เต่าปูลู

เต่าปูลู เป็นเต่าน้ำจืดกินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum (เป็นภาษาละตินแปลว่า หัวโต อกแบน) ในสกุล Platysternon วงศ์ Platysternidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์และสกุลนี้

เต่าปูลู
เต่าปูลู
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Testudines
อันดับย่อย: Cryptodira
วงศ์: Platysternidae
Gray, 1869
สกุล: Platysternon
Gray, 1831
สปีชีส์: P.  megacephalum
ชื่อทวินาม
Platysternon megacephalum
Gray, 1831
ชนิดย่อย
  • P. m. pequense Gray, 1831
  • P. m. megacephalum Gray, 1870
  • P. m. shiui Ernst & McCord, 1987
ชื่อพ้อง
  • Platysternon megacephalum megacephalum
    • Platysternon megacephalum Gray, 1831
    • Platisternon megacephalus Gray, 1834
    • Platysternon megacephalus Gray, 1835
    • Emys megacephala Schlegel, 1838
    • Platysternon magacephalum Fitzinger, 1843 (ex errore)
    • Platysternum megacephalum Boulenger, 1889
    • Platysternon platycephalum Mertens, 1959 (ex errore)
    • Platysternum megalocephalum Stanek, 1959 (ex errore)
    • Platysternon megacephalum megacephalum Wermuth, 1960
    • Platysternon magacephalum megacephalum Pritchard, 1979
    • Platysternon megacephalum tristernalis Schleich & Gruber, 1984
    • Platysternon megacephalum tristornalis Alderton, 1988 (ex errore)
  • Platysternon megacephalum peguense
    • Platysternon peguense Gray, 1870
    • Platysternon megacephalum peguense Wermuth, 1960
    • Platysternon megacephalum vogeli Wermuth, 1969
    • Platysternon megacephalum penguense Nutaphand, 1979 (ex errore)
    • Platysternon megacephalum penuense Nutaphand, 1979 (ex errore)
    • Platysternon megacephalum peguensis Sharma, 1998 (ex errore)
  • Platysternon megacephalum shiui
    • Platysternon megacephalum shiui Ernst & McCord, 1987

มีรูปร่างที่แปลกไปจากเต่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ มีหัวที่โต ปากงุ้มแหลม เล็บที่ทั้ง 4 ข้างแหลมคมมาก มีหางที่ยาวมาก และไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ เป็นเต่าที่พบในลำธารน้ำตกบนภูเขาสูงหรือป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบนที่ติดกับตอนใต้ของประเทศจีน

กายวิภาค

มีหัวว่าวใหญ่มาก มีขนาดกว้างหัวประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างกระดองหลัง มีปากงุ้มแหลมคล้ายปากนกแก้ว หัวหดเข้ากระดองไม่ได้ แต่มีคอยาวยื่นออกมาได้มาก เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว มีความสามารถในการปีนต้นไม้และก้อนหิน ขาและเท้าของเต่าปูลูมีขนาดใหญ่และแข็งแรงหดเข้ากระดองไม่ได้ ขาหน้าและขาหลังของเต่าปูลูมีเกล็ดหุ้มทั้งหมด ตั้งแต่โคนขามีเกล็ดขนาดใหญ่ ฝ่าเท้ามีเกล็ดขนาดเล็กลงมา นิ้วมีเกล็ดหุ้ม มีเล็บแหลมคม ขาหน้ามี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีเยื่อพังผืดเล็กน้อยยึดระหว่างนิ้วเกือบถึงโคนเล็บ หางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง มีเกล็ดขนาดใหญ่หุ้มเกล็ดหางด้านบนมี 1 แถว ๆ ละ 1 เกล็ด เรียงจากโคนหางมีประมาณ 11 ถึง 14 แถว เกล็ดหางด้านล่างแถวที่ 1 ถึง 4 มีสี่เกล็ดจากแถวที่ห้าถึงปลายหางมีแถวละสองเกล็ดบริเวณโคนหางและโคนขาหลังมีเดือยหนังแหลมยื่นออกมาจำนวนมาก หางของเต่าปูลูยาวมาก มีความยาวมากกว่าความยาวกระดองหลังในอัตราเฉลี่ยความยาวกระดองหลังต่อความยาวหาง มีค่าเท่ากับ 1:1.34 เต่าปูลูจึงจัดว่าเป็นเต่าที่มีหางยาวที่สุดในโลก

เต่าปูลู 
ส่วนหัว
เต่าปูลู 
ปีนป่ายในธรรมชาติ

เต่าปูลูขนาดเล็ก ที่ยังไม่โตเต็มวัย เกล็ดสันหลัง มีลักษณะเป็นสันแนวกลางหลังทั้ง 5 แผ่น เกล็ดชายโครง ทั้ง 4 คู่ มีปุ่มหนาที่บริเวณกลางของแต่ละเกล็ด เกล็ดขอบกระดอง มีหยักปลายแหลมเล็กน้อย ส่วนกระดองท้องมีลักษณะดาร์ก ซิมเมตริคอล มาร์กิ้งส์ กระดองหลังสีน้ำตาลแดง กระดองท้องสีเหลือง ผิวหนังด้านท้องสีเหลือง ด้านข้างของหัวทั้งสองด้านจากท้ายตามีเส้นสีดำ 1 คู่ พาดยาวไปทางด้านหลัง ระหว่างกลางเส้นสีดำมีสีเหลือง ขาทั้ง 4 ด้านบนสีดำด้านล่างสีเหลือง แต่เมื่อโตเต็มวัย ลักษณะสันกลางหลัง ปุ่มหนามที่เกล็ดชายโครงและรอยหยักที่เกล็ดขอบกระดอง จะหายไปจนหมด ส่วนลักษณะดาร์ก ซิมเมตริคอล มาร์กิ้งส์ ที่กระดองท้องสีทั้งหมดจะหายไป หรือจางลงจนสังเกตเห็นไม่ชัด เส้นคู่สีดำข้างหัวจะหายไปด้วย

เต่าปูลูตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย พบที่จังหวัดลำปางมีน้ำหนัก 910 กรัม ความยาวกระดองหลัง 18.7 เซนติเมตร ความกว้างกระดองหลัง 14.5 เซนติเมตร ความกว้างหัว 6.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 23 เซนติเมตร

ชนิดย่อยและพฤติกรรม

เต่าปูลู ยังแบ่งเป็นชนิดย่อย ได้ 3 ชนิด คือ

  • เต่าปูลูเหนือ หรือ เต่าปูลูจีน (P. m. megacephalum) เป็นเต่าปูลูขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่าชนิด P. m. pequense มาก มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่มีความความแตกต่างที่ชัดเจนมากที่สุดมีเพียงแห่งเดียว คือเกล็ดเหนือโคนหาง เกล็ดขอบกระดอง มีจำนวน 11 คู่ เท่ากัน (วิโรจน์, 1979 รายงานว่ามี 9 คู่) กระดองท้องของเต่าปูลูเหนือจะเป็นสีเหลืองส้ม ผิวหนังใต้คางสีเหลืองทอง ผิวหนังบริเวณโคนขาจนถึงโคนหางเป็นสีเหลืองอมชมพูเกล็ดเหนือโคนหางซึ่งมี 1 อัน มองเห็นไม่ชัดเจน เมื่อโตเต็มที่ เกล็ดเหนือโคนหาง จะมองเห็นชัดเจน เต่าปูลูเหนือพบในจีน ส่วนในประเทศไทยพบน้อยมาก โดยจะพบเฉพาะจังหวัดที่อยู่เหนือสุดเท่านั้น ตัวที่ใหญ่สุดที่พบที่จังหวัดลำปางมีน้ำหนัก 570 กรัม ความยาวกระดองหลัง 14.5 เซนติเมตร ความยาวกระดองท้อง 11.3 เซนติเมตร ความกว้างหัว 5.4 เซนติเมตร ความกว้างกระดองหลัง 11 เซนติเมตร ความยางหาง 24 เซนติเมตร
  • เต่าปูลู (P. m. pequense) พบในพม่า, ไทย
  • เต่าปูลู (P. m. shiui) พบที่เวียดนามเหนือ, กัมพูชา และลาว

เต่าปูลู เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในลำธารน้ำบนภูเขาสูงเท่านั้น พบในประเทศจีนตอนใต้และในชายแดนที่ติดกับไทย, ลาว และพม่า มีนิสัยดุ กินเนื้อและลูกไม้เปลือกแข็งเป็นอาหาร รวมถึงลูกนกด้วย กินอาการโดยวิธีการฉกงับ มีความสามารถปีนป่ายขอนไม้ หรือโขดหินได้เก่ง หากินในเวลาตอนเย็นหรือกลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนตามซอกหิน ความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมีย คือ ตัวผู้มีหางยาวมากกว่า และรูเปิดก้น ของตัวผู้จะอยู่ไปทางปลายหางมากกว่า และตัวผู้จะมีอวัยวะเพศ อยู่ภายในรูเปิดก้น เต่าปูลูเมื่อยังเล็ก กระดองจะมีลายสีเหลืองและสีน้ำตาล ส่วนตัวเต็มวัยสีเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลเขียวมะกอก ผสมพันธุ์ในน้ำ วางไข่คราวละ 3–5 ฟอง ไข่เปลือกแข็งสีขาว รูปทรงกระบอกหัวท้ายรี ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เชื่อว่ามีอายุยืนได้ถึง 200 ปี

สถานภาพในธรรมชาติ

สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยและถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยงและปรุงยาสมุนไพรด้วยเชื่อว่าเป็นยาที่ใช้บำรุงสมรรถนะทางเพศ โดยชาวจีนจะรับซื้อในราคาที่แพง นอกจากนี้แล้วยังมีการให้กัดกันเพื่อเป็นเกมการพนันอีกด้วย

ในประเทศไทย นอกจากที่จังหวัดลำปางแล้ว เต่าปูลูยังพบได้ที่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่อุทยานแห่งชาติคลองตรอน อำเภอน้ำปาด, จังหวัดพิษณุโลก พบที่อำเภอนครไทย, จังหวัดน่าน พบที่ป่าห้วยหลวง ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน, อุทยานแห่งชาติขุนน่าน และ อุทยานแห่งชาตินันทบุรี รวมถึงอีกหลายที่ในจังหวัดภาคเหนือ

ในปัจจุบันมีโครงการอนุรักษ์เต่าปูลูอยู่ที่ หมู่บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ จังหวัดแพร่ และ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

สำหรับการนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงนั้น เต่าปูลูมักไม่ค่อยรอด เนื่องจากเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีสภาพเป็นลำธารน้ำตกเท่านั้น อีกทั้งยังปีนป่ายเก่ง มีอุปนิสัยดุ จะฉกงับทุกอย่าง จึงทำให้เป็นเต่าที่เลี้ยงยากมาก

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

เต่าปูลู  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Platysternon megacephalum ที่วิกิสปีชีส์

Tags:

เต่าปูลู กายวิภาคเต่าปูลู ชนิดย่อยและพฤติกรรมเต่าปูลู สถานภาพในธรรมชาติเต่าปูลู ดูเพิ่มเต่าปูลู อ้างอิงเต่าปูลู แหล่งข้อมูลอื่นเต่าปูลูชื่อวิทยาศาสตร์วงศ์ (ชีววิทยา)สกุล (ชีววิทยา)เต่า

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

กรมสรรพสามิตจังหวัดสุราษฎร์ธานีโทกูงาวะ อิเอยาซุเดนิส เจลีลชา คัปปุนกกประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิประเทศเนเธอร์แลนด์จังหวัดร้อยเอ็ดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติมหาเวทย์ผนึกมารเอกซ์เจแปนยิ่งลักษณ์ ชินวัตรโชกุนจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาหน้าหลักพิชิตรัก พิทักษ์โลกพรรคก้าวไกลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเข็มอัปสร สิริสุขะประเทศปากีสถานสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)พจน์ บุณยะจินดากระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)กังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)สุทิน คลังแสงวินทร์ เลียววาริณอักษรไทยโรงพยาบาลในประเทศไทยจังหวัดอำนาจเจริญอริยบุคคลราชินีแห่งน้ำตาลีกเอิงจังหวัดกำแพงเพชรเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลอาเลฆันโดร การ์นาโชตัวเลขโรมันรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567อินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาจังหวัดเพชรบูรณ์จักรพรรดิคังซีแอทลาสดัง พันกรบุพเพสันนิวาสรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วจังหวัดนนทบุรีการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีเทศน์ เฮนรี ไมรอนจังหวัดบุรีรัมย์ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนจังหวัดระยองจังหวัดชุมพรหีเซเว่น อีเลฟเว่นยศทหารและตำรวจไทยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลไพรวัลย์ วรรณบุตรรอยรักรอยบาปศาสนาฮินดู69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)จักรทิพย์ ชัยจินดาสฤษดิ์ ธนะรัชต์มุกดา นรินทร์รักษ์ญาณี จงวิสุทธิ์🡆 More