อาชญากรรมสงคราม

อาชญากรรมสงคราม (อังกฤษ: war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์

อาชญากรรมสงคราม
ภาพถ่ายที่เมืองSuzhou, จีน, ปีค.ศ.1938. ในภาพซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ ของประชาชนชาวจีนที่ถูกฆ่าโดยทหารญี่ปุ่น
อาชญากรรมสงคราม
หลุ่มศพจำนวนมากของเฉลยศึกชาวโซเวียต ส่วนมากถูกฆ่าโดยทหารเยอรมัน ราวๆสาม 3.3ล้านคน

แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 1863 และในระดับนานาชาติ เช่น การตกลงรับสนธิสัญญาในอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907 นอกจากนี้ การพิจารณาคดีในศาลระดับชาติ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ยังช่วยสร้างความกระจ่างให้แก่กฎหมายเหล่านี้ ครั้นสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามยิ่งมีพัฒนาการสำคัญ การพิจารณาคดีมากมายเกี่ยวกับอาชญากรสงครามของฝ่ายอักษะนั้นส่งผลให้เกิดหลักการเนือร์นแบร์กซึ่งวางข้อความคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามอย่างใดจะกลายเป็นความผิดอาญาในระดับโลก นอกจากนี้ เมื่อมีอนุสัญญาเจนีวาใน ค.ศ. 1949 สนธิสัญญาฉบับบนี้ได้ให้นิยามใหม่เกี่ยวกับอาชญากรรมสงคราม และกำหนดให้รัฐทั้งหลายมีเขตอำนาจสากลในการดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าว ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการกำหนดรูปแบบอาชญากรรมสงครามเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการขัดกันด้วยอาวุธประเภทอื่น ๆ เช่น สงครามกลางเมือง นอกเหนือไปจากการสู้รบกันระหว่างรัฐกับรัฐ

ประวัติ

อาชญากรสงครามในประเทศไทย

ในประเทศไทย มีคดีอาชญากรสงครามที่สำคัญ โดยเกิดขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองร้อนระอุ และสงครามโลกครั้งที่ 2กำลังจบ โดยมีการจับกุมและฟ้องร้อง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม อดีตผู้นำทางการทหารและการเมืองกับพวก ในข้อหาอาชญากรสงครามต่อศาลฎีกา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรสงคราม ซึ่งนับว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวคลี่คลายไปได้โดยอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม เฉพาะที่บัญญัติย้อนหลังให้การกระทำก่อนวันใช้กฎหมายเป็นความผิดนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ จอมพล ป. พิบูลสงครามกับพวก จึงได้รับการปล่อยตัวพ้นข้อหา จึงนับได้ว่าบทบาทในทางการเมืองของศาลยุติธรรมในฐานะเป็นสถาบันทางการเมืองด้วย

ในขณะที่กำลังเกิดสงคราม และญี่ปุ่นกำลังบุกเข้ามาที่ไทย จอมพล ป พิบูลสงครามเพิ่งกำลังขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้ยอมแพ้ลงในเดือนธันวาคม 2484 โดยฝ่ายไทยแสดงที่ท่าสัมพันธไมตรีและให้ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในทุกด้าน เพื่อทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และสุดท้ายอเมริกาได้ทิ้งปรมาณูและเป็นการประกาศการยอมแพ้ญี่ปุ่น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้แถลงการณ์ว่า “...การประกาศสงครามกับประเทศอเมริกาของประเทศไทยเป็นการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นปฏิปักษ์ต่อเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และประเทศไทยมีความตั้งใจมั่นที่จะฟื้นความสัมพันธ์ทางไมตรีกับสหประชาชาติเหมือนดังที่มีก่อนถูกญี่ปุ่นเข้าครอบครอง มีคำมั่นสัญญาว่ากฎหมายใดที่ได้ออกมาเป็นปฏิปักษ์ต่อส่วนได้เสียของเราจะได้มีการพิจารณายกเลิก มีคำรับรองว่าถ้ากฎหมายเช่นว่านี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายและประกาศปฏิญญาว่าประเทศไทยจะได้ให้ความร่วมมือทุกอย่างแก่สหประชาชาติในการสร้างเสถียรภาพโลก...”

ปลายเดือนสิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น ได้โทรเลขไปถึง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ขอให้กลับประเทศไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งมีการตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งศาลอาชญากรสงครามขึ้นเพื่อพิจารณาความผิดของฝ่ายอักษะได้ทำไป ที่เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ทหารนาซีของประเทศเยอรมนีถูกแขวนคอ จำนวน 12 คน และทหารญี่ปุ่นถูกแขวนคอ จำนวน 7 คน รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีโตโจ ในส่วนของประเทศไทยนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงที่กรุงเดลลี ประเทศอินเดีย และที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกข่าวว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรจะนำเอาอาชญากรสงครามในประเทศไทยไปขึ้นศาลต่างประเทศโดยมีอาชญากรสงคราม จำนวน 4 คน คือ แปลก พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) ประยูร ภมรมนตรี และสังข์ พัธโนทัย โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้สั่งให้พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)ร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามขึ้นและเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาและประกาศใช้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า อาชญากรสงครามเป็นภัยอันร้ายแรงต่อความสงบของโลก สมควรที่จะจัดให้บุคคลที่ประกอบได้สนองกรรมชั่วที่ตนได้กระทำตามโทษานุโทษ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Tags:

อาชญากรรมสงคราม ประวัติอาชญากรรมสงคราม อาชญากรสงครามในประเทศไทยอาชญากรรมสงคราม ดูเพิ่มอาชญากรรมสงคราม อ้างอิงอาชญากรรมสงครามกฎหมายสงครามการข่มขืนกระทำชำเราการฆ่าคนการทรมานตัวประกันภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ภาษาอังกฤษโฟร์อีฟปริญ สุภารัตน์ปารีณา ไกรคุปต์ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ธงประจำพระองค์ต้นตะวัน ตันติเวชกุลรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDจังหวัดสมุทรปราการสำนักพระราชวังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีศุภชัย โพธิ์สุวัลลภ เจียรวนนท์การรถไฟแห่งประเทศไทยแอทลาสโรงเรียนนายร้อยตำรวจชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตอาลิง โฮลันประเทศออสเตรียอวตาร (ภาพยนตร์)หลิว เจียหลิงนิชคุณ ขจรบริรักษ์ปวีณ พงศ์สิรินทร์จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ตัวเลขโรมันอำเภอดวงอาทิตย์ซิตี้ฮันเตอร์สามก๊กนามสกุลพระราชทานเทย์เลอร์ สวิฟต์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475เจมส์ มาร์เมตาภาษาในประเทศไทยคาราบาวสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีพระศรีอริยเมตไตรยรางวัลนาฏราชสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีประเทศจอร์เจียอังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธาพชร จิราธิวัฒน์พรรคชาติพัฒนากล้าเมลดา สุศรีประเทศอิตาลีคอมพิวเตอร์จำนวนเฉพาะมหาวิทยาลัยรามคำแหงนารีริษยาพันทิป.คอมพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยเศรษฐศาสตร์เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์พระพรหมสุภาพร มะลิซ้อนทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีกองทัพ พีควัดโสธรวรารามวรวิหารบรูนู ฟือร์นังดึชยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หนึ่งในร้อยแบมแบมรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยอรรถกร ศิริลัทธยากรวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารจุดทิศหลักเปรียญธรรม 9 ประโยคประวัติศาสนาคริสต์ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์เลือดมังกรวัดไร่ขิง🡆 More