สงครามนโปเลียน

สงครามนโปเลียน (ฝรั่งเศส: Guerres napoléoniennes; ค.ศ.

1803 – 1815) เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่สำคัญในระดับโลกที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสและพันธมิตร ซึ่งนำโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ต่อกรกับรัฐต่าง ๆ ในยุโรปที่ดูผันผวนซึ่งได้รวมตัวกันเป็นพันธมิตรที่หลากหลาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินและนำโดยสหราชอาณาจักร และทำให้เกิดช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสปกครองเหนือยุโรปภาคพื้นทวีปเป็นส่วนใหญ่ สงครามครั้งนี้เกิดจากข้อพิพาทที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลลัพธ์ของความขัดแย้งครั้งนี้ สงครามมักแบ่งออกเป็นความขัดแย้งห้าครั้ง แต่ละครั้งจะเรียกตามชื่อสหสัมพันธมิตรที่ต่อสู้กับนโปเลียน ประกอบด้วย: สหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม (ค.ศ. 1805) ครั้งที่สี่ (ค.ศ. 1806–07) ครั้งที่ห้า (ค.ศ. 1809) ครั้งที่หก (ค.ศ. 1813–14) และครั้งที่เจ็ด (ค.ศ. 1815) ซึ่งรวมไปถึงสงครามคาบสมุทร (ค.ศ. 1807–14) และการรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส (ค.ศ. 1812)

สงครามนโปเลียน
Napoleonic Warsสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สงครามคาบสมุทร#การทัพโปรตุเกสครั้งที่สามสงครามคาบสมุทรสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าการรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศสการทัพเยอรมนี ค.ศ. 1813การทัพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1814)สมัยร้อยวัน
Napoleonic Wars

กดที่รูปภาพเพื่อแสดงการทัพ
จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง:
ยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์, เบอร์ลิน, ฟรีดลันด์, ลิสบอน, มาดริด, เวียนนา, มอสโก, ไลพ์ซิช, ปารีส, วอเตอร์ลู
วันที่18 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 (1803-05-18)20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 (1815-11-20)
สถานที่
ผล ชัยชนะของสัมพันธมิตร
เกิดการประชุมแห่งเวียนนา
ผลลัพธ์เต็ม
คู่สงคราม
ฝ่ายสัมพันธมิตร:
จักรวรรดิฝรั่งเศสและพันธมิตร:
สงครามนโปเลียน สาธารณรัฐฝรั่งเศส (จนถึง ค.ศ. 1804)
สงครามนโปเลียน จักรวรรดิฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1804)

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ


กำลัง
  • รัสเซีย: ทหารประจำการ, ทหารคอสแซคและทหารอาสา สูงสุด 900,000 นาย
  • ปรัสเซีย: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 320,000 นาย
  • สหราชอาณาจักร: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 250,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]
  • ออสเตรีย, สเปน, โปรตุเกส, สวีเดนและรัฐสหสัมพันธมิตรอื่น ๆ : ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 1,000,000 - 2,000,000 นาย
รวมทหารประจำการและทหารอาสาทั้งหมด: สูงสุด 3,000,000 นาย
  • ฝรั่งเศส: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 1,200,000 นาย
  • รัฐบริวารและพันธมิตร: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 500,000 - 1,000,000 นาย
รวมทหารประจำการและทหารอาสาทั้งหมด: สูงสุด 2,000,000 นาย
ความสูญเสีย
  • ออสเตรีย: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 550,220 นาย (ค.ศ. 1792–1815) (ไม่ทราบจำนวนทั้งหมด)
  • สเปน: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ มากกว่า 300,000 นาย และเสียชีวิตจากทุกกรณี 586,000 นาย
  • รัสเซีย: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 289,000 นาย (ไม่ทราบจำนวนทั้งหมด)
  • ปรัสเซีย: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 134,000 นาย (ไม่ทราบจำนวนทั้งหมด)
  • สหราชอาณาจักร: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 32,232 นาย และเสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ, โรค, อุบัติเหตุและกรณีอื่น ๆ 279,574 นาย
  • โปรตุเกส: เสียชีวิตหรือสูญหาย 250,000 นายขึ้นไป
  • อิตาลี: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 120,000 นาย
  • ออตโตมัน: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 50,000 นาย
    เสียชีวิตทั้งหมด: 2,500,000 คน

ฝรั่งเศส: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 306,000 นาย เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ, อุบัติเหตุหรือโรค 800,000 นาย

  • พันธมิตร: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 65,000 นาย
  • พลเรือนเสียชีวิต 600,000 ราย
    เสียชีวิตทั้งหมด: 1,800,000 คน
  1. Was a commander for the French Empire, as Marshal Jean-Baptiste Bernadotte, ค.ศ. 1804–1810.

เมื่อนโปเลียนได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกงสุลคนแรกของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1799 ได้รับช่วงต่อจากสาธารณรัฐอันวุ่นวาย ต่อมาเขาได้สร้างรัฐที่มีการเงินที่มั่นคง ระบบราชการที่แข็งแกร่ง และกองทัพที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ใน ค.ศ. 1805 ออสเตรียและรัสเซียได้จัดตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามและทำสงครามกับฝรั่งเศส ในการตอบโต้ นโปเลียนได้เอาชนะกองทัพรัสเซีย-ออสเตรียที่เป็นพันธมิตรกันที่เอาสเทอร์ลิทซ์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1805 ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระองค์ ในทางด้านทะเล บริติชได้เอาชนะกองทัพเรือร่วมกันของฝรั่งเศส-สเปนอย่างหนักหน่วงในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805 ชัยชนะครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถควบคุมทางทะเลและป้องกันเกาะอังกฤษจากการถูกบุกครอง ด้วยความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจของฝรั่งเศส ปรัสเซียเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่กับรัสเซีย ซัคเซิน และสวีเดน และการเริ่มต้นของสงครามในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1806 นโปเลียนได้เอาชนะปรัสเซียอย่างรวดเร็วที่เจนาและรัสเซียที่ฟรายด์ลันด์ ได้นำพาความสงบสุขที่ไม่สบายใจมาสู่ทวีป แม้ว่าสันติภาพจะล้มเหลว เมื่อสงครามได้ปะทุขึ้นมาใน ค.ศ. 1809 เมื่อสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าซึ่งเตรียมการที่แย่ นำโดยออสเตรีย ซึ่งพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วที่วากรัม

ด้วยความหวังที่จะแบ่งแยกและทำให้บริติชอ่อนแลลงทางเศรษฐกิจผ่านทางระบบภาคพื้นทวีป นโปเลียนได้เปิดฉากการบุกครองโปรตุเกสซึ่งเป็นพันธมิตรเพียงหนึ่งเดียวของอังกฤษที่เหลืออยู่ในทวีปยุโรป ภายหลังจากการยึดครองลิสบอนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1807 และด้วยกองทหารฝรั่งเศสจำนวนมากที่อยู่ในสเปน นโปเลียนจึงฉวยโอกาสในการจัดการกับสเปน อดีตพันธมิตรของพระองค์ ซึ่งได้ทำการขับไล่ราชวงศ์สเปนที่ปกครองอยู่ออกไปและประกาศให้พระเชษฐาของพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปนแทนใน ค.ศ. 1808 เป็นพระเจ้าโฮเซที่ 1 สเปนและโปรตุเกสได้ออกมาลุกฮือโดยได้รับการสนับสนุนจากบริติชและขับไล่ฝรั่งเศสออกจากคราบสมุทรไอบีเรียในปี ค.ศ. 1814 ภายหลังจากหกปีของการสู้รบ

ในขณะเดียวกัน รัสเซียไม่เต็มใจที่จะแบกรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการค้าที่ลดลงและละเมิดระบบทวีปอยู่เป็นประจำ ทำให้นโปเลียนเปิดฉากการบุกครองรัสเซียครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1812 ผลลัพธ์ของการทัพครั้งนี้ได้จบลงด้วยหายนะและความพินาศย่อยยับของกองทัพใหญ่ของนโปเลียน

ด้วยแรงบันดาลใจจากความพ่ายแพ้ ออสเตรีย ปรัสเซีย และรัสเซียได้ก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่หกและเริ่มการทัพครั้งใหม่เพื่อต่อกรกับฝรั่งเศส โดยเอาชนะนโปเลียนที่ไลพ์ซิชอย่างเด็ดขาดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1813 ภายหลังจากการสู้รบที่ยังหาบทสรุปไม่ได้หลายครั้ง จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้บุกครองฝรั่งเศสจากทางด้านตะวันออก ในขณะที่สงครามคาบสมุทรได้แผ่ขยายออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดกรุงปารีสไว้ได้ เมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1814 และบีบบังคับให้นโปเลียนสละราชบังลังก์ในเดือนเมษายน พระองค์ถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบาและราชวงศ์บูร์บงได้รับการฟื้นฟูกลับมาเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง แต่นโปเลียนได้หลบหนีออกมาในในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1815 และกลับเข้ามาควบคุมฝรั่งเศสอีกครั้งจากราวหนึ่งร้อยวัน ภายหลังจากการก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เอาชนะพระองค์อย่างถาวรที่วอเตอร์ลูในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1815 และเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ซึ่งพระองค์ได้สวรรคตในอีกหกปีต่อมา

การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้ทำให้ชายแดนของทวีปยุโรปได้ถูกเขียนขึ้นใหม่และนำมาซึ่งช่วงเวลาแห่งความสงบสุข สงครามได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประวัติศาสตร์โลก รวมทั้งการแพร่กระจายของลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยม การเถลิงอำนาจของบริติชในฐานะที่เป็นมหาอำนาจที่มีทั้งอำนาจควบคุมทางทะเลและเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของโลก การปรากฏตัวของขบวนการเพื่อเรียกร้องเอกราชในละตินอเมริกา และการล่มสลายของจักรวรรดิสเปนและจักรวรรดิโปรตุเกสในเวลาต่อมา การปรับโครงสร้างพื้นฐานของดินแดนเยอรมันและอิตาลีทำให้กลายเป็นรัฐขนาดใหญ่มากขึ้น และการได้รับแนะนำวิธีการใหม่ ๆ ในการทำสงคราม แต่ยังรวมไปถึงกฎหมายทางแพ่งอีกด้วย

ภาพรวม

นโปเลียนได้กระทำการยึดอำนาจใน ค.ศ. 1799 ซึ่งก่อให้เกิดเผด็จการทหาร โดยมีข้อคิดเห็นอยู่หลายประการเกี่ยวกับวันและเวลาที่จะนำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามนโปเลียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 มักถูกนำไปใช้ หลังจากที่บริเตนและฝรั่งเศสยุติช่วงเวลาแห่งสันติภาพซึ่งเป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ ที่ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1814 เพียงเท่านั้น สงครามนโปเลียนเริ่มต้นด้วยสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ซึ่งเป็นสงครามสหสัมพันธมิตรที่ต่อกรกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่งเป็นครั้งแรก หลังจากที่นโปเลียนขึ้นมาเป็นผู้นำของฝรั่งเศส

บริเตนได้ยุติสนธิสัญญาอาเมียงและได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1803 ในบรรดาสาเหตุอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนแปลงของนโปเลียนต่อระบบในยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในสวิตเซอร์แสนด์ เยอรมนี อิตาลีและเนเธอร์แลนด์ นักประวัติศาสตร์อย่าง เฟรเดอริค คากาน ได้ออกมาให้เหตุผลว่า บริเตนรู้สึกโกรธเคือง โดยเฉพาะกับการอ้างสิทธิ์เกี่ยวกับการควบคุมสวิตเซอร์แลนด์ของนโปเลียน นอกจากนี้ บริเตนยังรู้สึกเหมือนถูกเหยียดหยาม เมื่อนโปเลียนได้กล่าวว่า "ดินแดนของพวกเขาไม่สมควรที่จะมีสิทธิ์มีเสียงในกิจของยุโรป" ถึงแม้ว่าพระเจ้าจอร์จที่ 3 จะทรงเป็นผู้คัดเลือกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ตาม ในส่วนของรัสเซียนั้น รัสเซียตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่านโปเลียนไม่ได้มองหาข้อแก้ไขเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างนโปเลียน กับชาติมหาอำนาจในยุโรปอื่น ๆ โดยวิธีอย่างสันติ

บริเตนบังคับให้รีบปิดล้อมทะเลของฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสขาดแคลนทรัพยากร นโปเลียนจึงได้ทำการตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อบริเตน และพยายามที่จะกำจัดพันธมิตรภาคพื้นทวีปของบริเตน เพื่อทำลายพันธมิตรที่จะต่อต้านนโปเลียน ในชื่อ ระบบภาคพื้นทวีป ในขณะเดียวกัน ก็มีการก่อตั้งสันนิบาตกองกำลังไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดขึ้น เพื่อขัดขวางการปิดล้อมทางทะเลของบริเตนและการบังคับใช้การค้าเสรีกับฝรั่งเศส บริเตนจึงตอบโต้ด้วยการยึดกองเรือเดนมาร์กเพื่อเป็นการทำลายสันนิบาต และในเวลาต่อมาบริเตนได้ครอบครองอำนาจเหนือทะเล ทำให้บริเตนสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างอิสระ แต่นโปเลียนกลับได้รับชัยชนะในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ซึ่งเป็นการบังคับให้จักรวรรดิออสเตรียออกจากสงคราม และทำการยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเวลาไม่กี่เดือน ปรัสเซียได้ทำการประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส ก่อให้เกิดสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความย่อยยับของปรัสเซีย ซึ่งภายใน 19 วัน นับตั้งแต่เริ่มการทัพ ปรัสเซียได้รับความพ่ายแพ้และถูกยึดครองดินแดน ต่อมานโปเลียนสามารถเอาชนะรัสเซียที่ฟรีดลันด์ ซึ่งสามารถสร้างรัฐบริวารที่มีอำนาจในยุโรปตะวันออก และทำให้สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สิ้นสุดลง

ในขณะเดียวกัน การที่โปรตุเกสปฏิเสธที่จะเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีปและสเปนล้มเหลวในการรักษาระบบดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดสงครามคาบสมุทร และทำให้สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าก็ได้ปะทุขึ้น ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองสเปนและสถาปนาราชอาณาจักรบริวารสเปน ซึ่งทำให้ความเป็นพันธมิตรระหว่างทั้งสองสิ้นสุดลง ภายหลังจากที่ความพยายามในการยึดเมืองแอนต์เวิร์ปนั้นล้มเหลวได้ไม่นานนัก บริเตนก็ได้แทรกแซงจำนวนมากในสงครามที่สู้รบกันคาบสมุทรไอบีเรีย นโปเลียนได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในคาบสมุทรไอบีเรีย ฝรั่งเศสสามารถเอาชนะสเปนและขับไล่บริเตนให้ออกจากคาบสมุทร ออสเตรียซึ่งกระตือรือร้นกับการกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียไปในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ก็ได้รุกรานรัฐบริวารของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก นโปเลียนสามารถเอาชนะสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าที่วากรัม

เนื่องด้วยความโกรธเคืองของสหรัฐต่อการกระทำของกองเรือบริเตน นั่นจึงทำให้สหรัฐประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักร ในชื่อสงคราม ค.ศ. 1812 แต่สหรัฐกลับไม่ได้เป็นพันธมิตรของฝรั่งเศส และด้วยความคับข้องใจเกี่ยวกับการปกครองโปแลนด์ ประกอบกับการที่รัสเซียถอนตัวออกจากระบบภาคพื้นทวีป จึงนำไปสู่การรุกรานรัสเซียโดยนโปเลียนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1812 การรุกรานในครั้งนี้ถือว่าเป็นหายนะอย่างไม่ลดละสำหรับนโปเลียน ด้วยกลยุทธ์ผลาญภพ การถอยทัพเข้าไปในดินแดนลึกของรัสเซีย ความล้มเหลวทางกลยุทธ์ของฝรั่งเศส และการเริ่มต้นฤดูหนาวของรัสเซีย จึงทำให้นโปเลียนต้องถอยทัพพร้อมกับความสูญเสียอย่างมหาศาล นโปเลียนต้องประสบกับความพ่ายแพ้ที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออำนาจของฝรั่งเศสที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียถูกทำลายลงในยุทธการที่บิตอเรีย ในฤดูร้อนของปีถัดมา และสหสัมพันธมิตรครั้งใหม่ก็ได้เริ่มต้นสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก

ฝ่ายสหสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะนโปเลียนที่ไลพ์ซิช ซึ่งทำให้พระองค์ทรงสูญเสียพระอำนาจ และในท้ายที่สุด พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1814 ฝ่ายของผู้ชนะในสงครามได้เนรเทศนโปเลียนไปยังเกาะเอลบา และทำการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง นโปเลียนสามารถหลบหนีออกจากเกาะเอลบาได้ใน ค.ศ. 1815 โดยได้ทำการรวบรวมการสนับสนุน เพื่อให้มีมากพอสำหรับการล้มล้างราชาธิปไตยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 อันก่อให้เกิดสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด และเป็นครั้งสุดท้ายที่ต่อกรกับนโปเลียน นโปเลียนพ่ายแพ้อย่างราบคาบที่วอเตอร์ลู และพระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติอีกครั้งในวันที่ 22 มิถุนายน นโปเลียนได้ยอมจำนนต่อบริเตนที่เมืองรอชฟอร์ในวันที่ 15 กรกฎาคม และถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์เฮเลนาอันห่างไกลเป็นการถาวร สนธิสัญญาปารีสได้รับการลงนามในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อันเป็นการยุติสงครามนโปเลียนอย่างเป็นทางการ

ภูมิหลัง

วันเริ่มของสงครามและการตั้งชื่อ

กลยุทธ์การรบของนโปเลียน

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

หนังสืออ่านเพิ่ม

หนังสือเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปและหนังสืออ้างอิง

  • Bruun, Geoffrey. Europe and the French Imperium, 1799–1814 (1938) online, political and diplomatic context
  • Bruce, Robert B. et al. Fighting Techniques of the Napoleonic Age 1792–1815: Equipment, Combat Skills, and Tactics (2008) excerpt and text search
  • Gates, David. The Napoleonic Wars 1803–1815 (NY: Random House, 2011)
  • Gulick, E.V. “The final coalition and the Congress of Vienna, 1813–15,” in C.W. Crawley, ed. The New Cambridge Modern History: IX. War and Peace in an age of upheaval 1793–1830 (Cambridge University Press, 1965) pp. 629–668; online.
  • Markham, Felix. “The Napoleonic Adventure” in C.W. Crawley, ed. The New Cambridge Modern History: IX. War and Peace in an age of upheaval 1793–1830 (Cambridge University Press, 1965) pp. 307–336; online.
  • Pope, Stephen (1999). The Cassel Dictionary of the Napoleonic Wars. Cassel. ISBN 0-304-35229-2.
  • Ross, Steven T. European Diplomatic History, 1789–1815: France Against Europe (1969)
  • Ross, Steven T. The A to Z of the Wars of the French Revolution (Rowman & Littlefield, 2010); 1st edition was Historical dictionary of the wars of the French Revolution (Scarecrow Press, 1998)
  • Rothenberg, Gunther E. (1988). "The Origins, Causes, and Extension of the Wars of the French Revolution and Napoleon". Journal of Interdisciplinary History. 18 (4): 771–793. doi:10.2307/204824. JSTOR 204824.
  • Rothenberg, E. Gunther. The Art of Warfare in the Age of Napoleon (1977)
  • Schneid, Frederick C. (2011). The French Revolutionary and Napoleonic Wars. Mainz: Institute of European History.
  • Schneid, Frederick C. Napoleon's Conquest of Europe: The War of the Third Coalition (2005) excerpt and text search
  • Schneid, Frederick C. Napoleonic Wars: The Essential Bibliography (2012) excerpt and text search 121 pp. online review in H-FRANCE
  • Smith, Digby George. The Greenhill Napoleonic Wars Data Book: Actions and Losses in Personnel, Colours, Standards, and Artillery (1998)
  • Stirk, Peter. "The concept of military occupation in the era of the French Revolutionary and Napoleonic Wars." Comparative Legal History 3#1 (2015): 60–84.

หนังสือเกี่ยวกับนโปเลียนและฝรั่งเศส

  • Chandler, David G., ed. Napoleon's Marshals (1987) short scholarly biographies
  • Dwyer, Philip. Napoleon: The Path to Power (2008) excerpt vol 1
  • Elting, John R. Swords Around a Throne: Napoleon's Grand Armee (1988).
  • Forrest, Alan I. Napoleon's Men: The Soldiers of the Empire Revolution and Empire (2002).
  • Forrest, Alan. Conscripts and Deserters: The Army and French Society during Revolution and the Empire (1989) excerpt and text search
  • Gallaher, John G. Napoleon's Enfant Terrible: General Dominique Vandamme (2008). excerpt
  • Griffith, Paddy. The Art of War of Revolutionary France, 1789–1802 (1998) excerpt and text search
  • Haythornthwaite, Philip J. Napoleon's Military Machine (1995) excerpt and text search
  • Hazen, Charles Downer. The French Revolution and Napoleon (1917) online free เก็บถาวร 2018-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Nester, William R. Napoleon and the Art of Diplomacy: How War and Hubris Determined the Rise and Fall of the French Empire (2011). excerpt
  • Parker, Harold T. "Why Did Napoleon Invade Russia? A Study in Motivation and the Interrelations of Personality and Social Structure," Journal of Military History (1990) 54#2 pp. 131–46 in JSTOR.
  • Riley, Jonathon P. Napoleon as a General (Hambledon Press, 2007)
  • Mikaberidze, Alexander. The Napoleonic Wars: A Global History (Oxford University Press) February 2020
  • Wilkin Bernard and Wilkin René: Fighting for Napoleon: French Soldiers’ Letters 1799–1815 Pen and Sword Military (2016)
  • Wilkin Bernard and Wilkin René: Fighting the British: French Eyewitness Accounts from the Napoleonic Wars Pen and Sword Military (2018)

หนังสือเกี่ยวกับบทบาทของออสเตรีย, ปรัสเซีย และรัสเซีย

  • Haythornthwaite, Philip J. The Russian Army of the Napoleonic Wars (1987) vol 1: Infantry 1799–1814; vol 2: Cavalry, 1799–1814
  • Lieven, D. C. "Russia and the Defeat of Napoleon (1812–14)," Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History (2006) 7#2 pp. 283–308.
  • Rothenberg, Gunther E. Napoleon's Great Adversaries: The Archduke Charles and the Austrian Army 1792–1814 (1982)
  • Schneid, Frederick C. ed. European Armies of the French Revolution, 1789–1802 (2015) Nine essays by leading scholars.

หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์และความทรงจำ

  • Esdaile, Charles. "The Napoleonic Period: Some Thoughts on Recent Historiography," European History Quarterly, (1993) 23: 415–32 online[ลิงก์เสีย]
  • Forrest, Alan et al. eds. War Memories: The Revolutionary and Napoleonic Wars in Modern European Culture (2013)
  • Hyatt, Albert M.J. "The Origins of Napoleonic Warfare: A Survey of Interpretations." Military Affairs (1966) 30#4 pp. 177–185.
  • Linch, Kevin. "War Memories: The Revolutionary and Napoleonic Wars in Modern European Culture." Social History 40#2 (2015): 253–254.
  • Martin, Jean-Clément. "War Memories. The Revolutionary and Napoleonic Wars in Modern European Culture." Annales Historiques De La Revolution Francaise. (2015) No. 381.
  • Messenger, Charles, บ.ก. (2001). Reader's Guide to Military History. Routledge. pp. 391–427. ISBN 9781135959708. evaluation of the major books on Napoleon and his wars published by 2001.
  • Mikaberidze, Alexander. "Recent Trends in the Russian Historiography of the Napoleonic Wars," Journal of Military History (2010) 74#1 pp. 189–194.

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

  • Dwyer, Philip G. "Public remembering, private reminiscing: French military memoirs and the revolutionary and Napoleonic wars," French Historical Studies (2010) 33#2 pp. 231–258 online
  • Kennedy, Catriona. Narratives of the Revolutionary and Napoleonic Wars: Military and Civilian Experience in Britain and Ireland (Palgrave Macmillan, 2013)
  • Leighton, James. Witnessing the Revolutionary and Napoleonic Wars in German Central Europe (2013), diaries, letters and accounts by civilians Online review

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

สงครามนโปเลียน ภาพรวมสงครามนโปเลียน ภูมิหลังสงครามนโปเลียน หมายเหตุสงครามนโปเลียน อ้างอิงสงครามนโปเลียน หนังสืออ่านเพิ่มสงครามนโปเลียน แหล่งข้อมูลอื่นสงครามนโปเลียนการปฏิวัติฝรั่งเศสการรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศสจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งภาษาฝรั่งเศสสงครามคาบสมุทรสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หกสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าสงครามโลกสมัยร้อยวันสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ดวัชรเรศร วิวัชรวงศ์นพเก้า เดชาพัฒนคุณคณะรัฐมนตรีไทยปราชญา เรืองโรจน์การบินไทยประวัติศาสตร์ทวิตเตอร์รายการรหัสไปรษณีย์ไทยวัชรพล ประสารราชกิจ69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นดวงอาทิตย์สถิตย์พงษ์ สุขวิมลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถฉัตรชัย เปล่งพานิชบี-2 สปีริทละหมาดเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)กองทัพ พีคสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ธงไชย แมคอินไตย์จังหวัดนครสวรรค์รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)ภาษาไทยจังหวัดสมุทรสาครสาวิกา ไชยเดชเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยอินเทอร์เน็ตชาลี ไตรรัตน์สุจาริณี วิวัชรวงศ์บรรดาศักดิ์ไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ญีนา ซาลาสพิจักขณา วงศารัตนศิลป์จังหวัดอุดรธานีซิลลี่ ฟูลส์พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีร่างทรง (ภาพยนตร์)อินดอร์ สเตเดียม หัวหมากใหม่ เจริญปุระจังหวัดเชียงใหม่ป๊อกเด้งเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5โชเซ มูรีนโยนฤมล พงษ์สุภาพสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโอเฌเซ นิสการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญวรันธร เปานิลไดโนเสาร์ดูไบการ์ตูนฟุตซอลโลก 2012อาลิง โฮลันไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลดวงใจเทวพรหมรอยรักรอยบาปทักษิณ ชินวัตรจังหวัดกาญจนบุรีกรรชัย กำเนิดพลอยX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)Gนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ประวิตร วงษ์สุวรรณธนวรรธน์ วรรธนะภูติสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลอำเภอหาดใหญ่ดาวิกา โฮร์เน่รายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย🡆 More