สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด; 9 พฤศจิกายน ค.ศ.

1841 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1910) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ประมุขแห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระประมุขพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระองค์ทรงครองราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1901 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1910

สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร
พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ
จักรพรรดิแห่งอินเดีย
ครองราชย์22 มกราคม 1901 – 6 พฤษภาคม 1910
ราชาภิเษก9 สิงหาคม 1902 (สหราชอาณาจักร)
1 มกราคม 1903 (อินเดีย)
ก่อนหน้าพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ถัดไปพระเจ้าจอร์จที่ 5
รัชทายาทเจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์
นายกรัฐมนตรี
ดูรายชื่อ
พระราชสมภพ9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1841(1841-11-09)
พระราชวังบักกิงแฮม กรุงลอนดอน
สวรรคต6 พฤษภาคม ค.ศ. 1910(1910-05-06) (68 ปี)
พระราชวังบักกิงแฮม กรุงลอนดอน
ฝังพระบรมศพ20 พฤษภาคม ค.ศ. 1910
โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์
คู่อภิเษกอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระราชบิดาเจ้าชายอัลแบร์ทแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ลายพระอภิไธยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร

ก่อนการเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และทรงมีลักษณะเด่นพิเศษที่เป็นรัชทายาทในรัชบัลลังก์ยาวนานกว่าใครในประวัติศาสตร์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักร ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยบันทึกสถิติที่ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ได้ทำไว้ รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเรียกว่า สมัยเอ็ดเวิร์ด (Edwardian Period) ทำให้เห็นถึงการยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1905

พระองค์เป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศรัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1908 ถึงแม้ว่าทรงปฏิเสธที่จะเสด็จเยือนในปี ค.ศ. 1906 (เพราะว่าโปรดสภาดูมามากกว่าซาร์) พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากองทัพเรืออังกฤษให้ทันสมัยขึ้นและการปฏิรูปหน่วยการแพทย์ในกองทัพบกอังกฤษหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอังกฤษกับนานาประเทศของทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ของพระองค์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า "ผู้สร้างสันติภาพ" (Peacemaker) ได้ถูกทำให้ผิดแผกแปลกไปอย่างน่าเศร้าจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914

ชีวิตในวัยเยาว์

สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร 
พระสาทิสลักษณ์เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ในวัยพระเยาว์

สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เสด็จพระราชสมภพเมื่อเวลา 10 นาฬิกา 18 นาที ของวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1841 ณ พระราชวังบักกิงแฮม กรุงลอนดอน พระราชมารดาคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระธิดาพระองค์เดียวในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์และสแตรธเอิร์น ส่วนพระราชบิดาคือเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี พระญาติชั้นที่หนึ่งและพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์ทรงได้รับการขนานพระนาม อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด (ตามพระราชบิดาและพระราชอัยกา) เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1842 ณ เซนต์จอร์จส์แชเปิล ปราสาทวินด์เซอร์ โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวคือ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซีย เจ้าชายอดอลฟัส ดยุกแห่งแคมบริดจ์ พระเจ้าแฟร์นันโดที่ 2 แห่งโปรตุเกส ดัชเชสมารีแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค และเจ้าหญิงโซเฟียแห่งบริเตนใหญ่ พระองค์ทรงเป็นรู้จักในพระนามเรียกเล่น "เบอร์ตี้" ตลอดพระชนม์ชีพ

ในฐานะพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระประมุขแห่งอังกฤษ พระองค์ได้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งโรธเซย์ เอิร์คแห่งแคร์ริก บารอนเร็นฟรูว์ ลอร์ดแห่งไอเอิลส์ และเจ้าชายและจอมทัพแห่งสกอตแลนด์ โดยอัติโนมัติตั้งแต่แรกประสูติ ในฐานะพระโอรสในเจ้าชายอัลเบิร์ต พระองค์ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา และ ดยุกแห่งแซ็กโซนีอีกด้วย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเฉลิมพระอิสริยยศพระโอรสของพระองค์ให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1841 พระองค์ทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็น เอิร์ลแห่งดับลิน เมื่อในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1857 และรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ชั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1858 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ธิสเทิลชั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1867 เมื่อปี ค.ศ. 1863 พระองค์ทรงสละสิทธิในการสืบราชสมบัติของดัชชีซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาให้กับเจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระอนุชา

พระเกียรติยศ

  • 9 พฤศจิกายน - 8 ธันวาคม ค.ศ. 1841: HRH เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (His Royal Highness The Duke of Cornwall)
  • 8 ธันวาคม ค.ศ. 1841 – 22 มกราคม ค.ศ. 1901: HRH เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ (His Royal Highness The Prince of Wales)
    • 8 ธันวาคม ค.ศ. 1841 – 22 มกราคม ค.ศ. 1901: HRH เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งดับลิน (His Royal Highness The Earl of Dublin)
  • 22 มกราคม ค.ศ. 1901 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1910: สมเด็จพระราชาธิบดีเเห่งสหราชอาณาจักร (His Majesty The King of the United Kingdom)
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร 
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร 
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร 
ตราอาร์มในตำแหน่งเจ้าชายแห่งเวลส์
(1841–1901)
ตราอาร์มในตำแหน่งกษัตริย์สหราชอาณาจักร
(ไม่รวมสกอตแลนด์)
ตราอาร์มในตำแหน่งกษัตริย์สกอตแลนด์

พงศาวลี

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ถัดไป
วิกตอเรีย สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร  พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
(ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา)

(22 มกราคม ค.ศ. 1901 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1910)
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร  จอร์จที่ 5
วิกตอเรีย สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร  จักรพรรดิแห่งอินเดีย
(22 มกราคม ค.ศ. 1901 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1910)
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร  จอร์จที่ 5

Tags:

ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาราชาธิปไตยของสหราชอาณาจักรสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดียสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรเครือจักรภพแห่งอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ยากูซ่าทักษอร ภักดิ์สุขเจริญพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ลิซ่า (แร็ปเปอร์)ราณี แคมเปนสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชราชสกุล4 KINGS 2พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ศาสนาพุทธพัชรวาท วงษ์สุวรรณICD-10X-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)ณัฐฐชาช์ บุญประชมสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งสำราญ นวลมาจังหวัดนครศรีธรรมราชพรรษา วอสเบียนเอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่โลก (ดาวเคราะห์)มาตาลดาซิตี้ฮันเตอร์เขตการปกครองของประเทศพม่าบิ๊กแอสข้าราชการพลเรือนสามัญจังหวัดสมุทรปราการฟุตซอลโลก 2012รายชื่อธนาคารในประเทศไทยดวงอาทิตย์ญีนา ซาลาสคู่เวรจังหวัดชัยภูมิเด่นคุณ งามเนตรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ไค ฮาเวิทซ์คณะองคมนตรีไทยรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตประเทศรัสเซียจิรภพ ภูริเดช4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ทศศีลนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์อีเอฟแอลคัพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีคิม จี-ว็อน (นักแสดง)นิชคุณ ขจรบริรักษ์มุกดา นรินทร์รักษ์จังหวัดสุพรรณบุรีดราก้อนบอลเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่วันแอนแซกสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกวิธวัฒน์ สิงห์ลำพองลิโอเนล เมสซิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกมหาเวทย์ผนึกมารซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว26 เมษายนพิศวาสฆาตเกมส์พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขจิรวัฒน์ สอนวิเชียรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหมาจังหวัดชุมพรสุรเชษฐ์ หักพาล69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวอนิเมะFBรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด🡆 More