มูอัมมาร์ กัดดาฟี

มุอัมมัร อัลก็อษษาฟี (อาหรับ: معمر القذافي ⓘ Muʿammar al-Qaḏḏāfī) หรือ มูอัมมาร์ กัดดาฟี เป็นผู้นำประเทศลิเบียโดยพฤตินัย หลังรัฐประหารในปี พ.ศ.

2512 เขาได้รับการขนานนามในเอกสารทางการและสื่อของรัฐว่า "ผู้ชี้นำการมหาปฏิวัติวันที่ 1 กันยายน แห่งมหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย" ("Guide of the First of September Great Revolution of the Socialist People's Libyan Arab Jamahiriya") หรือ "ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ" ("Brotherly Leader and Guide of the Revolution") นับตั้งแต่การลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองในปี พ.ศ. 2515 กัดดาฟีเคยเป็นผู้นำประเทศที่ไม่ใช่กษัตริย์ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลกหลังการเสียชีวิตของโอมาร์ บองโก ประธานาธิบดีแห่งประเทศกาบอง ในปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจนานที่สุดนับตั้งแต่ลิเบียตกเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อ พ.ศ. 2094 กัดดาฟีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หลังจากถูกประชาชนลิเบียลุกฮือต่อต้านเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มุอัมมัร มุฮัมมัด อะบู มินยัร อัลก็อษษาฟี
معمر محمد أبو منيار القذافي
มูอัมมาร์ กัดดาฟี
ผู้นำสูงสุดแห่งลิเบีย
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2512 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554
(42 ปี 49 วัน)
นายกรัฐมนตรีบากห์ดาดี มาห์มู
จาดัลเลาะห์ อัซซุซ แอท-ตัลหิ
มูฮัมหมัด แอซ-ซารัก ราจ๊าบ
จาดัลเลาะห์ อัซซุซ แอท-ตัลหิ
อูมาร์ มุสตาฟา อัล-มุนตาเซอร์
อับดุฃูเซ็ด โอมาร์ ดอร์ด้า
อับดุล มาจิด อัล-ควา'อัด
มูฮัมหมัด อาห์หมัด อัล-แมนกอช
อิมบาเร็ก ชาเม็กห์
ชูกรี กาเน็ม
บากห์ดาดี มาห์มู
ก่อนหน้าพระเจ้าไอดริสที่ 1 แห่งลิเบีย
ถัดไปมุตัสซิม กัดดาฟี
เลขาธิการสภานิติบัญญัติลิเบีย
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2520 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีอับดุล แอติ อัล-โอเบยดี
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปอับดุล แอติ อัล-โอเบยดี
ประธานสภาบัญชาการปฏิวัติ
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2512 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีMahmud Sulayman al-Maghribi
Abdessalam Jalloud
Abdul Ati al-Obeidi
Jadallah Azzuz at-Talhi
ก่อนหน้าพระเจ้าไอดริสที่ 1 แห่งลิเบีย
ถัดไปตำแหน่งถูกยกเลิก
นายกรัฐมนตรีลิเบีย
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2513 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
(2 ปี 181 วัน)
ก่อนหน้ามาห์มุด สุไลมาน อัล-มากิบี
ถัดไปอับเดสซาลาม จาลลูด
ประธานสหภาพแอฟริกา
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – 31 มกราคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าจากายา กิกเวเต
ถัดไปบินกู วา มูธาริก้า
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2485
เซิร์ท, อิตาเลียนลิเบีย
เสียชีวิต20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (69 ปี)
เซิร์ท ประเทศลิเบีย
ศาสนาอิสลาม
ลายมือชื่อมูอัมมาร์ กัดดาฟี
เว็บไซต์Official website

ประวัติ

สมุดปกเขียว

กัดดาฟี ได้เขียนหนังสือปรัชญาการเมืองเล่มหนึ่ง ชื่อว่า "สมุดปกเขียว" พิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ.1975) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ และมีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ว่าเป็น "ระบบที่พยายามเรียกกันว่าเป็นประชาธิปไตย" และระบอบการปกครองประชาธิปไตยส่วนใหญ่ในโลกนั้น "ถูกแก่งแย่งกันโดย ปัจเจกชน, ชนชั้น, กลุ่มคน, เผ่าต่าง ๆ, สภา หรือ พรรคการเมือง เพื่อเข้ามาปล้นเอาอธิปไตยของมวลชน และผูกขาด อำนาจการเมืองไว้เป็นของพวกเขาเอง" ปัจจุบัน "สมุดปกเขียว" ได้มีการเพยแพร่และสามารถเข้าไปอ่านได้ทั้งเล่มบน เว็บไซต์ของขบวนการ International Green Charter Movement หรือ สำนักข่าวออนไลน์อิสระ MATHABA เก็บถาวร 2011-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แนวคิดการนำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้

ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน

การประชุมชน หรือ ประชาสมาคม เป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้ประชาธิปไตยของปวงชนนั้นสัมฤทธิ์ผล ระบบการปกครองใด ๆ ที่ขัดแย้งกับวิธีการประชุมชนนี้นั้นถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ระบบการปกครองซึ่งมีอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันจะไม่เหลือความเป็นประชาธิปไตยอยู่ นอกเสียจากระบบเหล่านั้นจะรับเอาวิธีการนี้ไปใช้ การประชุมชน หรือ ประชาสมาคมนั้น คือจุดจบของการเดินทางค้นหาประชาธิปไตยของมวลชน

ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน เป็นผลสัมฤทธิ์ของการดิ้นรนเพื่อประชาธิปไตยของคน ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน ไม่ใช่ประดิษฐกรรมแห่งจินตนาการ ; มันคือผลผลิตของความคิดที่ซึมซับการทดลองเพื่อบรรลุถึงประชาธิปไตยของมนุษย์ทั้งหมดไว้

ประชาธิปไตยทางตรงนั้นไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่าเป็นวิธีการปกครองดีที่สุด แต่เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะรวมประชาชน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยซักเท่าใด ไว้ในสถานที่แห่งหนึ่ง เพื่อที่พวกเขาจะได้ ถกเถียง ชี้แจง และตัดสิน นโยบาย, ฉะนั้นประเทศที่มิได้นำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ จะมองว่ามันเป็นเพียงความคิดเชิงอุดมคติที่ไม่เป็นความจริง มันจึงถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีการปกครองอื่นมากมาย เช่น สภาผู้แทน, รัฐบาลผสม หรือ การทำประชามติ เป็นต้น โดยที่กล่าวมานั้น กีดกันและขัดขวางไม่ให้มวลชนได้จัดการกิจการการเมืองทั้งหลายของเขา

เครื่องมือการปกครองเหล่านั้นถูกแก่งแย่งกันโดย ปัจเจกชน, ชนชั้น, กลุ่มคน, เผ่าต่าง ๆ, สภา หรือ พรรคการเมือง เพื่อเข้ามาปล้นเอาอธิปไตยของมวลชน และผูกขาด อำนาจการเมืองไว้เป็นของพวกเขาเอง

สมุดปกเขียวจะนำระบบประชาธิปไตยทางตรงที่ไม่เคยนำมาประยุกต์ใช้ได้มาสู่มวลชน ไม่มีปัญญาชนคนใดที่จะโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ว่าประชาธิปไตยทางตรงนั้นมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง แต่จวบจนปัจจุบันไม่มีการคิดค้นวิธีการนำมันมาใช้ได้เลย กระนั้นทฤษฎีสากลที่สาม (Third Universal Theory) จะทำให้เกิดประชาธิปไตยโดยตรงซึ่งสามารถนำมาใช้การจริงได้ สุดท้ายก็จะทำให้ปัญหาแห่งประชาธิปไตยถูกแก้ไข จะคงเหลือแต่การดิ้นรนในการกำจัดรูปแบบของเผด็จการที่อยู่เหนือกว่ามวลชน โดย สภา, กลุ่มคน, เผ่า, ชนชั้น, ระบบพรรคเดี่ยว, ระบบพรรคคู่ หรือ ระบบหลายพรรค ซึ่งเรียกตัวเองอย่างผิด ๆ ว่า ประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นมีเพียงวิธีการและทฤษฎีเดียว ความแตกต่างและหลากหลายของระบบที่พยายามเรียกตนว่าประชาธิปไตยนั้นในความจริงจะแสดงให้เห็นถึงหลักฐานว่ามันไม่ใช่ อำนาจของปวงชนจะแสดงออกมาได้เพียงวิธีเดียวคือผ่านทางประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน (Popular Conferences and People’s Committees) รัฐใด ๆ จะไม่สามารถมีประชาธิปไตยได้ หากปราศจากประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน

ประการแรกประชาชนจะถูกแบ่งเป็น ประชาสมาคมย่อย (Basic Popular Conference) แต่ละสมาคมจะเลือก เลขาธิการ (Secretariat) และเลขาธิการของประชาสมาคมย่อยทั้งหมดจะรวมกันเป็น ประชาสมาคมบน (Non-Basic Popular Conferences) ในขณะเดียวกันประชาชนของประชาสมาคมย่อยจะเลือก คณะกรรมการประชาชน (People’s Committees) ขึ้นมาทำหน้าที่แทนรัฐบาลท้องถิ่น สถาบันสาธารณะทุกสถาบันจะดำเนินการโดยคณะกรรมการประชาชนซึ่งจะมีประชาสมาคมย่อยรับผิดชอบการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล เมื่อนั้นทั้งการบริหารและการควบคุมดูแลรัฐจะกลายเป็นของประชาชน ซึ่งจะทำให้คำนิยามของประชาธิปไตยที่ว่า ประชาธิปไตยคือการกำกับดูแลของรัฐโดยประชาชน ล้าสมัย และกลายมาเป็นคำนิยามที่แท้จริงว่า ประชาธิปไตยคือการกำกับดูแลของประชาชนโดยประชาชน

ประชาชนทุกคนที่เป็นสมาชิกของแต่ละ ประชาสมาคม อาจจะเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมตัวกันเป็น สมาคมวิชาชีพ หรือ สมาคมเฉพาะทาง (Professional Popular Conferences) โดยในสภาพความเป็นพลเมืองแล้วนั้นจะสามารถเป็นสมาชิกของทั้ง ประชาสมาคมย่อย และ คณะกรรมการประชาชนได้ด้วย ประเด็นที่พิจารณาโดย ประชาสมาคม และคณะกรรมการประชาชน อาจไปสิ้นสุดลงใน สภาประชาชน (General People’s Congress) ซึ่งจะเป็นการนำเลขาธิการของประชาสมาคมต่าง ๆ และ คณะกรรมการประชาชน ไว้ด้วยกัน มติของสภาประชาชนซึ่งจะมีการพบปะกันในแต่ละวาระ หรือ แต่ละปี จะถูกส่งผ่านไปยัง แต่ละประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน ซึ่งจะบริหารมติเหล่านั้นผ่าน คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ (Responsible Committees) ที่เลือกโดยประชาสมาคมย่อยนั้น ๆ

สภาประชาชน จะไม่ใช่เพียงการรวมตัวกันของบุคคล หรือ สมาชิกสภา เช่นเดียวกับรัฐสภาทั่วไป แต่จะเป็นการรวมตัวกันของ ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน

ดังนั้นปัญหาของเครื่องมือการปกครองจะถูกแก้ไขไปโดยปริยาย และ เครื่องของเผด็จการทุกรูปแบบจะหมดไป ผู้คนจะเป็นเครื่องมือในการปกครอง และสภาพป่วยการของประชาธิปไตยจะได้รับการแก้ไขในที่สุด

— สมุดปกเขียว - ภาค 1 ; วิธีการแก้ไขปัญหาแห่งประชาธิปไตย - “อำนาจอันชอบธรรมของประชาชน”

เครื่องอิสริยาภรณ์

อิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า มูอัมมาร์ กัดดาฟี ถัดไป
ตั้งตำแหน่ง มูอัมมาร์ กัดดาฟี  ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ
(1 กันยายน พ.ศ. 2512 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554)


ไม่มี มูอัมมาร์ กัดดาฟี  เลขาธิการสภาประชาชนลิเบีย
(2 มีนาคม พ.ศ. 2520 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2522)
มูอัมมาร์ กัดดาฟี  อับดุล แอติ อัล-โอเบยดี
พระเจ้าไอดริสที่ 1 แห่งลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี  ประธานสภาบัญชาการปฏิวัติ
(8 กันยายน พ.ศ. 2512 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2522)
มูอัมมาร์ กัดดาฟี  ตำแหน่งถูกยกเลิก
มาห์มุด สุไลมาน อัล-มากิบี มูอัมมาร์ กัดดาฟี  นายกรัฐมนตรีลิเบีย
(16 มกราคม พ.ศ. 2513 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2515)
มูอัมมาร์ กัดดาฟี  อับเดสซาลาม จาลลูด
จากายา กิกเวเต มูอัมมาร์ กัดดาฟี  ประธานสหภาพแอฟริกา
(2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - 31 มกราคม พ.ศ. 2553)
มูอัมมาร์ กัดดาฟี  บินกู วา มูธาริก้า

Tags:

มูอัมมาร์ กัดดาฟี ประวัติมูอัมมาร์ กัดดาฟี สมุดปกเขียวมูอัมมาร์ กัดดาฟี เครื่องอิสริยาภรณ์มูอัมมาร์ กัดดาฟี อ้างอิงมูอัมมาร์ กัดดาฟี แหล่งข้อมูลอื่นมูอัมมาร์ กัดดาฟีJamahiriyaจักรวรรดิออตโตมันประเทศกาบองประเทศลิเบียพ.ศ. 2094พ.ศ. 2515พ.ศ. 2553ภาษาอาหรับโดยพฤตินัยไฟล์:Ar-Muammar al-Qaddafi.ogg

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เจริญ สิริวัฒนภักดีอินสตาแกรมยูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)ฟุตซอลภาคเหนือ (ประเทศไทย)คิม ซู-ฮย็อนประเทศออสเตรเลียฮันเตอร์ x ฮันเตอร์บรรดาศักดิ์อังกฤษเขตการปกครองของประเทศพม่าพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)วีรยุทธ จันทร์สุขพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์กองทัพบกไทยกรรชัย กำเนิดพลอยราชวงศ์ชิงจังหวัดฉะเชิงเทราสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีภาคกลาง (ประเทศไทย)เบบีมอนสเตอร์สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ทะเลทรายสะฮาราสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยอนุทิน ชาญวีรกูลพระพุทธเจ้าจักรพรรดิยงเจิ้งกฤษณภูมิ พิบูลสงครามมิตร ชัยบัญชารถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเอฟเอคัพเนย์มาร์มหาเวทย์ผนึกมารรณิดา เตชสิทธิ์หลานม่าสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีธี่หยดเซเว่น อีเลฟเว่นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติจังหวัดปทุมธานีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐสงครามโลกครั้งที่หนึ่งGenwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ประเทศตุรกีสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเร็ว..แรงทะลุนรก 10เมลดา สุศรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สมศักดิ์ เทพสุทินจังหวัดสุรินทร์ผู้หญิง 5 บาปเธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินโบรูโตะสายัณห์ สัญญาจังหวัดสมุทรปราการมังกี้ ดี. ลูฟี่อินดอร์ สเตเดียม หัวหมากอมีนา พินิจสราวุฒิ พุ่มทองจังหวัดเพชรบุรีเข็มอัปสร สิริสุขะจังหวัดเชียงใหม่กูเกิลเจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)แมนสรวงญาณี จงวิสุทธิ์กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)สงครามเวียดนามเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์🡆 More