มะม่วง: สายพันธุ์ของพืช

มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) เชื่อว่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดีย บังกลาเทศ และพม่าตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเห็นได้จากความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลจำนวนมาก นับย้อนไปได้ถึง 25 – 30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

มะม่วง
มะม่วง: สายพันธุ์พื้นเมือง, การใช้ประโยชน์, ดูเพิ่ม
สถานะการอนุรักษ์
มะม่วง: สายพันธุ์พื้นเมือง, การใช้ประโยชน์, ดูเพิ่ม
ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: เงาะ
วงศ์: วงศ์มะม่วง
สกุล: สกุลมะม่วง
L.
สปีชีส์: Mangifera indica
ชื่อทวินาม
Mangifera indica
L.
ชื่อพ้อง
  • Mangifera amba Forssk.
  • Mangifera anisodora Blanco
  • Mangifera austroyunnanensis Hu
  • Mangifera balba Crevost & Lemarié
  • Mangifera cambodiana (Pierre) Anon.
  • Mangifera domestica Gaertn.
  • Mangifera equina Crevost & Lemarié
  • Mangifera gladiata Bojer
  • Mangifera kukulu Blume
  • Mangifera laxiflora Desr.
  • Mangifera linnaei Korth. ex Hassk.
  • Mangifera maritima Lechaume
  • Mangifera mekongensis (Pierre) Anon.
  • Mangifera montana B.Heyne ex Wight & Arn.
  • Mangifera oryza Crevost & Lemarié
  • Mangifera rostrata Blanco
  • Mangifera rubra Bojer
  • Mangifera sativa Roem. & Schult.
  • Mangifera siamensis Warb. ex Craib
  • Mangifera viridis Bojer

มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ

สายพันธุ์พื้นเมือง

มะม่วงมีสายพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่น

  • เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมัน
  • น้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวาน
  • อกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมกินกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย
  • ฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมกินผลแก่ มีรสมัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตก
  • หนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวาน
  • แก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดง
  • โชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดอง
  • มหาชนก เป็นลูกผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว

การใช้ประโยชน์

มะม่วงดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน250 กิโลจูล (60 กิโลแคลอรี)
15 g
น้ำตาล13.7 g
ใยอาหาร1.6 g
0.38 g
0.82 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(7%)
54 μg
(6%)
640 μg
ไทอามีน (บี1)
(3%)
0.03 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(3%)
0.04 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(4%)
0.67 มก.
(4%)
0.2 มก.
วิตามินบี6
(9%)
0.12 มก.
โฟเลต (บี9)
(11%)
43 μg
วิตามินซี
(43%)
36 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
11 มก.
เหล็ก
(1%)
0.16 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
10 มก.
ฟอสฟอรัส
(2%)
14 มก.
โพแทสเซียม
(4%)
168 มก.
สังกะสี
(1%)
0.09 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ผลมะม่วงนำมากินได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ กินสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการกินเป็น 3 ประเภทคือ

  • นิยมกินดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
  • นิยมกินสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนกินเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ
  • นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยว
  • ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
  • ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • ใช้เนื้อไม้ นำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์
  • ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว

ดูเพิ่ม

  • รายชื่อพันธุ์มะม่วง

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Litz, Richard E. (ed. 2009). The Mango: Botany, Production and Uses (2nd edition). CABI. ISBN 978-1-84593-489-7
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะม่วง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 173 - 177

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

มะม่วง สายพันธุ์พื้นเมืองมะม่วง การใช้ประโยชน์มะม่วง ดูเพิ่มมะม่วง อ้างอิงมะม่วง อ่านเพิ่มมะม่วง แหล่งข้อมูลอื่นมะม่วง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดขอนแก่นพรีเมียร์ลีกอมีนา พินิจฟุตซอลโลก 2016ประเทศมาเลเซียฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์ธนาคารกรุงไทยประเทศตุรกีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเมตาไฟเยอโนร์ดกองบัญชาการตำรวจนครบาลราศีเมษแฮร์รี่ พอตเตอร์ช่องวัน 31อารยา เอ ฮาร์เก็ตเด่นคุณ งามเนตรเรวัช กลิ่นเกษรเจมส์ มาร์นินจาคาถาโอ้โฮเฮะจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่สโมสรฟุตบอลเชลซีศุภชัย เจียรวนนท์โป๊กเกอร์Fมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่างทรง (ภาพยนตร์)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาอังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธาสาธุ (ละครโทรทัศน์)พิชญ์นาฏ สาขากรตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นพระเจ้าบุเรงนองสหราชอาณาจักรฟุตซอลคิม จี-ว็อน (นักแสดง)อัสนี-วสันต์เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์กัญญาวีร์ สองเมืองสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาจังหวัดสมุทรสาครประชาธิปไตยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประเทศเยอรมนีท่าอากาศยานดอนเมืองพรรษา วอสเบียนประเทศแอฟริกาใต้รายชื่ออำเภอของประเทศไทยจังหวัดศรีสะเกษสำนักพระราชวังกรมราชเลขานุการในพระองค์ภาษาไทยถิ่นเหนือกรภัทร์ เกิดพันธุ์จุลจักร จักรพงษ์เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยารายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยอรรถกร ศิริลัทธยากรฟุตบอลโลกโฟร์อีฟประวัติศาสตร์สโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์เซเรียอาสำราญ นวลมาอแมนด้า ออบดัมกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีรหัสมอร์สสถิตย์พงษ์ สุขวิมลชลิตา ส่วนเสน่ห์อำเภอสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว🡆 More