ภาษาเตลูกู

เตลูกู (เตลูกู: తెలుగు, แม่แบบ:IPA-te) เป็นภาษาดราวิเดียนคลาสสิกที่พูดโดยชาวเตลูกูใน รัฐอานธรประเทศกับรัฐเตลังคานา ซึ่งเป็นรัฐที่มีภาษานี้เป็นภาษาราชการ ถือเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในตระกูลภาษาดราวิเดียน และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาในกำหนดของสาธารณรัฐอินเดีย ภาษานี้ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่มีสถานะทางการมากกว่าหนึ่งรัฐของอินเดีย ร่วมกับภาษาฮินดีและภาษาเบงกอล ภาษาเตลูกูเป็นหนึ่งในหกภาษาที่รัฐบาลอินเดียเลือกเป็นภาษาคลาสสิก (ของอินเดีย)

ภาษาเตลูกู
తెలుగు
ภาษาเตลูกู
ศัพท์ "เตลูกู" ในอักษรเตลูกู
ออกเสียง[ˈteluɡu]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย
ชาติพันธุ์ชาวเตลูกู
จำนวนผู้พูด83 ล้านคน  (2011)
ผู้พูดภาษาที่สอง: 13 ล้านคน
ตระกูลภาษา
ดราวิเดียน
  • กลางตอนใต้
    • ภาษาเตลูกู
รูปแบบก่อนหน้า
เตลูกูเก่า
  • ภาษาเตลูกู
ภาษาถิ่น
ดูกลุ่มภาษาเตลูกู
ระบบการเขียนอักษรเตลูกู
อักษรเบรลล์ภารติ (เตลูกู)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการภาษาเตลูกู อินเดีย
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในภาษาเตลูกู แอฟริกาใต้ (ภาษาที่ได้รับการคุ้มครอง)
รหัสภาษา
ISO 639-1te
ISO 639-2tel
ISO 639-3tel – รหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
wbq – Waddar (Vadari)
นักภาษาศาสตร์tel
Linguasphere49-DBA-aa
ภาษาเตลูกู
ภาษาเตลูกูเป็นภาษาท้องถิ่นของรัฐอานธรประเทศกับรัฐเตลังคานา
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15

ด้วยจำนวนผู้พูดภาษาแม่เกือบ 81 ล้านคนตามสำมะโน ค.ศ. 2011 ทำให้ภาษาเตลูกูเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศอินเดีย และอันดับที่ 15 ของโลกตามรายการภาษาตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ของ Ethnologue ภาษานี้ยังเป็นภาษาที่ได้รับการคุ้มครองในประเทศแอฟริกาใต้ และถูกเสนอเป็นภาษาทางเลือกที่สามในโรงเรียนที่จังหวัด KwaZulu-Natal มีจารึกก่อนสมัยอาณานิคมที่เขียนในภาษาเตลูกูเกือบ 10,000 ชิ้น

จุดกำเนิด

ภาษาเตลูกูมีจุดกำเนิดจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมและอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนกลาง-ใต้ โดยผู้พูดมีจุดกำเนิดมาจากกลุ่มชนที่อยู่ตอนกลางของที่ราบสูงเดกคาน และได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมาก จารึกภาษาเตลูกูมีอายุย้อนหลังไปได้ถึง พ.ศ. 143 พบที่ตำบลกูร์นูล

รากศัพท์

รากศัพท์ที่แน่นอนของคำว่า "เตลุกู"หรือ "เตลุคุ" ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยทั่วไปอธิบายว่ามาจากคำว่าไตรลิงกะ ในไตรลิงกะ เทศา ในศาสนาฮินดูคำว่า ไตรลิงกะ เทศา หมายถึงดินแดนที่อยู่ระหว่างวิหารของพระศิวะ 3 แห่ง คือ กาละหัตถี ศรีศัยลัม และทรักศรมัม ไตรลิงกะ เทศานี้อยู่ที่แนวชายแดนดั้งเดิมของบริเวณเตลูกู รูปแบบอื่นๆของคำนี้ เช่น เตลุงกะ เตลิงคะ เตลังกนะ และเตนุงกะพบได้เช่นกัน มีคำกล่าวว่าไตรลิงกะในรูปของไตรลิกกอนปรากฏในงานของปโตเลมีในฐานะชื่อของดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำคงคา นักวิชาการอื่นๆเปรียบเทียบไตรลิงคะกับชื่อพื้นเมืองอื่นๆที่กำหนดโดยพลินี เช่น โบลิงเก มักโดคาลิงเก และโมโด กาลิงกัม โดยชื่อหลังนั้นระบุว่าเป็นเกาะในแม่น้ำคงคา A.D. Campbell ได้กล่าวไว้ในบทนำของตำราไวยากรณ์ภาษาเตลูกูของเขาว่าโมโด กาลิงกัมอาจจะอธิบายได้ด้วยการแปลภาษาเตลูกูคำว่าตรีสินงกัมและเปรียบเทียบส่วนแรกของคำ โมโด กับมุดุกะซึ่งเป็นรูปคำที่ใช้ในวรรณคดีภาษาเตลูกู โดยมุดุแปลว่าสาม

Bishop Caldwell อธิบายว่าโมโด กาลิงกัมมาจากภาษาเตลูกู มุดุ กาลิงกัมหมายถึงกาลิงกัสทั้งสามซึ่งเป็นชื่อพ้องกับที่พบในจารึกภาษาสันสกฤต และกาลิงกะปรากฏในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชและเริ่มปรากฏรูปคำว่ากลิงก์ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มาจากอินเดียตอนใต้ในมาเลเซีย K.L. Ranjanam เห็นว่าคำว่ากลิงก์มาจากตะละดิง ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขตอันธระ M.R. Shastri เห็นว่ามาจากคำว่าเตลุงคะที่มาจากภาษาโกณฑี เตลู แปลว่าขาว แล้วทำให้อยู่ในรูปพหูพจน์โดยเดิม –unga ซึ่งอาจจะเป็นการอ้างอิงถึงคนผิวขาว G.J. Sumayaji อธิบายว่า ten- หมายถึงใต้ ในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม และอาจจะมาจากเตนุงกู หมายถึงผู้คนทางใต้

ชื่อเดิมของแผ่นดินเตลูกูคือเตลิงกะ/เตลิงกะเทศะ ซึ่งดูคล้ายกับว่ามาจากรากศัพท์ เตลิ- และเติม –nga ซึ่งเป็นหน่วยสร้างคำทั่วไปในภาษาตระกูลดราวิเดียน คำว่าเตลิปรากฏในภาษาเตลูกูแปลว่าสว่าง คำว่ากลิงก์อาจจะมีพื้นฐานเดียวกับคำในภาษาเตลูกู กาลูกูตะหมายถึงอยู่รอดและมีชีวิต และความหมายโดยนัยคือความเป็นคน

ประวัติ

แบ่งยุคในประวัติศาสตร์ของภาษาเตลูกูออกเป็น 4 ยุค ดังนี้

พ.ศ. 943 – 1053

การค้นพบป้ายจารึกอักษรพราหมีอ่านได้ว่า ทัมภยา ธานัม พบบนหินสบู่เมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่าภาษาเตลูกูเป็นที่รู้จักก่อนแนวคิดที่รับรู้กันทั่วไปในรัฐอันธรประเทศ หลักฐานปฐมภูมิคือจารึกภาษาสันสกฤต/ปรากฤตที่พบในบริเวณนั้นซึ่งมีชื่อบุคคลและสถานที่เป็นภาษาเตลูกูแทรกอยู่ในยุคนี้ ซึ่งมีการใช้ภาษาเตลูกูในสมัยที่มีการปกครองของราชวงศ์ศตวหนะ ซึ่งพูดภาษาปรากฤต คำในภาษาเตลูกูปรากฏในบทกวีภาษามหาราษฏรีที่เป็นภาษาปรากฤตที่รวบรวมเมื่อ 457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยกษัตริย์ทละในราชวงศ์ศตวหนะ ผู้พูดภาษาเตลูกูอาจจะเป็นกลุ่มคนที่เก่าแก่ที่สุดที่อาศัยในแผ่นดินบริเวณแม่น้ำกฤษณาและโคทาวารี

พ.ศ. 1053- 1643

จารึกชิ้นแรกที่ใช้ภาษาเตลูกูทั้งหมดพบในช่วงที่สองของประวัติศาสตร์เตลูกู จารึกนี้มีอายุราว พ.ศ. 1118 พบที่ตำบลกจปะ กุร์โนล และตำยลใกล้เคียง โดยใช้ภาษาสันสกฤตควบคู่ไปกับภาษาท้องถิ่น ในอีก 50 ปีต่อมา พบจารึกภาษาเตลูกูในอนันตปุรัมและบริเวณใกล้เคียง จารึกภาษาเตลูกูล้วนชิ้นแรกพบที่ชายฝั่งของรัฐอันธรประเทศ อายุราว พ.ศ. 1176 ในช่วงเวลาเดียวกัน กษัตริย์จาลุกยะแห่งเตลังกนะเนิ่มใช้ภาษาเตลูกู โดยภาษาเตลูกูในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมาก และเป็นยุคที่เริ่มมีวรรณคดีภาษาเตลูกู ยุคนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษาศาสตร์ของภาษาพูดด้วย

พ.ศ. 1643 – 1943

เป็นยุคที่วรรณกรรมมีความก้าวหน้ามากขึ้น และเริ่มนำคำที่เป็นภาษาพูดเข้าไปใช้ในบทกวี ยุคนี้ยังเป็นยุคที่ศาสนาอิสลามแผ่มาถึงเตลังกนะและเกิดอักษรเตลูกู-กันนาดาขึ้น

พ.ศ. 1943 - 2443

ในยุคนี้ ภาษาเตลูกูมีการเปลี่ยนแปลงมาก ภาษาในเตลังกนะเริ่มแตกเป็นสำเนียงต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากบทบาทของศาสนาอิสลามจากการถูกปกครองโดยสุลต่านราชวงศ์ตุกลิกที่ก่อตั้งขึ้นในเดกคานตอนเหนือราวพุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ตาม จักวรรดิวิชัยนครมีความโดดเด่นใน พ.ศ. 1875 จนถึงราว พ.ศ. 2143 ทำให้เกิดยุคทองของวรรณคดีเตลูกูเมื่อถึงพุทธสตวรรษที่ 22 การปกครองของมุสลิมเริ่มขยายตัวลงทางใต้จนเกิดการก่อตั้งราชรัฐไฮเดอราบัดโดยราชวงศ์อาซาฟ ยะห์ ใน พ.ศง 2267 ทำให้ภาษาเตลูกูได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมากในยุคนี้

พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน

ยุคนี้เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ การสื่อสารสมัยใหม่ สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปกครองของอังกฤษ เริ่มมีสื่อสมัยใหม่เช่นโทรทัศน์ วิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 มีการกำหนดรูปแบบมาตรฐานของภาษาเพื่อการสอนในโรงเรียน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ภาษาเตลูกูส่วนใหญ่จะใช้พูดในรัฐอานธรประเทศ และรัฐใกล้เคียง เช่น รัฐทมิฬนาฑู พอนดิเชอร์รี รัฐกรณาฏกะ รัฐมหาราษฏระ รัฐโอริศาและรัฐฉัตตีสครห์ นอกจากนี้ยังใช้พูดในบาห์เรน ฟิจิ มาเลเซีย มอริเชียส แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และเป็นภาษาที่ใช้พูดเป็นอันดับสองในอินเดีย รองจากภาษาฮินดี

การเป็นภาษาราชการ

ภาษาเตลูกูเป็นหนึ่งในภาษาราชการ 22 ภาษาของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศตั้งแต่การสถาปนารัฐเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2496 และยังเป็นภาษาราชการในตำบลยานัมของสหภาพพอนดิเชอร์รี

สำเนียง

ภาษาเตลูกูมีสำเนียงต่างกันมากมาย สำเนียงมาตรฐานของภาษาเตลูกูเรียกสุทธภาษา

ไวยากรณ์

ในภาษาเตลูกูจะเรียงประโยคจาก กรรตะ కర్త (ประธาน), กรรมะ కర్మ (กรรม) และ กริยะ క్రియ (กริยา) ภาษาเตลูกูมีการใช้ วิภักถิ విభక్తి (บุพบท) ด้วย

Telugu రాముడు (ระมุทุ) బంతిని (พันตินิ) కొట్టాడు (โกทตะทุ)
ตรงตัว รามะ ลูกบอล ตี
ความหมาย "รามะตีลูกบอล"

การผันคำ

ภาษาเตลูกูเป็นภาษารูปคำติดต่อซึ่งมีการเติมพยางค์ที่แน่นอนที่ท้ายคำเพื่อแสดงการก

การกเครื่องมือ Ramunito రామునితో (తో; to)
การกกรรมรอง Ramuniki రామునికి (కి; ki or కు; ku)
การกคำนาม Ramudininchi రాముడినుంచి (నుంచి; nunchi)
การกแสดงความเป็นเจ้าของ Ramuni రాముని (ని; ni)

การต่อคำเช่นนี้ใช้กับคำนามทุกชนิดทั้งในรูปเอกพจน์และพหูพจน์ ตารางต่อไปนี้แสดงการกอื่น ๆ ในภาษาเตลูกู

การกแสดงตำแหน่ง

การก การใช้ ภาษาไทย ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงความใกล้เคียง ตำแหน่งใกล้เคียง ใกล้/ที่/โดย บ้าน ఇంటి/పక్క /ɪŋʈɪprakːa/
แสดงการอยู่ข้างใน อยู่ข้างในบางสิ่ง ข้างในบ้าน ఇంట్లో /ɪŋʈloː/
แสดงตำแหน่ง ตำแหน่ง ที่/บน/ใน บ้าน ఇంటిదగ్గర /ɪŋʈɪd̪agːara/
แสดงการอยู่ข้างบน บนพื้นผิว บนด้านบนของบ้าน ఇంటిపై /ɪŋʈɪpaj/

การกแสดงการเคลื่อนที่

การก การใช้ ภาษาไทย ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงการเข้าหา เคลื่อนเข้าไปใกล้บางสิ่ง ไปที่บ้าน ఇంటికి /ɪŋʈɪkɪ/, ఇంటివైపు /ɪŋʈɪvajpu/
แสดงการออกจาก เคลื่อนจากพื้นผิว จากด้านบนของบ้าน ఇంటిపైనుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/
แสดงการเริ่มต้น แสดงจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ เริ่มจากบ้าน ఇంటినుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/ (ఇంటికెల్లి /ɪŋʈɪkelːɪ/ ในบางสำเนียง)
แสดงการอยู่ข้างนอก อยู่ข้างนอกบางสิ่ง อยู่นอกบ้าน ఇంటిలోనుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/ (ఇంట్లకెల్లి /ɪŋʈlakelːɪ/ ในบางสำเนียง)
แสดงการเข้าไป เคลื่อนที่เข้าไปในบางสิ่ง เข้าไปในบ้าน ఇంటిలోనికి /ɪŋʈɪloːnɪkɪ/ (ఇంట్లోకి /ɪŋʈloːkɪ/)
แสดงการเคลื่อนที่ข้างบน เคลื่อนที่บนพื้นผิว ไปบนบ้าน ఇంటిపైకి /ɪŋʈɪpajkɪ/
แสดงการสิ้นสุด แสดงจุดสิ้นสุดของการเคลื่อนที่ ไกลเท่ากับบ้าน ఇంటివరకు /ɪŋʈɪvaraku/

แสดงการจัดเรียงประโยค

การก การใช้ ภาษาไทย ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงแนวโน้ม กรณีทั่วไป ทุกสถานการณ์ ยกเว้นเป็นประธาน กังวลเกี่ยวกับบ้าน ఇంటిగురించి /ɪŋʈɪgurɪɲcɪ/

การกความสัมพันธ์

การก การใช้ ภาษาไทย ตัวอย่างภาษาเตลูกู
แสดงการใช้ประโยชน์ สำหรับ สำหรับบ้าน ఇంటికోసం /ɪŋʈɪkoːsam/ (ఇంటికొరకు /ɪŋʈɪkoraku/)
แสดงเหตุผล เพราะ เพราะว่า เพราะบ้าน ఇంటివలన /ɪŋʈɪvalana/
แสดงส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่ง กับบ้าน ఇంటితో /ɪŋʈɪt̪oː/
แสดงการครอบครอง การครอบครองบางสิ่งโดยตรง ถูกเป็นเจ้าของโดยบ้าน ఇంటియొక్క /ɪŋʈɪjokːa/

การเชื่อมคำอย่างซับซ้อน

ตัวอย่างที่แสดงมาทั้งหมดเป็นการเชื่อคำเพียงระดับเดียว ภาษาเตลูกูมีการเชื่อมคำโดยใช้ปัจจัยหลายตัวเชื่อมต่อกับตำเพื่อให้เกิดคำที่ซับซ้อนขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น อาจเติมทั้ง "నుంచి; นินชิ - จาก" และ "లో; โล - ใน" เข้ากับคำนามเพื่อหมายถึงภายใน เช่น "రాములోనుంచి; รามุโลนินชิ - จากข้างในของรามะ" หรือตัวอย่างการเชื่อมต่อ 3 ระดับ: "వాటిమధ్యలోనుంచి; vāṭimadʰyalōninchi - จากในระหว่างพวกเขา"

คำสรรพนามที่ครอบคลุม/ไม่ครอบคลุม

ภาษาเตลูกูมีสรรพนาม "เรา" 2 คำ คือรวมผู้ฟัง (మనము; มะนะมุ) กับไม่รวมผู้ฟัง (మేము; เมมุ) เช่นเดียวกับภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัม แต่ลักษณะนี้ไม่พบในภาษากันนาดาสมัยใหม่

คำศัพท์

ภาษาเตลูกูมีรากศัพท์ที่มาจากภาษาในกลุ่มดราวิเดียนเอง โดยมากเป็นศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับเรื่องทั่วไปหรือในชีวิตประจำวัน เช่น తల; ตะละ (หัว), పులి; ปุลิ (เสือ), ఊరు; อูรุ (เมือง) อย่างไรก็ตาม ภาษาเตลูกูมีศัพท์จากภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤตปนอยู่มาก อิทธิพลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่กษัตริย์ศตวหนะให้ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาราชการแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะพูดภาษาเตลูกู

ระบบการเขียน

บทความหลัก:อักษรเตลูกู

เชื่อกันว่าอักษรเตลูกูได้รับอิทธิพลจากอักษรพราหมีสมัยอโศก และใกล้เยงกับอักษรจาลุกยะที่พ่อค้าจากอินเดียนำไปเผยแพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นต้นแบบของอักษรในบริเวณดังกล่าวรวมทั้งอักษรไทย อักษรจามและอักษรบาหลี ความคล้ายคลึงระหว่างอักษรเตลูกูกับอักษรเหล่านี้ยังพบได้ในปัจจุบัน

อักษรเตลูกูเขียนจากซ้ายไปขวา หน่วยย่อยของการเขียนคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบด้วยสระ (อัชชุหรือสวระ) และพยัญชนะ (หัลลุหรือวยันชัน) พยัญชนะที่เรียงกันเป็นกลุ่ม บางตัวมีรูปต่างไปจากเดิม พยัญชนะมีทั้งรูปบริสุทธิ์ที่ไม่มีเสียงสระและรูปที่มีเสียงอะ เมื่อรวมสระกับพยัญชนะ สระจะเป็นเครื่องหมายติดกับพยัญชนะเรียก มาตรัส ซึ่งมีรูปร่างต่างจากสระปกติ

อักษรเตลูกูมีทั้งหมด 60 เครื่องหมาย เป็นสระ 16 ตัว ตัวเปลี่ยนสระ 3 ตัว พยัญชนะ 41 ตัว มีการเว้นช่องว่างระหว่างคำ เมื่อจบประโยคจะจบด้วยเส้นเดี่ยว (ปุรนา วิรมะ) หรือเส้นคู่ (กีรฆา วิรมะ)

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภาษาเตลูกู จุดกำเนิดภาษาเตลูกู ประวัติภาษาเตลูกู การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ภาษาเตลูกู การเป็นภาษาราชการภาษาเตลูกู สำเนียงภาษาเตลูกู ไวยากรณ์ภาษาเตลูกู คำศัพท์ภาษาเตลูกู ระบบการเขียนภาษาเตลูกู อ้างอิงภาษาเตลูกู บรรณานุกรมภาษาเตลูกู แหล่งข้อมูลอื่นภาษาเตลูกูตระกูลภาษาดราวิเดียนภาษาคลาสสิกภาษาทางการของอินเดียภาษาราชการภาษาฮินดีภาษาเบงกอลรัฐบาลอินเดียรัฐอานธรประเทศรัฐเตลังคานารัฐและดินแดนสหภาพของประเทศอินเดีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ราชสกุลสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครมูฮัมหมัด อุสมานมูซาเศรษฐศาสตร์กฤษฏ์ อำนวยเดชกรทิโมธี ชาลาเมต์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาน้ำอสุจิไคลี เจนเนอร์รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครประเทศแคนาดายูฟ่ายูโรปาลีกอะพอลโล 13ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)เกาะกูดรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สหีประเทศพม่างูเขียวพระอินทร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสโมสรกีฬาลัตซีโยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)วรรณี เจียรวนนท์ รอสส์เมลดา สุศรีไลแคน (บอยแบนด์)นภคปภา นาคประสิทธิ์พระเจ้านันทบุเรงเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน.comศุภวุฒิ เถื่อนกลางพระศิวะองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ปราโมทย์ ปาทานลมเล่นไฟเมตาสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดผ่าพิภพไททันใบแดงประยุทธ์ จันทร์โอชาภาษาเกาหลีภาษาญี่ปุ่นสล็อตแมชชีนหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลองศาเซลเซียสกองทัพอากาศไทยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566เจาะมิติพิชิตบัลลังก์สหราชอาณาจักรจีเฟรนด์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตารายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวกฤษณภูมิ พิบูลสงครามมหาวิทยาลัยบูรพารายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรไค ฮาเวิทซ์ชลิตา ส่วนเสน่ห์มณฑลของประเทศจีนป๊อกเด้งกูเกิลปีเตอร์ เดนแมนสมศักดิ์ เทพสุทินสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)ธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬเครือเจริญโภคภัณฑ์หอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)จังหวัดเพชรบูรณ์มาริโอ้ เมาเร่อคือเรารักกันพล ตัณฑเสถียรหน้าหลักสล็อตแมชชีน (วงดนตรี)🡆 More