สารานุกรมบริแทนนิกา

สารานุกรมบริแทนนิกา (ละติน: Encyclopædia Britannica; สารานุกรมบริติช) เป็นสารานุกรมในภาษาอังกฤษว่าด้วยความรู้ทั่วไป เดิมมีผู้พิมพ์เผยแพร่ คือ บริษัทสารานุกรมบริแทนนิกาและบุคคลอื่น ๆ และมีผู้เขียนเป็นบุคคลราว 100 คนซึ่งมาเขียนให้เต็มเวลา กับอีกราว 4,000 คนซึ่งมาเขียนให้นอกเวลา ปัจจุบัน ไม่ตีพิมพ์เป็นเล่มแล้ว แต่เผยแพร่แบบออนไลน์แทน

สารานุกรมบริแทนนิกา  
สารานุกรมบริแทนนิกา
Encylopædia Britannica ฉบับพิมพ์ใหม่ของอเมริกัน (ค.ศ. 1899)
ผู้ประพันธ์ฉบับ ค.ศ. 2008 มีผู้เขียนที่ปรากฏชื่อ 4,411 คน
ประเทศสหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1768–1900)
สหรัฐ (ค.ศ. 1901–ปัจจุบัน)
ภาษาอังกฤษแบบบริติช
หัวเรื่องทั่วไป
ประเภทสารานุกรมสำหรับงานอ้างอิง
สำนักพิมพ์Encyclopædia Britannica, Inc.
วันที่พิมพ์
  • ค.ศ. 1768–2010 (ฉบับหนังสือ)
  • ค.ศ. 2010–ปัจจุบัน (ฉบับออนไลน์)
ชนิดสื่อฉบับ ค.ศ. 2008 มี 32 เล่ม (ปกแข็ง)
ISBN1-59339-292-3
OCLC71783328
031
LC ClassAE5 .E363 2007
ข้อความสารานุกรมบริแทนนิกา ที่ วิกิซอร์ซ
เว็บไซต์britannica.com

สารานุกรมบริแทนนิกาตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 1768–1771 ณ เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์ เป็นฉบับที่แบ่งเป็น 3 เล่ม ฉบับที่ 2 ขยายเนื้อหามากเป็น 10 เล่ม พอถึงฉบับที่ 4 (ค.ศ. 1801–1810) ปรากฏว่ามีถึง 20 เล่ม ความที่เป็นงานวิชาการซึ่งมีเนื้อหาทวีขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ทำให้ได้บุคคลสำคัญหลายคนมาร่วมเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉบับที่ 9 (ค.ศ. 1875–1889) นั้นถือกันว่าโดดเด่นมากในด้านเนื้อหาวิชาการและโวหารสำนวน ครั้นบริษัทสัญชาติอเมริกันได้สิทธิจัดพิมพ์ไปตั้งแต่ฉบับที่ 11 (ค.ศ. 1911) ก็เกิดกระบวนการ "ทำให้เป็นอเมริกัน" (Americanizing) โดยย่อเนื้อหาลง และใช้ภาษาเรียบง่ายขึ้น เพื่อตีตลาดในอเมริกาเหนือ พอถึง ค.ศ. 1933 สารานุกรมบริแทนนิกาก็กลายเป็นสารานุกรมแรกที่มีการชำระมาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุด แต่แม้จะมีการตีพิมพ์ในสหรัฐมาตั้งแต่ฉบับที่ 10 (ค.ศ. 1901) แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังรักษาการเขียนแบบบริติชไว้ มิได้เปลี่ยนไปใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

ฉบับที่ 15 (ค.ศ. 2010) เป็นฉบับพิเศษที่แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเรียก แมโครพีเดีย (Macropædia) มี 17 เล่ม เป็นบทความยาว กินเนื้อที่ตั้งแต่ 2 ถึง 310 หน้าต่อ 1 บทความ ส่วนถัดมาเรียก ไมโครพีเดีย (Micropædia) มี 12 เล่ม เป็นบทความสั้น โดยปรกติแล้วมีถ้อยคำไม่เกิน 750 คำต่อ 1 บทความ มีไว้ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลได้ไวขึ้น และไว้เป็นเครื่องช่วยนำทางในการอ่านแมโครพีเดีย และส่วนสุดท้ายเรียก พรอพีเดีย (Propædia) มีเล่มเดียว บรรจุคำอธิบายโครงสร้างของสารานุกรมแบบคร่าว ๆ

ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 มีประกาศว่า จะเลิกตีพิมพ์สารานุกรมนี้เป็นเล่ม และจะมุ่งทำฉบับออนไลน์แทน ฉบับสุดท้ายที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม คือ ฉบับที่ 18 (ค.ศ. 2010) ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 32 เล่ม รวม 32,640 หน้า

นับแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกมาจนเลิกตีพิมพ์ เป็นเวลาได้ 244 ปี สารานุกรมบริแทนนิกาจึงเป็นสารานุกรมในภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์มายาวนานที่สุด

ประวัติ

บริแทนนิกาเปลี่ยนมือมาหลายต่อหลายครั้ง ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของบริแทนนิกามาก่อนได้แก่ สำนักพิมพ์สัญชาติสกอต เช่น A & C Black, Horace Everett Hooper, Sears Roebuck and William Benton เป็นต้น เจ้าของบริแทนนิกาคนปัจจุบันคือ Jacqui Safra นักแสดงและมหาเศรษฐีชาวสวิส ซึ่งเป็นเจ้าของ Encyclopædia Britannica, Inc. จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบกับการเติบโตของสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่ง เช่น Microsoft Encarta และ วิกิพีเดีย ทำให้ความจำเป็นในการตีพิมพ์สารานุกรมลดน้อยลง ดังนั้นเพื่อให้ดำรงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ Encyclopædia Britannica, Inc. จึงชูความน่าเชื่อถือของสารานุกรมบริแทนนิกาเป็นหลัก ลดราคาและลดต้นทุนการผลิตลง รวมถึงพัฒนาสารานุกรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมบนซีดีรอม ดีวีดี และเวิลด์ไวด์เว็บ นับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 บริษัทยังเพิ่มการประชาสัมพันธ์งานอ้างอิงรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้นด้วย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

สารานุกรมบริแทนนิกา 
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Category:Encyclopaedia Britannica

Tags:

ภาษาละตินภาษาอังกฤษสารานุกรม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

องศาเซลเซียสภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนเอกซ์เจแปนพีรวัส แสงโพธิรัตน์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดตรังสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ดวงใจเทวพรหมสีประจำวันในประเทศไทยเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิแมวจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้มาริโอ้ เมาเร่อกระทรวงในประเทศไทยโชกุนไทยรามาวดี นาคฉัตรีย์จังหวัดนครศรีธรรมราชโคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส 2ข้าราชการไทยประยุทธ์ จันทร์โอชาฟุตซอลยากูซ่าจังหวัดจันทบุรีพวงเพ็ชร ชุนละเอียดทักษอร ภักดิ์สุขเจริญไฟเยอโนร์ดภาสวิชญ์ บูรณนัติจังหวัดนครพนมสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลพระโคตมพุทธเจ้าประเทศไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแจ็กสัน หวังจ๊ะ นงผณีการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนเกียรติ กิจเจริญวิทยุเสียงอเมริกามิเกล อาร์เตตาพระศรีอริยเมตไตรยประวัติศาสตร์ไทยจรินทร์พร จุนเกียรติวชิรวิชญ์ ชีวอารีชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชสุกัญญา มิเกลภูมิภาคของประเทศไทยพรหมโลกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวบุพเพสันนิวาสพิจักขณา วงศารัตนศิลป์นินจาคาถาโอ้โฮเฮะเจนนีโทโยโตมิ ฮิเดโยชิประเทศบังกลาเทศรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองณราวิชญ์ เลิศรัตน์โกสุมภ์อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)กาก้าสมณะโพธิรักษ์ติ๊กต็อกชลน่าน ศรีแก้วทวิตเตอร์พระไตรปิฎกปรีดี พนมยงค์บาท (สกุลเงิน)เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์พ.ศ. 2564พิชัย ชุณหวชิรยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยภาคตะวันออก (ประเทศไทย)วรรณี เจียรวนนท์ รอสส์อิงฟ้า วราหะอาทิตย์ กำลังเอก🡆 More