สงครามยูโกสลาเวีย

สงครามยูโกสลาเวีย (อังกฤษ: Yugoslav Wars) สื่อถึงชุดความขัดแย้งทางชาติพันธ์ สงครามประกาศเอกราช และการก่อกำเริบที่แตกต่างแต่มีความเกี่ยวข้องกันที่เกิดขึ้นในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียใน ค.ศ.

1991 ถึง 2001 ความขัดแย้งนำไปสู่การล่มสลายของยูโกสลาเวีย ซึ่งเกิดขึ้นกลาง ค.ศ. 1991 ก่อให้เกิด 6 ประเทศเอกราชใหม่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย คือ: สโลวีเนีย, โครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย และมาซิโดเนียเหนือ (อดีตมีชื่อว่า มาซิโดเนีย) สงครามยุติลงด้วยผลที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วส่งผลให้นานาชาติรับรองรัฐอธิปไตยใหม่หลายรัฐอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ด้วยการขัดขวางทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ในประเทศเกิดใหม่เหล่านี้

สงครามยูโกสลาเวีย
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 และสมัยหลังสงครามเย็น
สงครามยูโกสลาเวีย
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
ตำรวจสโลวีเนียคุมตัวทหารยูโกสลาเวียที่ถูกจับได้ในสงครามสิบวัน; รถถังที่เสียหายในยุทธการที่วูคอวาร์; ฐานยิงจรวดต่อสู้รถถังของกองทัพเซิร์บ ระหว่างการล้อมดูบรอฟนีก; การฝังร่างเหยื่อการสังหารหมู่สเรเบรนีตซาใหม่ใน ค.ศ. 2010; ยานเกราะของสหประชาชาติบนถนนในเมืองซาราเยโว
วันที่31 มีนาคม ค.ศ. 1991 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001
(10 ปี 7 เดือน 1 สัปดาห์ 5 วัน)

สงครามประกาศอิสรภาพสโลวีเนีย:
27 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1991
(1 สัปดาห์ 3 วัน)
สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย:
31 มีนาคม ค.ศ. 1991 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995
(4 ปี 7 เดือน 1 สัปดาห์ 5 วัน)
สงครามบอสเนีย:
6 เมษายน ค.ศ. 1992 – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1995
(3 ปี 8 เดือน 1 สัปดาห์ 6 วัน)
การก่อกำเริบในคอซอวอ:
27 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998
(2 ปี 9 เดือน)
สงครามคอซอวอ:
28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 1999
(1 ปี 3 เดือน 2 สัปดาห์)
การก่อการกำเริบในหุบเขาเพรเชวอ:
12 มิถุนายน ค.ศ. 1999 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 2001
(1 ปี 11 เดือน 2 สัปดาห์ 6 วัน)
การก่อการกำเริบในมาซิโดเนีย:
22 มกราคม – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001
(9 เดือน 3 สัปดาห์)
สถานที่
ผล การล่มสลายของยูโกสลาเวียและการจัดตั้งรัฐสืบทอดอิสระ
คู่สงคราม
1991
สงครามยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย
1991
สงครามยูโกสลาเวีย สโลวีเนีย
1991–95
สงครามยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย (จนถึงเมษายน ค.ศ. 1992)
สงครามยูโกสลาเวีย เซิร์บกรายินา
สงครามยูโกสลาเวีย เรปูบลิกาเซิร์ปสกา (1992–95)
สนับสนุน:
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (ตั้งแต่เมษายน ค.ศ. 1992)

สงครามยูโกสลาเวีย จังหวัดปกครองตนเองบอสเนียตะวันตก (1993–95)
1992–95
สงครามยูโกสลาเวีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1992–94)
1991–95
สงครามยูโกสลาเวีย โครเอเชีย
สงครามยูโกสลาเวีย เฮิร์ตเซก-บอสเนีย (1992–95)
สงครามยูโกสลาเวีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1992, 1994–95)
เนโท เนโท (1995)
1995–2001
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
1995–2001
สงครามยูโกสลาเวีย KLA (1995–1999)
สงครามยูโกสลาเวีย UÇPMB
2001
มาซิโดเนียเหนือ สาธารณรัฐมาซิโดเนีย
2001
สงครามยูโกสลาเวีย กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ
สงครามยูโกสลาเวีย กองทัพแห่งชาติแอลเบเนีย
สนับสนุน:
สงครามยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย Veljko Kadijević
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย สลอบอดัน มีลอเชวิช
เรปูบลิกาเซิร์ปสกา ราดอวาน การาจิช
เรปูบลิกาเซิร์ปสกา รัตกอ มลาดิช
สาธารณรัฐเซิร์บกรายินา มิลาน มาร์ติช
สาธารณรัฐเซิร์บกรายินา มิลาน บาบิช
สงครามยูโกสลาเวีย ฟิกเร็ต อับดิช
มาซิโดเนียเหนือ บอริส ไตรกอฟสกี
สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อาลียา อีเซตเบกอวิช สโลวีเนีย มีลัน กูชัน
โครเอเชีย ฟราโญ ตุจมัน
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย Mate Boban
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย Krešimir Zubak
สงครามยูโกสลาเวีย อาเด็ม ยาชารี
สงครามยูโกสลาเวีย Hashim Thaçi
สงครามยูโกสลาเวีย รามุช ฮาราดินัย
สงครามยูโกสลาเวีย Shefket Musliu
สงครามยูโกสลาเวีย Ridvan Qazimi
สงครามยูโกสลาเวีย อาลี อาฮ์เมตี
สงครามยูโกสลาเวีย ฟาดิล นิมานี
เนโท เลห์ตัน ดับเบิลยู. สมิธ จูเนียร์
เนโท เวสลีย์ คลาร์ก
เสียชีวิตทั้งหมด: ป. มากกว่า 130,000–140,000 คน
พลัดถิ่น: ป. 4,000,000 คน

ในช่วงแรกของการล่มสลายของยูโกสลาเวีย กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย (JNA) ต่อสู้เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของชาติยูโกสลาฟด้วยการทำลายรัฐบาลแบ่งแยกดินแดนอย่างไรก็ตาม กองทัพนี้เริ่มอยู่ภายใต้อิทธิพลของสลอบอดัน มีลอเชวิชที่ใช้แนวคิดชาตินิยมเซิร์บเป็นอุดมการณ์แทนที่ระบบคอมมิวนิสต์ที่กำลังอ่อนแอ ทำให้ JNA เริ่มสูญเสียชาวสโลวีน, ชาวโครแอต, ชาวแอลเบเนียเชื้อสายคอซอวอ, ชาวบอสนีแอก และชาวมาซิโดเนีย กลายเป็ยกองทัพที่สู้เพื่อชาวเซิร์บเท่านั้น ตามรายงานของสหประชาชาติใน ค.ศ. 1994 ฝ่ายเซิร์บไม่ได้มุ่งหวังถึงการฟื้นฟูยูโกสลาเวีย แต่มุ่งหวังที่จะสร้าง "เกรตเตอร์เซอร์เบีย" จากส่วนของโครเอเชียและบอสเนีย ขบวนการอื่น ๆ ก็มีส่วนเชื่อมโยงกับสงครามยูโกสลาเวียด้วย เช่น "เกรตเตอร์แอลเบเนีย" (จากคอซอวอ ยกเลิกด้วยการทูตระหว่างประเทศ) และ"เกรตเตอร์โครเอเชีย" (จากบางส่วนของเฮอร์เซโกวีนา ยกเลิกใน ค.ศ. 1994 ด้วยข้อตกลงวอชิงตัน)

สงครามครั้งนี้มักถูกเรียกว่าเป็นความขัดแย้งอันนองเลือดที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นสิ่งเลวทรามเนื่องจากมีอาชญากรรมสงครามเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ, การกวาดล้างชาติพันธุ์ และการข่มขืนหมู่ในช่วงสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บอสเนียเป็นเหตุการณ์ในช่วงสงครามของยุโรปครั้งแรกที่จัดเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่การทัพของนาซีเยอรมัน และบุคคลสำคัญจำนวนมากของอดีตยูโกสลาฟที่เกี่ยวข้องถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมสงครามในเวลาต่อมา คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ที่สหประชาชาติจัดตั้งขึ้นในเดอะเฮก เนเธอร์แลนด์ เพื่อดำเนินคดีกับทุกคนที่ก่ออาชญากรรมสงครามในช่วงความขัดแย้ง ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านรายงานว่า สงครามยูโกสลาเวียคร่าชีวิตผู้คนไป 140,000 ศพ ส่วนศูนย์กฎหมายมนุษยธรรมประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 130,000 ศพ ความขัดแย้งในช่วงทศวรรษกว่าก่อให้เกิดวิกฤตผู้อพยพและมนุษยธรรมครั้งใหญ่

ชื่อ

มีการเรียกชื่อสงครามยูโกสลาเวียหลายแบบ เช่น:

  • "สงครามในคาบสมุทรบอลข่าน"
  • "สงคราม/ความขัดแย้งในอดีตยูโกสลาเวีย"
  • "สงครามการแยกตัว/การสืบทอดยูโกสลาฟ"
  • "สงครามบอลข่านครั้งที่สาม": มาจากหนังสือที่เขียนโดยมิชา เกลนนี นักข่าวชาวอังกฤษ ชื่อหนังสือนี้พาดพิงถึงสงครามบอลข่านสองครั้งก่อนหน้าที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1912–1913 นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่บางส่วนใช้ชื่อนี้สื่อถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากเชื่อว่าสงครามนี้เป็นสงครามที่อยู่ถัดจากสงครามบอลข่านใน ค.ศ. 1912–1913
  • "สงครามกลางเมืองยูโกสลาเวีย"/"สงครามกลางเมืองยูโกสลาฟ"/"สงครามกลางเมืองในยูโกสลาเวีย"

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูลทั่วไปและอ้างอิง

หนังสือ

บทความวารสารวิชาการ

ข้อมูลอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

สงครามยูโกสลาเวีย ชื่อสงครามยูโกสลาเวีย หมายเหตุสงครามยูโกสลาเวีย อ้างอิงสงครามยูโกสลาเวีย แหล่งข้อมูลอื่นสงครามยูโกสลาเวียการล่มสลายของยูโกสลาเวียบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาภาษาอังกฤษมอนเตเนโกรมาซิโดเนียเหนือสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียสโลวีเนียเซอร์เบียโครเอเชีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ราชินีแห่งน้ำตาอวตาร (ภาพยนตร์)ปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)เอกซ์เจแปนจนกว่าจะได้รักกันรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเด็กหอหมากรุกไทยAราชวงศ์จักรีสหรัฐสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีธีรเดช เมธาวรายุทธชียากู ซิลวาหม่ำ จ๊กมกสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นประเทศบังกลาเทศรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยเมียวดีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์ประชาธิปไตยสุทิน คลังแสงสามก๊กปานปรีย์ พหิทธานุกรสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงจังหวัดนครราชสีมาสุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรญาณี จงวิสุทธิ์มหัพภาคสุรเชษฐ์ หักพาลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)ประเทศจีนภาคตะวันออก (ประเทศไทย)พระคเณศแบล็กพิงก์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวICD-10แบล็กอายด์พิลซึงFประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใหม่ เจริญปุระมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพระพุทธชินราชกองทัพเรือไทยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาปราโมทย์ ปาทานประเทศไทยคุณปู่คุณย่า ย้อนกลับวัยใสแต่หัวใจยังคงเดิมไทใหญ่มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)2ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประเทศโมนาโกนูโวอสมทโป๊กเกอร์จังหวัดสงขลาณเดชน์ คูกิมิยะกกการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยารายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสงครามเย็นวรกมล ชาเตอร์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024สุภาพร มะลิซ้อนสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีซีโมเน อินซากีซิลลี่ ฟูลส์🡆 More