อัลลอฮ์

อัลลอฮ์ (อาหรับ: الله, สัทอักษรสากล:  ( ฟังเสียง)) เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับพระเจ้าในศาสนาอับราฮัม ส่วนภาษาอังกฤษ คำนี้มีความหมายโดยทั่วไปเป็นพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม กล่าวกันว่า คำนี้มาจากสองคำที่ถูกย่อ คือ อัล-อิลาฮ์ ซึ่งหมายถึง เทพองค์นั้น และมีความสัมพันธ์ทางภาษากับคำว่าพระเจ้าในภาษาฮีบรูกับภาษาแอราเมอิกว่า เอล (เอโลฮิม) และ อีลาฮ์

อัลลอฮ์
คำว่า 'อัลลอฮ์' ในอักษรวิจิตรอาหรับ

คำว่า อัลลอฮ์ ถูกใช้โดยชาวอาหรับหลายศาสนามาตั้งแต่ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะปรากฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวมุสลิม (ทั้งอาหรับและไม่ใช่อาหรับ) และอาหรับคริสเตียน และแม้ว่าจะไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม ก็ยังคงมีการใช้ในลัทธิบาบี, ศาสนาบาไฮ, ชาวอัศศอบิอะฮ์, ชาวคริสต์ในประเทศอินโดนีเซียกับมอลตา และชาวยิวมิซราฮี การใช้แบบเดียวกันโดยชาวคริสต์และชาวซิกข์ในมาเลเซียตะวันตกได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองและกฎหมาย

ศัพทมูลวิทยา

อัลลอฮ์ 
อักษรภาษาอาหรับที่รวมกันเป็นคำว่า "อัลลอฮ์":
  1. อะลีฟ
  2. ฮัมซะฮ์วัศล์ (همزة وصل)
  3. ลาม
  4. ลาม
  5. ชัดดะฮ์ (شدة)
  6. อะลิฟค็อนญะรียะฮ์ (ألف خنجرية)
  7. ฮาอ์

ศัพทมูลวิทยาของคำว่า อัลลอฮ์ ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในนักนิรุกติศาสตร์ภาษาอาหรับคลาสสิก นักไวยากรณ์จากสำนักบัศเราะฮ์ถือว่ามันอาจเป็นทั้ง "อย่างเป็นธรรมชาติ" (มุรตะญัล) หรือเป็นรูปเฉพาะของ ลาฮ์ บางส่วนถือว่าคำนี้เป็นคำยืมจากภาษาซีรีแอกหรือฮีบรู แต่ส่วนใหญ่ถือว่าคำนี้แยกจากการย่อคำนำหน้านามเฉพาะเจาะจงภาษาอาหรับว่า อัล- กับ อิลาฮ์ "เทพ, พระเจ้า" กลายเป็น อัลอิลาฮ์ หมายถึง "เทพองค์นั้น" หรือ "พระเจ้าองค์นั้น" นักวิชาการสมัยใหม่ส่วนใหญ่สนับสนุนทฤษฎีข้อหลัง และมองทฤษฎีคำยืมเป็นวิมตินิยม

คำร่วมเชื้อสายของพระนาม "อัลลอฮ์" ปรากฏในกลุ่มภาษาเซมิติก เช่นภาษาฮีบรูกับภาษาแอราเมอิก สอดคล้องกับรูปภาษาแอราเมอิกเป็น เอลาห์ (אלה) แต่ในสถานะสำคัญ (emphatic state) เป็น เอลาฮา (אלהא) ในภาษาอราเมอิกไบเบิลเขียนเป็น ܐܠܗܐ (ʼĔlāhā) และในภาษาซีรีแอกเขียนเป็น ܐܲܠܵܗܵܐ (ʼAlâhâ) ทั้งสองคำหมายถึง "พระเจ้า"

การใช้งาน

อาระเบียก่อนการมาของศาสนาอิสลาม

ความหลากหลายของคำว่า อัลลอฮ์ พบได้ทั้งจารึกพวกนอกศาสนาและศาสนาคริสต์ อีกทฤษฎีหนึ่งนำเสนอว่าบทบาทของอัลลอฮ์ในลัทธิพหุเทวนิยมก่อนอิสลาม ผู้เขียนบางส่วนแนะนำว่า ชาวอาหรับพหุเทวนิยมใช้ชื่อนี้ถึงพระผู้สร้างหรือเทพผู้เป็นใหญ่ในแพนเธออน (pantheon) คำนี้อาจเป็นที่คลุมเครือในศาสนาที่มักกะฮ์ สันนิษฐานหนึ่งที่สืบไปถึงยูลีอุส เวลเฮาเซินกล่าวถึงอัลลอฮ์ (เทพสูงสุดของสหพันธ์เผ่าของกุเรช) ว่าการกำหนดที่อุทิศความเหนือกว่าของฮุบัล (เทพสูงสุดของกุเรช) อยู่เหนือเทพองค์อื่น อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานว่าอัลลอฮ์กับฮุบัลคือเทพคนละองค์กัน ตามสันนิษฐานนี้ กะอ์บะฮ์เป็นสถานที่แรกที่ถวายแด่เทพสูงสุดนามว่าอัลลอฮ์และต่อมาเป็นเจ้าบ้านในแพนเธออนของกุเรชหลังพิชิตมักกะฮ์เป็นเวลาประมาณศตวรรษหนึ่งก่อนสมัยมุฮัมมัด จารึกบางส่วนในศตวรรษก่อนหน้าใช้บันทึกอัลลอฮ์เป็นพระนามของเทพในพหุเทวนิยม แต่ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าใช้ทำอะไร นักวิชาการบางส่วนกล่าวแนะว่า อัลลอฮ์อาจเป็นเทพผู้สร้างที่ห่างเหินที่ค่อย ๆ ถูกบดบังโดยเทพเจ้าท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น มีความเห็นแตกต่างกันว่าอัลลอฮ์มีบทบาทหลักในลัทธิทางศาสนามักกะฮ์ โดยไม่มีการพบรูปลักษณ์เฉพาะของพระองค์ และเป็นพระเจ้าองค์เดียวในมักกะฮ์ที่ไม่มีเทวรูป อับดุลลอฮ์ ชื่อพ่อของศาสดามุฮัมมัด หมายถึง "ทาสของพระเจ้า"

ศาสนาคริสต์

ผู้พูดภาษาอาหรับในกลุ่มศาสนาอับราฮัมทั้งหมด ใช้คำว่า "อัลลอฮ์" ที่หมายถึง "พระเจ้า" ชาวอาหรับคริสเตียนในปัจจุบัน ไม่พบคำอื่นสำหรับ "พระเจ้า" มากไปกว่า "อัลลอฮ์" เช่นเดียวกันกับคำว่า "พระเจ้า" ในภาษาแอราเมอิกคือ เอลาฮา (ʼĔlāhā) หรือ อาลาฮา (แม้แต่ภาษามอลตา ซึ่งสืบมาจากภาษาอาหรับ ในประเทศมอลตา เป็นประเทศที่ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกใช้คำว่า Alla หมายถึง "พระเจ้า") ตัวอย่างในอาหรับคริสเตียน เช่น คำว่า อัลลอฮุลอับ (الله الأب) คือพระเจ้าพระบิดา อัลลอฮุลอิบน์ (الله الابن) สำหรับพระบุตรพระเป็นเจ้า และ อัลลอฮุรรูฮิลกุดส์ (الله الروح القدس) สำหรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ (สำหรับแนวคิดพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์ ดูพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์)

อาหรับคริสเตียนมีบทภาวนาสองรูปแบบที่เป็นหน่วยคำเติมในจุดเริ่มต้นของงานเขียน โดยพวกเขานำคำว่า บิสมิลลาฮ์ ของมุสลิม และสร้าง บิสมิลลาฮ์ ที่แปลงเป็นตรีเอกภาพของตนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 บิสมิลลาฮ์ ของมุสลิมแปลได้เป็น: "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ" ส่วน บิสมิลลาฮ์ แบบตรีเอกภาพแปลได้เป็น: "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเจ้าองค์เดียว" บทภาวนาภาษาซีรีแอก ลาติน และกรีกไม่มีคำว่า "พระเจ้าองค์เดียว" ต่อท้าย การเพิ่มส่วนนี้มีไว้เพื่อเน้นถึงมุมมองเอกเทวนิยมของความเชื่อแบบตรีเอกภาพ และทำให้มันเป็นที่พอใจแก่มุสลิมมากกว่า

รายงานจากมาร์แชลล์ ฮอดจ์สัน ดูเหมือนว่าในช่วงก่อนการมาของศาสนาอิสลาม ชาวอาหรับคริสเตียนบางส่วนแสวงบุญที่กะอ์บะฮ์ ซึ่งตอนนั้นยังคงเป็นวิหารของพวกนอกศาสนา ยกย่องอัลลอฮ์ในฐานะพระผู้สร้าง

อักษรภาษาซีรีแอก ܐܠܗܐ (ʼĔlāhā) สามารถพบในรายงานและรายชื่อมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่อาระเบียใต้ เช่นเดียวกันกับรายงานเอกสารภาษาซีรีแอกโบราณของชื่อมรณสักขีในสมัยอาณาจักรฮิมยัรกับอาณาจักรอักซุม

ในชีวประวัติของอิบน์ อิสฮาก มีผู้นำคริสเตียนชื่อว่า อับดุลลอฮ์ อิบน์ อะบูบักร์ อิบน์ มุฮัมมัด ผู้พลีชีพที่นัจญ์รอนใน ค.ศ. 523 สวมแหวนที่สลักว่า "อัลลอฮ์คือพระเจ้าของข้า"

ในจารึกมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่สืบถึง ค.ศ. 512 กล่าวถึงอัลอิลาฮ์ (الاله) สามารถพบได้ทั้งภาษาอาหรับกับแอราเมอิก จารึกนี้เริ่มต้นด้วยประโยค "ด้วยความช่วยเหลือจากอัลอิลาฮ์"

ในพระวรสารก่อนการมาของศาสนาอิสลาม คำที่ใช้สื่อถึงพระเจ้าคือ "อัลลอฮ์" เพราะหลักฐานจากพันธสัญญาใหม่ฉบับภาษาอาหรับที่ค้นพบบางส่วนซึ่งบันทึกโดยชาวอาหรับคริสเตียนในช่วงอาระเบียก่อนการมาของศาสนาอิสลามในคาบสมุทรอาหรับตอนเหนือและใต้ อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยล่าสุดของสาขาอิสลามศึกษาโดย Sydney Griffith และคณะฯ (2013), David D. Grafton (2014), Clair Wilde (2014), ML Hjälm และคณะฯ (2016 & 2017) ยืนยันว่า "ทุกคนสามารถพูดได้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของพระวรสารฉบับก่อนอิสลามแบบศาสนาคริสต์ในภาษาอาหรับว่า ยังไม่มีการพบสัญลักษณ์ที่แน่ชัดในการมีอยู่จริงของมันเลย" ที่มากไปกว่านั้น ในงานวิจัยล่าสุดของ ML Hjälm (2017) กล่าวไว้ว่า "ไม่มีการพบเอกสารตัวเขียนที่แปลจากพระวรสารใดที่พบก่อน ค.ศ. 873"

อิรฟาน ชะฮีด กล่าวถึงกิตาบุลอะฆอนี ชุดสะสมสารานุกรมคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไว้ว่า มีรายงานชาวคริสต์ก่อนการมาของศาสนาอิสลามได้ส่งเสียงสิงหนาทว่า "ยาลาอิบาดุลลอฮ์" (โอ้ทาสของอัลลอฮ์) เพื่อเรียกให้ผู้คนเข้าสนามรบ รายงานจากชะฮีด จากอัลมัรซุบานี นักวิชาการมุสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 10 บันทึกว่า มีการกล่าวถึง "อัลลอฮ์" ในกวีชาวคริสต์ก่อนการมาของศาสนาอิสลามจากนักกวีชาวฆ็อสซานิดบางส่วนและตานูคิดในประเทศซีเรียกับคาบสมุทรอาหรับตอนบน

ศาสนาอิสลาม

อัลลอฮ์ 
รูปแกะสลักกลมติดผนังที่มีคำว่า "อัลลอฮ์ญัลละญะลาลุฮุ" ในฮาเกียโซเฟีย อิสตันบูล ประเทศตุรกี

ในศาสนาอิสลาม อัลลอฮ์ นั้นเป็นพระเจ้าองค์เดียว มีอำนาจ และไม่เหมือนใคร และเป็นผู้สร้างจักรวาลซึ่งเหมือนกับพระเจ้าในศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมอง อัลลอฮ์ เป็นพระนามของพระเจ้า ซึ่งขัดแย้งกับนักวิชาการร่วมสมัย กับคำถามที่ว่า คำว่า อัลลอฮ์ ควรแปลว่า พระเจ้า หรือไม่

ตามหลักความเชื่อของศาสนาอิสลาม อัลลอฮ์เป็นคำเรียกทั่วไปของพระเจ้ามากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับหลักเตาฮีด ดังบทที่ 112 ของอัลกุรอาน (อัลอิคลาศ) ไว้ว่า:

    ۝ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) "พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ
    ۝ อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง
    ۝ พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ
    ۝ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"

และในอายะตุลกุรซี ซึ่งอยู่ในโองการที่ 255 ของบทที่ยาวที่สุด (บทที่ 2) ของอัลกุรอาน อัลบะเกาะเราะฮ์ ไว้ว่า:

"อัลลอฮฺนั้นคือไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใด ๆ ที่เที่ยงแท้ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย โดยที่การง่วงนอน และการนอนหลับใด ๆ จะไม่เอาพระองค์

สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นของพระองค์ ใครเล่าคือผู้ที่จะขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น

พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าของพวกเขาและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่ล้อมสิ่งใด จากความรู้ของพระองค์ไว้ได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์เท่านั้น

เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างขวางทั่วชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการรักษามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระหนักแก่พระองค์

และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่"

ในธรรมเนียมอิสลาม มี 99 พระนามของพระเจ้า (อัลอัสมาอุลฮุสนา แปลตรงตัว: 'พระนามที่ดีที่สุด' หรือ 'พระนามที่สวยงามที่สุด') ที่กล่าวถึงคุณลักษณะเฉพาะของอัลลอฮ์ พระนามทั้งหมดที่กล่าวถึงอัลลอฮ์นั้น เป็นพระนามที่สูงสุดและครอบคลุมทั้งหมด

มุสลิมส่วนใหญ่จะไม่แปลประโยคภาษาอาหรับของคำว่า อินชาอัลลอฮ์ (หมายถึง 'ถ้าพระเจ้าทรงประสงค์') หลังกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต มุสลิมที่เลี่อมใสในทางศาสนาส่งเสริมให้เริ่มต้นด้วยคำว่า บิสมิลลาฮ์ (หมายถึง 'ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า') มีประโยคอื่นที่มุสลิมใช้สรรเสริญพระเจ้า เช่น "ศุบฮานัลลอฮ์" (พระสิริเป็นของพระเจ้า) "อัลฮัมดุลิลลาฮ์" (บรรดาการสรรเสริญเป็นของพระเจ้า) "ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์" (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์) หรือบางครั้งก็ "ลาอิลาฮะอิลลาอันต์ / ฮูว์" (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก พระองค์) และ "อัลลอฮุอักบัร" (พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่) เป็นการให้ข้อคิดทางวิญญาณในการรำลึกถึงพระเจ้า (ษิกร์)

ในลัทธิศูฟีมีการปฏิบัติที่มีชื่อว่า ษิกรุลลอฮ์ (ذكر الله แปลว่า "การรำลึกถึงพระเจ้า") โดยกลุ่มศูฟีจะครุ่นคิดและกล่าวถึงพระนาม อัลลอฮ์ หรือพระนามอันวิจิตรซ้ำ ๆ ขณะควบคุมการหายใจของตน

รายงานจากฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด ปีเตอส์ "กุรอานยืนยัน มุสลิมเชื่อมั่น และนักประวัติศาสตร์ยืนยันว่ามุฮัมมัดกับผู้ติดตามของท่านสักการะพระเจ้าองค์เดียวกันกับชาวยิว (29:46) อัลลอฮ์ในอัลกุรอานเป็นพระผู้สร้างองค์เดียวกันที่ให้พันธสัญญาแก่อับราฮัม" ปีเตอส์กล่าวว่า กุรอานพรรณนาถึงอัลลอฮ์ให้มีอานุภาพและห่างไกลมากกว่าพระยาห์เวห์ และเป็นเทพเจ้าสากล (universal deity) ซึ่งต่างจากพระยาห์เวห์ที่คอยติดตามชนเผ่าอิสราเอลอย่างใกล้ชิด

ในฐานะคำยืม

ภาษาอังกฤษในกลุ่มภาษาอื่นในทวีปยุโรป

ประวัติของคำว่า อัลลอฮ์ ในภาษาอังกฤษน่าจะได้อิทธิพลมาจากการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น บางครั้ง Thomas Carlyle (1840) ใช้คำว่าอัลลอฮ์แต่ไม่บอกความนัยว่าต่างจากพระเจ้าอย่างไรอย่างไรก็ตาม ในหนังสือ biography of Muḥammad (1934) ของ Tor Andræ ใช้คำว่า อัลลอฮ์ เสมอ แม้ว่าในหนังสือ "conception of God" ได้กล่าวโดยนัยว่าพระองค์แตกต่างจากเทววิทยาแบบยิวกับคริสต์

หลายภาษาไม่ค่อยใช้คำว่า อัลลอฮ์ หมายถึงพระเจ้า แต่ยังคงใช้คำอุทานอื่นแทน เช่น เนื่องจากมุสลิมอาศัยอยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียนานหลายศตวรรษ คำว่า ojalá ในภาษาสเปน และ oxalá ในภาษาโปรตุเกส เป็นคำยืมมาจากภาษาอาหรับว่า อินชาอัลลอฮ์ (إن شاء الله) แปลตรงตัวคือ 'ถ้าพระเจ้าทรงประสงค์'

มุสลิมบางส่วนไม่แปลคำว่า "อัลลอฮ์" เป็นภาษาอังกฤษมากกว่าที่จะใช้คำแปลภาษาอังกฤษว่า "God" เนื่องจากคำนี้มักนำไปใช้กับมนุษย์บางส่วนเป็นบุคลาธิษฐานของคำและแนวคิด

ภาษามาเลเซียและอินโดนีเซีย

อัลลอฮ์ 
พจนานุกรมภาษาดัตช์-มลายูฉบับแรกโดยA.C. Ruyl, Justus Heurnius และ Caspar Wiltens ใน ค.ศ. 1650 บันทึกคำว่า "Allah" แปลเป็นภาษาดัตช์ว่า "Godt"
อัลลอฮ์ 
เกอราจากาลัมเกอบางูนันอัลละฮ์ (โบสถ์การฟื้นฟูพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า) ในภาษาอินโดนีเซีย คำว่า อัลละฮ์ หมายถึง "พระผู้เป็นเจ้า" แม้แต่คำว่า อัลกีตับ (คัมภีร์ไบเบิล จาก الكتاب อัลกิตาบ = หนังสือ) ในขณะที่คำว่าตูฮัน หมายถึง "พระเจ้า"
อัลลอฮ์ 
คริสตศาสนิกชนในประเทศมาเลเซียก็ใช้คำว่า อัลลอฮ์ หมายถึง "พระเจ้า"

คริสต์ศาสนิกชนในประเทศมาเลเซียกับอินโดนีเซียใช้คำว่า อัลลอฮ์ เพื่ออิงถึงพระเจ้าในภาษามาเลเซียและภาษาอินโดนีเซีย (รูปแบบมาตรฐานของสองภาษาคือภาษามลายู) การแปลพระคัมภีร์กระแสหลักใช้คำว่า อัลลอฮ์ เป็นคำแปลของภาษาฮีบรูว่า เอโลฮิม (พระผู้เป็นเจ้า) ซึ่งสามารถสืบถึงผลงานแปลโดยฟรันซิสโก ฆาบิเอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 พจนานุกรมภาษาดัตช์-มลายูฉบับแรกโดย Albert Cornelius Ruyl, Justus Heurnius และ Caspar Wiltens ใน ค.ศ. 1650 (ฉบับปรับปรุงในรุ่น ค.ศ. 1623 และฉบับภาษาลาตินรุ่น ค.ศ. 1631) บันทึกคำว่า "อัลลอฮ์" แปลเป็นภาษาดัตช์ว่า "Godt" นอกจากนี้ Ruyl ก็แปลพระวรสารนักบุญมัทธิวเป็นภาษามลายูใน ค.ศ. 1612 (พระคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษายุโรปช่วงแรก ซึ่งเผยแพร่หลังคัมภีร์ไบเบิลฉบับคิงเจมส์ปีเดียว) ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1629 ต่อมาเขาแปลพระวรสารนักบุญมาระโก ซึ่งเผยแพร่ใน ค.ศ. 1638

ใน ค.ศ. 2007 รัฐบาลมาเลเซียออกกฎหมายห้ามผู้ใดใช้คำว่า อัลลอฮ์ นอกจากมุสลิม แต่ใน ค.ศ. 2009 สภาสูงมาเลเซียยกเลิกกฎหมายนี้ เพิกถอนกฎหมาย วินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในขณะที่คำว่า อัลลอฮ์ ถูกใช้เป็นพระนามพระเจ้าในศาสนาคริสต์มาตั้ง 4 ศตวรรษ ข้อโต้แย้งสมัยใหม่เริ่มขึ้นจากหนังสือพิมพ์โรมันคาทอลิก เดอะเฮรัลด์ ใช้คำว่า อัลลอฮ์ ในหนังสือพิมพ์ของตน รัฐบาลจึงร้องเรียนต่อศาล และสภาสูงระงับการดำเนินการตามคำตัดสินของศาลจนกว่าจะได้รับการอุทธรณ์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 สภาเห็นชอบการแบนของรัฐบาล ในช่วงต้น ค.ศ. 2014 รัฐบาลมาเลเซียได้ยึดคัมภีร์ไบเบิลมากกว่า 300 เล่มที่ใช้พระนามนี้สื่อถึงพระเจ้าในศาสนาคริสต์ในมาเลเซียตะวันตก อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า อัลลอฮ์ ไม่ได้ถูกห้ามในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก สาเหตุหลักที่ไม่ได้ถูกห้ามในสองรัฐนี้เพราะมีการใช้คำนี้มาอย่างยาวนาน และอัลกีตับท้องถิ่น (คัมภีร์ไบเบิล) ถูกตีพิมพ์อย่างเสรีในมาเลเซียตะวันออกโดยไม่มีข้อจำกัดมาหลายปี และทั้งสองรัฐไม่มีกฎหมายรัฐอิสลาม (Islamic state laws) ที่คล้ายกับมาเลเซียตะวันตก

เพื่อตอบสนองต่อคำวิจารณ์ของสื่อ รัฐบาลมาเลเซียได้เสนอ แนวทาง 10 จุด (10-point solution) เพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลที่สับสนหรือสร้างความเข้าใจผิด แนวทาง 10 จุดนั้น สอดคล้องกับข้อตกลง 18 และ 20 ในรัฐซาราวักกับซาบะฮ์

ประเทศที่มีคำว่า "อัลลอฮ์" บนนั้น

อักษรศิลป์

อัลลอฮ์ 
คำว่า อัลลอฮ์ เขียนด้วยระบบการเขียนที่แตกต่างกัน

คำว่า อัลลอฮ์ เขียนโดยไม่มีอะลิฟเสมอ เพื่อที่จะสะกดเป็นสระ อา นั่นเพราะว่าการสะกดแบบนี้มีมาก่อนที่ชาวอาหรับจะเริ่มใช้ อะลิฟ ไว้สะกดเสียง อา อย่างเป็นปกติวิสัย อย่างไรก็ตาม ในการสะกดคำ จะมี อะลีฟ เล็กบน ชัดดะฮ์ เพื่อระบุการสะกด

ข้อยกเว้นหนึ่งอาจพบในจารึกซะบาดที่มีมาก่อนศาสนาอิสลาม โดยสุดที่สัญญาณไม่ชัดเจนที่อาจเป็นรูป ยาว หรืออาจไม่ได้เชื่อมกัน ล-ฮ:-

  • الاه: คำนี้อ่านเป็น อัลลอฮ์ สะกดด้วยการออกเสียง อะลีฟ เป็น อา
  • الإله: คำนี้อ่านเป็น อัลอิลาฮ์ = 'พระเจ้า' (รูปในอดีต ไม่ย่อ) ซึ่งไม่มีอักษร อะลีฟ สำหรับเสียง อา

ไทป์ฟอนต์อาหรับหลายอันมีตัวแฝดสำหรับคำว่า อัลลอฮ์

ยูนิโคด

ยูนิโคดมีรหัสสำหรับคำว่าอัลลอฮ์ ‎ = U+FDF2 ในบล็อก Arabic Presentation Forms-A ซึ่งมีไว้เพื่อ "เข้ากันได้กับชุดอักขระรุ่นเก่าบางชุดที่เข้ารหัสรูปแบบการนำเสนอโดยตรง" ส่วนตราแผ่นดินของอิหร่านถูกบันทึกในส่วน Miscellaneous Symbols ที่รหัส U+262B (☫)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

    อักษรศิลป์

Tags:

อัลลอฮ์ ศัพทมูลวิทยาอัลลอฮ์ การใช้งานอัลลอฮ์ ในฐานะคำยืมอัลลอฮ์ ประเทศที่มีคำว่า บนนั้นอัลลอฮ์ อักษรศิลป์อัลลอฮ์ ดูเพิ่มอัลลอฮ์ อ้างอิงอัลลอฮ์ บรรณานุกรมอัลลอฮ์ แหล่งข้อมูลอื่นอัลลอฮ์Ar-Allah.ogaพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลามภาษาอาหรับภาษาฮีบรูภาษาแอราเมอิกเอโลฮิมไฟล์:Ar-allah.ogg

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)จังหวัดกำแพงเพชรสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันประเทศกัมพูชายูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)วัดโสธรวรารามวรวิหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024อนุทิน ชาญวีรกูลเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสุทัตตา อุดมศิลป์จรินทร์พร จุนเกียรติศุภชัย โพธิ์สุวรันธร เปานิลสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)ดูไบพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวศรัณยู ประชากริชณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลซอร์ซมิวสิกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนราชวงศ์ชิงมหาวิทยาลัยขอนแก่นสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลผู้หญิง 5 บาปพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขสุภาพบุรุษชาวดินปาณัสม์ กิตติภาณุวงศ์รายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันมหาวิทยาลัยมหาสารคามเศรษฐศาสตร์พันทิป.คอมพิชิตรัก พิทักษ์โลกX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)เจริญ สิริวัฒนภักดีชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ชาคริต แย้มนามภรภัทร ศรีขจรเดชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาสืบ นาคะเสถียรประเทศเวียดนามเจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)อินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนืออัสนี-วสันต์ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชอแมนด้า ออบดัมจิรายุ ตั้งศรีสุขยงวรี อนิลบลดวงอาทิตย์จังหวัดกาฬสินธุ์นิชคุณ ขจรบริรักษ์สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดหลวงปู่ทวดจังหวัดสระบุรีแมวธนัท ฉิมท้วมจังหวัดสุรินทร์สโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซมหาวิทยาลัยสวนดุสิตซิลลี่ ฟูลส์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ามังกี้ ดี. ลูฟี่พอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกปริญ สุภารัตน์จำนวนเฉพาะธนนท์ จำเริญ🡆 More