มัสยิด: ศาสนสถานของศาสนาอิสลาม

มัสยิด (อาหรับ: مسجد มัสญิด) หรือ สุเหร่า (มลายู: Surau) เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสยิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่การนมาซ และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ (อิอการติกาฟ และ คอลวะหฺ)

มัสยิด: ชื่อ, ประวัติ, องค์ประกอบของมัสยิด
มัสยิดแบดชาฮิในละฮอร์ ประเทศปากีสถาน เป็นหนึ่งในมัสยิดต้นแบบสถาปัตยกรรมมัสยิด

นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลาม (ฮะรอม) ทั้งมวล

ชื่อ

ในไทยมีการเรียกมัสยิดหลายอย่าง เช่น

  • มัสยิด มาจากคำว่า มัสญิด (อาหรับ: مسجد masjid) เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ แปลว่า "สถานที่กราบ" ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า "สถานที่ซึ่งอิสลามิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม" ในไทยใช้เรียกโรงสวดประจำเมืองใหญ่
  • สุเหร่า (มลายู: Surau) เป็นคำที่ยืมมาจากภาษามลายู แปลว่า "โรงสวด" ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า "ที่ประชุมทำศาสนกิจของมุสลิม" ในไทยใช้เรียกโรงสวดขนาดย่อมประจำตำบลหรือหมู่บ้าน ชาวบ้านไม่นิยมใช้ทำละหมาดวันศุกร์
  • กะดี หรือ กุฎี บ้างว่ามาจากคำว่า กะดีร์คุม ในภาษาเปอร์เซียและอาหรับ แปลว่า "ตำบลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์" บ้างว่ามาจากคำว่า กะเต ในภาษามลายูที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซียอีกที แปลว่า "พระแท่นที่ประทับ" ใช้เรียกศาสนสถานของทั้งชีอะฮ์และซุนนีย์ในภาคกลางของไทยและพบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น เช่น กุฎีใหญ่, กุฎีเจริญพาศน์, กุฎีหลวง และกุฎีขาว เป็นต้น
  • อิหม่ามบารา หรือ อิมามบาระฮ์ มาจากคำว่า อิมาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง "ผู้นำทางศาสนา" กับคำว่า บารา ในภาษาอูรดู แปลว่า "บ้าน" รวมกันมีความหมายว่า "เคหาสน์ของอิหม่าม" เป็นศัพท์ทางการใช้เรียกศาสนสถานของชีอะฮ์ในไทย สถานที่ที่เป็นอิหม่ามบารา เช่น กุฎีเจริญพาศน์, กุฎีบน และกุฎีใหญ่เติกกี้ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารและบันทึกโบราณอีกหลายฉบับเรียกศาสนสถานในศาสนาอิสลามไว้หลากหลาย อาทิ เสร่า, บาแล และโรงสวดแขก เป็นต้น

ประวัติ

องค์ประกอบของมัสยิด

ในคัมภีร์อัลกุรอานและบันทึกอัลฮะดีษมิได้มีการระบุกฎเกณฑ์อันตายตัวที่เกี่ยวข้องกับมัสยิดไว้ การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ล้วนแต่เกิดจากความจำเป็นด้านประโยชน์ใช้สอยและความเรียบร้อยสวยงาม โดยใช้มัสยิดของพระศาสดาเป็นต้นแบบ บ้างก็พัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัยจนเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  1. โถงละหมาด เป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การละหมาด, การศึกษาพระคัมภีร์, การรำลึกถึงพระเจ้า และการขอพร อาจมีการเปลี่ยนเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เช่น การเลี้ยงอาหาร และการประชุมหมู่บ้าน โถงละหมาดมักเป็นที่โล่งที่ได้รับการดูแลจนสะอาด สงบ เป็นสัดส่วน และไร้สิ่งรบกวนต่าง ๆ เมื่อปฏิบัติศาสนกิจ ผู้ที่มาละหมาดสองแถวแรกจะประเสริฐกว่าแถวหลัง และไม่มีการแบ่งแยกตามตำแหน่งหรือฐานะ แต่จะแบ่งพื้นที่สำหรับหญิงและชายอย่างเป็นสัดส่วน
  2. มิห์รอบ หรือ ชุมทิศ ในการละหมาดมุสลิมจะต้องหันหน้าไปยังทิศกิบละฮ์ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่มัสยิดอัลฮะรอมในมักกะฮ์ ดังนั้นภายในมัสยิดจึงมักมีซุ้มมิห์รอบสำหรับระบุทิศกิบละฮ์ด้านหน้าโถงละหมาด โดยทั่วไปมักเป็นซุ้มโค้งเว้าเข้าไปในผนังหรือเป็นผนังต่างระนาบที่ประดับลวดลายเป็นที่สังเกต ในประเทศไทยมิห์รอบหลายแห่งเป็นลักษณะศาลาหรือซุ้มที่ได้รับอิทธิพลแบบไทยจะเรียกว่า ซุ้มชุมทิศ เช่น มิห์รอบของมัสยิดต้นสนหลังเดิม และมิห์รอบของมัสยิดบางหลวง
  3. มิมบัร หรือ แท่นแสดงธรรม เป็นที่ให้อิหม่ามหรือคอเต็บ (ผู้แสดงธรรม) ขึ้นกล่าวคุตบะฮ์ (แสดงธรรม) แจ้งข่าว หรือปราศรัยในโอกาสที่มีการละหมาดในวันศุกร์ มักเป็นแท่นยืนที่มีที่นั่งพักและบันไดขึ้น มีความสูงเพียงพอที่ให้คนอยู่ไกลมองเห็นและได้ยินทั่วถึง มิมบัรในไทยบางแห่งอาจมีซุ้มเน้นทางขึ้นและมีหลังคาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะของไทย เช่น มิมบัรของมัสยิดต้นสนเดิม โดยมากมิมบัรจะวางไว้ด้านขวาของมิห์รอบหรือกึ่งกลางโถงละหมาด เมื่อเสร็จจากการคุตบะฮ์อิหม่ามหรือคอเต็บจะลงมาละหมาดร่วมกับทุกคนโดยเท่าเทียม
  4. โถงอเนกประสงค์ มักเชื่อมต่อกับโถงละหมาด ทำหน้าที่รองรับผู้คนเข้าออกจากโถงละหมาด และรองรับการขยายตัวของกิจกรรมในโถงละหมาดในวันสำคัญเพราะจะมีศาสนิกมากเป็นพิเศษ รวมถึงใช้จัดกิจกรรมทางสังคมที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา ในไทยโถงอเนกประสงค์บางแห่งอาจเป็นใต้ถุนหรือพื้นที่ชั้นล่างของอาคาร บางครั้งชุมชนโดยรอบอาจใช้พื้นที่นี้ในการละหมาดจึงต้องรักษาความสะอาดและไม่ควรสวมรองเท้าเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว
  5. ที่อาบน้ำละหมาด ข้อบัญญัติของศาสนาอิสลามกำหนดให้มีการอาบน้ำละหมาด ซึ่งเป็นการทำความสะอาดร่างกาย เช่น มือ, ใบหน้า, แขน, เท้า เป็นต้น ดังนั้นก่อนการละหมาดต้องมาอาบน้ำที่มัสยิดหรืออาจจะอาบน้ำมาจากที่อื่นก็ได้ ที่อาบน้ำมักอยู่ในพื้นที่อเนกประสงค์ ในอดีตมัสยิดหลายแห่งใช้ศาลาริมน้ำเป็นพื้นที่อาบน้ำละหมาด
  6. หออะซาน เป็นสถานที่ให้มุอัซซิน (ผู้ประกาศเวลาละหมาด) ขึ้นไปอะซาน (ประกาศ) ให้ได้ยินไปไกลที่สุดเพื่อเรียกให้ผู้คนทำละหมาดมารวมตัวกันที่มัสยิด ท่านศาสดาได้กำหนดให้ผู้ได้ยินเสียงอะซานมาละหมาดรวมกันที่มัสยิด พื้นที่ในรัศมีเสียงอะซานจึงเป็นตัวกำหนดขอบเขตพื้นที่ของชุมชน ในอดีตจะให้การตีกลองบอกเวลาละหมาดเนื่องจากสามารถได้ยินในระยะไกล แม้หออะซานจะลดความสำคัญลงเนื่องจากมีการใช้เครื่องกระจายเสียงแทน แต่กระนั้นหออะซานก็ยังคงอยู่เป็นสัญลักษณ์ของมัสยิด ด้วยความสูงโดดเด่นเป็นภูมิสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการดำรงอยู่ของชุมชนมุสลิม
  7. ซุ้มประตู มัสยิดโดยทั่วไปจะมีการกำหนดขอบเขตหรือแยกพื้นที่สงบออกจากสิ่งรบกวน โดยอาจเป็นกำแพงหรือคูคลองโดยมีประตูเป็นตัวเชื่อมต่อที่บ่งบอกถึงการเข้าถึงมัสยิด ซุ้มประตูมักมีลักษณะเด่นมีการประดับประดาเช่นเดียวกับ โดม หรือหออะซาน

ศาสนสถานของศาสนาอิสลามที่สำคัญ

มัสยิด: ชื่อ, ประวัติ, องค์ประกอบของมัสยิด 
มัสยิดอัลฮะรอมและหินกะอ์บะฮ์ ในพิธีฮัจญ์ ค.ศ. 2008
  • อัลมัสญิด อัลฮะรอม (มัสญิดต้องห้าม) ในนครมักกะหฺ อันเป็นที่ตั้งของกะอฺบะหฺ, มะกอมอิบรออีม (รอยเท้าของศาสดาอิบรอฮีม) ข้าง ๆ นั้นเป็น เนินเขา อัศศอฟา และ อัลมัรวะหฺ อ้ลมัสญิด อัลฮะรอม เป็นสถานที่นมาซประจำวัน และสถานที่บำเพ็ญฮัจญ์ เพราะยามที่มุสลิมประกอบพิธีฮัจญ์ต้องฏอวาฟรอบกะอฺบะหฺ นมาซหลังมะกอมอิบรอฮีม และเดิน(สะอฺยุ)ระหว่างอัศศอฟา และ อัลมัรวะหฺ
  • รองลงมาคือ อัลมัสญิด อัลนะบะวีย์ คือมัสญิดของศาสนทูตมุฮัมมัด ซึ่งมีร่างของท่านฝังอยู่
  • อัลมัสญิด อัลอักศอ เป็นมัสญิดที่มีความสำคัญทางประวัติศาตร์อิสลาม เพราะศาสนทูตมุฮัมมัดได้ขึ้นสู่ฟากฟ้า (มิอฺรอจญ์) จากที่นั่น

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี. "มัสยิดในแผ่นดินไทย" ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 10 สิงหาคม 2554

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

มัสยิด ชื่อมัสยิด ประวัติมัสยิด องค์ประกอบของมัสยิด ศาสนสถานของศาสนาอิสลามที่สำคัญมัสยิด อ้างอิงมัสยิด แหล่งข้อมูลอื่นมัสยิดภาษามลายูภาษาอาหรับมุสลิม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดนครราชสีมานายกรัฐมนตรีไทยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปรีดี พนมยงค์มาตาลดารายการรหัสไปรษณีย์ไทยสกูบี้-ดูณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์นนท์ อัลภาชน์ดราก้อนบอลฟุตบอลโลก 2026กีบ (สกุลเงิน)กูเกิลไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)คุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายใหม่ เจริญปุระแมวสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประเทศฝรั่งเศสสหรัฐบิลลี ไอลิชฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรปประเทศสวิตเซอร์แลนด์หน้าหลักสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรประเทศนิวซีแลนด์รายชื่อรัฐของสหรัฐเรียงตามลำดับการก่อตั้งจังหวัดนครสวรรค์หม่ำ จ๊กมกสกีบีดีทอยเล็ตเลขประจำตัวประชาชนไทยสงครามเวียดนามกองทัพเรือไทยโรงเรียนนายร้อยตำรวจโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีพระยศเจ้านายไทยราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนจุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ประเทศฟิลิปปินส์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยกองทัพบกไทยประเทศกัมพูชาครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!สุรเชษฐ์ หักพาลญีนา ซาลาสกวนอิมพรรคก้าวไกลโรงเรียนชลราษฎรอำรุงทักษอร ภักดิ์สุขเจริญไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)บาสเกตบอลหนุ่มเย็บผ้ากับสาวนักคอสเพลย์ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลจังหวัดกำแพงเพชรการสมรสเพศเดียวกันวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารชานน สันตินธรกุลประชาธิปไตยศาสนาปริญ สุภารัตน์ตารางธาตุจังหวัดนนทบุรีซิลลี่ ฟูลส์พระพุทธชินราชเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)ฮ่องกงหลานม่ามหาวิทยาลัยรามคำแหงสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดภาคเหนือ (ประเทศไทย)กังฟูแพนด้า 4ประเทศมัลดีฟส์เซี่ยงไฮ้คริสเตียโน โรนัลโดมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์จังหวัดสกลนคร🡆 More