ปฏิทินประจำชาติอินเดีย

ปฏิทินประจำชาติของอินเดีย บางครั้งเรียกว่า ปฏิทินศาลิวาหนะศักราช (Shalivahana Shaka) ใช้ควบคู่ไปกับ ปฏิทินเกรกอเรียน ใช้ในรัฐกิจจานุเบกษาของอินเดีย (The Gazette of India) ใช้ในการประกาศข่าวออกอากาศโดย All India Radio ใช้เป็นปฏิทินทั่วไปและใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการของรัฐที่ออกโดย รัฐบาลอินเดีย

ปฏิทินประจำชาติอินเดีย
เหรียญของเงินสกุล Mohar ของ รัฐกุรข่า (Gorkha) ลงนามกษัตริย์ พระเจ้าชาห์ปฤถวีนารายัณ ศาหะ ลงวันที่บนเหรียญ "มหาศักราช 1685" (ค.ศ. 1763)

จากอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียในทางประวัติศาสตร์ ปฏิทินศก (Saka calendar) ยังคงใช้ใน ชวา และ บาหลี ในหมู่ ชาวอินโดนีเซียที่นับถือฮินดู วัน Nyepi ซึ่งเป็น "วันแห่งความเงียบ" เป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ของศก (Saka) ในบาหลี วัน Sambat ของ เนปาล วิวัฒนาการมาจากปฏิทินศก ซึ่งยังใช้ในหลายพื้นที่ใน ฟิลิปปินส์ ยุคก่อนการล่าอาณานิคมตามคำอ้างของ Laguna Copperplate Inscription

จากรูปแบบการใช้ปฏิทินนี้ ทำให้อาจสันนิษฐานการได้รับอิทธิพลจาก ปฏิทินฮินดู จาก ยุค Shalivahana ซึ่งมีอิทธิพลต่อปฏิทินอื่น ๆ ที่ยังใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป

โครงสร้างปฏิทิน

เดือนตามปฏิทินนี้เป็นไปตามสัญลักษณ์ ของจักรราศีแบบท้่วไป(ที่อิงการโคจรของดวงอาทิตย์) แทนที่จะเป็นจักรราศีราศีแบบไซดีเรียล (ที่อิงการหมุนของโลกต่อดาวที่มีจุดอ้างอิงแน่นอน) ที่ใช้กับ ปฏิทินฮินดู

เดือนที่ ชื่อ (ภาษาสันสกฤต อักษรไทย และ อักษรโรมัน) ชื่อ (ภาษาบาลี อักษรไทย) จำนวนวัน วันที่เริ่มต้น (เทียบตามปฏิทินเกรกอเรียน) จักรราศีท้่วไป จักรราศีท้่วไป (ภาษาสันสกฤต อักษรโรมัน และ อักษรไทย)
1 ไจตฺร (Chaitra) จิตฺต 30/31 22/21 มีนาคม ราศีเมษ

(Aries)

Meṣa (เมษา)
2 ไวศาข (Vaishākha) วิสาข 31 21 เมษายน ราศีพฤษภ

(Taurus)

Vṛṣabha (พฤษภา หรือ วฤษภา)
3 เชฺยษฺฐ (Jyēshtha) เชฏฺฐ 31 22 พ.ค. ราศีเมถุน

(Gemini)

Mithuna (มิถุนา)
4 อาษาฒ (Āshādha) อาสาฬฺห 31 22 มิถุนายน ราศีกรกฎ (Cancer) Karkata / Karka (กรกฎา หรือ กรกา)
5 ศฺราวณ (Shrāvana) สาวน 31 23 กรกฎาคม ราศีสิงห์ (Leo) Simha (สิงหา)
6 ภาทฺร (Bhaadra) ภทฺทปท,

โปฏฺฐป

31 23 สิงหาคม ราศีกันย์

(Virgo)

Kanyā (กันยา)
7 อาศฺวิน (Āshwin) อสฺสยุช 30 23 กันยายน ราศีตุลย์

(Libra)

Tulā (ตุลา)
8 การฺตฺติก ( Kārtika) กตฺติก 30 23 ตุลาคม ราศีพิจิก

(Scorpio)

Vṛścik‌‌‌a (พฤศจิกา หรือ วฤศจิกา)
9 อักรหายนา (Agrahayana) อกฺกหาย 30 22 พฤศจิกายน ราศีธนู

(Sagitarius)

Dhanur (ธนุรฺ)
10 เปาษ (Pausha) ปุสฺส 30 22 ธันวาคม ราศีมังกร

(Capricorn)

Makara (มกรา)
11 มาฆ ( Māgha) มาฆ 30 21 มกราคม ราศีกุมภ์

(Aquarius)

Kumbha (กุมภา)
12 ผาลฺคุน (Phalguna) ผคฺคุณ 30 20 กุมภาพันธ์ ราศีมีน

(Pisces)

Mīna (มีนา)

ไจตฺร (Chaitra) เป็นเดือนแรกของปฏิทินนี้ มี 30 วันเริ่มในวันที่ 22 มีนาคม(ตามปฏิทินสุริคติไทย) ยกเว้น ปีอธิกสุรทิน ซึ่งเดืิอนนี้มี 31 วัน และเริ่มจากวันที่ 21 มีนาคม

ในช่วงครึ่งแรกของปีในปฏิทินนี้ทุกเดือนมี 31 วัน เพื่อทดการเคลื่อนไหวช้าลงของดวงอาทิตย์เข้าสู่ สุริยุปราคา ในช่วงครึ่งปีนี้

ชื่อของเดือนทั้งหมดในปฏิทินประจำชาติของอินเดียสืบทอดมาจาก ปฏิทินฮินดู ที่เป็นปฏิทินสุริยจันทรคติ โดยยังคงการเรียกชื่อของเดือนตามแบบเดิมอยู่ อาจทำให้เกิดความสับสนได้ว่าเป็นการแบ่งช่วงวันในแต่ละเดือนตามแบบปฏิทินฉบับใด

ชื่อของวันในสัปดาห์ วันแรกของสัปดาห์คือ รวิวาร (Ravivara) (คือ วันอาทิตย์) ปฏิทินอย่างเป็นทางการพิจารณาโดยรัฐบาลอินเดีย โดยนับสัปดาห์จากวันอาทิตย์ถึงวันเสาร์

วันของปฏิทินศก (Saka calendar)
วันธรรมดา ปฏิทินศก ปฏิทินเกรกอเรียน
0 รวิวาร (Ravivara) วันอาทิตย์
1 โสมฺวาร (Somvara) วันจันทร์
2 มงคลาวาร (Mangalavara) วันอังคาร
3 พุธวาร (Budhavara) วันพุธ
4 พฤหฺสปฺตีวาร (Brahaspativara) วันพฤหัสบดี
5 สุขราวาร (Sukravara) วันศุกร์
6 ศนิวาร (Sanivara) วันเสาร์

ปีจะถูกอ้างอิงจาก มหาศักราช (การนับปีตามยุคศกะ (Saka era)) โดยเริ่ม ปีที่ 0 ในปี 78 ของ ยุคทั่วไป ในการกำหนดปีอธิกสุรทินให้เพิ่ม 78 ปีในปีมหาศักราช - ถ้าผลลัพธ์เป็นปีอธิกสุรทินในปฏิทินเกรกอเรียนปีสีกาก็เป็นปีอธิกสุรทินเช่นกัน โครงสร้างของมันเหมือนกับ ปฏิทินเปอร์เซีย

การปรับใช้

คณะกรรมการปฏิรูปปฏิทิน โดยนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์อาวุโสชาวอินเดีย Meghnad Saha (หัวหน้าคณะกรรมการ) ภายใต้หน่วยงานของ สภาวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม และ สมาชิกของคณะกรรมการ ได้แก่ AC Banerjee, KK Daftari, JS Karandikar, Gorakh Prasad, RV Vaidya และ NC Lahiri มีภารกิจขั้นต้น คือ การสังคายนาปฏิทินให้ถูกต้องตามวิถีทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องสามารถนำไปใช้ได้ทั่วอินเดียนั้นเป็นงานมหึมาเนื่ิองจากคณะกรรมการต้องทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปฏิทินที่แตกต่างกันมากกว่าสามสิบแบบที่ใช้แพร่หลายในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ภารกิจนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นโดยต้องรวมปฏิทินเหล่านั้นเข้ากับความคิดทางศาสนาและความอ่อนไหวของประเพณีในท้องถิ่นต่าง ๆ

ชวาหะร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียได้เขียนบทนำของรายงานของคณะกรรมการ (ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2498) ว่า “(ปฏิทินต่างกัน) เหล่านี้ แสดงถึงความแตกแยกทางการเมืองในอดีตของประเทศ... บัดนี้เราได้รับอิสรภาพแล้ว เป็นที่พึงปรารถนาอย่างชัดเจนว่าเราควรมีเอกภาพที่ชัดเจนในปฏิทินสำหรับพลเมืองของเรา สังคมของเรา และประสงค์อื่น ๆ ซึ่งภารกิจนี้ควรสัมฤทธิ์ผลการแก้ปัญหาตามแนวทางวิทยาศาสตร์"

การใช้งานเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เดือนไจยตรา ม.ศ. 1879 หรือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)

ดูเพิ่มเติม

อ้างอิง

  • รายงานของคณะกรรมการปฏิรูปปฏิทิน (New Delhi: Council of Scientific and Industrial Research, 1955) - ลิงค์ออนไลน์
  • เวลาในการทำแผนที่: ปฏิทินและประวัติ โดย EG Richards ( ISBN 978-0-19-286205-1 ), 1998, น.   184–185

Tags:

ปฏิทินประจำชาติอินเดีย โครงสร้างปฏิทินปฏิทินประจำชาติอินเดีย การปรับใช้ปฏิทินประจำชาติอินเดีย ดูเพิ่มเติมปฏิทินประจำชาติอินเดีย อ้างอิงปฏิทินประจำชาติอินเดียปฏิทินกริกอเรียนรัฐบาลอินเดีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พฤษภาคมรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาวิทยุเสียงอเมริการายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ดอลลาร์สหรัฐสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์จังหวัดพิจิตรรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีนิษฐา คูหาเปรมกิจการฆ่าตัวตายภาวะโลกร้อนเผ่าภูมิ โรจนสกุลกองบัญชาการตำรวจนครบาลจังหวัดพะเยาอนาคามีพระพุทธเจ้ารายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาถนนเยาวราชวิทยาศาสตร์ธนาคารไทยพาณิชย์ดราก้อนบอลเครยอนชินจังประเทศลาวประเทศจีนสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระเจ้าหญิงดิสนีย์ลูซิเฟอร์รายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากสูตรลับตำรับดันเจียนภาษาอังกฤษราชินีแห่งน้ำตาเพลิงพรางเทียนจังหวัดนนทบุรีแอทลาสสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลพ.ศ. 2567รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31หลานม่าปักหมุดรักฉุกเฉินศาสนาอิสลามสีประจำวันในประเทศไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์จังหวัดสมุทรสาครภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนประเทศอิหร่านจุลจักร จักรพงษ์สมเด็จพระเอกาทศรถวัชรพล ประสารราชกิจช้อปปี้วิกิพีเดียฟุตซอลทีมชาติไทยณภศศิ สุรวรรณสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญญีนา ซาลาสหม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลกองทัพอากาศไทยเซเรียอาสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประเทศอิสราเอลมิตร ชัยบัญชาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารบริษัทประเทศอังกฤษติ๊กต็อกพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.comวันมูหะมัดนอร์ มะทามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์🡆 More