ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก

ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (อังกฤษ: Afroasiatic languages) เป็นตระกูลภาษาที่มีสมาชิก 375 ภาษาและมีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคน แพร่กระจายในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันออก แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (รวมผู้พูดภาษาอาหรับ 200 ล้านคน) ชื่อของภาษาตระกูลนี้ตั้งโดย Joseph Greenberg เพื่อใช้แทนชื่อเดิม ตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติก กลุ่มย่อยของภาษาตระกูลนี้ได้แก่

ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก
ภูมิภาค:จะงอยแอฟริกา, แอฟริกาเหนือ, ซาเฮล และแอฟริกาตะวันตก
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก
ภาษาดั้งเดิม:แอโฟรเอชีแอติกดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:afa
กลอตโตลอก:afro1255
{{{mapalt}}}
แผนที่แสดงการกระจายของภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติก; สีเหลืองซีดคือบริเวณที่ไม่มีผู้พูดภาษาใด ๆ ในตระกูลนี้เลย
ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก
แผนที่แสดงการกระจายของตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกด้วยสีเหลือง

ส่วนใหญ่ยอมรับให้ภาษาออนโกตาอยู่ในภาษากลุ่มโอมอติก แต่การแบ่งภายในตระกูลยังขาดข้อมูล Harold Fleming จัดให้เป็นสาขาเอกเทศของภาษากลุ่มแอโฟรเอชีแอติกที่ไม่ใช่กลุ่มโอมอติก

ถิ่นกำเนิด

ไม่มีข้อตกลงที่ตายตัวว่าภาษาแอโฟรเอชีแอติกดั้งเดิมอยู่ที่ใด เชื่อกันว่าภาษานี้มีจุดกำเนิดในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ นักวิชาการบางคนเสนอว่าอยู่ที่เอธิโอเปียเพราะบริเวณดังกล่าวมีภาษาในกลุ่มนี้หลากหลายมากในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน นักวิชาการกลุ่มอื่นเสนอว่าอยู่ตามชายฝั่งตะวันตกของทะเลแดง และในสะฮารา มีผู้เสนอว่าน่าจะมีจุดกำเนิดที่บริเวณเลอวานต์ซึ่งเป็นบริเวณที่พบภาษากลุ่มเซมิติกแพร่กระจายอยู่มาก

ภาษากลุ่มเซมิติกเป็นภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติกเพียงกลุ่มเดียวที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า ในยุคประวัติศาสตร์หรือใกล้เคียง ผู้พูดภาษาเซมิติกข้ามจากอาระเบียใต้กลับสู่เอธิโอเปียและเอริเทรีย ในขณะที่อีกมุมมองหนึ่งเห็นว่าภาษากลุ่มเซมิติกมีจุดกำเนิดในเอธิโอเปีย มุมมองที่สามอาศัยความคล้ายคลึงกันระหว่างภาษากลุ่มเซมิติกกับภาษาอียิปต์โบราณ สันนิษฐานว่าภาษาทั้งสองนี้อาจมีบรรพบุรุษร่วมกัน โดยมีผู้พูดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ข้ามสู่คาบสมุทรไซนายเมื่อประมาณ 5,457 - 5,257 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนที่เป็นนักล่าในวัฒนธรรมเอล-ฮารีฟและดำรงชีวิตด้วยการร่อนเร่เลี้ยงสัตว์ กระจายตามชายฝั่งทะเลแดงและบริเวณเลอวานต์ทางชายขอบของดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันสมบูรณ์ได้พัฒนาวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มขึ้นมา

ภาษาที่มีวรรณยุกต์พบในภาษากลุ่มโอโตก ชาด และคูชิติก และจาก Ehret (1996) ระบุว่าภาษากลุ่มเซมิติก เบอร์เบอร์ และภาษาอียิปต์ไม่ใช้ความแตกต่างของระดับเสียงในการแยกหน่วยเสียง

ความหลากหลายที่พบภายในตระกูลภาษานี้ และการที่ไม่มีคำศัพท์ใช้ร่วมกันในหัวข้อทางเกษตรกรรม จึงเป็นไปได้ว่าผู้พูดภาษาตระกูลนี้แยกจากกันก่อนการเข้าสู่ยุคเกษตรกรรม มีคำศัพท์ใช้ร่วมกันบ้าง เช่นคำศัพท์เกี่ยวกับภาชนะ Ehret อธิบายว่าภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติกพัฒนาขึ้นมาจากชีวิตประจำวันในการทำมาหากินในเอธิโอเปีย แต่ก็มีผู้เสนอว่าคำเหล่านี้พบเฉพาะในภาษากลุ่มคูชิติกและโอมอติก และไม่พบคำที่มีต้นกำเนิดร่วมกันทางเกษตรกรรม ถ้าให้มีวิถีชีวิตแบบช่างปั้นหม้อกว้างขวางในสะฮาราเมื่อ 7,457 ปีก่อนพุทธศักราช และเกษตรกรรมในช่วงท้ายของยุคหินเกิดขึ้นเมื่อ 4,547 ปีก่อนพุทธศักราช ช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่ภาษาแอโฟรเอชีแอติกดั้งเดิมเกิดการกระจายตัว เป็นที่รู้กันว่าเกษตรกรในเอธิโอเปียเคลื่อนย้ายเข้าสู่แผ่นดินที่สูงกว่าของนิวเบีย ซูดาน และจากความพยายามถอดความจารึกอักษรเมรอยติกพบว่ามีลักษณะของสำคัญของภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติกอยู่ด้วย นักภาษาศาสตร์ Lionel Bender เสนอว่ารอบนอกของดินแดนนี้ทางตอนใต้ของลุ่มน้ำไนล์เป็นศูนย์กลางของการแพร่กระจายของภาษาตระกูลนี้ จุดวิกฤติของยุคนี้คือสะฮาราที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำและทะเลสาบ การแพร่กระจายตัวออกไปอาจมีสาเหตุมาจากความแห้งแล้งของสะฮารา

ประวัติการจัดจำแนก

นักวิชาการในยุคกลาง เช่นราวพุทธศตวรรษที่ 14 มักเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ ของตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกเข้าด้วยกัน นักไวยากรณ์ภาษาฮีบรู ยูดะห์ อิบน์ กูรอยศ์ แห่งติอาเรตในแอลจีเรียเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างภาษากลุ่มเบอร์เบอร์และภาษากลุ่มเซมิติก (ซึ่งใช้ภาษาฮีบรู ภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิกเป็นตัวแทน)

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 นักวิชาการจากยุโรปเริ่มพบความสัมพันธ์มากขึ้น เช่นใน พ.ศ. 2387 Th. Benfey เสนอว่าภาษาในตระกูลนี้ประกอบด้วยภาษากลุ่มเซมิติก ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ และภาษากลุ่มคูชิติก (ภายหลังเรียกว่าภาษากลุ่มเอธิโอปิก) ในปีเดียวกัน T.N. Newman เสนอความสัมพันธระหว่างภาษากลุ่มเซมิติกกับภาษาฮัวซา แต่ยังเป็นข้อโต้แย้งเรื่อยมา จนกระทั่ง Friedrich Muller ตั้งชื่อภาษาตระกูลนี้ว่า ตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติกเมื่อ พ.ศ. 2419 โดยระบุว่าภาษาตระกูลนี้ประกอบด้วยภาษากลุ่มเซมิติกและภาษากลุ่มฮามิติก (ประกอบด้วยภาษาอียิปต์ ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ และภาษากลุ่มคูชิติก โดยตัดภาษากลุ่มชาดออกไป)

Leo Reinisch (1909) เสนอให้เชื่อมโยงภาษากลุ่มชาดกับภาษากลุ่มคูชิติก ในขณะที่ให้ภาษาอียิปต์กับภาษากลุ่มเซมิติกมีความห่างไกลกันมากขึ้น Marcel Cohen (1924) ปฏิเสธแนวคิดการแยกกลุ่มย่อยฮามิติก เพิ่มภาษากลุ่มชาดและเสนอชื่อภาษาตระกูลนี้ว่าตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับการแบ่งนี้ ใน พ.ศ. 2512 Harold Fleming เสนอให้รวมภาษากลุ่มโอมอติกเป็นอีกสาขาหนึ่ง นอกจากนั้น นักวิชาการส่วนใหญ่ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการรวมภาษาเบยาเข้าในภาษากลุ่มคูชิติก

โดยสรุป การแบ่งสาขาย่อยของภาษาตระกูลนี้ เป็นดังนี้

  • การจัดของ Ehret มี ภาษาอียิปต์ ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ และภาษากลุ่มเซมิติกรวมอยู่ในกลุ่มย่อยแอโฟรเอชีแอติกเหนือ
  • Paul Newman (1980) จัดให้ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์อยู่กับภาษากลุ่มชาดและภาษาอียิปต์อยู่กับภาษากลุ่มเซมิติก และมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการรวมภาษากลุ่มโอมอติก
  • Fleming (1981) แบ่งกลุ่มแอโฟรเอชีแอติกที่ไม่ใช่โอมอติกหรืออิริเทรีย เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มคูชิติก กลุ่มเซมิติกและกลุ่มชาด-เบอร์เบอร์-อียิปต์ รวมทั้งเสนอว่าภาษาออนโกตาอาจจะเป็นสาขาของภาษากลุ่มอิริเทรียด้วย
  • Lionel Bender (1997)เสอนภาษากลุ่มคูชิติกใหญ่ประกอบด้วยภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ ภาษากลุ่มคูชิติก และภาษากลุ่มเซมิติก ยอมรับภาษากลุ่มชาดและภาษากลุ่มโอมอติกเป็นอีกสาขาหนึ่ง
  • Vladmir Orel และ Olga Stolbova (1995) รวมภาษากลุ่มเบอร์เบอร์เข้ากับภาษากลุ่มเซมิติก รวมภาษากลุ่มชาดเข้ากับภาษากลุ่มอียิปต์ และแยกกลุ่มคูชิติกออกมาต่างหาก
  • Alexander Militarev (2000) จากพื้นฐานทางรากศัพท์ รวมกลุ่มภาษาเบอร์เบอร์ไว้กับภาษากลุ่มชาด ซึ่งมีความห่างไกลจากภาษากลุ่มเซมิติก ไม่ยอมรับภาษากลุ่มคูชิติกและโอมอติก

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น


Tags:

ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก ถิ่นกำเนิดตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก ประวัติการจัดจำแนกตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก อ้างอิงตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก บรรณานุกรมตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก แหล่งข้อมูลอื่นตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกตะวันออกกลางภาษาอังกฤษภาษาอาหรับ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญวิชัย สังข์ประไพสุพิศาล ภักดีนฤนาถเครื่องคิดเลขแมววิธวัฒน์ สิงห์ลำพองธนนท์ จำเริญสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเว็บไซต์ประเทศอิตาลีฮันเตอร์ x ฮันเตอร์หมากรุกไทยอีเอฟแอลคัพสล็อตแมชชีนสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์วันพีซสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีคู่เวรประเทศแคนาดาGenwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่จุลจักร จักรพงษ์วิกิพีเดียสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีอสมทเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาทวิตเตอร์สำราญ นวลมาประเทศลาวหนึ่งในร้อยไคลี เจนเนอร์ซอร์ซมิวสิกโฟร์อีฟอรรถกร ศิริลัทธยากรรายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวชวลิต ยงใจยุทธจังหวัดเชียงใหม่ยศทหารและตำรวจไทยกกยูฟ่ายูโรปาลีกจังหวัดบึงกาฬรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยรัสมุส ฮอยลุนด์ชาเคอลีน มึ้นช์ประเทศอินเดียพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีสซึ่นสินจัย เปล่งพานิชนกกะรางหัวขวานจักรพรรดิคังซีกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนเข็มอัปสร สิริสุขะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลจังหวัดลพบุรีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475พิชิตรัก พิทักษ์โลกกูเกิล แปลภาษายูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)พ.ศ. 2567สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เซเรียอารายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31คันนะ ฮาชิโมโตะตัวเลขโรมันยงวรี อนิลบลปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ภูธเนศ หงษ์มานพสังโยชน์🡆 More