ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์

ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ (อาหรับ: منتخب فِلَسطِيْن لِكُرَّةُ الْقَدَم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากรัฐปาเลสไตน์ สำหรับการแข่งขันในระดับชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ (PFA) โดยเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC)

ปาเลสไตน์
Shirt badge/Association crest
ฉายาأُسُودُ كَنعَان (สิงโตแห่งคานาอัน)
الْفَدَائِي (อัลฟะดาอี)
الْفُرْسَان (อัศวิน)
สมาคมสมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์
(الإتِّحَادُ الْفِلَسْطِيْنِيّ لِكُرَّةُ الْقَدَم)
สมาพันธ์ย่อยWAFF (เอเชียตะวันตก)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนมักร็อม ดะบูบ
กัปตันมุศอับ อัลบัฏฏอฏ
ติดทีมชาติสูงสุดอับดุลละฏีฟ อัลบะฮ์ดารี (82)
ทำประตูสูงสุดฟะฮด์ อัตตาล
อัชร็อฟ นัวะอ์มาน
อุดัย อัดดับบาฆ (14)
สนามเหย้าสนามกีฬานานาชาติฟัยศ็อล อัลฮุซัยนี
รหัสฟีฟ่าPLE
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 93 เพิ่มขึ้น 4 (4 เมษายน 2024)
อันดับสูงสุด73 (กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2018)
อันดับต่ำสุด191 (เมษายน – สิงหาคม 1999)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 5–0 ปาเลสไตน์ในอาณัติ ธงชาติปาเลสไตน์ในอาณัติ
(ไคโร ประเทศอียิปต์; 4 เมษายน ค.ศ. 1930)

ชนะสูงสุด
ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 11–0 กวม ธงชาติกวม
(ธากา ประเทศบังกลาเทศ; 1 เมษายน ค.ศ. 2006)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเลบานอน เลบานอน 9–1 ปาเลสไตน์ ธงชาติรัฐปาเลสไตน์
(อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1953)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 2015)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีมสุดท้าย (2023)
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 2006)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2014)
WAFF Championship
เข้าร่วม10 (ครั้งแรกใน 2000)
ผลงานดีที่สุดรอบกลุ่ม (7 ครั้ง)
เกียรติยศ
ฟุตบอลชาย
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มัลดีฟส์ 2014 ทีม
อาหรับเกมส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อัมมาน 1999 ทีม

ในสมัยที่รัฐปาเลสไตน์ยังเป็นดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติที่ปกครองโดยสหราชอาณาจักร สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ในอาณัติได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1928 ต่อมาดินแดนปาเลสไตน์ได้ประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1988 และสมาคมฟุตบอลของปาเลสไตน์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ในปี ค.ศ. 1998 ภายหลังจากการก่อตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

ทีมชาติปาเลสไตน์ยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก แต่ผ่านเข้าไปเล่นในรายการสำคัญระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบสุดท้ายที่ประเทศออสเตรเลีย โดยผ่านเข้ารอบมาในฐานะแชมป์ของรายการเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ 2014 ที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดยในนัดชิงชนะเลิศที่สนามกีฬาแห่งชาติมัลดีฟส์ กรุงมาเล ปาเลสไตน์สามารถเอาชนะทีมชาติฟิลิปปินส์ได้ 1-0 โดยถือเป็นแชมป์รายการแรกของปาเลสไตน์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทีมชาติปาเลสไตน์ไม่มีการแข่งในบ้าน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งและสงคราม ในบริเวณเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ซึ่งการแข่งครั้งทั้งหมดจะแข่งในประเทศกาตาร์และประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ปัญหาในทีมชาติปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นได้แก่ การห้ามเดินทางออกนอกประเทศของประชาชนปาเลสไตน์ ที่เกิดจากความขัดแย้งกับอิสราเอล รวมถึงการขอวีซ่าในการเข้าประเทศจากทางรัฐบาล

ในปี 2549 ได้มีภาพยนตร์ชื่อ โกลดรีมส์ (Goal Dreams) ถูกสร้างขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทีมชาติปาเลสไตน์ที่พยายามจะผ่านรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2006 และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาออกอากาศเป็นสารคดีในช่องสถานีบีบีซี

โดยในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบแรก ทีมชาติปาเลสไตน์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม D ร่วมกับญี่ปุ่น ,จอร์แดน และอิรัก

ผลงาน

ฟุตบอลโลก

  • 1930 - 1998 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 2002 - 2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

เอเชียนเกมส์

  • 2010 - รอบแรก
  • 2014 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย

เอเชียนคัพ

  • 1956 - 1996 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 2000 - 2011 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2015 - รอบแรก
  • 2019 - รอบแรก
  • 2023 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย

เวสต์เอเชียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ

  • 2000 - 2014 - รอบแรก

เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ

  • 2006 - รอบ 8 ทีมสุดท้าย
  • 2008 - ถอนตัว
  • 2010 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2012 - อันดับ 4
  • 2014 - ชนะเลิศ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ ผลงานฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ อ้างอิงฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ แหล่งข้อมูลอื่นฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ฟุตบอลภาษาอาหรับรัฐปาเลสไตน์สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ปรีดี พนมยงค์ช่อง 8ทวีปอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนสโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์กกันต์ กันตถาวรอริยบุคคลเปรียญธรรม 9 ประโยคธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สประเทศบังกลาเทศลมเล่นไฟจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดอำนาจเจริญวรนิษฐ์ ถาวรวงศ์มหาสงครามพิภพวานรประเทศฟิลิปปินส์ประเทศโมนาโกอสมทธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชคนลึกไขปริศนาลับรีโว่ คัพ 2566–67วัชรเรศร วิวัชรวงศ์สโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์เผ่า ศรียานนท์จังหวัดนนทบุรีประเทศปากีสถานบยอน อู-ซ็อกชวินทร์วุฒิ ก้องธรนินทร์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโลโซภาสวิชญ์ บูรณนัติวิธวัฒน์ สิงห์ลำพองมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนาคามีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทิโมธี ชาลาเมต์ตัวเลขโรมันสหรัถ สังคปรีชาอุรัสยา เสปอร์บันด์ข้ามเวลามาเซฟเมนพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศเยอรมนีพระพุทธชินราชสุภาพบุรุษจุฑาเทพเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสสิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รักพวงเพ็ชร ชุนละเอียดไทใหญ่2ประเทศเวียดนามประเทศซาอุดีอาระเบียพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลบอดี้สแลมจังหวัดสระแก้วปานวาด เหมมณีเอฟเอคัพรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครบรรดาศักดิ์อังกฤษรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันจังหวัดสมุทรปราการวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารจีรนันท์ มะโนแจ่มสำนักพระราชวังณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลข่าวช่อง 7HDภาคใต้ (ประเทศไทย)สงครามโลกครั้งที่หนึ่งรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยลูซิเฟอร์สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งฮ่องกง🡆 More