จำนวนอดิศัย

ในทางคณิตศาสตร์นั้น จำนวนอดิศัย (อังกฤษ: transcendental number) คือ จำนวนอตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเชิงพีชคณิต ซึ่งหมายถึงจำนวนที่ไม่ใช่ราก (คำตอบ) ของสมการพหุนาม

โดย n ≥ 1 และสัมประสิทธิ์ เป็นจำนวนเต็ม (หรือจำนวนตรรกยะ ซึ่งให้ความหมายเดียวกัน เนื่องจากเราสามารถคูณสัมประสิทธิ์ทั้งหมดด้วยตัวคูณร่วมน้อย เพื่อให้สัมประสิทธิ์ทั้งหมดกลายเป็นจำนวนเต็ม) ซึ่งไม่เท่ากับศูนย์อย่างน้อยหนึ่งตัว

จำนวนอดิศัย
พาย (π) เป็นจำนวนอดิศัยที่รู้จักกันดี

สมบัติ

จำนวนอดิศัยไม่สามารถนับได้

ตามหลักทฤษฎีเซต เซตของจำนวนเชิงพีชคณิตทั้งหมดนั้น สามารถนับได้ (สามารถสร้างฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง ระหว่างเซตของจำนวนนับและจำนวนเชิงพีชคณิตได้) ในขณะที่เซตของจำนวนจริงทั้งหมด ไม่สามารถนับได้ (ไม่สามารถสร้างฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง จากเซตของจำนวนนับไปยังจำนวนจริงได้) ดังนั้นเซตของจำนวนอดิศัยทั้งหมดนั้นจึง ไม่สามารถนับได้

ในมุมมองดังกล่าว เราสามารถกล่าวได้ว่า "จำนวนอดิศัยทั้งหมดมีมากกว่าจำนวนเชิงพีชคณิต" อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนั้นมีจำนวนอดิศัยเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่เรารู้จัก (ในทำนองเดียวกันกับปัญหาที่ไม่สามารถคำนวณได้ในทฤษฎีการคำนวณได้) โดยทั่วไป การพิสูจน์ว่าจำนวนหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนอดิศัยนั้น ยากอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของจำนวนปกติอาจจะช่วยในการระบุจำนวนอดิศัยจากจำนวนอื่นๆ ได้

ประวัติการค้นพบจำนวนอดิศัย

จำนวนอดิศัยตัวแรกถูกค้นพบโดย Joseph Liouville ในปี ค.ศ. 1844 จึงมีชื่อเรียกว่าค่าคงที่ Liouville

จำนวนอดิศัยที่สำคัญ

จำนวนอดิศัยอื่น ๆ ที่เรารู้จักมีดังต่อไปนี้:

  • ea ในกรณีที่ a เป็นจำนวนเชิงพีชคณิตที่ไม่เท่ากับศูนย์ (สังเกตว่า e เป็นจำนวนอดิศัย) (พิสูจน์โดยทฤษฎี Lindemann–Weierstrass )
  • π (พิสูจน์โดยทฤษฎี Lindemann–Weierstrass )
  • eπ ค่าคงตัว Gelfond (พิสูจน์โดยทฤษฎี Gelfond–Schneider)
  • 2√2 หรือในรูปแบบทั่วไป ab โดย a ≠ 0,1 และเป็นจำนวนเชิงพีชคณิต และ b เป็นจำนวนอตรรกยะเชิงพีชคณิต ซึ่งเป็นคำตอบสำหรับปัญหาข้อที่เจ็ดของฮิลเบิร์ต ในกรณีขยายของปัญหาข้อที่เจ็ดของฮิลเบิร์ต ที่ต้องการให้พิจารณาว่า ab เป็นจำนวนอดิศัยหรือไม่เมื่อ a ≠ 0,1 และเป็นจำนวนเชิงพีชคณิต และ b เป็นจำนวนอตรรกยะใด ๆ นั้นยังคงไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้
  • ln (a) ถ้า a เป็นจำนวนตรรกยะบวกและ a ≠ 1
  • Ω ค่าคงตัว Chaitin
  • จำนวนอดิศัย  โดย จำนวนอดิศัย  เป็นฟังก์ชันพื้น (floor function) เช่น ถ้า β = 2 ตัวเลขนี้คือ 0.11010001000000010000000000000001000…
  • ค่าคงตัว Prouhet–Thue–Morse.
  • 0.64341054629..., ค่าคงตัวของ Cahen.


ความสำคัญของจำนวนอดิศัย

การค้นพบจำนวนอดิศัย สามารถนำไปใช้พิสูจน์ความ เป็นไปไม่ได้ ในการแก้ปัญหาของคณิตศาสตร์กรีกโบราณหลายข้อที่เกี่ยวกับ การสร้างรูปด้วยไม้บรรทัดและวงเวียน เช่น การสร้างสี่เหลี่ยมจตุรัสจากวงกลม ซึ่งเป็นไปไม่ได้เนื่องจาก π เป็นจำนวนอดิศัย. ในขณะที่การสร้างรูปด้วยไม้บรรทัดและวงเวียน สามารถสร้างได้แต่รูปที่มีความยาวในขอบเขตของจำนวนเชิงพีชคณิตเท่านั้น


อ้างอิง

Tags:

จำนวนอดิศัย สมบัติจำนวนอดิศัย ประวัติการค้นพบจำนวนอดิศัย ที่สำคัญจำนวนอดิศัย ความสำคัญของจำนวนอดิศัย อ้างอิงจำนวนอดิศัยคณิตศาสตร์จำนวนจำนวนอตรรกยะจำนวนเชิงพีชคณิตภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อริยสัจ 4ธงไชย แมคอินไตย์นักเตะแข้งสายฟ้าพิจักขณา วงศารัตนศิลป์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอาณาจักรอยุธยาประเทศลาวกังฟูแพนด้า 4ประเทศจีนเขตพื้นที่การศึกษาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)โหนกระแสสโมสรฟุตบอลเชลซีป๊อกเด้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)รายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)พจมาน ณ ป้อมเพชรสุจาริณี วิวัชรวงศ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024จังหวัดสกลนครรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสงขลาเหี้ยจังหวัดสุราษฎร์ธานีโชกุนสล็อตแมชชีนประเทศเวียดนามพระศรีอริยเมตไตรยรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยฟุตบอลรหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศไกรศักดิ์ ชุณหะวัณภาสวิชญ์ บูรณนัติรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์นพเก้า เดชาพัฒนคุณที-อาราสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเดือนสถาบันพระบรมราชชนกรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเทศเกาหลีใต้ประวัติศาสตร์โรงเรียนบรรจงรัตน์รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยพระมหากษัตริย์ไทยรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากจังหวัดเชียงใหม่เรวัช กลิ่นเกษรฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกสจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่นประเทศอาร์เจนตินาICD-10กองทัพ พีคมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024แจ็กสัน หวังเมืองพัทยาพรหมวิหาร 4สำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาวีระ สุสังกรกาญจน์บูมเมอแรง (ประเทศไทย)กูเกิลจังหวัดสระแก้วธงประจำพระองค์ประเทศอิสราเอลธีรศิลป์ แดงดารายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันเบบี้เมทัล🡆 More