แปลก พิบูลสงคราม

จอมพล ป.

พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) บรรดาศักดิ์เดิม หลวงพิบูลสงคราม นามเดิม แปลก ขีตตะสังคะ เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 3 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2487 และ พ.ศ. 2491 ถึง พ.ศ. 2500 รวมระยะเวลา 15 ปี 11 เดือน 25 วัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประเทศไทย และยังเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ป. พิบูลสงคราม
แปลก พิบูลสงคราม
จอมพล ป. ป.พ.ศ. 2483
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(5 ปี 228 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
รองอดุล อดุลเดชจรัส
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
ก่อนหน้าพระยาพหลพลพยุหเสนา
ถัดไปควง อภัยวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(9 ปี 161 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รอง
ก่อนหน้าควง อภัยวงศ์
ถัดไปสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(หัวหน้าคณะปฏิวัติ)
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484
(6 ปี 332 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา
ตนเอง
ก่อนหน้าพระยาพหลพลพยุหเสนา
ถัดไปมังกร พรหมโยธี
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
(1 ปี 335 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้ามังกร พรหมโยธี
ถัดไปหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(7 ปี 266 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหลวงชาตินักรบ
ถัดไปสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ดำรงตำแหน่ง
12 กันยายน พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(0 ปี 4 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484
(2 ปี 245 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไปหลวงเชวงศักดิ์สงคราม
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน พ.ศ. 2491 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(1 ปี 71 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าควง อภัยวงศ์
ถัดไปมังกร พรหมโยธี
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(1 ปี 231 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหลวงสุนาวินวิวัฒน์
ถัดไปเผ่า ศรียานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(0 ปี 19 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าสินธุ์ กมลนาวิน
ถัดไปประยูร ภมรมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484
(2 ปี 39 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ถัดไปดิเรก ชัยนาม
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485
(0 ปี 186 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าดิเรก ชัยนาม
ถัดไปหลวงวิจิตรวาทการ
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492
(0 ปี 107 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
ถัดไปพจน์ สารสิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493
(0 ปี 278 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
ถัดไปพระมนูภาณวิมลศาสตร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498
(3 ปี 131 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปหลวงสุนาวินวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2497
(0 ปี 47 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้านายวรการบัญชา
ถัดไปศิริ สิริโยธิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
12 กันยายน พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(0 ปี 4 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าศิริ สิริโยธิน
ถัดไปวิบูลย์ ธรรมบุตร
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
(3 ปี 11 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม พ.ศ. 2481 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(6 ปี 213 วัน)
ก่อนหน้าพระยาพหลพลพยุหเสนา
ถัดไปหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2491
(0 ปี 187 วัน)
ก่อนหน้าอดุล อดุลเดชจรัส
ถัดไปผิน ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
แปลก

14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440
เรือนแพปากคลองบางเขนเก่า เมืองนนทบุรี มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม (ปัจจุบัน ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย)
เสียชีวิต11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (66 ปี)
ซางามิฮาระ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา (2498)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คณะราษฎร
คู่สมรสละเอียด พันธุ์กระวี (สมรส 2459)
บุตร
  • อนันต์
  • ประสงค์
  • จีรวัสส์
  • รัชนิบูล
  • พัชรบูล
  • นิตย์
บุพการี
  • ขีด ขิตตะสังคะ (บิดา)
  • สำอางค์ ขิตตะสังคะ (มารดา)
ลายมือชื่อแปลก พิบูลสงคราม
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้แปลก พิบูลสงคราม สยาม
แปลก พิบูลสงคราม ไทย
สังกัด
ประจำการพ.ศ. 2459–2500
ยศแปลก พิบูลสงคราม จอมพล
แปลก พิบูลสงคราม จอมพลเรือ
แปลก พิบูลสงคราม จอมพลอากาศ
บังคับบัญชากองทัพไทย
ผ่านศึก

เดิมเขาเป็นหัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายทหารบกชั้นยศน้อย เป็นผู้มีบทบาทในการเมืองไทยตั้งแต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และยิ่งมีฐานะทางการเมืองที่ดีขึ้นอีกหลังเป็นผู้บังคับบัญชาทหารฝ่ายรัฐบาลปราบกบฏบวรเดชในปี 2476 นับแต่นั้นเขาดำรงตำแหน่งในรัฐบาลคณะราษฎรมาโดยตลอด ในปี 2481 เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี และเขาเริ่มแสดงความเป็นผู้เผด็จการมากขึ้นจนเริ่มแตกแยกกับคณะราษฎรสายพลเรือน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาออกประกาศรัฐนิยมหลายข้อโดยใช้แนวคิดชาตินิยม เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย" เขาดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น จนในปี 2487 เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังแพ้เสียงในสภาในร่างกฎหมายสำคัญ ประกอบกับสถานการณ์โลกขณะนั้นฝ่ายอักษะกำลังแพ้สงคราม

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 เขาได้รับทาบทามกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกช่วงหนึ่ง เขาถือเป็นหนึ่งในผู้นำในการเมืองสามเส้าในช่วงนั้น แต่ไม่มีฐานกำลังที่มั่นคงของตนเอง ทำให้พยายามสร้างความชอบธรรมโดยเข้าร่วมกับสหรัฐอย่างเต็มตัวในสงครามเย็น และพยายามเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง กระนั้นเขาพ่ายการแข่งขันชิงอิทธิพลกับกลุ่มที่เบื่อหน่ายความเสพติดอำนาจของจอมพล ป. จนพ้นจากตำแหน่งในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 โดยการเลือกตั้งครั้งนั้นถูกขนานนามว่าการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุด และถูกชิงอำนาจนำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นับแต่นั้นเขาลี้ภัยในประเทศญี่ปุ่นจนถึงแก่อสัญกรรม ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507

ปฐมวัยและการศึกษา

วัยเด็ก

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม มีชื่อเดิมว่า "แปลก ขีตตะสังคะ" ชื่อจริงคำว่า "แปลก" เนื่องจากเมื่อแรกเกิดบิดามารดาเห็นว่าหูทั้งสองข้างอยู่ต่ำกว่าตา ผิดไปจากบุคคลธรรมดา จึงให้ชื่อว่า แปลก[ต้องการอ้างอิง]

แปลก ขีตตะสังคะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 บิดาชื่อ นายขีด และมารดา ชื่อ นางสำอางค์ ในสกุลขีตตะสังคะ บ้านเกิดเป็นเรือนแพขนาดใหญ่ 2 ชั้น ที่ปากคลองบางเขนเก่า ตรงข้ามวัดปากน้ำไม่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนนทบุรี และ วัดเขมาภิรตาราม ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี อาชีพครอบครัว ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนทุเรียนและสวนผลไม้

เด็กชายแปลก ขีตตะสังคะ เป็นบุตรคนที่สองในพี่น้อง 5 คน พี่ชาย คนโตชื่อ "ประกิต" (รับราชการทหารได้ยศ พลตรี) คนที่สามเป็นหญิงชื่อ "เปลี่ยน" คนที่สี่เป็นชายชื่อ "ปรุง" คนสุดท้ายชื่อ "ครรชิต" (รับราชการทหารได้ยศ พลตรี)

การศึกษา

แปลก พิบูลสงคราม 
จอมพล ป. ในวัยหนุ่ม

การเข้าสู่อาชีพทหาร

เขาเข้าสู่ระบบศึกษาครั้งแรกที่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2452 อายุได้ 12 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยบิดาขอร้องให้ พล.ต.พระยาสุรเสนาช่วยนำฝากเข้าเรียนพร้อมกับพี่ชาย "ประกิต" ศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยเป็นเวลา 6 ปี (นักเรียนชั้นประถม 3 ปี นักเรียนชั้นมัธยม 3 ปี) ได้เป็น"นักเรียนทำการนายร้อย" เมื่ออายุได้ 18 ปี (9 พ.ค. 2458) สังกัด "เหล่าปืนใหญ่" โดยได้เป็น "ว่าที่ร้อยตรี" (1 พ.ย. 2458)

การสมรส

นักเรียนทำการนายร้อยว่าที่ร้อยตรีแปลก เข้าประจำการเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก และไม่นานนักได้พบรักกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (ขณะนั้นสกุล พันธ์กระวี) ซึ่งเป็น "นักเรียนชั้นสูงสุดเพียงคนเดียว" ในโรงเรียนผดุงนารี โรงเรียนของคณะมิชชันนารี และเป็นโรงเรียนหญิงแห่งแรกของพิษณุโลก ทั้งทำหน้าที่ "ครูฝึกหัด" ฝึกหัดสอน "ชั้นเล็ก ๆ" ในโรงเรียนแห่งนี้ด้วย ไม่นานนักทั้งสองก็ทำพิธีหมั้นและพิธีแต่งงานเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2459 เมื่อว่าที่ร้อยตรีแปลกอายุย่างเข้า 20 ปี ท่านผู้หญิงละเอียดย่างเข้า 15 ปี มีบุตร 6 รายได้แก่ พลตรี อนันต์ พิบูลสงคราม พลเรือโท ประสงค์ พิบูลสงคราม ร้อยเอกหญิง จีรวัสส์ ปันยารชุน รัชนิบูล ปราณีประชาชน พัชรบูล เบลซ์ นิตย์ พิบูลสงคราม

นอกจากนี้ แปลกยังมีอนุภรรยาอีกจำนวนหนึ่ง ปรากฏใน ชีวิตรักของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (2502) เขียนโดยจรูญ กุวานนท์ ระบุว่า แปลกมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นนอกจากท่านผู้หญิงละเอียด คือ รุจี อุทัยกร นักร้องหญิงจากวงสุนทราภรณ์ พิศมัย วิไลศักดิ์ นักแสดงหญิง และคำนึงนิตย์ วงศ์วัฒนะ ผู้เข้าประกวดนางสาวไทย รุจี อ้างว่าท่านผู้หญิงละเอียดหึงหวงเธอมาก ทั้งโทรศัพท์ข่มขู่ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่คบหากับแปลก และเคยส่งมือปืนมาดักยิงเธอบริเวณบ้าน รุจีจึงยุติความสัมพันธ์ลง ส่วนความสัมพันธ์กับพิศมัยนั้น แปลกได้กล่าวปฏิเสธความสัมพันธ์ "...ส่วนข้าพเจ้านั้นขอเรียนว่า พิศมัยไม่ได้เป็นเมียข้าพเจ้า และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันนอกจากได้ให้อาศัยบ้านอยู่..." อย่างไรก็ตาม แปลกได้ออกมายอมรับว่า มีความสัมพันธ์เป็น "เพื่อน" กับคำนึงนิตย์ วงศ์วัฒนะ และมีบุตรด้วยกันสองคน ชื่อ คณาพิบูล (หรือ ธนาพิบูล) และธนิตพิบูล ช่วงที่แปลกลี้ภัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น คำนึงนิตย์ก็มีบทบาทในการดูแลแปลกเป็นอย่างดี

อาชีพทหาร–การศึกษา

หลังการแต่งงานได้ 3 เดือนและเป็นนักเรียนทำการนายร้อยเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลกครบ 2 ปี ก็ได้รับยศเป็น "ร้อยตรี" (23 พ.ค. 2460) และย้ายเข้ากรุงเทพเพื่อศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ที่บางซื่อตามระเบียบการศึกษา โดยพาครอบครัวมาด้วย การศึกษา 2 ปีใน โรงเรียนแห่งนี้แต่ละปีประกอบด้วย 6 เดือนแรกเรียนประจำอยู่ ณ ที่ตั้ง 4 เดือนถัดมาไปฝึกในสนามยิงปืนโคกกระเทียม ลพบุรี อีก 2 เดือนท้าย ซ้อมรบในสนามต่างจังหวัด

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ ได้กลับกรมต้นสังกัดประจำการที่ปืน 7 พิษณุโลก แต่ไม่นานนักก็ได้ย้ายมาประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (1 ส.ค. 2462) ในตำแหน่งนายทหารสนิทของผู้บังคับบัญชากรม พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ปีถัดมาได้รับยศ "ร้อยโท" (24 เม.ย 2463)

1 เมษายน พ.ศ. 2464 นายร้อยโทแปลกได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็นรุ่นที่ 10 หลักสูตรการศึกษา 2 ปี โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเป็นโรงเรียนนายทหารขั้นสูงที่มีนายทหารจำนวนมากประสงค์เข้าศึกษาต่อ แต่โรงเรียนนี้รับนักเรียนได้ประมาณรุ่นละ 10 นาย และนักเรียนที่สอบได้ที่ 1 ของรุ่นจะได้รับทุนไปศึกษาวิชาการเพิ่มเติมที่ต่างประเทศ ในรุ่นของนายร้อยโทแปลกมีผู้สอบไล่ผ่านในปีที่ 2 เพียง 7 นาย และนายร้อยโทแปลกสอบไล่ได้เป็นลำดับที่ 1 ของรุ่นในปีสุดท้ายนี้

การศึกษาที่ฝรั่งเศส

เมื่อจบการศึกษา นายร้อยโทแปลกได้ย้ายไปประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก (1 มี.ค. 2466) และปีถัดมาได้เดินทางไปศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ ต่อที่ ประเทศฝรั่งเศส โดยเดินทางไปเรือลำเดียวกับนายร้อยตรีทัศนัย มิตรภักดี นายทหารม้าได้รับทุนไปศึกษาต่อประเทศฝรั่งเศสเช่นกัน

การศึกษาในประเทศฝรั่งเศสประมาณ 3 กว่าปีนั้น นายร้อยโทแปลกได้เริ่มเข้าศึกษาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2467 โดยได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ (École d'application de l'artillerie) ที่เมืองฟงแตนโบล สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตร และได้เข้าร่วมการประลองยุทธ ณ ค่าย Valdahon (Doubs) ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ต่อมาแปลกในยศร้อยเอกได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพิบูลสงคราม เมื่อพ.ศ. 2471

สมาชิกคณะราษฎร

สมาชิกร่วมก่อตั้ง

พันตรีหลวงพิบูลสงครามเป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยเป็นนายทหารปืนใหญ่ รุ่นน้องของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ปี ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งซึ่งมีทั้งหมด 7 คน ตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส โดยถือเป็นผู้นำของคณะทหารบกยศชั้นผู้น้อย

ซึ่งก่อนหน้านั้นระหว่างมีการประชุมกันครั้งแรกของคณะราษฎรที่ยาวนานติดต่อกัน 4 คืน 5 วัน ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อต้นปี พ.ศ. 2469 ร้อยโทแปลกที่สมาชิกคณะราษฎรคนอื่น ๆ ได้เรียกว่า "กัปตัน" และยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม ได้เสนอว่าหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วให้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ แต่ทางนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน ได้คัดค้าน โดยยกเหตุผลว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้ว จะทำให้เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศเหมือนเช่นการปฏิวัติรัสเซีย และการปฏิวัติแห่งอังกฤษ

ราชการทหาร

หลังจากจบการศึกษาในฝรั่งเศส ร้อยโทแปลกได้กลับมารับราชการในปี พ.ศ. 2470 ร้อยโทแปลกได้เดินทางกลับเข้าประเทศไทยและเข้าประจำสังกัดเดิมและได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยเอก ปีถัดมาย้ายไปดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่

24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พันตรีหลวงพิบูลสงครามเข้าร่วมกับคณะราษฎรกระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเป็นกำลังสำคัญในสายทหารบก ต่อมาในพ.ศ. 2476 พันโทหลวงพิบูลสงครามได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ (เทียบเท่ารองผู้บัญชาการทหารบกในปัจจุบัน) ซึ่งในจังหวะที่เตรียมเข้ารับตำแหน่ง เขาได้ข่าวว่าพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม เจ้ากรมยุทธการทหารบก เตรียมจะโยกย้ายนายทหารสายคณะราษฎรพ้นจากตำแหน่งคุมกำลัง เขาจึงร่วมมือกับพระยาพหลพลพยุหเสนาและหลวงศุภชลาศัย ชิงก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ส่วนพระยาศรีสิทธิสงครามก็ถูกโยกย้ายกลับกระทรวงธรรมการ เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความเคียดแค้นต่อพระยาศรีสิทธิสงครามเป็นอันมาก

เพียงสองเดือนเศษหลังการรัฐประหารก็เกิดเหตุการณ์กบฏบวรเดช พันโทหลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บัญชาการกำลังผสมในการปราบกบฏ มีความดีความชอบใหญ่หลวง หลวงพิบูลสงครามได้เลื่อนยศเป็นพันเอกในปี พ.ศ. 2477 และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 พันเอกหลวงพิบูลสงครามได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และเมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ภายหลังจากที่กองทัพไทยมีชัยชนะต่ออินโดจีนฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ออกประกาศพระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แก่หลวงพิบูลสงคราม พลตรีหลวงพิบูลสงครามไม่ทราบเรื่องดังกล่าวมาก่อน ดำริว่าตนเองเป็นพลตรีก็ควรได้เป็นพลโท ไม่เหมาะสมที่จะได้เลื่อนยศในครั้งเดียวเป็นถึงจอมพล จึงไม่ยอมเดินทางไปรับคฑาจอมพล เมื่อเวลาผ่านไป พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงนำคฑาจอมพลมามอบให้หลวงพิบูลสงครามที่วังสวนกุหลาบ

ธันวาคม พ.ศ. 2484 เมื่อรัฐบาลเตรียมยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงพิบูลสงครามในฐานะนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยหลวงพิบูลสงครามเลือกใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล ใช้ว่า จอมพลแปลก พิบูลสงคราม

การเถลิงอำนาจ

การประชุมครั้งสุดท้ายในประเทศไทยก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พันเอกพระยาทรงสุรเดชซึ่งเป็นคนวางแผนการทั้งหมด นัดประชุมที่ร้านกาแฟของชาวจีนแห่งหนึ่งเพื่ออธิบายแผนการปฏิวัติ เมื่ออธิบายเสร็จแล้วก็สอบถามที่ประชุมว่าใครมีแผนที่ดีกว่านี้ไหม หลวงพิบูลสงครามไม่ออกความเห็นแต่กลับสอบถามว่า "แล้วใต้เท้ามีแผนสองไหม?" แล้วพระยาทรงสุรเดชก็ตอบกลับว่า "มีสิ แต่ผมไม่บอกคุณหรอก แค่ออกความเห็นคุณยังไม่มีปัญญา คุณบัดซบแบบนี้ ผมจะบอกคุณได้ยังไง"

หลังเลิกประชุม หลวงพิบูลสงครามก็เอ่ยกับนายทวี บุณยเกตุ ซึ่งเป็นอีกคนเข้าร่วมประชุมไว้ว่า "ไอ้พระยาทรงกับผมนี่อยู่ร่วมโลกกันไม่ได้แล้ว" ซึ่งในส่วนนี้ได้พัฒนากลายมาเป็นความขัดแย้งกันระหว่างหลวงพิบูลสงครามกับพระยาทรงสุรเดชในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช ในปี พ.ศ. 2482

นายกรัฐมนตรีสมัยที่หนึ่ง

แปลก พิบูลสงคราม 
จอมพล ป. เดินตรวจแถวและทักทายทหารที่จะไปร่วมรบในสงครามอินโดจีน

รัฐนิยม

นับแต่จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2481 ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิชาตินิยม เช่น ออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักด์ และยศข้าราชการพลเรือน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน ตามโบราณราชประเพณีพระราชจักรีวงศ์ เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักโลกตะวันตก โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือน

มีการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่าง ๆ อาทิ สั่งห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ไม่ส่งเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล ฯลฯ โดยมีคำขวัญในสมัยนั้นว่า "มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ" หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกจะถูกตำรวจจับและปรับ และยังวางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน, ท่าน, เรา มีคำสั่งให้ข้าราชการไทยกล่าวคำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่พบกัน และมีการตัดตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำกันจึงมีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เขียนเป็น กระซวงสึกสาธิการ เป็นต้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมที่สังคมไทยเริ่มรับมาจากตะวันตกหลายรูปแบบในขณะนั้น ยังคงอยู่ต่อมาแม้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ตาม "รัฐนิยม" อีกต่อไป และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ไปแล้ว

สงครามโลกครั้งที่สอง

แปลก พิบูลสงคราม 
ปูนปั้นรูปหัวไก่ ประดับอยู่ตรงชายคารับพื้นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล (จอมพล ป. เกิดปีระกา)
แปลก พิบูลสงคราม 
ตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม

ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จากปัญหาเรื่องการใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับอินโดจีน ซึ่งอยู่ในครอบครองฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงเรื่องการใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองนครพนม การรบระหว่างฝรั่งเศสกับไทยจึงเริ่มขึ้น ฝรั่งเศสโจมตีไทยทางอรัญประเทศ รัฐบาล จอมพล ป. ส่งทหารไทยเข้าไปในอินโดจีนทางด้านเขมร แต่ในที่สุดญี่ปุ่นเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย จนมีการส่งผู้แทนไปลงนามอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในครั้งนั้นไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน รวมทั้งทางใต้ตรงข้ามปากเซ คือ แขวงจัมปาศักดิ์ และดินแดนในเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสไปเมื่อปี พ.ศ. 2450 กลับคืนมาด้วย และในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงชัยชนะของไทยต่อฝรั่งเศส และ 1 ปีต่อมา จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485

หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน จอมพล ป. ได้ประกาศให้ประเทศไทยดำรงสถานะเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจนกระทั่งญี่ปุ่นทำการยกพลขึ้นบกเพื่อขอทางผ่านไปโจมตีพม่าและมาเลเซีย จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประคับประคองประเทศชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตจึงประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและเข้าร่วมฝ่ายอักษะ ทั้งนี้มีการบอกเล่ากันว่า ท่านขอพระราชทานยศจอมพลให้กับตนเองเพราะท่านต้องการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างสงครามจอมพล ป. ได้ทำการตกลงช่วยเหลือญี่ปุ่นด้านการรบ เพราะหวังว่าจะได้ดินแดนเพิ่มเติมเข้ามาครอบครอง โดยประเทศไทยได้รับจังหวัดมาลัย อีกทั้งได้ส่งกองทัพพายัพเข้าดินแดนบางส่วนของพม่าจัดตั้งสหรัฐไทยเดิม หลังสงครามถูกไต่สวนในฐานะอาชญากรสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ตาม พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ที่รัฐบาลไทยประกาศใช้เป็นกฎหมายหลังสงครามโลก (มีผู้วิเคราะห์ว่า ส่วนหนึ่งเพื่อมิให้ต้องส่งตัวผู้นำรัฐบาลและนายทหารไทยในยุคนั้นไปให้ศาลอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศ ที่สัมพันธมิตรตั้งขึ้นที่โตเกียวและเนือร์นแบร์กพิพากษาคดี แต่ให้ศาลไทยเป็นผู้พิพากษาแทน ซึ่งเป็นผลดีต่อชีวิตของอาชญากรรมสงครามเหล่านี้ที่เป็นคนไทยรอดพ้นจากโทษประหารชีวิตทั้งหมด) อย่างไรก็ดี ศาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า กฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง จึงปล่อยตัวเป็นอิสระ หลังจากนั้นก็ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด กลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่บ้านที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยปลูกผักต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงชีพอดมื้อกินมื้อ

โดยจอมพลแปลกได้ถูกให้ออกจากประจำการเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488

เหตุการณ์หลังสงครามโลกสิ้นสุด

แปลก พิบูลสงคราม 
จอมพล ป. ได้รับคำเชิญจากคณะทหารแห่งชาติให้มาเป็นหัวหน้าคณะและเป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นตำแหน่งที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้นจึงถือว่าจอมพล ป.ได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งภายหลังคณะทหารแห่งชาติก่อการรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 สำเร็จ

ภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ. 2488 จอมพล ป. ได้ตกอยู่ในสถานะต้องโทษอาชญากรสงครามและถูกคุมขังในเรือนจำเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่คณะทหารแห่งชาติที่นำโดยพลโท ผิน ชุณหะวัณ ได้นำกลุ่มทหารนอกราชการที่นิยมจอมพลป. ก่อรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีหลวงถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จนทำให้จอมพล ป. ได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งและได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างสามกลุ่มอำนาจ ได้แก่ คณะราษฎรสายพลเรือนนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎรสายทหารของจอมพล ป. และกลุ่มเสรีไทยนำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เห็นได้จากในระยะเวลา 3 ปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น 5 คน คณะรัฐมนตรี 8 คณะ (คณะที่ 12 ถึง 20 และการรัฐประหารอีก 1 ครั้ง (พ.ศ. 2490 นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณ)

นายกรัฐมนตรีสมัยที่สองและการลี้ภัย

คณะผู้นำสามเส้า พ.ศ. 2490–2500

ความผกผันทางการเมือง ใน พ.ศ. 2491 จอมพล ป. ก็ได้หวนกลับมาคืนสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากการทำรัฐประหาร ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคราวนี้ได้ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 9 ปี ผ่านวิกฤตและเหตุการณ์กบฏจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดหลายครั้ง เช่น กบฏเสนาธิการ, กบฏวังหลวง, กบฏแมนฮัตตัน รวมทั้งยังเคยยึดอำนาจตัวเองด้วย จึงได้รับฉายาในช่วงที่ยังไม่หลุดจากอำนาจว่า "โจโฉ นายกฯ ตลอดกาล"

จอมพล ป. ได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "จอมพลกระดูกเหล็ก" เพราะมีชีวิตทางการเมืองอย่างเหลือเชื่อ เคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ในปี พ.ศ. 2494 ที่ท่านถูกจี้ลงเรือศรีอยุธยา ถูกทิ้งระเบิดผ่านเตียงที่เคยนอนอยู่อย่างเฉียดฉิว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนับร้อย

ความขัดแย้งกับสถาบันพระมหากษัตริย์

แปลก พิบูลสงคราม 
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

หลังจากจอมพล ป. รัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นการลดอำนาจพระมหากษัตริย์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 จอมพล ป. ได้จัดให้พระองค์และสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จเยือนภาคอีสานโดยทางรถไฟ ผลปรากฏชัดว่าพระองค์เป็น ที่นิยมของประชาชนจำนวน มาก ดังนั้น จอมพล ป. จึงได้ตัดงบประมาณในการเสด็จครั้งต่อไป เดือนมกราคม 2499 พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมีพระราชดำรัสวิจารณ์กองทัพที่เข้ามามีบทบาททางการเมือง (หมายถึงจอมพล ป.) นับเป็นการฉีกประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่แสดงความเห็นทางการเมืองนับแต่ปี 2475 ในปี 2499 ขั้วอำนาจจอมพล ป. และพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พยายามชักชวนปรีดี พนมยงค์กลับประเทศเพื่อต่อสู้คดีสวรรคตอีก เพื่อช่วยคานอำนาจกับขั้วอำนาจจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้านรัฐบาลสหรัฐเตือนจอมพล ป. ว่าจะทำให้เกิดความวุ่นวาย สุดท้ายจึงไม่ได้ดำเนินการ

บอกคุณพ่อของหลาน [ปรีดี] ด้วยนะว่า ลุงอยากให้กลับมาช่วยลุงทำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว

— ป. พิบูลสงครามกับปาล พนมยงค์, มิถุนายน 2500

เหตุการณ์ที่น่าจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายคือการรื้อฟื้นคดีสวรรคต ร. 8 และแผนนำปรีดี พนมยงค์กลับประเทศ

ในโอกาสฉลองกึ่งพุทธกาล พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงเป็นประธานซึ่งก็ทรงตอบรับเป็นที่เรียบร้อย แต่ครั้นถึงวันงานทรงพระประชวรปัจจุบันทันด่วน ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเป็นประธานเปิดพิธีเอง และในเดือนสิงหาคมปีดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาโจมตีรัฐบาลของจอมพลแปลกว่าละเมิดพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งข่าวการระหองระแหงกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและรัฐบาลดังกล่าว ทำให้สาธารณะเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้น

แปลก พิบูลสงคราม 
แปลก พิบูลสงคราม ในปี 2498

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลแปลกขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อขอให้ทรงสนับสนุนรัฐบาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเตือนจอมพลแปลกว่าขอให้ลาออกจากตำแหน่งเสียเพื่อมิให้เกิดรัฐประหาร แต่จอมพลแปลกปฏิเสธ เย็นวันดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทันที และสองชั่วโมงหลังจากการประกาศยึดอำนาจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตามเพียง 2 คนอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าพิบูลสงครามเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อญี่ปุ่น เคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่อสัญกรรม

ปัจฉิมวัย

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 66 ปี โดยก่อนตาย ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกับครอบครัวและคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่ความตายอย่างกะทันหัน (ซึ่งในเรื่องนี้บางส่วนเชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี ทางจดหมาย โดยมีผู้อาสาเดินจดหมายให้ และใช้รหัสลับแทนชื่อในการติดต่อกัน)

ร่างจอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ในปีเดียวกัน โดยมีพิธีรับอย่างสมเกียรติจากทั้ง 3 เหล่าทัพ

บทบาททางสังคม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ริเริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญ ๆ ของประเทศหลายองค์กร ที่พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่เป็นหน่วยงานที่มีความเฉพาะของแต่ละวิชาชีพ เช่น รัฐวิสาหกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน), มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ก่อนจะมาเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำเอาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ออกมาสู่ภูมิภาค เป็นแห่งแรก) รวมทั้งเป็นผู้ที่ใช้อำนาจยึดสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์ และที่อยู่ของบุคคลสำคัญก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้เป็นสถานที่ราชการ เช่น วังบางขุนพรหม, วังสวนกุหลาบ, บ้านมนังคศิลา, บ้านพิษณุโลก, บ้านนรสิงห์ เป็นต้น

ผู้ก่อตั้งโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ

หลังจากความคิดของเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในช่วงปี พ.ศ. 2473–2475 ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ว่าต้องการที่จะให้ประเทศสยาม มีกิจการแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 เป็นผลต้องประสบความล้มเหลวในขณะนั้น อย่างไรก็ดีโทรทัศน์ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ นับเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) แพร่ภาพออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ว่า "ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมี Television แล้ว"

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลมอบหมายให้ กรมประชาสัมพันธ์เสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีลงมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและให้ตั้งงบประมาณใน พ.ศ. 2494

ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. เขียนข้อความด้วยลายมือ ถึง พล.ต.สุรจิต จารุเศรณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น ให้ศึกษาจัดหาและจัดส่ง "Television"

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดสำนักงาน และที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ เรียกชื่อตามอนุสัญญาสากลวิทยุ HS1/T-T.V. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่แห่งเอเชีย เครื่องส่งโทรทัศน์เครื่องนี้มีกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (ต่อมาออกอากาศระบบวีเอชเอฟ ย่านความถี่ที่ 3 ช่อง 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปี พ.ศ. 2561 และในขณะนี้ใช้ชื่อว่า ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ปัจจุบันออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ย่านความถี่ที่ 5 ช่อง 40 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ในระบบดิจิทัล ความคมชัดละเอียดสูง ทางช่องหมายเลข 30) (ก่อนหน้านี้ สถานีเคยออกอากาศคู่ขนานกันทั้งสองระบบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปี พ.ศ. 2561)

ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายจัดตั้งตลาดนัดทั่วประเทศทุกสุดสัปดาห์ ในกรุงเทพฯ มีการจัดตลาดนัดขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งเรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง หรือ ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน ตลาดนัดสนามหลวงได้ย้ายออกไปจากบริเวณสนามหลวงแล้ว โดยไปอยู่ที่ ตลาดนัดจตุจักร แทน

บ้านพักคนชรา

บ้านพักคนชราบางแค หรือ บ้านบางแค เดิมใช้ชื่อว่า "สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค" ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุตามนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐ โดยเริ่มเปิดดำเนินการในสมัยของนายปกรณ์ อังศุสิงห์ เป็นอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ มูลนิธิบ้านบางแคในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยนาม

  1. จังหวัดพิบูลสงคราม อดีตจังหวัดของประเทศไทย (ปัจจุบันคือ จังหวัดเสียมราฐ จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดบันทายมีชัยในประเทศกัมพูชา)
  2. โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
  3. โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร
  4. โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม) กรุงเทพมหานคร
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
  6. หอประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
  7. ถนนพิบูลสงคราม จังหวัดนนทบุรี
  8. โรงเรียนชุมชนพิบูลสงคราม จังหวัดนครศรีธรรมราช
  9. โรงเรียนพิบูลสงครามอุปถัมภ์ จังหวัดราชบุรี
  10. โรงเรียนพิบูลสงเคราะห์1 จังหวัดลพบุรี
  11. โรงเรียนค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
  12. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
  13. โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
  14. สนามยิงปืนพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
  15. โรงเรียนนครหลวง (พิบูลประเสริฐวิทย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  16. ค่ายพิบูลสงคราม กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
  17. พิพิธภัณฑ์จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
  18. สนามกอล์ฟ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายในมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี
  19. โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) จังหวัดสระบุรี
  20. โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล จังหวัดฉะเชิงเทรา
  21. โรงเรียนพิบูลสวัสดี จังหวัดภูเก็ต

ลำดับสาแหรก

เกียรติยศและบำเหน็จความชอบ

ยศทหาร

  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459: ร้อยตรี
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2463: ร้อยโท
  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2470: ร้อยเอก
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2473: พันตรี
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2476: พันโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477: พันเอก
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478: นาวาเอก
  • 12 มีนาคม พ.ศ. 2479: นาวาอากาศเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484: จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ

บรรดาศักดิ์

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงพิบูลสงคราม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2484: ลาออกจากบรรดาศักดิ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (หลวงพิบูลสงคราม) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


ก่อนหน้า แปลก พิบูลสงคราม ถัดไป
พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
นายกรัฐมนตรีไทย
สมัยที่ 1

(16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
แปลก พิบูลสงคราม  ควง อภัยวงศ์
ควง อภัยวงศ์ แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
นายกรัฐมนตรีไทย
สมัยที่ 2

(8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
แปลก พิบูลสงคราม  พจน์ สารสิน
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สมัยที่ 1

(22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
แปลก พิบูลสงคราม  พลเอก มังกร พรหมโยธี
พลเอก มังกร พรหมโยธี แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สมัยที่ 2

(15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
แปลก พิบูลสงคราม  พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
(พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
พลเอก หลวงชาตินักรบ
(ศุข ชาตินักรบ)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สมัยที่ 3

(28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2500)
แปลก พิบูลสงคราม  จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สมัยที่ 4

(12 กันยายน พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
แปลก พิบูลสงคราม  จอมพล ถนอม กิตติขจร
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 1

(21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
แปลก พิบูลสงคราม  หลวงเชวงศักดิ์สงคราม
(ช่วง ขวัญเชิด)
ควง อภัยวงศ์ แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 2

(15 เมษายน พ.ศ. 2491 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492)
แปลก พิบูลสงคราม  มังกร พรหมโยธี
หลวงสุนาวินวิวัฒน์
(พิศาล สุนาวินวิวัฒน์)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 3

(2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2500)
แปลก พิบูลสงคราม  เผ่า ศรียานนท์
หลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. 2485)
แปลก พิบูลสงคราม  ประยูร ภมรมนตรี
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
(จิตร์ ณ สงขลา)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยที่ 1

(14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
แปลก พิบูลสงคราม  ดิเรก ชัยนาม
ดิเรก ชัยนาม แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยที่ 2

(15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485)
แปลก พิบูลสงคราม  หลวงวิจิตรวาทการ
(วิจิตร วิจิตรวาทการ)
หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยที่ 3

(28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492)
แปลก พิบูลสงคราม  พจน์ สารสิน
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493)
แปลก พิบูลสงคราม  พระมนูภาณวิมลศาสตร์
(ชม จามรมาน)
สถาปนาตำแหน่ง แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(24 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498)
แปลก พิบูลสงคราม  หลวงสุนาวินวิวัฒน์
(พิศาล สุนาวินวิวัฒน์)
นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2497)
แปลก พิบูลสงคราม  ศิริ สิริโยธิน
ศิริ สิริโยธิน แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
(12 กันยายน พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
แปลก พิบูลสงคราม  วิบูลย์ ธรรมบุตร
สถาปนาตำแหน่ง แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สมัยที่ 1

(13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 – 30 เมษายน พ.ศ. 2484)
แปลก พิบูลสงคราม  จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สมัยที่ 2

(12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
แปลก พิบูลสงคราม  จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
ผู้บัญชาการทหารบก
สมัยที่ 1

(4 มกราคม พ.ศ. 2481 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
แปลก พิบูลสงคราม  พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส แปลก พิบูลสงคราม  แปลก พิบูลสงคราม 
ผู้บัญชาการทหารบก
สมัยที่ 2

(9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2491)
แปลก พิบูลสงคราม  จอมพล ผิน ชุณหะวัณ
ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์
แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส
แปลก พิบูลสงคราม  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมัยที่ 1

(24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
แปลก พิบูลสงคราม  ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า
รัชฎาภิเศก โสณกุล
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า
รัชฎาภิเศก โสณกุล
แปลก พิบูลสงคราม  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมัยที่ 2

(21 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2493)
แปลก พิบูลสงคราม  มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์
สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ (รักษาการ) แปลก พิบูลสงคราม  อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(19 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 26 กันยายน พ.ศ. 2500)
แปลก พิบูลสงคราม  ศาสตราจารย์ ทวี แรงขำ
(รักษาการ)
ไม่มี แปลก พิบูลสงคราม  นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 1
(พ.ศ. 2486–2500)
แปลก พิบูลสงคราม  จอมพลถนอม กิตติขจร
(สมัยที่ 1)

Tags:

แปลก พิบูลสงคราม ปฐมวัยและการศึกษาแปลก พิบูลสงคราม สมาชิกคณะราษฎรแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยที่หนึ่งแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยที่สองและการลี้ภัยแปลก พิบูลสงคราม ปัจฉิมวัยแปลก พิบูลสงคราม บทบาททางสังคมแปลก พิบูลสงคราม ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยนามแปลก พิบูลสงคราม ลำดับสาแหรกแปลก พิบูลสงคราม เกียรติยศและบำเหน็จความชอบแปลก พิบูลสงคราม อ้างอิงแปลก พิบูลสงคราม แหล่งข้อมูลอื่นแปลก พิบูลสงครามนักการเมืองนายกรัฐมนตรีไทย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดเพชรบูรณ์ตารางธาตุแบตเตอรี่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)เกศริน ชัยเฉลิมพลICD-10อักษรไทยฟุตซอล1รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สฟุตบอลทีมชาติไทยทุเรียนมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นสามก๊กประเทศออสเตรเลียเศรษฐศาสตร์สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พิมประภา ตั้งประภาพรต่าย อรทัยจังหวัดเลยการโฆษณาจังหวัดสมุทรปราการเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์สโมสรฟุตบอลคอเวนทรีซิตีนริลญา กุลมงคลเพชรกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)สโมสรฟุตบอลเชลซีอาณาจักรอยุธยารหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศฌ้อปาอ๋องวันโกนชิงชังส้มฉุนนาฬิกาหกชั่วโมงทฤษฎีการเรียนรู้จังหวัดนนทบุรีโชติกา วงศ์วิลาศเปป กวาร์ดิโอลาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประเทศญี่ปุ่นซีเนดีน ซีดานสินจัย เปล่งพานิชบุนเดิสลีการาศีเมษเนย์มาร์อีเอฟแอลคัพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จังหวัดเชียงรายจังหวัดร้อยเอ็ดเมษายนพชร จิราธิวัฒน์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ประเทศจอร์เจียอารยา เอ ฮาร์เก็ตกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์กองทัพอากาศไทยบัลลังก์ลูกทุ่งรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)อาทิตยา ตรีบุดารักษ์รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลพระพุทธเจ้าองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยนิวรณ์เครื่องคิดเลขกองบัญชาการตำรวจนครบาลนพเก้า เดชาพัฒนคุณนิภาภรณ์ ฐิติธนการรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารนกน้อย อุไรพรปรีชญา พงษ์ธนานิกรหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี🡆 More