,220,000 คน (ตรวจสอบเมื่อ ค.ศ. 2009)

วัฒนธรรม

แหล่งมรดกโลก

เบลารุสมีแหล่งมรดกโลกที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนสี่แห่ง ได้แก่ ปราสาทมีร์ (Мірскі замак), ปราสาทเนียสวิซ (Нясьвіскі замак), ป่าดงดิบเบโลเวซสกายา (Белавежская пушча) (ร่วมกับโปแลนด์) และส่วนโค้งภูมิมาตรศาสตร์ชตรูเวอ (Struve Geodetic Arc - หมุดภูมิมาตรระบุเส้นโค้งเมอริเดียน) (ร่วมกับอีกเก้าประเทศ)

อาหาร

ประเทศเบลารุส: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
ดรานิคี (draniki) อาหารประจำชาติ

อาหารเบลารุสมักจะประกอบด้วย พืชผักต่าง ๆ เนื้อสัตว์ (โดยมากเป็นเนื้อหมู) และขนมปัง ประชาชนโดยมากมักรับประทานอาหารประเภทที่ใช้เวลาหุงต้มช้า ๆ หรือจะเป็นอาหารประเภทตุ๋นจนสุกนิ่ม ชาวเบลารุสส่วนใหญ่มักจะรับประทานอาหารมื้อเช้าแบบเบา ๆ แต่ว่าอีกสองมื้อจะเป็นอาหารชุดใหญ่ โดยอาหารค่ำจะเป็นมื้อที่ใหญ่ที่สุด ชาวเบลารุสมักรับประทานขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีและข้าวไรย์ แต่ว่าข้าวไรย์เป็นวัตถุดิบที่ค้นหาได้ง่ายสะดวกกว่า เพราะว่าภูมิอากาศของประเทศทำให้การปลูกเพาะข้าวสาลียากกว่า เมื่อเวลามีแขกมาเยี่ยมเยียนบ้าน เจ้าของเจ้าบ้านมักจะนำขนมปังกับเกลือให้แก่แขกที่มาหา เพื่อแสดงบ่งบอกความเป็นมิตร

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ประเทศเบลารุส ประวัติศาสตร์ประเทศเบลารุส การเมืองการปกครองประเทศเบลารุส การแบ่งเขตการปกครองประเทศเบลารุส โครงสร้างพื้นฐานประเทศเบลารุส ประชากรประเทศเบลารุส วัฒนธรรมประเทศเบลารุส อ้างอิงประเทศเบลารุส บรรณานุกรมประเทศเบลารุส อ่านเพิ่มประเทศเบลารุส แหล่งข้อมูลอื่นประเทศเบลารุส

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เชิญยิ้มราชวงศ์ชิงหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยประยุทธ์ จันทร์โอชาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จังหวัดนครศรีธรรมราชชวินทร์วุฒิ ก้องธรนินทร์แจ็กสัน หวังสับปะรดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารบูเช็กเทียนเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติบิลลี ไอลิชสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชจังหวัดมหาสารคามสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดมิตร ชัยบัญชาประเทศเยอรมนียุทธการที่เซกิงาฮาระสครับบ์เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีบาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกท้องที่ตำรวจบาร์เซโลนากองทัพอากาศไทยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024ดาบพิฆาตอสูรสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)โรนัลโดวินทร์ เลียววาริณรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลจังหวัดชัยภูมิโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์กฤษฏ์ อำนวยเดชกรพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยธนาคารกสิกรไทยมูฮัมหมัด อุสมานมูซามินนี่ (นักร้อง)ผู้หญิง 5 บาปศีล 227กัญญาวีร์ สองเมืองเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาปตท.ชียากู ซิลวาจักรทิพย์ ชัยจินดาปริญ สุภารัตน์เทย์เลอร์ สวิฟต์สงกรานต์มรรคมีองค์แปดกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์เมาริซิโอ โปเชติโนณัฐฐชาช์ บุญประชมเอฟเอคัพโทกูงาวะ อิเอยาซุวรันธร เปานิลสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีคนลึกไขปริศนาลับศาสนาเชนสหภาพโซเวียตเจ้าหญิงดิสนีย์พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์รายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากเพลงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกองทัพเรือไทย🡆 More