ประยูร ภมรมนตรี: นักการเมืองชาวไทย (พ.ศ. 2440-2525)

พลโท ประยูร ภมรมนตรี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ.

2475">การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเหลนของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลที่ 3 พลโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นผู้เสนอจัดตั้งโรงแรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความเจริญของกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2496 และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทของรัฐบาลไทย คือ บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด หรือ "โรงแรมเอราวัณ"

ประยูร ภมรมนตรี
ประยูร ภมรมนตรี: ประวัติ, งานราชการ, งานการเมือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระยาบริรักษ์เวชชการ
ถัดไปฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปทวี บุณยเกตุ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440
เบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต12 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (85 ปี)
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองคณะราษฎร
เสรีมนังคศิลา
คู่สมรสสุวรรณ ภมรมนตรี
คุณหญิงราษี ภมรมนตรี
จันทร์ทิพย์ ภมรมนตรี
สมถวิล ภมรมนตรี
เรณู ภมรมนตรี
บุตร17 คน
บุพการีพระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี)
แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์
วิชาชีพทหารบก, นักการเมือง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ประยูร ภมรมนตรี: ประวัติ, งานราชการ, งานการเมือง ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศประยูร ภมรมนตรี: ประวัติ, งานราชการ, งานการเมือง พลโท

ประวัติ

พลโท ประยูร ภมรมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2441) ที่กรุงเบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน ขณะที่บิดารับราชการเป็นทูตทหารไทยประจำจักรวรรดิเยอรมัน เป็นบุตรของพันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ทูตทหารประจำจักรวรรดิเยอรมัน กับแพทย์หญิง แอนเนลี ชำนาญคุรุวิทย์ หรือนามเดิม แอนเนลี ไฟร์ สตรีชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น มีพี่สาวคือ อำพันธ์ และอรุณวดี ภมรมนตรี ประยูรมีพี่ชายฝาแฝด ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงรับขวัญเมื่อยามเกิด โดยประทานชื่อให้ว่า "ประยงค์-ประยูร" คู่กัน

ประยูรสมรสครั้งแรกกับสุวรรณ ภมรมนตรี อดีตนางข้าหลวงในพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวีวิไลยวรรณ มีบุตร 2 คน คือ

  1. เยาวภา ตู้จินดา
  2. ยุวดี ภมรมนตรี

ต่อมาประยูรสมรสครั้งที่สองกับคุณหญิงราษี ภมรมนตรี (นามเดิม มากาเร็ต พิรัชโยธิน) มีบุตร 3 คน คือ

  1. โยธิน ภมรมนตรี อดีตนักบิน และอดีตผู้บริหารระดับสูงของ บมจ.การบินไทย
  2. ยุพาพรรณ ภมรมนตรี
  3. ไพชยนต์ ภมรมนตรี

ประยูรสมรสครั้งที่สามกับจันทร์ทิพย์ ภมรมนตรี มีบุตร 5 คน คือ

  1. ทิพยา กิติขจร เจ้าของร้านอาหาร สวนทิพย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ได้รางวัลมิชลิน
  2. ยุคล ภมรมนตรี อดีตผู้บริหาร
  3. รัชยา ภมรมนตรี อดีตผู้บริหารระดับสูง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
  4. เรืองยศ ภมรมนตรี อดีตผู้บริหารระดับสูง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
  5. พลตรี ยงยุทธ ภมรมนตรี

ประยูรสมรสครั้งที่สี่กับสมถวิล ภมรมนตรี (สกุลเดิม สุวรรณฑัต) มีบุตร 3 คน คือ

  1. วิไลวรรณ ภมรมนตรี
  2. เรืออากาศตรี จูลส์ ภมรมนตรี อดีต นักบินขับไล่ F16 กองทัพอากาศไทย
  3. ชาลี ภมรมนตรี อดีตผู้บริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)

ประยูรสมรสครั้งที่ห้ากับเรณู ภมรมนตรี (สกุลเดิม พิบูลภานุวัฒน์) รองนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2491 มีบุตรอีก 4 คน ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ

  1. ยอดมนู ภมรมนตรี​ อดีตพิธีกรร่วม รายการบ้านเลขที่ 5 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และอดีตผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
  2. ยิ่งมณี ภมรมนตรี
  3. ยุรนันท์ ภมรมนตรี​ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตพิธีกรหลายรายการ อดีตนักแสดงภาพยนตร์ไทย และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง

งานราชการ

รับราชการเป็นมหาดเล็ก ตำแหน่ง รองหุ้มแพร (เทียบเท่ายศ ร้อยโท) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยบิดาและมารดานำเข้าเฝ้าถวายตัวตั้งแต่เด็ก ๆ อายุเพียง 7-8 ขวบ พร้อมกับพี่ชายฝาแฝด และเป็นข้าหลวง ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต แต่ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อไปศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์ ที่ประเทศฝรั่งเศส

งานการเมือง

พลโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

เคยเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลชั่วคราว พ.ศ. 2494 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในคณะรัฐมนตรีคณะต่อมา (ครม.24)

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น พลโทประยูร ได้เข้าร่วมด้วย ด้วยถือเป็นคณะราษฎรสายพลเรือน โดยถือเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองคู่กับปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เนื่องจากไปศึกษายัง ณ ประเทศฝรั่งเศสเหมือนกัน จึงถือได้ว่าเป็นคณะราษฎรคู่แรกก็ว่าได้

โดยก่อนจะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส พลโทประยูรได้ทำการรักษาตัวจากวัณโรคจนหายดีแล้วจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่จะเดินทางไปสู่กรุงปารีส ซึ่งเป็นเมืองที่จะเข้ารับการศึกษา ได้แวะเดินทางเข้าสู่เมืองลียงเพื่อพบกับควง อภัยวงศ์ หรือหลวงโกวิทอภัยวงศ์ เพื่อนนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส เพื่อที่ควงจะแนะนำพลโทประยูรให้รู้จักกับปรีดีโดยจดหมายแนะนำตัว เพราะปรีดีขณะนั้นเป็นเสมือนผู้นำของนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส ทั้งคู่จึงได้รู้จักกันและคบหากันจนสนิทสนมกันในที่สุด อีกทั้งในการประชุมครั้งแรกของคณะราษฎร ที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส ที่ติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน ในต้นปี พ.ศ. 2470 นั้นก็เป็นบ้านพักของพลโทประยูรเอง และเริ่มต้นการประชุมในวันครบรอบวันเกิดปีที่ 30 ของพลโทประยูรอีกด้วย

ในระหว่างที่คณะราษฎรทั้งหมดได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย พลโทประยูร ยังได้เป็นผู้ที่ชักชวนและประสานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่และบุคคลอื่น ๆ ให้มาเข้าร่วมด้วยกับคณะราษฎร และเมื่อมีการวางแผนการปฏิวัติ ทั้งหมดก็ได้หารือแผนการทั้งหมดที่บ้านพักของ พลโทประยูรบ้าง และบ้านพักของพระยาทรงสุรเดชบ้าง สลับกันไป โดยในเช้าวันที่ทำการเปลี่ยนแปลงนั้น พลโทประยูรรับหน้าที่ตัดสายโทรศัพท์และสายโทรเลข ที่สำนักงานใหญ่กรมไปรษณีย์โทรเลข เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร โดยปฏิบัติการคู่กับนายควง อภัยวงศ์ ในฐานะที่ทั้งคู่รับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข จึงถือเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลา 04.00 น. และต้องให้เสร็จทันในเวลา 05.00 น. ท่ามกลางการคุ้มครองของทหารเรือและพลเรือนกลุ่มหนึ่งของคณะราษฎรราว 10 คนเท่านั้น และจากนั้น พลโทประยูร ยังเป็นผู้ทำการควบคุมองค์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเสด็จจากวังบางขุนพรหมในฐานะองค์ประกัน ภายใต้การควบคุมของ พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ ให้เข้าประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคมด้วย ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีปฏิสันธานบางประการกับ พลโทประยูรด้วยถึงการกระทำในครั้งนี้

จากนั้น พลโทประยูร ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการราษฎรและยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ในเวลาต่อมาอีกหลายกระทรวงด้วยกัน

ในเหตุการณ์ที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา มีความเห็นแย้งเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่นำเสนอโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งทำให้พระยามโนปกรณ์ ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีปิดรัฐสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 นั้น มีสมาชิกคณะราษฎรสนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เช่น พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ มีชื่อของ พลโทประยูร ร่วมอยู่ด้วย

ถึงแก่อนิจกรรม

พลโท ประยูร ภมรมนตรี ถึงแก่อนิจกรรมจากการถูกรถโดยสารประจำทางสาย 204 เฉี่ยวเสียหลักล้มลง ขณะเดินอยู่ในซอย แถวสี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2525 รวมอายุ 85 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

ผลงานหนังสือ

  • บันทึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
  • ชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า (2518)

เกียรติยศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ยศทหาร

  • 23 มีนาคม 2459 – ร้อยตรี
  • พลโท พ.ศ. 2496

ยศกองอาสารักษาดินแดน

ยศข้าราชการพลเรือนของสยาม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ประยูร ภมรมนตรี ประวัติประยูร ภมรมนตรี งานราชการประยูร ภมรมนตรี งานการเมืองประยูร ภมรมนตรี การเปลี่ยนแปลงการปกครองประยูร ภมรมนตรี ถึงแก่อนิจกรรมประยูร ภมรมนตรี ผลงานหนังสือประยูร ภมรมนตรี เกียรติยศประยูร ภมรมนตรี อ้างอิงประยูร ภมรมนตรี แหล่งข้อมูลอื่นประยูร ภมรมนตรีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475คณะราษฎรพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยสงครามโลกครั้งที่สองสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เครื่องคิดเลขเทย์เลอร์ สวิฟต์เมษายนไลแคน (บอยแบนด์)เลือดมังกรจังหวัดนครพนมมหาวิทยาลัยกรุงเทพสาธุ (ละครโทรทัศน์)พล ตัณฑเสถียรนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลมหาวิทยาลัยรามคำแหงมธุรสโลกันตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอินสตาแกรมอาณาจักรล้านนามหาวิทยาลัยศิลปากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีป๊อกเด้งพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ICD-10วรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแบมแบมพิชิตรัก พิทักษ์โลกบัตเตอร์ฟลาย (วงดนตรี)พรรษา วอสเบียนจุลจักร จักรพงษ์หลานม่าข้าราชการไทยจิรภพ ภูริเดชสมณศักดิ์วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลกำแพงเมืองจีนสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีภาคใต้ (ประเทศไทย)อักษรไทยตระกูลเจียรวนนท์ติ๊กต็อกสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาอัสนี-วสันต์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไททานิค (ภาพยนตร์)เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรปริญ สุภารัตน์บาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างภาคภูมิ ร่มไทรทองฟุตบอลโลกระบบรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันการ์ตูนสถิตย์พงษ์ สุขวิมลศาสนาอิสลามวัดโสธรวรารามวรวิหารเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยามหัพภาคเศรษฐศาสตร์รายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งเผ่าภูมิ โรจนสกุลไทยสุรเชษฐ์ หักพาลลานีญาโลก (ดาวเคราะห์)ประเทศกาตาร์Fมหาวิทยาลัยบูรพาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาคู่เวรชานน สันตินธรกุลสงครามยุทธหัตถีหนุมานสมศักดิ์ เทพสุทินกองอาสารักษาดินแดน🡆 More