ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อก (อักษรไบบายิน: ᜏᜒᜃᜅ᜔ ᜆᜄᜎᜓᜄ᜔) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟีจี ภาษามาวรี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า

ภาษาตากาล็อก
ᜏᜒᜃᜅ᜔ ᜆᜄᜎᜓᜄ᜔
Wikang Tagalog
ออกเสียงtɐˈɡaːloɡ
ประเทศที่มีการพูดประเทศฟิลิปปินส์
จำนวนผู้พูด22.5 ล้าน  (2010)
รวม 23.8 ล้าน (2019)
ผู้พูดภาษาที่สอง 45 ล้าน (ในฐานะภาษาฟิลิปปินส์, 2013)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
โปรโต-ออสโตรนีเซีย
  • โปรโต-มาลาโย-โพลีนีเซีย
    • โปรโต-ฟิลิปปิน
      • ภาษาตากาล็อกเก่า
        • ภาษาตากาล็อกคลาสสิก
          • ภาษาตากาล็อก
รูปแบบมาตรฐาน
ภาษาถิ่น
Bataan
Batangas
Bulacan
Lubang
Manila
Marinduque
Tanay–Paete (Rizal-Laguna)
Tayabas (Quezon)
ระบบการเขียนอักษรลาติน (ตากาล็อก/อักษรฟิลิปปินส์),
อักษรเบรลล์ฟิลิปปินส์
อักษรไบบายิน (ประวัติ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการภาษาตากาล็อก ฟิลิปปินส์ (ในรูปของภาษาฟิลิปปินส์)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในภาษาตากาล็อก ฟิลิปปินส์ (ภาษาประจำภูมิภาค; แยกกับภาษาฟิลิปปินส์มาตรฐาน)
ผู้วางระเบียบคณะกรรมการภาษาฟิลิปปินส์
รหัสภาษา
ISO 639-1tl
ISO 639-2tgl
ISO 639-3tgl
Linguasphere31-CKA
ภาษาตากาล็อก
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาตากาล็อกในประเทศฟิลิปปินส์

ระบบเสียง

ภาษาตากาล็อกมีหน่วยเสียง 21 เสียง เป็นเสียงพยัญชนะ 16 เสียง เสียงสระ 5 เสียง ก่อนการเข้ามาของชาวสเปน ภาษาตากาล็อกมีเสียงสระเพียง 3 เสียง คือ /a/, /i/, และ /u/ มีคำยืมจากภาษาสเปนจึงเพิ่มสระอีก 2 เสียง คือ /ε/ และ /o/ นอกจากนั้นมีสระประสมเพิ่มอีก 4 เสียงคือ /aI/, /oI/, /aU/ และ /iU/ พยัญชนะในภาษาตากาล็อกไม่มีเสียงลมแทรก มีการเน้นเสียงหนักภายในคำที่ทำให้เสียงสระยาวขึ้นด้วย

ไวยากรณ์

บทความหลัก: ไวยากรณ์ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อกเรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม มีระบบการผันคำกริยาที่ซับซ้อนกว่าคำนาม คำขยายเรียงก่อนหรือหลังคำที่ถูกขยายก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้คำเชื่อมต่างกัน

ประวัติ

คำว่าตากาล็อกมาจาก taga-ilog โดย taga หมายถึงท้องถิ่นของ และ ilog หมายถึงแม่น้ำ รวมแล้วหมายถึงผู้อาศัยอยู่กับแม่น้ำ ไม่มีตัวอย่างการเขียนของภาษาตากาล็อก ก่อนการมาถึงของสเปนในพุทธศตวรรษที่ 21 เหลืออยู่เลย ประวัติศาสตร์ของภาษาจึงเหลืออยู่น้อยมาก คาดว่าภาษานี้กำเนิดในฟิลิปปินส์ตอนกลางจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนาหรือวิซายาตะวันออก

หนังสือเล่มแรกที่เขียนด้วยภาษาตากาล็อกคือ Doctrina Cristiana ใน พ.ศ. 2136 โดยในหนังสือเล่มนี้เขียนด้วยภาษาสเปนและภาษาตากาล็อก 2 รูปแบบคือใช้อักษรละตินและอักษรบายบายิน ในช่วงที่สเปนยึดครองอยู่ 333 ปี มีไวยากรณ์และพจนานุกรมเขียนโดยบาทหลวงชาวสเปน

ใน พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างภาษาประจำชาติโดยสถาบันภาษาแห่งชาติโดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐาน ภาษาประจำชาติที่เคยตั้งชื่อว่า Wikang pambansa (ภาษาแห่งชาติ) โดยประธานาธิบดีมานูเอล เอเล. เกซอนเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโนใน พ.ศ. 2502 แต่การเปลี่ยนชื่อนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาตากาล็อก โดยเฉพาะผู้พูดภาษาเซบัวโน

ใน พ.ศ. 2514 เกิดหัวข้อทางด้านภาษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติจากภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาฟิลิปปินส์ โดยภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาที่ผสมลักษณะของภาษาตากาล็อกสำเนียงลูซอนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน

การจัดจำแนก

ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาในกลุ่มฟิลิปปินส์กลาง ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียอื่น ๆ เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และภาษาไปวัน มีความสัมพันธ์กับภาษาที่พูดในบิกอลและวิซายาเช่น ภาษาบิโกล ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาวาไร-วาไร และภาษาเซบัวโน

ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาตากาล็อกที่สำคัญได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษามลายูโบราณ และภาษาทมิฬ

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ส่วนที่เป็นบ้านเกิดของภาษาตากาล็อกหรือ katagalugan ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของเกาะลูซอน โดยเฉพาะในเอาโรรา บาตายัน บาตังกัส บูลาจัน ลามารีนเหนือ กาบิเต ลากูนา เมโทรมะนิลา นูเอบาเอซิฮา เกซอน และริซัล ภาษาตากาล็อกใช้พูดเป็นภาษาแม่โดยผู้ที่อยู่ในเกาะลูบัว มารินดูเก ทางเหนือและทางตะวันตกของมินโดโร มีผู้พูดประมาณ 64.3 ล้านคน ผู้พุดภาษาตากาล็อกยังแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ทั่วโลก แต่มีการใช้น้อยในการสื่อสารระหว่างชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ระบบการเขียน

อักษรบายบายิน

ภาษาตากาล็อก 
อักษรบายบายิน

ภาษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายินก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัว และพยัญชนะ 14 ตัว เมื่อเทียบกับตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากอักษรบูกิสในซูลาเวซี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไป เพราะนิยมใช้อักษรละตินที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปน

อักษรบายบายินถูกกำหนดด้วยยูนิโคด รุ่น 3.2 ในช่วง 1700-171F ด้วยชื่อ "Tagalog".

ภาษาตากาล็อก 
a
ภาษาตากาล็อก 
e/i
ภาษาตากาล็อก 
o/u
ภาษาตากาล็อก 
ka
ภาษาตากาล็อก 
ga
ภาษาตากาล็อก 
nga
ภาษาตากาล็อก 
ta
ภาษาตากาล็อก 
da/ra
ภาษาตากาล็อก 
na
ภาษาตากาล็อก 
pa
ภาษาตากาล็อก 
ba
ภาษาตากาล็อก 
ma
ภาษาตากาล็อก 
ya
ภาษาตากาล็อก 
la
ภาษาตากาล็อก 
wa
ภาษาตากาล็อก 
sa
ภาษาตากาล็อก 
ha

vowels

a
i
e
u
o

b

b ᜊ᜔
ba
bi
be
ᜊᜒ
bu
bo
ᜊᜓ

k

k ᜃ᜔
ka
ki
ke
ᜃᜒ
ku
ko
ᜃᜓᜓ

d/r

d/r ᜇ᜔
da/ra
di/ri
de/re
ᜇᜒ
du/ru
do/ro
ᜇᜓ

g

g ᜄ᜔
ga
gi
ge
ᜄᜒ
gu
go
ᜄᜓ

h

h ᜑ᜔
ha
hi
he
ᜑᜒ
hu
ho
ᜑᜓ

l

l ᜎ᜔
la
li
le
ᜎᜒ
lu
lo
ᜎᜓ

m

m ᜋ᜔
ma
mi
me
ᜋᜒ
mu
mo
ᜋᜓ

n

n ᜈ᜔
na
ni
ne
ᜈᜒ
nu
no
ᜈᜓ

ng

ng ᜅ᜔
nga
ngi
nge
ᜅᜒ
ngu
ngo
ᜅᜓ

p

p ᜉ᜔
pa
pi
pe
ᜉᜒ
pu
po
ᜉᜓ

s

s ᜐ᜔
sa
si
se
ᜐᜒ
su
so
ᜐᜓ

t

t ᜆ᜔
ta
ti
te
ᜆᜒ
tu
to
ᜆᜓ

w

w ᜏ᜔
wa
wi
we
ᜏᜒ
wu
wo
ᜏᜓ

y

y ᜌ᜔
ya
yi
ye
ᜌᜒ
yu
yo
ᜌᜓ

อักษรละติน

ในช่วงศตวรรษที่ 20 ภาษาตากาล็อกเขียนด้วยอักษรละติน โดยใช้ระบบการออกเสียงของภาษาสเปน เมื่อระบบภาษาประจำชาติได้พัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากภาษาตากาล็อก Lope K. Santos ได้พัฒนาตัวอักษรใหม่ประกอบด้วยอักษร 20 ตัว

ng และ mga

เครื่องหมาย ng และรูปพหูพจน์ mga เป็นตัวย่อ ออกเสียงว่า นัง และมางา ตามลำดับหมายถึง ของ เมื่อ

สถานะการเป็นภาษาราชการ

ภาษาตากาล็อก 
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาตากาลอกเป็นภาษาหลักในฟิลิปปินส์ โดยมีสำเนียงหลัก 4 สำเนียง: เหนือ, กลาง, ใต้ และมารินดูเก

ภาษาตากาล็อกถูกประกาศให้เป็นภาษาราชการเมื่อโดยสถาบันไบก์นาบาโตเมื่อ พ.ศ. 2440 ใน พ.ศ. 2478 ได้ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และได้พัฒนาภาษาราชการใหม่ขึ้นมา หลังจากการประชุมของสถาบันภาษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 7 คน จากส่วนต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ได้เลือกภาษาตากาล็อกให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนได้ประกาศเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ว่าได้เลือกภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ต่อมา ใน พ.ศ. 2482 ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอน ได้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาตากาล็อกว่า วีกัง ปัมบันซา (ภาษาประจำชาติ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโน ในปีเดียวกัน

ใน พ.ศ. 2516 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาภาษาประจำชาติขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาฟิลิปปินส์

ความแตกต่างระหว่างภาษาฟิลิปปินส์กับภาษาตากาล็อก

คำว่าฟิลิปปินส์และตากาล็อกเป็นชื่อของภาษาที่ใกล้เคียงกัน อาจจะหมายถึงภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาก็ได้ ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 30% ของประชากร 84 ล้านคน และเป็นภาษาที่สองของประชากรอีกราว 80% ส่วนภาษาตากาล็อกมีสถานะเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตากาล็อกโดยผู้พูดเป็นภาษาแม่น้อยกว่าภาษาฟิลิปปินส์ เพราะผู้ที่ไม่ใช่ชาวตากาล็อกซึ่งอยุ่ห่างออกไปจากเขตของชาวตากาล็อกคือภาคกลางและภาคใต้ของเกาะลูซอน ใช้ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่แต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวตากาล็อกด้วย โดยทั่วไปผู้ที่พูดภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่จะไม่มีใครพูดว่าใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่สอง แต่มักถือว่าเป็นผู้พูดของทั้งสองภาษา ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่การเขียนและการแปรผันของคำศัพท์มากกว่า

ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาราชการในโรงเรียนและใช้ในสื่อต่าง ๆ แต่มีความสำคัญน้อยกว่าภาษาอังกฤษ รวมทั้งในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์แต่ถือว่าคู่คี่กับภาษาอังกฤษในด้านการค้าขายและการติดต่อราชการ ภาษาฟิลิปปินส์ใช้เป็นภาษากลางทั่วประเทศฟิลิปปินส์โดยเฉพาะการบริการสาธารณะในเขตที่ไม่ใช้ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่เก่ากว่า มีศูนย์กลางอยู่ในเขตของชาวตากาล็อกในเกาะลูซอน ภาษาฟิลิปปินส์มีประวัติย้อนหลังไปเพียง พ.ศ. 2473 ในชื่อภาษาปิลิปีโนซึ่งขณะนั้นยังไม่ต่างจากภาษาตากาล็อกมากนัก ความแตกต่างเริ่มชัดเจนเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเป็นภาษาราชการเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษาฟิลิปปินส์มีอักษร 28 ตัว (รวม "ng" ที่ถือเป็นอักษรเดี่ยวและอักษรที่มาจากภาษาสเปน ñ) และมีระบบของหน่วยเสียงและคำยืมที่เปิดกว้างสำหรับคำยืมจากภาษาต่างชาติและภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ ภาษาตากาล็อกมีอักษร 20 ตัว (ไม่มี c, f, j, q, v, x, z; แต่ใช้ "ng" เป็นอักษรเดี่ยว) และระบบของหน่วยเสียงที่ไม่เปิดกว้างสำหรับภาษาอื่นนอกจากภาษาละตินของวาติกัน

เนื่องจากตากาล็อกเป็นชื่อของกลุ่มชนด้วย จึงมีความอ่อนไหวทางการเมืองหากจะกล่าวว่าภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาเดียวกับภาษาตากาล็อกคำว่าฟิลิปปินส์เป็นคำที่เป็นกลางโดยมาจากชื่อของประเทศไม่ได้มาจากชื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาษาฟิลิปปินส์มีบทบาทเป็นภาษากลางในบริเวณที่เคยใช้ภาษาอื่น ๆ มาก่อน เช่น ในเกาะมินดาเนาที่เคยใช้ภาษาเซบัวโนเป็นภาษากลางและเมืองบากุยโอที่เคยใช้ภาษาอีโลกาโนเป็นภาษากลาง เนื่องจากภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาในโรงเรียน การศึกษาจะทำให้ช่องว่างระหว่างภาษาตากาล็อกกับภาษาฟิลิปปินส์ห่างไกลกันยิ่งขึ้น

คำศัพท์และคำยืม

คำศัพท์ภาษาตากาล็อกส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากคำศัพท์ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีคำยืมจากภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษามลายู ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษากาปัมปางัน ภาษาทมิฬ และภาษาอื่น ๆ ในตระกูลออสโตรนีเซียน เนื่องจากมีการค้าขายระหว่างเม็กซิโกและมะนิลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21- 24 ทำให้มีคำยืมจากภาษาของชาวอินเดียนแดงในภาษาตากาล็อกด้วย

ภาษาอังกฤษได้ยืมคำจากภาษาตากาล็อกมาใช้ด้วยเช่นกัน เช่น

ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาตากาล็อกในภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง คำจำกัดความ
boondocks หมายถึงชนบท ทหารชาวสหรัฐที่ประจำในฐานทัพในฟิลิปปินส์หลังจากสงครามสหรัฐอเมริกา - สเปน โดยนำมาจากคำว่า bundok ซึ่งในภาษาตากาล็อกหมายถึง "ภูเขา"
cogon หญ้าชนิดหนึ่ง ใช้มุงหลังคา มาจากภาษาตากาล็อกkugon (หญ้าที่มีต้นสูงชนิดหนึ่ง)
ylang-ylang ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม
Abaca เส้นใยชนิดหนึ่งทำมาจากพืชในตระกูลกล้วย มาจากภาษาตากาล็อก abaká.
Manila hemp กระดาษแข็งสีน้ำตาลอ่อนใช้ทำกล่องและกระดาษ สร้างมาจากเส้นใยอะบากา (abaca)
Capiz หอยนางรมชนิดหนึ่ง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภาษาตากาล็อก ระบบเสียงภาษาตากาล็อก ไวยากรณ์ภาษาตากาล็อก ประวัติภาษาตากาล็อก การจัดจำแนกภาษาตากาล็อก การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ภาษาตากาล็อก ระบบการเขียนภาษาตากาล็อก สถานะการเป็นภาษาราชการภาษาตากาล็อก ความแตกต่างระหว่างภาษาฟิลิปปินส์กับภาษาตากาล็อก คำศัพท์และคำยืมภาษาตากาล็อก อ้างอิงภาษาตากาล็อก แหล่งข้อมูลอื่นภาษาตากาล็อกตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนประเทศฟิลิปปินส์ภาษาตาฮีตีภาษาฟีจีภาษามลายูภาษามาลากาซีภาษาอินโดนีเซียภาษาฮาวายภาษาเตตุนเกาะไต้หวัน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนสโมสรกีฬาลัตซีโยเมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีเผ่าภูมิ โรจนสกุลยุทธการที่เซกิงาฮาระลมเล่นไฟแมนสรวงปริญ สุภารัตน์จังหวัดพิษณุโลกพระมหากษัตริย์ไทยเครื่องคิดเลขคนลึกไขปริศนาลับคณะรัฐมนตรีไทยX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)จรินทร์พร จุนเกียรติสหราชอาณาจักรอนิเมะสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสูตรลับตำรับดันเจียนจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)เซเรียอา ฤดูกาล 2023–24ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาคลิปวิดีโอโยฮัน ไกรฟฟ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาประเทศเกาหลีใต้จำนวนเฉพาะจิรวัฒน์ สอนวิเชียรบาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสถานีกลางบางซื่อจังหวัดปทุมธานีเลเซราฟิมมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024วรรณี เจียรวนนท์ รอสส์รายชื่อธนาคารในประเทศไทยเดนิส เจลีลชา คัปปุนพวงเพ็ชร ชุนละเอียดทิโมธี ชาลาเมต์รหัสมอร์สวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022ซิตี้ฮันเตอร์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปรม ติณสูลานนท์ฮารุ สุประกอบสถิตย์พงษ์ สุขวิมลรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันภักดีหาญส์ หิมะทองคำกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีธี่หยด 2รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรสงครามโลกครั้งที่หนึ่งศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ใบแดงโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยกฤษดา วงษ์แก้วประเทศฟิลิปปินส์จังหวัดอุบลราชธานีโรงพยาบาลในประเทศไทยอุรัสยา เสปอร์บันด์ธนาคารไทยพาณิชย์พระสุริโยทัยวรินทร ปัญหกาญจน์ดวงจันทร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ชลิตา ส่วนเสน่ห์พิชญ์นาฏ สาขากรรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองซินดี้ บิชอพ🡆 More