ภาษาสินธ์

ภาษาสินธ์ เป็นภาษาของกลุ่มชนในเขตสินธ์ในเอเชียใต้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แม้ว่าจะเป็นภาษาของชาวอารยัน แต่มีอิทธิพลจากภาษาของดราวิเดียนด้วย ผู้พูดภาษาสินธ์พบได้ทั่วโลก เนื่องจากการอพยพออกของประชากรเมื่อปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียเมื่อ พ.ศ.

2490 และสินธ์เป็นของปากีสถาน ภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอินเดียพยายามให้ชาวสินธ์ในอินเดียเขียนด้วยอักษรเทวนาครีแต่ไม่มีการยอมรับเท่าที่ควร นอกจากนี้ชาวสินธ์ในอินเดียมีการเขียนภาษาสินธ์ด้วยอักษรขุทาพาทีอีกด้วย

ภาษาสินธ์
سنڌي, सिन्धी, ภาษาสินธ์
ภาษาสินธ์
คำว่า "สินธ์" ในอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ
ประเทศที่มีการพูดปากีสถาน, อินเดีย
ภูมิภาคแคว้นสินธ์, กัจฉ์
ชาติพันธุ์ชาวสินธ์
จำนวนผู้พูด25 ล้านคน  (2007)
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Sindhi
Siroli
Vicholi
Lari
Lasi
Thari
Kachhi
Sindhi Bhil
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-1sd
ISO 639-2snd
ISO 639-3มีหลากหลาย:
snd – Sindhi
lss – Lasi
sbn – Sindhi Bhil
Linguasphere59-AAF-f
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ภาษาสินธ์ใช้พูดในแคว้นสินธ์และแคว้นบาโลชิสถานในปากีสถาน เป็นภาษาหลักในโรงเรียนในแคว้นสินธ์ และเป็นภาษาที่สองในการาจีและแคว้นบาโลชิสถาน ในอินเดียมีผู้พูดภาษานี้ในรัฐราชสถาน รัฐคุชราต และรัฐมหาราษฏระ

ประวัติศาสตร์

ภาษาที่เป็นที่มาของภาษาสินธ์คือภาษาอปภรามศา ปรากฤต ที่เรียกวรจทะ นักเดินทางจากเปอร์เซียและอาหรับได้เข้ามาประกาศศาสนาอิสลามในสินธ์เมื่อราว พ.ศ. 1284 ทำให้ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเข้ามามีบทบาท ภาษาสินธ์ใช้เขียนวรรณคดีเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19–23 มีทั้งเรื่องของผู้นับถือนิกายซูฟีและบทกวีทางศาสนาอิสลาม ใน พ.ศ. 2411 เจ้าราชรัฐบอมเบย์ได้ออกประกาศให้ใช้อักษรขุทาพาที ซึ่งเป็นอักษรมาตรฐานในบอมเบย์แทนอักษรอาหรับ ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในหมู่มุสลิม

สำเนียง

สำเนียงสินธ์ สิรากีใช้พูดในสินธิ์ตอนบน สำเนียงวิโชลีใช้พูดในสินธิ์ตอนกลาง สำเนียงลารี ใช้พูดในสินธิ์ตอนล่าง สำเนียงลาซีใช้พุดในโกฮิสถาน ในบาลูชิสถาน สำเนียงทารี ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ของสินธิ์ และบางส่วนของราชสถาน ประเทศอินเดีย สำเนียงกะฉี ใช้พูดในกุตาร์ และบางส่วนในคุชราต และทางใต้ของสินธ์ สำเนียงวิโชลีถือเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษา

การเขียน

ก่อนจะมีการจัดรูปแบบมาตรฐานของการเขียน มีการใช้อักษรเทวนาครีและอักษรลันทา รวมทั้งดัดแปลงอักษรอาหรับแบบเปอร์เซียมาใช้ นอกจากนั้น ยังมีอักษรคุรมุขี อักษรขุทาพาที และอักษรศิกรรปุรี ซึ่งปรับรูปแบบมาจากอักษรลันฑา ในช่วงที่อังกฤษเข้ามาปกครอง จะใช้อักษรอาหรับเป็นอักษรมาตรฐาน แต่ก็ใช้อักษรเทวนาครีอย่างแพร่หลายเช่นกัน

อักษรอาหรับ

มีการนำอักษรเปอร์เซียมาใช้เขียนภาษาสินธ์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 ยังใช้ในปากีสถานจนปัจจุบัน มีอักษร 52 ตัว โดยมีการเพิ่มอักษรใหม่ (ڄ ٺ ٽ ٿ ڀ ٻ ڙ ڍ ڊ ڏ ڌ ڇ ڃ ڦ ڻ ڱ ڳ ڪ) เพื่อใช้แทนเสียงในภาษาสินธ์

جھ ڄ ج پ ث ٺ ٽ ٿ ت ڀ ٻ ب ا
ɟʱ ʄ ɟ p s ʈʰ ʈ t ɓ b ɑː ʔ
ڙ ر ذ ڍ ڊ ڏ ڌ د خ ح ڇ چ ڃ
ɽ r z ɖʱ ɖ ɗ d x h c ɲ
ڪ ق ڦ ف غ ع ظ ط ض ص ش س ز
k q f ɣ ɑː ʔ ʕ z t z s ʃ s z
ي ء ھ و ڻ ن م ل ڱ گھ ڳ گ ک
j h ʋ ʊ ɔː ɳ n m l ŋ ɡʱ ɠ ɡ

อักษรเทวนาครี

เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาสินธ์ในอินเดีย รูปแบบสมัยใหม่เป็นรูปแบบที่กำหนดโดยรัฐบาลอินเดียใน พ.ศ. 2491 แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์ จึงมีการใช้ทั้งอักษรอาหรับและอักษรเทวนาครี

ə a ɪ i ʊ e ɛ o ɔ
ख़ ग॒ ग़
k x ɡ ɠ ɣ ɡʱ ŋ
ज॒ ज़
c ɟ ʄ z ɟʱ ɲ
ड॒ ड़ ढ़
ʈ ʈʰ ɖ ɗ ɽ ɖʱ ɽʱ ɳ
t d n
फ़ ब॒
p f b ɓ m
j r l ʋ
ʃ ʂ s h

การถอดอักษร

เทวนาครี อาหรับ-เปอร์เซีย
آ
ا
ب
ڀ
ٿ
ٽ
ٺ
پ
ج
جھ
ڃ
چ
ڇ
ख़ خ
د
ڌ
ڊ
ڍ
ر
ड़ ڙ
ش
ग़ غ
फ़ ف
ڦ
क़ ق
ڪ
ک
گ
گھ
ڱ
ل
م
ن
ن
ڻ
و
ي
ब॒ ٻ
ज॒ ڄ
ड॒ ڏ
ग॒ ڳ
ت
ط
ح
ه
ज़ ذ
ज़ ز
ज़ ض
ज़ ظ
س
ص
ث

คำศัพท์

นอกจากคำศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตแล้ว ภาษาสินธ์ยังยืมคำจำนวนมากมาจากภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย ต่อมายังได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ปัจจุบันภาษาสินธ์ในปากีสถานได้รับอิทธิพลจากภาษาอูรดู มีคำยืมจากภาษาอาหรับและเปอร์เซีย ส่วนในอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮินดี และมีคำยืมจากภาษาสันสกฤต

สัทวิทยา

ภาษาสินธ์มีเสียงสระและพยัญชนะมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่น ๆ มีเสียงพยัญชนะ 46 เสียง และสระ 16 เสียง

พยัญชนะ

Bilabial Labiodental Dental consonant|Dental Alveolar Post-
alveolar
Palatal Velar consonant|Velar Glottal
Plosives p
ph
b
bɦ
t
th
d
dɦ
ʈ
ʈh
ɖ
ɖɦ
k
kh
g
gɦ
Implosives ɓ ɗ ʄ ɠ
Affricates c
ch
ɟ
ɟɦ
Nasals m
mɦ
n
nɦ
ɳ
ɳɦ
ɲ ŋ
Fricatives f s z ʂ x ɣ h
Taps and flaps r ɽ
ɽɦ
Approximants ʋ j
Lateral
approximants
l
lɦ

อ้างอิง

Tags:

ภาษาสินธ์ การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ภาษาสินธ์ ประวัติศาสตร์ภาษาสินธ์ สำเนียงภาษาสินธ์ การเขียนภาษาสินธ์ คำศัพท์ภาษาสินธ์ สัทวิทยาภาษาสินธ์ อ้างอิงภาษาสินธ์ชาวอารยันดราวิเดียนประเทศปากีสถานอักษรขุทาพาทีอักษรอาหรับอักษรเทวนาครีอินเดียเอเชียใต้

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ประเทศเช็กเกียศาสนาคริสต์โชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ขุนพันธ์ 3จังหวัดระยองสงครามโลกครั้งที่สองการบัญชีเรือนทาสดนุพร ปุณณกันต์กรุงเทพมหานครและปริมณฑลหม่ำ จ๊กมกรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)สโมสรฟุตบอลโอเดนเซภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)ข่าวช่อง 7HDวีระ สุสังกรกาญจน์เมลดา สุศรีโมเสสช้อปปี้โรงเรียนวัดสุทธิวรารามหมากรุกหีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทวิตเตอร์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสินจัย เปล่งพานิชสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเทย์เลอร์ สวิฟต์1สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรร่างทรง (ภาพยนตร์)จังหวัดเชียงรายอิงฟ้า วราหะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีประเทศไต้หวันสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ราชกิจจานุเบกษาเมษายนสายัณห์ ดอกสะเดาจริยา แอนโฟเน่ประเทศสเปนประเทศอินโดนีเซียมรรคมีองค์แปดกรุงเทพมหานครผักกาดหัวเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรณฐพร เตมีรักษ์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDจักรทิพย์ ชัยจินดาจ้าว ลู่ซืออันดับของขนาด (มวล)พระพุทธเจ้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเทศน์ เฮนรี ไมรอนสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรประเทศออสเตรียภัทรเดช สงวนความดีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดข้อมูลโรงเรียนชลกันยานุกูล4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ณัฐฐชาช์ บุญประชมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวศุภณัฏฐ์ เหมือนตาบาสเกตบอลแพทองธาร ชินวัตรมหาวิทยาลัยรังสิตฮันเตอร์ x ฮันเตอร์กวนอิมวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์สงกรานต์ในประเทศไทยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเต่าปูลูสติปัฏฐาน 4🡆 More