รัฐปาเลสไตน์: ประเทศในทวีปเอเชีย

ปาเลสไตน์ (อังกฤษ: Palestine; อาหรับ: فلسطين) หรือชื่อทางการว่า รัฐปาเลสไตน์ (อังกฤษ: State of Palestine; อาหรับ: دولة فلسطين‎) อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกและตะวันออกกลางเป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967 และกำหนดเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสราเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967

รัฐปาเลสไตน์[i]

دولة فلسطين (อาหรับ)
ที่ตั้งของปาเลสไตน์
เมืองหลวงเยรูซาเลมตะวันออก (ประกาศ)[ii]
รอมัลลอฮ์ (ปกครอง)
เมืองใหญ่สุดนครกาซา
ภาษาราชการภาษาอาหรับ
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
มะห์มูด อับบาส
• นายกรัฐมนตรี
มุฮัมมัด มุสตาฟา
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติ
สถาปนา
• ประกาศอิสรภาพ
15 พฤศจิกายน 1988
• ข้อมติสมัชชาใหญ่ฯ ให้สถานะรัฐผู้สังเกตการณ์
29 พฤศจิกายน 2012
• เปลี่ยนสภาพจากองค์การบริหารปาเลสไตน์
3 มกราคม 2013
• ข้อพิพาทอธิปไตยกับอิสราเอล
กำลังดำเนินอยู่
พื้นที่
• รวม
6,220 ตารางกิโลเมตร (2,400 ตารางไมล์)
เวสต์แบงก์: 5,860 กม2
   ทะเลเดดซี: 220 กม2 
ฉนวนกาซา: 360 กม2 
(อันดับที่ 164)
ประชากร
• 2010 (กรกฎาคม) ประมาณ
5,483,450a (121)
จีนี (2009)35.5
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.708
สูง · 115
สกุลเงิน
(ILS)
เขตเวลาUTC+2 ( )
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 ( )
รหัสโทรศัพท์970
โดเมนบนสุด.ps
ก. สถิติประชากรและเศรษฐกิจ และการจัดอันดับ มาจากดินแดนปาเลสไตน์
ข. ยังเป็นผู้นำรัฐบาลของรัฐ[iv]
รัฐปาเลสไตน์: ภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์, ประวัติศาสตร์
แผนการแบ่งดินแดนของสหประชาชาติ

การประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน" องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974 ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์ แม้จะมีคำวินิจฉัยนี้ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็มิได้เข้าร่วมสหประชาชาติในขีดความสามารถที่เป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 67/19 ยกระดับปาเลสไตน์จาก "องค์การผู้สังเกตการณ์" (observer entity) เป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย

ในข้อตกลงกรุงออสโลปี 1993 อิสราเอลรับรองคณะผู้เจรจาขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ว่า "เป็นผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ตอบแทนการที่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิของอิสราเอลที่จะดำรงอยู่อย่างสันติ การยอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และปฏิเสธ "ความรุนแรงและการก่อการร้าย" ผลคือ ในปี 1994 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สถาปนาการปกครองดินแดน ซึ่งบริหารหน้าที่รัฐบาลบ้างในบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

ในปี 2007 การยึดฉนวนกาซาโดยฮะมาส แบ่งชาวปาเลสไตน์ทั้งทางการเมืองและดินแดน โดยฟะตะห์ของมาห์มูด อับบาสยังปกครองเวสต์แบงก์ส่วนใหญ่และนานาประเทศรับรองว่าเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์ ขณะที่ฮะมาสรักษาการควบคุมฉนวนกาซาไว้ ในเดือนเมษายน 2011 พรรคการเมืองปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติหยุดไปนับแต่นั้น

จนถึงเดือนเมษายน 2024 มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 140 รัฐ จาก 193 รัฐ (72.5%) ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์ กระนั้นหลายประเทศที่มิได้รับรองรัฐปาเลสไตน์ก็รับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการบริหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับอำนาจจากสภาแห่งชาติปาเลสไตน์ให้ดำเนินหน้าที่รัฐบาลในรัฐปาเลสไตน์

ภูมิศาสตร์

อาณาเขต

ส่วนหนึ่งของดินแดนนี้ที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เคยถูกเรียกว่า "ดินแดนคะนาอัน" (Canaan) ในช่วงที่อยู่ใต้การปกครองของอียิปต์ ในภายหลังได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองส่วน ส่วนทางใต้กลายเป็นราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนทางเหนือคืออิสราเอล

ประวัติศาสตร์

สงครามในปาเลสไตน์

การแบ่งแยก

รัฐปาเลสไตน์: ภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์, ประวัติศาสตร์ 
แม่แบบ:Partition Plan-Armistice Lines comparison map legend

สงครามอาหรับ–อิสราเอล 1948

ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 กองทัพซีเรีย ทรานส์จอร์แดน อิรัก เลบานอน และอียิปต์ ก็ข้ามพรมแดนปาเลสไตน์เข้าตะลุมบอนกับกองทัพอิสราเอล ซึ่งมีอายุได้เพียงวันเดียว ตามทางการแล้วสงครามกระทำกันในเวลา 8 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 1948 จนถึงวันที่ 7 มกราคม 1949 การหย่าศึกครั้งที่หนึ่ง วันที่ 11 มิถุนายน 1948 เมื่อสหประชาชาติ (เคานต์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ตัวแทน) ให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 1 เดือน ในระหว่างการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายถูกห้ามมิให้นำอาวุธเข้ามา และฝ่ายไกล่เกลี่ยสหประชาชาตินำทหารเข้าไปเพื่อควบคุมฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน ความจริงทั้งฝ่ายอาหรับและยิวใช้เวลาหยุดยิง 4 สัปดาห์ เตรียมจัดหน่วยและเสริมกำลังทั้งด้านกำลังพล ยุทธสัมภาระและวางกำลังใหม่ พอครบหนึ่งเดือน เริ่มขึ้นตอนเที่ยงคืนของวันที่ 11 กรกฎาคม กินเวลาเพียงสิบวันเท่านั้น การหยุดยิงครั้งที่สองเริ่มวันที่ 19 กรกฎาคม 1948 การหยุดยิงครั้งที่สองมิได้กำหนดเวลาไว้ คาดว่าจะนำไปสู่การหยุดยิงตลอดไป โดยคาดว่ากรณีพิพาทจะตกลงกันได้โดยวิถีทางการทูต จากความช่วยเหลือของผู้ไกล่เลี่ยสหประชาชาติ คือ เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ อย่างไรก็ตาม ความเป็นศัตรูกันเริ่มขึ้นอีกในวันที่ 10 ตุลาคม 1948 นับว่าเป็นขั้นสุดท้ายของสงครามนำด้วยเหตุการณ์ที่น่าเศร้า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1948 เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ถูกผู้ก่อการร้ายฆ่าตาย

การสู้รบสิ้นสุดลงในวันที่ 7 มกราคม 1949 และในเดือนกุมภาพันธ์ อียิปต์ลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับอิสราเอล, เดือนมีนาคม รัฐบาลอาหรับอื่น ๆ ทำตามอียิปต์ นอกจากรัฐบาลอิรัก และเลบานอน, เดือนเมษายน จอร์แดน และเดือนกรกฎาคม ซีเรีย อิรักเพียงแต่ถอนทหารออกจากปาเลสไตน์โดยไม่ลงนามในสัญญาหยุดยิง

หลังสงคราม

หลังสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ได้มีข้อตกลงสงบศึกใน ค.ศ. 1949 กำหนดให้แบ่งดินแดนออกเป็น 3 ส่วน ให้กับอิสราเอล และชาติอาหรับในบริเวณนั้นอีก 2 ชาติ คือ อียิปต์และจอร์แดน

อิสราเอลได้เนื้อที่ไป 26% คือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ส่วนจอร์แดนได้ไป 21% คือเวสต์แบงก์ โดยกรุงเยรูซาเลมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนให้กับทั้งอิสราเอลและจอร์แดน ส่วนอียิปต์ได้บริเวณฉนวนกาซา เมื่อการแบ่งดินแดนกันเรียบร้อย ก็เกิดการอพยพของชาวยิวและชาวอาหรับเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตแดนของตน

สงครามหกวัน

หลังจากสงครามหกวัน ในปี ค.ศ. 1967 อิสราเอลได้ยึดดินแดนบางส่วนของอียิปต์และจอร์แดนได้

ประวัติศาสตร์

ประกาศเอกราช

ได้มีการประกาศเป็นรัฐปาเลสไตน์ในปี 1988 โดยสหประชาชาติ โดยมีดินแดนบางส่วนในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

การแตกแยกของฟะตะห์และฮะมาส

มีรัฐบาลฟะตะห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ ส่วนรัฐบาลฮะมาสก็ได้รับเลือกเป็นรัฐบาลในฉนวนกาซาในปี 2006 ซึ่งรัฐบาลฟะตะห์เน้นสันติ แต่รัฐบาลฮะมาสเน้นใช้ความรุนแรง แต่ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2014 ฟะตะห์จับมือฮะมาสเป็นพันธมิตรตั้งรบ.ผสมปาเลสไตน์ ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศรายงานาว่ากลุ่มฟะตะห์ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐบาลปาเลสไตน์ได้บรรลุข้อตกลงยุติความขัดแย้งและเป็นพันธมิตรกับกลุ่มฮะมาส ซึ่งถือเป็นการบรรลุครั้งใหญ่ของอดีตกลุ่มก่อการร้ายสองฝ่ายของปาเลสไตน์โดยทั้งสองฝ่ายประกาศว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับชาวปาเลสไตน์ ที่จะสามารถยุติยุคแห่งความขัดแย้งและความแตกแยกของปาเลสไตน์ และกลุ่มคาดหวังว่า การบรรลุข้อตกลงนี้ จะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมเอกภาพภายใน 5 สัปดาห์ข้างหน้า ผ่านการลงมติไว้วางใจจากรัฐสภาปาเลสไตน์ และการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอีก 5 เดือนข้างหน้า โดยปัจจุบัน กลุ่มฟะตะห์มีประธานาธิบดีมาห์ มุด อับบาส เป็นผู้นำ และกลุ่มฮะมาส มีนายอิสเมล์ ฮานิยาห์ เป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ด้านสหรัฐแสดงความวิตกต่อการเป็นพันธมิตรของสองกลุ่มการเมืองปาเลสไตน์ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มก่อการร้ายว่าอาจขัดขวางต่อความพยายามที่ปาเลสไตน์จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอล โดยย้ำว่า ทั้งสองกลุ่มจะต้องยึดต่อหลักการไม่ใช้ความรุนแรงและยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล ไม่เช่นนั้นการบรรลุสันติภาพของปาเลสไตน์และอิสราเอลจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

ปาเลสไตน์ในสหประชาชาติ

การขอเป็นสมาชิกสหประชาชาติ

ในวันที่ 23 กันยายน 2011 ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ ได้ยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเสมือนเป็นการรับรองรัฐปาเลสไตน์ โดยยูเนสโกเป็นองค์การชำนาญพิเศษของยูเอ็นแห่งแรกที่ปาเลสไตน์ได้เป็นสมาชิกเต็ม

การได้เป็นสมาชิกยูเนสโก

ในวันที่ 31 ตุลาคม 2011 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ลงมติรับรองสถานภาพสมาชิกแก่ปาเลสไตน์โดยสมบูรณ์ โดยชาติสมาชิกทั้งหมด 173 ประเทศ ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ยูเนสโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานภาพเป็นสมาชิกยูเนสโกเต็มตัว โดยมีชาติสมาชิกสนับสนุน 107 ประเทศ คัดค้าน 14 ประเทศ และงดออกเสียง 52 ประเทศ ซึ่งถือเป็นมติรับรองปาเลสไตน์เกินกว่า 2 ใน 3 ที่ทำให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกภาพของยูเนสโกในลำดับที่ 195 ในขณะที่สหรัฐฯ อิสราเอล แคนาดา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ โหวตค้านการรับรองปาเลสไตน์ ส่วนบราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และฝรั่งเศส ต่างโหวตสนับสนุน ขณะที่อังกฤษและอิตาลีของดออกเสียง

การได้เป็นสมาชิกผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติ

ยูเอ็นได้ลงมติยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ เทียบเท่ากับสถานะของนครรัฐวาติกัน ซึ่งทางยูเอ็นลงมติด้วยคะแนน 138 ต่อ 9 เสียง เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ซึ่งไม่ใช่สมาชิกยูเอ็น โดยนายอับบาสระบุว่ามติของยูเอ็นเปรียบได้กับใบแจ้งเกิดที่จะนำไปสู่การยอมรับความเป็นรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต แม้ว่าเส้นทางการต่อสู้ไปสู่เสรีภาพที่แท้จริงยังอีกยาวไกล แต่การยอมรับสถานะรัฐปาเลสไตน์จะช่วยกดดันให้รัฐบาลอิสราเอลกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพร่วมกับปาเลสไตน์อีกครั้ง หลังความพยายามในการเจรจาต่อรองหยุดชะงักมานานกว่า 2 ปี ส่วนนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงประณามคำปราศรัยของอับบาสว่าเป็นยาพิษที่ส่งผลมอมเมาประชาคมโลก ขณะที่กองกำลังติดอาวุธฮะมาสในดินแดนฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ได้ร่วมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของรัฐบาลปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ด้วย

การเมืองการปกครอง

กองทัพ

รัฐปาเลสไตน์มีกำลังทหารที่เรียกว่ากำลังความมั่นคงแห่งชาติ (Palestinian National Security Forces) และยังมีกองกำลังย่อยอยู่อีก เช่น ฟอร์ซ 14 (กองทัพอากาศ), ตำรวจพลเรือนปาเลสไตน์ นอกจากนี้ยังมีกองกำลังชาวปาเลสไตน์อื่น ๆ อีก เช่น กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นต้น

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

รัฐปาเลสไตน์ ภูมิศาสตร์รัฐปาเลสไตน์ ประวัติศาสตร์รัฐปาเลสไตน์ ประวัติศาสตร์รัฐปาเลสไตน์ การเมืองการปกครองรัฐปาเลสไตน์ อ้างอิงรัฐปาเลสไตน์ ดูเพิ่มรัฐปาเลสไตน์ แหล่งข้อมูลอื่นรัฐปาเลสไตน์ตะวันออกกลางภาษาอังกฤษภาษาอาหรับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์อิสราเอลเยรูซาเลมเอเชียตะวันตกแอลเจียร์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บาท (สกุลเงิน)สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)อัสซะลามุอะลัยกุมเปป กวาร์ดิโอลาลิโอเนล เมสซิพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจีรนันท์ มะโนแจ่มเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ปาณัสม์ กิตติภาณุวงศ์หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์สถานีกลางบางซื่อพรหมวิหาร 4จักรพรรดินโปเลียนที่ 1พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมูฮัมหมัด อุสมานมูซาจ้าว ลู่ซือเผ่า ศรียานนท์เมตาICD-10สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จังหวัดตราดรายชื่อตอนในโปเกมอนพระพุทธเจ้าไอยูผู้หญิง 5 บาปปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์พัชราภา ไชยเชื้อนิภาภรณ์ ฐิติธนการจังหวัดปทุมธานีทักษิณ ชินวัตรพชร จิราธิวัฒน์รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีสะดุดรักยัยแฟนเช่าจังหวัดนครราชสีมาวรันธร เปานิลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์อนิเมะAกรภัทร์ เกิดพันธุ์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กสโมสรฟุตบอลเชลซีศรัณยู ประชากริชภาวะโลกร้อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจิราพร สินธุไพรกัญญาวีร์ สองเมืองญีนา ซาลาสผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไทยรัฐพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตทายาทไหทองคำลุค อิชิกาวะ พลาวเดนภาคใต้ (ประเทศไทย)รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีการบินไทยเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิจังหวัดสุโขทัยสุภาพบุรุษจุฑาเทพสีประจำวันในประเทศไทยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจุลจักร จักรพงษ์จังหวัดสงขลาบีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)หม่ำ จ๊กมกเขตการปกครองของประเทศพม่านามสกุลพระราชทานสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชวชิรวิชญ์ ชีวอารีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจีเอ็มเอ็มทีวีวรกมล ชาเตอร์คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ศาสนาอิสลามเธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช🡆 More