ดาวเหนือ

ดาวเหนือ หรือ ดาวโพลาริส (อังกฤษ: Polaris หรือ Cynosura) (α UMi / α หมีเล็ก / แอลฟาหมีเล็ก) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก และอยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ จึงปรากฏเหมือนอยู่นิ่งกับที่บนท้องฟ้า (แท้จริงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เพราะแกนหมุนของโลกมีการส่าย)

Polaris
ดาวเหนือ
ดาวเหนือ


ตำแหน่งของดาวเหนือ (วงกลม)
Observation data
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว หมีเล็ก
α UMi A
ไรต์แอสเซนชัน 02h 31m 49.09s
เดคลิเนชัน +89° 15′ 50.8″
โชติมาตรปรากฏ (V) 1.98 (1.86 – 2.13)
α UMi B
ไรต์แอสเซนชัน 02h 30m 41.63s
เดคลิเนชัน +89° 15′ 38.1″
โชติมาตรปรากฏ (V) 8.7
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมF7Ib
ดัชนีสี U-B0.38
ดัชนีสี B-V0.60
ชนิดดาวแปรแสงดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)−17 km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 198.8±0.20 mas/yr
Dec.: −15±0.30 mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)7.54 ± 0.11 mas
ระยะทาง323–433 ly
(99–133 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)−3.6 (α UMi Aa)
3.6 (α UMi Ab)
3.1 (α UMi B)
ตำแหน่ง (relative to α UMi Aa)
ส่วนประกอบα UMi Ab
Epoch of observation2005.5880
ระยะห่างเชิงมุม0.172
Position angle231.4°
ตำแหน่ง (relative to α UMi Aa)
ส่วนประกอบα UMi B
Epoch of observation2005.5880
ระยะห่างเชิงมุม18.217
Position angle230.540°
วงโคจร
ดาวหลักα UMi Aa
ดาวสมาชิกα UMi Ab
คาบการโคจร (P)29.59±0.02 ปี
ค่ากึ่งแกนเอก (a)0.1204±0.0059"
(≥2.90±0.03 AU)
ความเยื้องศูนย์กลาง (e)0.608±0.005
ความเอียง (i)146.2±10.9°
ลองจิจูดของจุดโหนด (Ω)191.4±4.9°
ต้นยุคอ้างอิงจุดใกล้ที่สุด (T)1987.66±0.13
มุมของจุดใกล้ที่สุด (ω)
(secondary)
123.01±0.75°
Semi-Amplitude (K1)
(primary)
3.72±0.03 km/s
รายละเอียด
α UMi Aa
มวล5.4 M
รัศมี37.5 R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)2.2
กำลังส่องสว่าง (bolometric)1,260 L
อุณหภูมิ6015 K
ค่าความเป็นโลหะ112% solar
การหมุนตัว119 days
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)14 km/s
α UMi Ab
มวล1.26 M
รัศมี1.04 R
กำลังส่องสว่าง (bolometric)3 L
α UMi B
มวล1.39 M
รัศมี1.38 R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.3
กำลังส่องสว่าง (bolometric)3.9 L
อุณหภูมิ6900 K
ความเร็วในการหมุน (v sin i)110 km/s
ชื่ออื่น
Polaris, North Star, Cynosura, Alpha UMi, α UMi, ADS 1477, CCDM J02319+8915
α UMi A: 1 Ursae Minoris, BD+88°8, FK5 907, GC 2243, HD 8890, HIP 11767, HR 424, SAO 308
α UMi B: NSV 631, BD+88°7, GC 2226, SAO 305
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADα UMi A
α UMi B
ดาวเหนือ
ภาพที่ถ่ายโดยเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นว่าดาวดวงอื่นดูคล้ายเคลื่อนที่วนรอบดาวเหนือ

การที่ดาวเหนืออยู่ในทิศทางที่เกือบจะเป็นทิศทางเดียวกับแกนหมุนของโลก ดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ จึงดูเหมือนเคลื่อนที่วนเป็นวงกลมรอบดาวเหนือ นักสำรวจอาศัยดาวเหนือในการเดินเรือ ปัจจุบันดาวเหนือไม่ได้อยู่ตรงกับขั้วฟ้าเหนือแต่ห่างจากขั้วฟ้าเหนือเล็กน้อย (ไม่เกิน 1°) จึงเคลื่อนที่เป็นวงกลมเล็ก ๆ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2° มีเพียงสองเวลาในวันหนึ่ง ๆ ที่ดาวเหนืออยู่ตรงกับทิศเหนือพอดี ส่วนในเวลาอื่นต้องอาศัยตารางคำนวณเพื่อหาทิศเหนือที่แม่นยำ

แท้จริงแล้วดาวเหนือไม่ได้บอกทิศเหนือตลอดไป การที่แกนหมุนของโลกส่ายคล้ายลูกข่างด้วยคาบ 26,000 ปี ทำให้ดาวฤกษ์ดวงอื่นเคยเป็นดาวเหนือมาก่อน เช่น ดาวทูแบนในกลุ่มดาวมังกร ส่วนในอนาคต จะเป็นดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ

ในอนาคตอันใกล้นี้ เรายังสามารถใช้ดาวเหนือบอกทิศเหนือได้ต่อไป โดยที่ดาวเหนือจะอยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือมากที่สุดในปี ค.ศ. 2100 ด้วยระยะห่างไม่เกินครึ่งองศา

เราสามารถค้นหาดาวเหนือได้จากการลากเส้นตรงผ่านดาว 2 ดวงของกลุ่มดาวหมีใหญ่ (β และ α หมีใหญ่) ไปหาดาวเหนือได้ เรียกดาว 2 ดวงนี้ว่าดาวชี้ (Pointers) หรือไม่ก็ลากเส้นผ่านแบ่งครึ่งผ่านกลางกลุ่มดาวแคสซิโอเปียที่มีรูปร่างเหมือนตัวอักษร W

การเป็นที่รู้จักของดาวเหนือ ทำให้คนจำนวนมากคิดว่าดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า, แต่ในความเป็นจริง ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับที่ 47. ส่วนดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า (ยกเว้นดวงอาทิตย์) คือ ดาวซิริอัส

ข้อมูลจากดาวเทียมฮิปปาร์คอส พบว่าดาวเหนืออยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 431 ปีแสง (132 พาร์เซก) เป็นดาวยักษ์ใหญ่หรือดาวยักษ์ที่มีดาวฤกษ์จาง ๆ 2 ดวงเป็นสหาย ดวงแรกมีชนิดสเปกตรัม F3 V อยู่บนแถบลำดับหลัก ห่างจากดาวแม่ประมาณ 2,000 หน่วยดาราศาสตร์ อีกดวงอยู่ใกล้กว่าด้วยกึ่งแกนเอกของวงโคจรเพียง 5 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ดาวแปรแสงดวงหนึ่ง ราวปี ค.ศ. 1900 ดาวเหนือมีความสว่างขึ้นลงประมาณ 8% (คิดเป็น 0.15 ความส่องสว่าง) ด้วยคาบ 3.97 วัน ปี ค.ศ. 2005 ความสว่างเปลี่ยนแปลงเพียง 2% นอกจากนี้ยังมีความสว่างมากกว่าปี ค.ศ. 1900 อยู่ประมาณ 15% รวมทั้งคาบก็เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 8 วินาทีต่อปี

งานวิจัยเมื่อเร็วนี้ ๆ บ่งชี้ว่าในยุคที่ทอเลมียังมีชีวิตอยู่ ดาวเหนืออาจสว่างกว่านี้ 2.5 เท่า ซึ่งถ้าหากเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวเหนือ จะสูงเกินกว่าผลการพยากรณ์โดยอาศัย ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

ในท้องฟ้าซีกใต้ ไม่มีดาวฤกษ์สว่างที่อยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้ ดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและอยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้มากที่สุด คือ ดาวซิกมาออกแทนต์ (บางครั้งเรียกว่า Polaris Australis) อย่างไรก็ตาม คนในซีกโลกใต้สามารถใช้กลุ่มดาวกางเขนใต้ในการคะเนตำแหน่งของทิศใต้

อ้างอิง

Tags:

กลุ่มดาวกลุ่มดาวหมีเล็กดาวฤกษ์ภาษาอังกฤษแอลฟา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

หลวงปู่ทวดโรงเรียนบรรจงรัตน์ฟุตซอลรายชื่อตัวละครในวันพีซหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครจรินทร์พร จุนเกียรติกัลปพฤกษ์รามาวดี นาคฉัตรีย์ชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ชวลิต ยงใจยุทธโรงเรียนนายร้อยตำรวจสังคหวัตถุ 4ณปภา ตันตระกูลประชาธิปไตยประเทศเกาหลีกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์Aรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วนิภาภรณ์ ฐิติธนการนางนากจุลจักร จักรพงษ์ฟุตบอลตัวเลขโรมันป๊อกเด้งจังหวัดเพชรบุรีทักษิณ ชินวัตรเครยอนชินจังเอเลียส ดอเลาะฟุตบอลโลก 2026ซามูไรสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกอันดับของขนาด (มวล)ไพ่แคงสโมสรฟุตบอลเชลซีกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)สุจาริณี วิวัชรวงศ์เพื่อน(ไม่)สนิทรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพงศกร เมตตาริกานนท์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มิตร ชัยบัญชาข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์เพลงประเทศคาซัคสถานฟุตบอลทีมชาติไทยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีกอล์ฟ-ไมค์จริยา แอนโฟเน่ไททานิค (ภาพยนตร์)คงกะพัน แสงสุริยะสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งสำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)พจมาน ณ ป้อมเพชรอินเทอร์เน็ตประเทศอาร์เจนตินาท้องที่ตำรวจแอน ทองประสมสฤษดิ์ ธนะรัชต์เทย์เลอร์ สวิฟต์นักเรียนจังหวัดร้อยเอ็ดกูเกิลขุนพันธ์ 3รายชื่อละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆทวีปแอฟริกาวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารจังหวัดราชบุรีเจริญ สิริวัฒนภักดีดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์จังหวัดสมุทรสาครประยุทธ์ จันทร์โอชาพ.ศ. 2566บีบีซี เวิลด์นิวส์ภูมิภาคของประเทศไทย🡆 More