แบร์น: เมืองหลวงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

แบร์น (ฝรั่งเศส: Berne; เยอรมัน: Bern) หรือ เบิร์น (อังกฤษ: Bern) เป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เทศบาลกรุงแบร์นมีประชากรราว 140,000 คน (ปี ค.ศ.

2019) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ หากรวมปริมณฑลจะมีประชากรราว 6.6 แสนคน นอกจากนี้ กรุงแบร์นยังเป็นเมืองหลวงของรัฐที่มีชื่อเดียวกัน คือรัฐแบร์น ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของประเทศ ภาษาทางการในกรุงแบร์นคือภาษาเยอรมัน ภาษาพูดทั่วไปในกรุงแบร์นคือภาษาเยอรมันสำเนียงสวิส กรุงแบร์นเป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาลกลางแห่งสมาพันธรัฐสวิส

แบร์น
เขตเมืองเก่า
เขตเมืองเก่า
ตราราชการของแบร์น
ตราอาร์ม
แบร์นตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์
แบร์น
แบร์น
ที่ตั้งของแบร์น
แบร์น: ศัพท์มูลวิทยา, ภูมิอากาศ, อ้างอิง
พิกัด: 46°57′N 7°27′E / 46.950°N 7.450°E / 46.950; 7.450
ประเทศแบร์น: ศัพท์มูลวิทยา, ภูมิอากาศ, อ้างอิง สวิตเซอร์แลนด์
รัฐแบร์น
เขตแบร์น-มิทเทิลลันท์
พื้นที่
 • ทั้งหมด51.6 ตร.กม. (19.9 ตร.ไมล์)
ความสูง542 เมตร (1,778 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาเกอร์เทิน)864 เมตร (2,835 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด (แม่น้ำอาเร)480 เมตร (1,570 ฟุต)
ประชากร
 (ธ.ค. 2012)
 • ทั้งหมด127,515 คน
 • ความหนาแน่น2,500 คน/ตร.กม. (6,400 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์3000–3030
เลข SFOS0351
เว็บไซต์www.bern.ch

ใน ค.ศ. 1983 เขตเมืองเก่ากรุงแบร์นถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก กรุงแบร์นยังถูกอันดับโดยสถาบัน ECA International ให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดของยุโรปในปี ค.ศ. 2019 - 2020 ควบคู่กับกรุงโคเปนเฮเกน

แบร์นถูกก่อตั้งโดยดยุกแบร์โทลด์ที่ 5 แห่งเซริงเงิน ในปี ค.ศ. 1191 แต่เมื่อดยุกแบรชโทลด์เสียชีวิตและไม่มีทายาทสืบทอด แบร์นก็ได้รับสถานะเป็นเสรีนครจักรวรรดิโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แบร์นเข้าร่วมสมาพันธรัฐสวิสในปี ค.ศ. 1353 ถือเป็นรัฐลำดับที่ 9 ที่เข้าร่วมสมาพันธ์

ศัพท์มูลวิทยา

แบร์น: ศัพท์มูลวิทยา, ภูมิอากาศ, อ้างอิง 
ทัศนียภาพของกรุงแบร์นริมแม่น้ำอาเร

ที่มาของชื่อ "แบร์น" นั้นไม่เป็นที่ชัดเจน เรื่องเล่าพื้นเมืองระบุว่าที่มาของชื่อมาจากการที่ดยุกแบร์โทลด์ที่ 5 แห่งเซริงเงิน (Berthold V. von Zähringen) ผู้ก่อตั้งเมืองแบร์น ประสงค์จะตั้งชื่อเมืองเป็นชื่อสัตว์ตัวแรกที่เขาพบระหว่างล่า และสัตว์ตัวนั้นก็คือหมี ซึ่งในภาษาเยอรมันออกเสียงว่า "แบร์" (Bär) บ้างก็บอกว่า ชื่อเมืองนี้ถูกตั้งตามชื่อเมืองเวโรนาในอิตาลี ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเรียกในภาษาเยอรมันบนว่า "แบร์น" อย่างไรก็ตาม การศึกษาแผ่นเหล็กโกบันนุส (Gobannus tablet) ในปีค.ศ. 1980 ทำให้มีสมมติฐานใหม่ว่า ชื่อแบร์นอาจเป็นคำเรียกของชาวเคลต์ว่า "แบร์นา" (Berna) ที่มีความหมายว่าร่อง

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงแบร์น (1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.8
(37)
4.7
(40.5)
9.5
(49.1)
13.4
(56.1)
18.2
(64.8)
21.6
(70.9)
24.3
(75.7)
23.7
(74.7)
19.1
(66.4)
13.8
(56.8)
7.3
(45.1)
3.5
(38.3)
13.5
(56.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -0.4
(31.3)
0.7
(33.3)
4.7
(40.5)
8.1
(46.6)
12.7
(54.9)
16.0
(60.8)
18.3
(64.9)
17.7
(63.9)
13.7
(56.7)
9.3
(48.7)
3.7
(38.7)
0.6
(33.1)
8.8
(47.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.6
(25.5)
-3.1
(26.4)
0.2
(32.4)
3.0
(37.4)
7.4
(45.3)
10.5
(50.9)
12.5
(54.5)
12.3
(54.1)
8.9
(48)
5.4
(41.7)
0.4
(32.7)
-2.3
(27.9)
4.3
(39.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 60
(2.36)
55
(2.17)
73
(2.87)
82
(3.23)
119
(4.69)
111
(4.37)
106
(4.17)
116
(4.57)
99
(3.9)
88
(3.46)
76
(2.99)
74
(2.91)
1,059
(41.69)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 12.8
(5.04)
13.1
(5.16)
7.0
(2.76)
0.8
(0.31)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.1
(0.04)
5.5
(2.17)
13.3
(5.24)
52.6
(20.71)
ความชื้นร้อยละ 84 79 73 71 73 71 71 73 79 84 85 85 77
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 9.6 9.0 10.6 10.4 12.6 11.1 10.8 10.7 8.9 10.4 10.2 9.9 124.2
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 cm) 4.1 3.5 2.0 0.3 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 1.1 3.1 14.1
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 64 87 137 159 182 205 236 217 165 113 68 49 1,682
แหล่งที่มา: MeteoSwiss

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

แบร์น ศัพท์มูลวิทยาแบร์น ภูมิอากาศแบร์น อ้างอิงแบร์น แหล่งข้อมูลอื่นแบร์นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษภาษาเยอรมันรัฐแบร์น

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)สมชาย แสวงการจังหวัดตราดธนินท์ เจียรวนนท์ลำไย ไหทองคำประเทศรัสเซียโบรูโตะกฤษฏ์ อำนวยเดชกรอแมนด้า ออบดัมอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนสกูบี้-ดูโลโซปราบ ยุทธพิชัยเกาะเสม็ดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540ประเทศสิงคโปร์อวตาร (ภาพยนตร์)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญนูโวผู้หญิง 5 บาปอริยสัจ 4จังหวัดสุราษฎร์ธานีนฤมล พงษ์สุภาพจิราพร สินธุไพรพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถเอกซ์เจแปนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจิรายุ ตั้งศรีสุขมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โหราศาสตร์ไทยFBแมวญีนา ซาลาสภูธฤทธิ์ พรหมบันดาลประเทศออสเตรียรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่จังหวัดอุดรธานีอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)ชาลี ไตรรัตน์มหัพภาคณภศศิ สุรวรรณต้นตะวัน ตันติเวชกุลหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีศาสนาฮินดูไพ่แคงถนนเยาวราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยอนาคามีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ประเทศลาวตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเครยอนชินจังอิษยา ฮอสุวรรณรณิดา เตชสิทธิ์สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)หน้าหลักสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกบุพเพสันนิวาสพรีเมียร์ลีกเอราวัณ การ์นิเยร์ไอลิทธี่หยด 2รายชื่อตอนในเป็นต่อหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตพัชรวาท วงษ์สุวรรณสหภาพโซเวียตณเดชน์ คูกิมิยะอริยบุคคลปวีณ พงศ์สิรินทร์จังหวัดชุมพร🡆 More