ศาสนาอิสลามในประเทศไทย

ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่มีการนับถือเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศไทยรองจากศาสนาพุทธ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสถิติระบุว่าประชากรมุสลิมมีระหว่าง 2.2 ล้านคน ถึง 7.4 ล้านคน มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองจากแหลมมลายูและจากการอพยพเข้ามาจากทั่วโลก มุสลิมในไทยส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนีย์

ศาสนาอิสลามในประเทศไทย
มัสยิดกรือเซะ หรือ มัสยิดปิตูกรือบัน เป็นมัสยิดที่มีอายุกว่า 400 ปี ในจังหวัดปัตตานี

ประวัติ

กลุ่มชาติพันธุ์ที่คนไทยเรียกกันว่า "แขก" คาดว่ามีที่มาจากพ่อค้าชาวมุสลิมในคาบสมุทรเปอร์เซียและอินเดียที่เข้ามาค้าขายในแหลมมลายู (ปัตตานีและมาเลเซีย) มาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นที่รู้จักและเผยแผ่เข้าไปในราชสำนัก ภายหลังคนพื้นเมืองจึงได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ส่วนในประเทศไทยนี้พบหลักฐานว่าคนไทยได้ติดต่อสัมผัสกับชาวมุสลิมตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัย และช่วงกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา โดยชาวมุสลิมบางคนนั้น เป็นถึงขุนนางในราชสำนัก ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชาวมุสลิมที่ค้าขายและอพยพจากภัยสงครามมาจากคาบสมุทรมลายูนอกจากนี้ยังมีชาวมุสลิมอินเดียที่เข้ามาตั้งรกราก รวมถึงชาวมุสลิมยูนนานที่หนีภัยการเบียดเบียนศาสนาหลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน

เชื้อชาติ

ศาสนาอิสลามในประเทศไทย 
ชาวไทยเชื้อสายมลายู ในจังหวัดสงขลา

ประชากรมุสลิมของไทยมีความหลากหลายและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมีกลุ่มเชื้อชาติอพยพเข้ามาจากจีน ซาอุดิอาระเบีย ปากีสถาน กัมพูชา บังกลาเทศ อิหร่าน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับชาวไทย ขณะที่มุสลิมในประเทศไทยราวสองในสามมีเชื้อสายมลายู

ลักษณะประชากรและภูมิศาสตร์

คนส่วนใหญ่เชื่อว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในสามจังหวัดใต้สุดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส อย่างไรก็ตาม การศึกษาของกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ว่า ชาวไทยมุสลิมเพียงร้อยละ 18 เท่านั้นที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดนี้ ส่วนที่เหลืออาศัยอยู่กระจายไปทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและตลอดพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2548 มุสลิมในภาคใต้คิดเป็นประชากรร้อยละ 30.4 ของประชากรอายุมากกว่า 15 ปี แต่ในส่วนอื่นของประเทศกลับมีเพียงน้อยกว่าร้อยละ 3

ลักษณะเด่น

ยกเว้นในวงจำกัดของหมู่ผู้เชื่อที่ได้รับการฝึกอบรมทางศาสนศาสตร์มาแล้ว โดยทั่วไปศาสนาอิสลามในประเทศไทย เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ ได้ผสมผสานความเชื่อต่างๆ เข้ากับหลักปฏิบัติของอิสลาม ในภาคใต้ เป็นการยากที่จะลากเส้นแบ่งระหว่างวิญญาณนิยมกับวัฒนธรรมมลายูซึ่งใช้เพื่อขับไล่วิญญาณร้ายและพิธีกรรมอิสลามท้องถิ่น เนื่องจากความคล้ายคลึงกันระหว่างทั้งสอง

สถานที่บูชา

ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2550 ประเทศไทยมีมัสยิด 3,494 แห่ง โดยมีในจังหวัดปัตตานีมากที่สุด (636 แห่ง) ตามกรมการศาสนา มัสยิดกว่าร้อยละ 99 เป็นนิกายซุนนี และอีกร้อยละ 1 เป็นชีอะฮ์

งานเมาลิดกลาง

งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย เป็นงานเฉลิมฉลองการประสูติของศาสดามุฮัมมัด (ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ในประเทศไทย จัดโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรภาครัฐ องค์กรการกุศล และองค์กรเอกชน ซึ่งได้จัดเป็นประจำทุกปีโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเพื่อเปิดงาน

งานเมาลิดเป็นงานฉลองการเกิดของศาสดามุฮัมมัด ซึ่งตรงกับวันที่ 12 เดือนรอบิอุลเอาวัล ตามปฏิทินอิสลามซึ่งนับตามจันทรคติ โดยงานเมาลิดนั้นมักจะจัดในประเทศอียิปต์ และประเทศมุสลิมอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เป็นต้น โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นมีการจัดงานนี้มาอย่างช้านาน แต่เริ่มเป็นกิจลักษณะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยใช้ชื่อว่า งานเมาลิดสนามหลวง ซึ่งจัดงานฉลองดังกล่าวที่ท้องสนามหลวง เพื่อสนับสนุนกิจการศาสนาอิสลามในราชอาณาจักรและได้พระราชทานเสื้อคลุมให้กับอิหม่ามในการประกอบศาสนกิจ

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญแล้ว ก็ยังมีการจัดงานเมาลิดโดยใช้ชื่อว่า งานเมาลิดส่วนกลาง แต่ต่อมาก็ได้หยุดไปเนื่องจากการดำเนินนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ต่อมาก็ได้รื้อฟื้นการจัดงานนี้ขึ้นมาอีกครั้งหลังจากจอมพลแปลกพ้นจากอำนาจ โดยในปี พ.ศ. 2506 นายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรีในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการเปิดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย และในปีใดที่พระองค์ทรงติดภารกิจก็โปรดเกล้าฯให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี

งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย เป็นงานที่มีการกล่าวบทสดุดีศาสดามุฮัมมัดหรือที่ชาวมุสลิมเรียกกันว่าบัรซันญีซึ่งเป็นบทกลอนอาหรับที่มีความไพเราะและมีการขอพรให้กับศาสดามุฮัมมัดหรือที่ชาวมุสลิมเรียกว่าซอลาวาต นอกจากนี้ยังมีการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานโดยชาวไทยและชาวต่างประเทศ การเผยแพร่จริยวัตรอันงดงามและเรียบง่ายของศาสดามุฮัมมัด การบรรยายทางวิชาการ แต่ที่เด่นชัดในงานนี้คือการจำหน่ายสินค้ามุสลิม อาหารฮาลาลนานาชนิด นอกจากนี้งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยจัดว่าเป็นงานเดียวที่ชาวมุสลิมทั่วประเทศได้มีโอกาสมารวมตัวกกัน

และมีมุสลิมบางส่วน(ซะละฟีย์)ได้คัดค้านการจัดงานเมาลิดกลางเนื่องด้วยว่าเป็นสิ่งอุตริกรรมและท่านนบีมูฮัมหมัด (ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ห้ามการทําอุตริกรรม และมีประเด็นถกเถียงกันระหว่างมุสลิมในประเทศไทยถึงการจัดงานเมาลิดกลางว่าสมควรจัดหรือไม่

ศูนย์กลางนิกาย

อ้างอิง

Tags:

ศาสนาอิสลามในประเทศไทย ประวัติศาสนาอิสลามในประเทศไทย เชื้อชาติศาสนาอิสลามในประเทศไทย ลักษณะประชากรและภูมิศาสตร์ศาสนาอิสลามในประเทศไทย ลักษณะเด่นศาสนาอิสลามในประเทศไทย งานเมาลิดกลางศาสนาอิสลามในประเทศไทย ศูนย์กลางนิกายศาสนาอิสลามในประเทศไทย อ้างอิงศาสนาอิสลามในประเทศไทยซุนนีย์ประเทศไทยมุสลิม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ศิริลักษณ์ คองสุวรรณ วลัยเสถียร30 เมษายนชุติมา ทีปะนาถจังหวัดตราดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดอนุทิน ชาญวีรกูลพัก อึน-บินสโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิชอัลเบียนสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดจังหวัดเลยศาสนาพุทธวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2023มิสแกรนด์แพร่ตี๋ลี่เร่อปาสามก๊กดาวิกา โฮร์เน่ประเทศอินโดนีเซียเจนนี คิมเหี้ยเปป กวาร์ดิโอลาอัน ฮโย-ซ็อบจังหวัดชุมพรสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดจังหวัดของประเทศไทยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒค่อม ชวนชื่นจังหวัดตากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีศาสนาอิสลามภูมิภาคของประเทศไทยมิสแกรนด์ไทยแลนด์ศรัณย์ ศิริลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีธิติ มหาโยธารักษ์พรรคไทยรักษาชาติจำลอง ศรีเมืองประเทศมัลดีฟส์สุรเชษฐ์ หักพาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจังหวัดสงขลาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลจังหวัดเชียงใหม่บรรหาร ศิลปอาชากวี ตันจรารักษ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562ก้อง ห้วยไร่รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยกระทรวงในประเทศไทยศรีรัศมิ์ สุวะดีกูเกิล แปลภาษาโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์จังหวัดสุราษฎร์ธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566มิสยูไนเต็ดคอนติเนนท์Fเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7 เอชดีสีประจำวันในประเทศไทยสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีช่อง 8มหาวิทยาลัยมหิดลพฤษภาทมิฬมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2016ศุกลวัฒน์ คณารศอัญชสา มงคลสมัยรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ประเทศสิงคโปร์ประเทศจอร์เจียไทยลีก 3มหัพภาคพ.ศ. 2566วรินทร ปัญหกาญจน์พัชรพร จันทรประดิษฐ์จังหวัดระยองการล้างแค้นของผู้กล้าสายฮีลธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ประเทศเกาหลี🡆 More