ซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน (อังกฤษ: Saddam Hussein) หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี (อาหรับ: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; ละติน: Ṣaddām Ḥusayn ʿAbd al-Majīd al-Tikrītī; 28 เมษายน พ.ศ.

2480 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 กระทั่งถูกจับกุมและถอดออกจากตำแหน่ง โดยกองกำลังนานาชาติซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามอิรัก

Marshal
ซัดดัม ฮุสเซน
Saddam Hussein
صدام حسين
ซัดดัม ฮุสเซน
ประธานาธิบดีอิรัก คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
16 กรกฎาคม 2522 – 9 เมษายน 2546
นายกรัฐมนตรีตนเอง (ครั้งที่ 1)
ซาดัน ฮามมาดี
โมฮัมเหม็ด ฮามซา ซูเบยดี
อาหมัด ฮูเซย์น คูดาเยิร์ อัส-ซามาร์ราอี
ตนเอง (ครั้งที่ 2)
รองประธานาธิบดีทาฮา มูฮี-เอลดิน มารูฟ
อิซซัต อิบราฮิม อัล-โดรี
ทาฮา ยาซซิน รามาดัน
ก่อนหน้าอาเหม็ด ฮัสซัน อัลบากร์
ถัดไปเจย์ การ์เนอร์ (การปกครองชั่วคราวโดยกลุ่มพันธมิตร)
นายกรัฐมนตรีอิรัก
ดำรงตำแหน่ง
16 กรกฎาคม 2522 – 23 มีนาคม 2534
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้าอาเหม็ด ฮัสซัน อัลบากร์
ถัดไปอิซซัต อิบราฮิม อัดดอรี
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤษภาคม 2537 – 9 เมษายน 2546
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้าอาหมัด ฮุสซาน คูดาเยร์ อัสซามาร์ไร
ถัดไปโมฮัมหมัด บาฮ์ร อัลอุลลูม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี

28 เมษายน ค.ศ. 1937(1937-04-28)
เอาญะห์, ราชอาณาจักรอิรัก
เสียชีวิต30 ธันวาคม ค.ศ. 2006(2006-12-30) (69 ปี)
ค่ายจัสติส กธิมิญะ, อิรัก
สาเหตุการเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
ศาสนาอิสลามซุนนี
พรรคการเมืองบะอษ์สังคมนิยมอาหรับ (2500–2509)
บะอษ์สาขาแบกแดด (2509–2549)
คู่สมรสซาจิดา ทัสฟาฮ์ (2501-2549)
ซามีเราะห์ ซาห์บันดา (2524-2547)
บุตร5 คน
ลายมือชื่อซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัมเคยเป็นผู้นำพรรคบะอษ์ พรรคการเมืองหัวปฏิวัติของอิรัก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มลัทธินิยมรวมชาติอาหรับโดยไม่อ้างอิงกับศาสนา การปรับระบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และระบอบสังคมนิยม ซัดดัม ได้มีบทบาทสำคัญในการก่อรัฐประหารในปี พ.ศ. 2511 ที่ทำให้พรรคบะอษ์ก้าวขึ้นสู่อำนาจในระยะยาว ในฐานะของรองประธานาธิบดี โดยมีนายพลอะฮ์มัด บะกัร ลูกพี่ลูกน้องของเขาที่มีสุขภาพอ่อนแอดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซัดดัมจึงได้กุมอำนาจในการจัดการปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ ในช่วงเวลาที่กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ถูกมองว่าสามารถโค่นล้มรัฐบาลได้ทุกเมื่อ โดยซัดดัมได้จัดตั้งกองกำลังรักษาความมั่นคง เพื่ออุดหนุนอำนาจของเขาในการควบคุมรัฐบาลอิรักไว้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่พุ่งสูงขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจอิรักเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากและในอัตราที่สม่ำเสมอ

ในฐานะประธานาธิบดี ซัดดัมได้พัฒนาลัทธินิยมตัวผู้นำอย่างบ้าคลั่ง ปกครองรัฐบาลเผด็จการ และกุมอำนาจไว้ได้ในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน (ระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2531) ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย (พ.ศ. 2534) ซึ่งทำให้อิรักทรุดโทรม ทำลายทั้งมาตรฐานการครองชีพและสิทธิมนุษยชน รัฐบาลของซัดดัมได้จัดการกับการเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มเป็นภัยคุกคาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพวกชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มทางศาสนาที่ต้องการเรียกร้องอิสรภาพ หรือการปกครองตนเอง

ในระหว่างที่ยังคงเป็นวีรบุรุษที่ประชาชนชื่นชม โดดเด่นในหมู่ผู้นำอาหรับอื่น ๆ ในฐานะผู้ที่ลุกขึ้นต่อต้านสหรัฐ และให้การสนับสนุนปาเลสไตน์ ภายหลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย สหรัฐอเมริกาและชาติอื่น ๆ ในประชาคมโลก ยังคงเฝ้าระวังจับตามองซัดดัมด้วยความหวาดระแวงว่ามีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ซัดดัมได้ถูกถอดถอนโดยสหรัฐและฝ่ายพันธมิตรในการบุกอิรักเมื่อปี พ.ศ. 2546 ถูกจับกุมโดยกองกำลังสหรัฐเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ในขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในหลุมขนาดเล็ก ในฟาร์มแห่งหนึ่งชานเมืองติกรีต เขาขึ้นต่อสู้คดีในศาลพิเศษอิรักที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลชั่วคราวของอิรัก

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ผู้พิพากษาศาลอิรัก สั่งลงโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอซัดดัม ในคดีสังหารหมู่ชาวชีอะห์ 148 คน ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองดูเญลเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยเขาถูกประหารชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549

วัยเยาว์

ซัดดัม ฮุสเซนเกิดที่เมืองเอาญะห์ ห่างจากเมืองติกรีต 13 กิโลเมตร ในครอบครัวของคนเลี้ยงแกะ แม่ชื่อศุบฮะห์ ตุลฟะห์ ตั้งชื่อให้ว่า "ศ็อดดาม" ซึ่งแปลว่า "ชนแหลก" ในภาษาอาหรับ ฮุเซน อับดุลมาญิด พ่อของซัดดัม หายตัวไปก่อนที่ซัดดัมเกิด 6 เดือน หลังจากนั้นไม่นาน พี่ชายวัยสิบสามขวบของซัดดัมก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง แม่ของซัดดัมเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก และปฏิเสธที่จะเลี้ยงดูซัดดัมเมื่อแรกเกิด ซัดดัมถูกส่งไปอยู่กับค่อยรุลลอห์ ตุลฟะห์ พี่ชายของแม่จนกระทั่งอายุสามปี แม่ของซัดดัมแต่งงานใหม่ และมีลูกอีกสามคน พ่อเลี้ยงของซัดดัมปฏิบัติต่อซัดดัมแย่มากหลังจากที่ซัดดัมกลับไปอยู่ด้วย เมื่อซัดดัมอายุราว 10 ปี เขาก็ย้ายกลับไปอยู่กับลุงอีกครั้ง ค่อยรุลลอห์ ตุลฟะห์ เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ที่เคร่งศาสนา และเคยผ่านสงครามระหว่างอิรักและสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2484 บุคคลผู้นี้ภายหลังกลายเป็นที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดกับซัดดัมมาก ซัดดัมเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาในแบกแดดตามคำแนะนำของลุง ซัดดัมเข้าศึกษานิติศาสตร์อยู่สามปี ในปีพ.ศ. 2500 ก่อนจะออกจากวิทยาลัยไปเข้าร่วมพรรคบะอษ์ซึ่งลุงของเขาสนับสนุน

หนึ่งปีหลังจากซัดดัมเข้าร่วมพรรคบะอษ์ กลุ่มทหารซึ่งนำโดยนายพลอิบด์ อัล-คะริม กอซิม ได้ยึดอำนาจจากกษัตริย์ฟัยศ็อลที่ 2 พรรคบะอษ์ต่อต้านรัฐบาลใหม่ ในปี พ.ศ. 2502 ซัดดัมเข้าร่วมในการสังหารนายกรัฐมนตรีกอซิม แต่ไม่สำเร็จ ซัดดัมได้รับบาดเจ็บและหนีไปซ่อนตัวอยู่ในซีเรียและอียิปต์ โดยซัดดัมถูกลงโทษประหารชีวิต

ขึ้นสู่อำนาจ

พ.ศ. 2506 กอซิมถูกยึดอำนาจจากการก่อรัฐประหารซึ่งพรรคบะอษ์ร่วมสนับสนุน อับดุล ซาลัม อาริฟ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและพรรคบะอษ์ได้ร่วมคณะรัฐมนตรี ในช่วงนี้ซัดดัมแต่งงานกับซาญิดะห์ ตุลฟะห์ ลูกของลุง ต่อมาอารีฟขัดแย้งกับพรรคบะอัธ และขับออกจากรัฐบาล ซัดดัมถูกจับในปี พ.ศ. 2507

พรรคบะอษ์ขึ้นมามีอำนาจในปี พ.ศ. 2511 หลังจากที่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากอาริฟ อะฮ์มัด อัลบะกัร ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และซัดดัมได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดี ในปี พ.ศ. 2519 ซัดดัมได้รับตำแหน่งนายพลในกองทัพอิรัก ซัดดัมเริ่มมีอิทธิพลในรัฐบาลสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซัดดัมเป็นผู้วางแผนนโยบาลการต่างประเทศ และเป็นตัวแทนในพิธีทางการทูตต่าง ๆ หลังจากที่กุมอำนาจอยู่เบื้องหลังมาสิบเอ็ดปี ซัดดัมขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นไม่นาน สมาชิกพรรคบะอษ์ 22 คนถูกสั่งประหารชีวิตในข้อหากบฏ

ซัดดัมพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยมีการให้เสรีภาพสตรีที่เพิ่มขึ้น และให้งานตำแหน่งสูง ๆ ในรัฐบาลและอุตสาหกรรม ซัดดัมยังสร้างระบบกฎหมายแบบตะวันตก ทำให้อิรักเป็นประเทศเดียวในอ่าวเปอร์เซียที่ไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮ์) ซัดดัมสร้างลัทธิชาตินิยมอิรัก บ่อยครั้งที่เขาเอ่ยถึงยุคสมัยอับบาซียะฮ์ ซึ่งแบกแดดเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของโลกอาหรับ เขายังเน้นบทบาทของอิรักในยุคก่อนศาสนาอิสลามในฐานะเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่สมัยโบราณ โดยกล่าวโดยอ้อมไปถึงผู้นำสมัยโบราณอย่างพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 และพระเจ้าฮัมมูราบี ซัดดัมทุ่มเททรัพยากรให้กับการค้นคว้าทางโบราณคดี เขายังได้พยายามรวมลัทธิแพนอาหรับกับชาตินิยมอิรัก ด้วยการสนับสนุนภาพของโลกอาหรับที่รวมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การนำของอิรัก ความนิยมตัวผู้นำซัดดัมกระจายทั่วสังคมอิรัก ภาพของซัดดัมปรากฏทั่วไปทั้งบนอาคาร โรงเรียน สนามบิน ร้านค้าต่าง ๆ เช่นเดียวกับบนเงินตราของอิรัก

การไต่สวน

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซัดดัมและสมาชิกระดับสูงของพรรคบะอษ์อีก 11 คน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในความควบคุมของกองทัพสหรัฐฯ ได้ถูกส่งมอบทางอำนาจทางกฎหมายให้กับรัฐบาลชั่วคราวของอิรัก เพื่อนำตัวเข้ารับการไต่สวนในข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซัดดัมถูกตั้งข้อหาโดยศาลพิเศษ ในการก่ออาชญากรรมต่อชาวเมืองดูเญล ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากความพยายามสังหารซัดดัมที่เมืองนั้นไม่สำเร็จ ข้อกล่าวหาประกอบไปด้วยการฆาตกรรมคน 148 คน การทรมานผู้หญิงและเด็ก และการจับกุม 399 คนอย่างไม่ถูกกฎหมาย ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัม ฮุสเซนถูกตัดสินว่ามีความผิด และถูกตัดสินประหารชีวิต

โดยการแขวนคอ ซัดดัมถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ซัดดัม ฮุสเซน วัยเยาว์ซัดดัม ฮุสเซน ขึ้นสู่อำนาจซัดดัม ฮุสเซน การไต่สวนซัดดัม ฮุสเซน อ้างอิงซัดดัม ฮุสเซน แหล่งข้อมูลอื่นซัดดัม ฮุสเซนประธานาธิบดีประเทศอิรักภาษาอังกฤษสงครามอิรักสหรัฐอเมริกาอักษรละตินอักษรอาหรับ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชา อึน-อูปฏิจจสมุปบาทอักษรไทยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์สะดุดรักยัยแฟนเช่าพิชิตรัก พิทักษ์โลกคนลึกไขปริศนาลับปรีดี พนมยงค์รายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่จังหวัดนครปฐมรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์สโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนารัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ตารางธาตุพรหมวิหาร 4จังหวัดสมุทรสาครเผ่าภูมิ โรจนสกุลเกาะกูดอดอล์ฟ ฮิตเลอร์จังหวัดสระแก้วทิโมธี ชาลาเมต์ขจร เจียรวนนท์กฤษณภูมิ พิบูลสงครามสาธุ (ละครโทรทัศน์)โรนัลโดเรวัช กลิ่นเกษรประเทศมัลดีฟส์รัฐของสหรัฐสโมสรฟุตบอลเชลซีต่อศักดิ์ สุขวิมลอาณาจักรล้านนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเทย์เลอร์ สวิฟต์จังหวัดน่านแมคาเดเมียกรมราชเลขานุการในพระองค์ข้อมูลผู้หญิง 5 บาปวรันธร เปานิลราศีเมษไลแคน (บอยแบนด์)ประเทศบังกลาเทศจักรพรรดิยงเจิ้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตพัชรวาท วงษ์สุวรรณพระพรหมอารยา เอ ฮาร์เก็ตสหประชาชาติป๊อกเด้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)สีประจำวันในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลำพูน วอร์ริเออร์พิจักขณา วงศารัตนศิลป์บรรดาศักดิ์ไทยธนาคารไทยพาณิชย์ไททานิค (ภาพยนตร์)ปริญ สุภารัตน์ประเทศออสเตรเลียสหรัถ สังคปรีชาตระกูลเจียรวนนท์กันต์ กันตถาวรโอดะ โนบูนางะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สจังหวัดเพชรบูรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจังหวัดจันทบุรีโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)การรถไฟแห่งประเทศไทยวัชรเรศร วิวัชรวงศ์อชิรญา นิติพนประเทศปากีสถานปานปรีย์ พหิทธานุกรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงยูโร🡆 More