ประเทศเอธิโอเปีย: ประเทศในแอฟริกาตะวันออก

9°00′N 38°42′E / 9°N 38.7°E / 9; 38.7

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย

ชื่อในภาษาราชการ
  • โซมาลี:Jamhuuriyadda Dimuqraadiga Federaalka Itoobiya
    ทือกรึญญา:ፌዴራላዊ ዴሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ ኢትዮጵያ
    อาฟาร์:Itiyoppiya Federaalak Demokraatik Rippeblikih
    อามารา:የኢትዮጵያ ፌዴራላዊ ዴሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ
    โอโรโม:Rippabliikii Federaalawaa Dimokraatawaa Itiyoophiyaa
ตราแผ่นดินของเอธิโอเปีย
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของเอธิโอเปีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อาดดิสอาบาบา
9°1′N 38°45′E / 9.017°N 38.750°E / 9.017; 38.750
ภาษาราชการโซมาลี
ทือกรึญญา
อาฟาร์
อามารา
โอโรโม
ภาษาประจำภูมิภาค
  • Harari
  • Sidama
  • อื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2007)
  • 34.5% โอโรโม
  • 26.9% อามารา
  • 6.2% โซมาลี
  • 6.1% ทือกรึญญา
  • 4.0% ซิดามา
  • 2.5% Gurage
  • 2.3% Welayta
  • 1.7% Hadiya
  • 1.7% อะฟาร์
  • 12.6% อื่น ๆ
ศาสนา
(ค.ศ. 2016)
  • 67.3% คริสต์
  • —43.8% ออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปีย
  • —22.8% P'ent'ay
  • —0.7% คริสต์นิกายอื่น ๆ
  • 31.3% อิสลาม
  • 0.6% ความเชื่อพื้นเมือง
  • 0.8% อื่น ๆ / ไม่มี
การปกครองสหพันธ์ สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
• ประธานาธิบดี
ซาห์เล เวิร์ก ซิวเด
• นายกรัฐมนตรี
อาบีย์ อาห์เม็ด
สภานิติบัญญัติสมัชชารัฐสภากลาง
สภาสหพันธ์
สภาผู้แทนราษฎร
การก่อตั้ง
• ก่อตั้งจักรวรรดิ
ค.ศ. 1270
• Zemene Mesafint
7 พฤษภาคม ค.ศ. 1769
• รวมประเทศ
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1855
• รวมศูนย์
ค.ศ. 1904
• ถูกครอบครองและผนวกเข้ากับแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี
9 พฤษภาคม ค.ศ. 1936
• ข้อตกลงอังกฤษ-เอธิโอเปีย
31 มกราคม ค.ศ. 1942
• เริ่มต้นการปกครองของเผด็จการทหารเดร์ก
12 กันยายน ค.ศ. 1974
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1991
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
21 สิงหาคม ค.ศ. 1995
พื้นที่
• รวม
1,104,300 ตารางกิโลเมตร (426,400 ตารางไมล์) (อันดับที่ 26)
0.7
ประชากร
• 2021 ประมาณ
117,876,227 (อันดับที่ 12)
• สำมะโนประชากร 2007
73,750,932
92.7 ต่อตารางกิโลเมตร (240.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 123)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2022 (ประมาณ)
• รวม
4.01 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 58)
3,407 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด) 2022 (ประมาณ)
• รวม
1.22591 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 65)
1,040 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (ค.ศ. 2015)Negative increase 35.0
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.485
ต่ำ · อันดับที่ 173
สกุลเงินBirr (ETB)
เขตเวลาUTC+3 (เวลาแอฟริกาตะวันออก)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+251
โดเมนบนสุด.et

เอธิโอเปีย (อังกฤษ: Ethiopia; โซมาลี: Itoobiya; ทือกรึญญา: ኢትዮጵያ; อาฟาร์: Itiyoppiya; อามารา: ኢትዮጵያ, ออกเสียง [i.tjo.p’ja]; โอโรโม: Itiyoophiyaa) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (อังกฤษ: Federal Democratic Republic of Ethiopia; โซมาลี: Jamhuuriyadda Dimuqraadiga Federaalka Itoobiya; ทือกรึญญา: ፌዴራላዊ ዴሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ ኢትዮጵያ; อาฟาร์: Itiyoppiya Federaalak Demokraatik Rippeblikih; อามารา: የኢትዮጵያ ፌዴራላዊ ዴሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ; โอโรโม: Rippabliikii Federaalawaa Dimokraatawaa Itiyoophiyaa) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกาในแอฟริกาตะวันออก มีพรมแดนติดกับเอริเทรียทางตอนเหนือ จิบูตีทางตะวันออกเฉียงเหนือ โซมาเลียทางทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เคนยาทางทิศใต้ ซูดานใต้ทางทิศตะวันตก และซูดานทางตะวันตกเฉียงเหนือ เอธิโอเปียครอบคลุมพื้นที่ 1,112,000 ตารางกิโลเมตร (472,000 ตารางไมล์) ข้อมูลเมื่อ 2023, มีประชากรอยู่ประมาณ 128 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ในแอฟริการองจากไนจีเรีย และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีประชากรมากที่สุดในโลก อาดดิสอาบาบา เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อยู่ห่างจากรอยแยกแอฟริกาตะวันออกหลายกิโลเมตร ซึ่งแบ่งประเทศออกเป็นแผ่นเปลือกโลกแอฟริกาและโซมาเลีย

มนุษย์สมัยใหม่ที่มีโครงสร้างทางกายวิภาคถือกำเนิดมาจากเอธิโอเปียในยุคปัจจุบัน และออกเดินทางสู่ตะวันออกใกล้และที่อื่น ๆ ในยุคหินเก่าตอนกลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปียได้รับการเสนอให้เป็นแหล่งกำเนิดของตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก เอธิโอเปียเป็นประเทศที่เก่าแก่ที่สุดของแอฟริกา และเป็นหนึ่งในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วยประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปีใน 980 ปีก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักร D'mt ได้ขยายอาณาจักรเหนือเอริเทรียและทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย ในขณะที่อาณาจักรอักซุมยังคงรักษาอารยธรรมที่เป็นเอกภาพในภูมิภาคนี้เป็นเวลา 900 ปี โดยศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับจากอาณาจักรในปี 330 หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรอักซุมใน ค.ศ. 960 ราชวงศ์ซากเวได้ปกครองส่วนทางตอนเหนือและตอนกลางของเอธิโอเปีย จนกระทั่งถูกเยคูโน อัมลัค โค่นล้มใน ค.ศ. 1270 เป็นการก่อตั้งจักรวรรดิเอธิโอเปียและราชวงศ์โซโลมอน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 จักรวรรดิเติบโตขึ้นผ่านการขยายอาณาเขตและการต่อสู้กับดินแดนที่อยู่ติดกัน สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุดคือ สงครามเอธิโอเปีย–อาดาล (ค.ศ. 1529–1543) มีส่วนทำให้เกิดการแบ่งแยกของจักรวรรดิ ซึ่งท้ายที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้การกระจายอำนาจที่เรียกว่า เซเมเน เมซาฟินต์ ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จักรพรรดิเทโวโดรอสที่ 2 ทรงสละราชบัลลังก์เซเมเน เมซาฟินต์เมื่อต้นรัชสมัยของพระองค์ใน ค.ศ. 1855 ซึ่งถือเป็นการรวมตัวกันอีกครั้งของจักรวรรดิ

ตั้งแต่ ค.ศ. 1878 เป็นต้นมา จักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 ทรงเปิดการพิชิตดินแดนหลายครั้งซึ่งส่งผลให้เกิดพรมแดนปัจจุบันของเอธิโอเปีย ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เอธิโอเปียต้องปกป้องประเทศจากการรุกรานจากต่างประเทศ รวมทั้งจากอียิปต์และอิตาลี เป็นผลให้เอธิโอเปียรักษาอำนาจอธิปไตยของตนไว้ในช่วงการอาณานิคมแอฟริกา ใน ค.ศ. 1936 เอธิโอเปียถูกอิตาลีฟาสซิสต์ยึดครอง และผนวกกับเอริเทรียและโซมาลีแลนด์ที่อิตาลียึดครอง ต่อมาได้ก่อตั้งแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี ใน ค.ศ. 1941 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอังกฤษยึดครอง และได้ฟื้นฟูอธิปไตยโดยกองทัพอังกฤษอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1944 หลังจากช่วงการปกครองของทหารคือเดร์ก ซึ่งเป็นรัฐบาลเผด็จการทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตขึ้นสู่อำนาจใน ค.ศ. 1974 หลังจากโค่นล้มจักรพรรดิฮัยเลอ ซึลลาเซที่ 1 และราชวงศ์ซาโลมอน และได้ปกครองประเทศมาเกือบ 17 ปีท่ามกลางสงครามกลางเมืองเอธิโอเปีย หลังจากการล่มสลายของเดร์กใน ค.ศ. 1991 แนวร่วมประชาธิปไตยประชาชนปฏิวัติเอธิโอเปีย (EPPRDF) ได้ปกครองประเทศด้วยรัฐธรรมนูญใหม่และสหพันธรัฐตามชาติพันธุ์ ตั้งแต่นั้นมา เอธิโอเปียต้องเผชิญการปะทะกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยืดเยื้อ รวมถึงความไม่มั่นคงทางการเมือง ตั้งแต่ ค.ศ. 2018 กลุ่มต่าง ๆ ตามภูมิภาคและกลุ่มชาติพันธุ์ได้ก่อเหตุโจมตีด้วยอาวุธในสงครามที่ดำเนินอยู่หลายครั้งทั่วเอธิโอเปีย

เอธิโอเปียเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 80 กลุ่ม ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในประเทศ โดยมีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนน้อยและมีเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อย รัฐอธิปไตยนี้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ กลุ่ม 24 ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่ม 77 และองค์การเอกภาพแอฟริกา อาดดิสอาบาบาเป็นสำนักงานใหญ่ของสหภาพแอฟริกา หอการค้าและอุตสาหกรรมแอฟริกา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับแอฟริกา และองค์การนอกภาครัฐ เอธิโอเปียเข้าเป็นสมาชิกบริกส์เต็มรูปแบบใน ค.ศ. 2024เอธิโอเปียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด แต่บางครั้งก็ถือเป็นมหาอำนาจที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดในประเทศแถบแอฟริกาใต้สะฮารา เนื่องจากมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในการขยายอุตสาหกรรมการเกษตรและการผลิต เกษตรกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยคิดเป็นร้อยละ 36 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใน ค.ศ. 2020 อย่างไรก็ตาม ในด้านรายได้ต่อหัวและดัชนีการพัฒนามนุษย์ ประเทศนี้ถือว่าเป็นประเทศที่ยากจน มีอัตราความยากจนสูง สิทธิมนุษยชนต่ำ การเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์อย่างกว้างขวาง และอัตราการรู้หนังสือเพียงร้อยละ 49

ประวัติศาสตร์

จักรวรรดิ

ราชอาณาจักรอิตาลีโจมตีเอธิโอเปียเมื่อ พ.ศ. 2479 และเข้าครอบครองได้สำเร็จใน พ.ศ. 2484 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเอธิโอเปีย เฮลี เซลาสซีที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งระบบรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. 2474

คอมมิวนิสต์

ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เกิดความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องจนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จักรพรรดิเซลาสซีสละราชบัลลังก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐเมื่อ พ.ศ. 2518 นอกจากนั้นยังเกิดสงครามภายในระหว่างกลุ่มการเมืองและเผ่าต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากซูดานและโซมาเลีย พ.ศ. 2521 เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตจนรบชนะทหารโซมาเลีย และมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกันเมื่อ พ.ศ. 2531

การเมือง

เอธิโอเปียปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบ่งการปกครองเป็น 9 รัฐ และ 2 เขตเป็นการปกครองพิเศษ ได้แก่ อาดดิสอาบาบา และเขตปกครองพิเศษไดร์ดาวา แม้เดิมเอธิโอเปียในระบอบกษัตริย์ ในปี 2517 มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล และโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปีต่อมา จากนั้นได้ปกครองประเทศด้วยสังคมนิยม และเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2534 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอยู่เสมอ โดยรัฐบาลถูกกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่าทุจริตการเลือกตั้ง

ฝ่ายบริหารได้แก่

  • ประธานาธิบดี เป็นประมุขประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฏร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี
  • นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มาจากการเสนอชื่อของพรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่
  • สภาแห่งสหพันธรัฐมีลักษณะเดียวกับวุฒิสภา มี 112 ที่นั่ง
  • สภาผู้แทนราษฏร มี 547 ที่นั่ง

ภูมิศาสตร์

ประเทศเอธิโอเปีย: ประวัติศาสตร์, การเมือง, ภูมิศาสตร์ 
แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของเอธิโอเปีย

ด้วยพื้นที่ 1,104,300 ตารางกิโลเมตร (426,372.61 ตารางไมล์), เอธิโอเปียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 28 ของโลก ซึ่งมีขนาดพอ ๆ กับโบลิเวีย อยู่ระหว่างเส้นขนานที่ 3 เหนือกับเส้นขนานที่ 15 เหนือ และลองจิจูดเส้นเมริเดียนที่ 33 ตะวันออก และเส้นเมริเดียนตะวันออกที่ 48

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอธิโอเปียตั้งอยู่ในจะงอยแอฟริกา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุดของทวีปแอฟริกา ดินแดนที่มีพรมแดนติดกับเอธิโอเปีย ได้แก่ เอริเทรีย จิบูตี โซมาเลีย เคนยา ซูดานใต้ และซูดาน ภายในเอธิโอเปียเป็นพื้นที่สูงสลับซับซ้อนที่ประกอบด้วยภูเขาและที่ราบสูงที่แยกออกเป็นสัดส่วนโดยหุบเขาเกรตริฟต์ ซึ่งทอดยาวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มและทุ่งหญ้าสเตปป์ เอธิโอเปียมีภูมิประเทศที่หลากหลายโดยมีสภาพอากาศ ดิน พืชพรรณตามธรรมชาติ และรูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่หลากหลาย

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน

นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอิงแนวทางของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายใต้กรอบนโยบาย Sustainable Development and Poverty Reduction Programme (SDPRP) ตามเงื่อนไขของ IMF และประเทศผู้บริจาคต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของนักลงทุน และบรรดาประเทศผู้บริจาคต่าง ๆ เนื่องจากการปฏิรูปเศรษฐกิจนำไปสู่ระบบเสรีเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังมีน้อย และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน และระบบสาธารณูปโภค ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่

ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจของเอธิโอเปียขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือที่ได้รับจากประเทศผู้บริจาคเป็นสำคัญ ซึ่งในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ได้มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศผู้บริจาคมีความห่วงกังวล เช่น การปราบปรามผู้ประท้วงฝ่ายค้านอย่างรุนแรง สงครามกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในโซมาเลีย และปัญหาชายแดนกับเอริเทรีย นอกจากนี้ กลุ่มกบฏ Ogaden National Liberation Front (ONLF) ยังได้โจมตีฐานขุดเจาะน้ำมันของจีนที่เมือง Ogaden เมื่อเดือนเมษายน 2550 ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติในเอธิโอเปียขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจเอธิโอเปียจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 ในปี 2550-2551 มีบริษัทต่างชาติใหม่ ๆ เข้าไปลงทุนในเอธิโอเปีย เช่น Starbucks รวมทั้งการลงทุนการผลิตพลังงานชีวภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย

ประชากรศาสตร์

กลุ่มชาติพันธุ์

  • โอโรโม ร้อยละ 34.49
  • อามารา ร้อยละ 26.89
  • โซมาลี ร้อยละ 6.20
  • ตีเกรย์ ร้อยละ 6.07
  • ซีดามา ร้อยละ 4.01
  • กูราจ ร้อยละ 2.53
  • โวเลย์ตา ร้อยละ 2.31
  • ฮาดียา ร้อยละ 1.74
  • อาฟาร์ ร้อยละ 1.73
  • กาโม ร้อยละ 1.50
  • เคฟฟีโช ร้อยละ 1.18

และชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกร้อยละ 11

ศาสนา

จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2550 พบว่าชาวเอธิโอเปียร้อยละ 62.8 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นผู้นับถือนิกายเอธิโอเปียนคอปติกออร์ทอดอกซ์ร้อยละ 43.5 และนิกายอื่น ๆ ร้อยละ 19.3), ร้อยละ 33.9 นับถือศาสนาอิสลาม, ร้อยละ 2.6 นับถือความเชื่อดั้งเดิม และร้อยละ 0.6 นับถือศาสนาอื่น ๆ

วัฒนธรรม

ในวันที่เป็นชนเผ่าจะมีความเป็นเอกลักษณ์ซึ่งดูได้จากหลังคาที่นำมาทำขอหมู่บ้านต่าง ๆ เอธิโอเปียเป็นแหล่งกำเนิดมนุษย์ยุคแรก แต่ไม่ใช่อาณาจักรแรก เพราะยังคงไม่มีความเจริญทางปัญญา แต่มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเก่าแก่ที่สุดในโลก การตั้งชื่อคนแบบเอธิโอเปียนำมาใช้เช่นเดียวกับในประเทศพม่าคือ ใช้ชื่อพ่อหรือปู่แทนนามสกุล[ต้องการอ้างอิง] การนับวันในเอธิโอเปียใช้ปฏิทินแบบเอธิเปีย ภาษาประจำชาติของเอธิโอเปียคือภาษาอามาราซึ่งเป็นภาษาแรก ๆ ที่มีระบบการเขียนในแอฟริกา

อ้างอิง

ข้อมูลทั่วไป

อ่านเพิ่ม

  • Zewde, Bahru (2001). A History of Modern Ethiopia, 1855–1991 (2nd ed.). Athens, OH: Ohio University Press. ISBN 978-0-8214-1440-8.
  • Selassie I., Haile (1999). My Life and Ethiopia's Progress: The Autobiography of Emperor Haile Selassie I. Translated by Edward Ullendorff. Chicago: Frontline. ISBN 978-0-948390-40-1.
  • Deguefé, Taffara (2006). Minutes of an Ethiopian Century, Shama Books, Addis Ababa, ISBN 99944-0-003-7.
  • Hugues Fontaine, Un Train en Afrique. African Train, Centre Français des Études Éthiopiennes / Shama Books. Édition bilingue français / anglais. Traduction : Yves-Marie Stranger. Postface : Jean-Christophe Belliard. Avec des photographies de Matthieu Germain Lambert et Pierre Javelot. Addis Abeba, 2012, ISBN 978-99944-867-1-7. English and French. UN TRAIN EN AFRIQUE
  • Henze, Paul B. (2004). Layers of Time: A History of Ethiopia. Shama Books. ISBN 978-1-931253-28-4.
  • Marcus, Harold G. (1975). The Life and Times of Menelik II: Ethiopia, 1844–1913. Oxford: Clarendon. Reprint, Trenton, NJ: Red Sea, 1995. ISBN 1-56902-009-4.
  • Marcus, Harold G. (2002). A History of Ethiopia (updated ed.). Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-22479-7.
  • Mauri, Arnaldo (2010). Monetary developments and decolonization in Ethiopia, Acta Universitatis Danubius Œconomica, VI, n. 1/2010, pp. 5–16. Monetary Developments and Decolonization in Ethiopia and WP Monetary developments and decolonization in Ethiopia
  • Campbell, Gwyn; Miers, Suzanne; Miller, Joseph (2007). Women and Slavery: Africa, the Indian Ocean world, and the medieval north Atlantic. Ohio University Press. ISBN 978-0-8214-1723-2.
  • Mockler, Anthony (1984). Haile Selassie's War. New York: Random House. Reprint, New York: Olive Branch, 2003. ISBN 0-902669-53-2.
  • Murphy, Dervla (1968). In Ethiopia with a Mule. London: Century, 1984, cop. 1968. N.B.: An account of the author's travels in Ethiopia. 280 p., ill. with a b&w map. ISBN 0-7126-3044-9
  • Rubenson, Sven (2003). The Survival of Ethiopian Independence (4th ed.). Hollywood, CA: Tsehai. ISBN 978-0-9723172-7-6.
  • Siegbert Uhlig, et al. (eds.) (2003). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 1: A–C. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag.
  • Siegbert Uhlig, et al. (eds.) (2005). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 2: D–Ha. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag.
  • Siegbert Uhlig, et al. (eds.) (2007). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 3: He–N. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag.
  • Siegbert Uhlig & Alessandro Bausi, et al. (eds.) (2010). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 4: O–X. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag.
  • Alessandro Bausi & S. Uhlig, et al. (eds.) (2014). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 5: Y–Z and addenda, corrigenda, overview tables, maps and general index. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag.
  • แม่แบบ:Country study
  • ประเทศเอธิโอเปีย: ประวัติศาสตร์, การเมือง, ภูมิศาสตร์  บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก
  • Keller, Edmond (1991). Revolutionary Ethiopia From Empire to People's Republic. Indiana University Press. ISBN 9780253206466.

แหล่งข้อมูลอื่น


Tags:

ประเทศเอธิโอเปีย ประวัติศาสตร์ประเทศเอธิโอเปีย การเมืองประเทศเอธิโอเปีย ภูมิศาสตร์ประเทศเอธิโอเปีย เศรษฐกิจประเทศเอธิโอเปีย ประชากรศาสตร์ประเทศเอธิโอเปีย วัฒนธรรมประเทศเอธิโอเปีย อ้างอิงประเทศเอธิโอเปีย อ่านเพิ่มประเทศเอธิโอเปีย แหล่งข้อมูลอื่นประเทศเอธิโอเปีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พัชราภา ไชยเชื้อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์อาลิง โฮลันอินสตาแกรมการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)รอยรักรอยบาปมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรจังหวัดยโสธรสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ติ๊กต็อกมณฑลของประเทศจีนประเทศไทยมณี สิริวรสารไพ่แคงเศรษฐา ทวีสินสงครามโลกครั้งที่สองเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคจังหวัดนครราชสีมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกียรติ กิจเจริญกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)ดาวิกา โฮร์เน่ประเทศฝรั่งเศสโอดะ โนบูนางะจักรพรรดิคังซีประเทศลาวพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ดดาบเผ่าภูมิ โรจนสกุลกองทัพบกไทยรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันFBเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยธนนท์ จำเริญประวิตร วงษ์สุวรรณพระเจ้าบุเรงนองนฤมล พงษ์สุภาพอริยสัจ 4สโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนารายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพฟุตซอลไทยลีกประเทศตุรกีทวีปข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารายชื่อภาพยนตร์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลจังหวัดสุพรรณบุรีประเทศคาซัคสถานธนาคารไทยพาณิชย์ประเทศออสเตรเลียท้องที่ตำรวจจังหวัดลพบุรีรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรสโมสรฟุตบอลการท่าเรือโทโยโตมิ ฮิเดโยชิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีปณิธาน บุตรแก้วเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์พิธา ลิ้มเจริญรัตน์จังหวัดสุรินทร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024.comการ์ตูนหมากรุกไทยราชวงศ์ชิงสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)เปรียญธรรม 9 ประโยคจังหวัดนนทบุรีพ่อขุนรามคำแหงมหาราช🡆 More